November 18, 2024

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ  International Conference on Islam in Malay World (ICON – IMAD) ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ ความกลมเกลียวและการพัฒนา: บทบาทของอิสลามในโลกมลายูเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน   เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนของนักวิชาการโลกมลายู การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวต้อนรับ   เมื่อวันที่ 30  กรกฎาคม 2567 ณ  คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  

การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ  International Conference on Islam in Malay World (ICON – IMAD) ครั้งที่ 13 ในครั้งนี้จัดขึ้นโดยคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นเจ้าภาพ โดยมีคณะผู้บริหารและนักวิชการจากมหาวิทยาลัยมาลายา มหาวิทยาลัย Sultan Sharif Ali, Brunei Darussalam และ มหาวิทยาลัย UIN Sunan Gunung Djati Bandung, Indonesia เข้าร่วมการการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ ภายในกิจกรรมมีเวทีพบปะเสวนากับวิทยากรผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและการปฏิบัติ และหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทอิสลามกับมรดกทางวัฒนธรรมมลายู ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ศาสตราจารย์ ดร.อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต และพบปะกล่าวแนะนำบทบาท ICESCO ในโลกมลายู นอกจากนั้นมีการสรุปการสัมมนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ และมีการมอบรางวัล Paper awards จากนั้นได้มีการมอบธง ICON – IMAD ให้กับเจ้าภาพครั้งต่อไปประเทศบรูไนดารุสสลาม พร้อมกล่าวเชิญชวนเข้าร่วมงาน ICON – IMAD ครั้งที่ 14 ต่อไป

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ประชุมสัมมนา"ICON-IMAD" จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่บันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ครั้งที่ 3 โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่าง ประเทศไทย มาเลซีย บูรไน และอินโดนีเซีย นอกจากนำเสนอผลงานทางวิชาการแล้ว ยังเป็นวทีการแลกเปลี่ยนระหว่างสหสาขาวิชา ผู้เชี่ยวชาญอิสลามศึกษาและมุสลิมศึกษา ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระดับภูมิภาค สำหรับการสัมมนาที่จังหวัดปัตตานีประเทศไทย ได้นำเสนอกรอบนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่มุ่งมั่นที่จะยกระดับการศึกษาและการวิจัยโดยเน้นที่ความครอบคลุม นวัตกรรม และความยั่งยืนของพื้นที่ ที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาที่ครอบคลุมและการเข้าถึง การปรับปรุงระบบหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ด้านการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงานสะอาด และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านความร่วมมือและการสร้างเครือข่าย การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและสถาบันนานาชาติ และด้านโครงการพิเศษสำหรับโลกมลายู ส่งเสริมการศึกษาศาสนาอิสลามและบทบาทในการพัฒนาภูมิภาคการมีส่วนร่วมและความร่วมมือที่สำคัญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวว่า  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการยกระดับให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ได้จัดการสัมมนานานาชาติร่วมกับพันธมิตรชั้นนำจากนานาชาติ อาทิ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยนาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตปัตตานี , Universiti Malaya (UM), Postgraduate Program, Universitas Islam Negeri Sunan Gunung Djati Bandung (UIN Bandung), และ Faculty of Usuluddin, Sultan Sharif Ali Islamic University (UNISSA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มประเทศโลกมลายูในการส่งเสริมความสามัคคีและการพัฒนาในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำระดับนานาชาติ เพื่อยกระดับการวิจัยและพัฒนาในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการหารือเกี่ยวกับแนวทางในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน

“มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเป็นเอกภาพ การจัดสัมมนาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรนานาชาติ เพื่อดำเนินงานวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ  กล่าวเพิ่มเติม

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ “อว.แฟร์” ชวนทุกท่านร่วมสัมผัสพลังแห่งอนาคต ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในงานพบกับนิทรรศการหลากหลาย อาทิ ‘นิทรรศการเมืองแห่งการเรียนรู้’ นำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นจาก 20 จังหวัด ‘Culture Connex’ แสดงผลผลิตจากทุนทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ ‘The Treasures of Herbal Health’ นำเสนอการต่อยอดงานวิจัยสมุนไพร โซนนำเสนอแบบจำลองสถานีอวกาศและดาวเทียม Theos2 การจัดแสดง ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ ครั้งแรกในไทย นิทรรศการ ‘Hub of Talents and Hub of Knowledge For All’ และ ‘Irradiation for Sustainable Future’ นอกจากนี้ ยังมีการแข่งขัน AI Hackathon การประกวดวงดนตรี MHESI Music Variety Awards 2024 รอบชิงแชมป์ประเทศไทย มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินวง ซีซันไฟฟ์ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมลุ้นรับรางวัลรถมอเตอร์ไซค์ EV ภายในงาน

สำหรับไฮไลต์ ZONE E: SCIENCE FOR ALL WELL-BEING มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เด่นจาก 20 จังหวัด ผ่านการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น ครอบคลุมด้านสุขภาพ ความงาม อาหาร และวัฒนธรรม เริ่มด้วย ‘นิทรรศการเมืองแห่งการเรียนรู้’ ที่จำลองกิจกรรมเด่นจากทั้ง 20 เมือง แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 2) สิ่งแวดล้อม 3) การพัฒนาเมืองและออกแบบพื้นที่ ซึ่งผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้และทดลองทำเวิร์กช็อปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น โคมล้านนา ผ้าขาวม้า และอาหารพื้นถิ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ‘นิทรรศการ Culture Connex’ ที่นำเสนอระบบจัดการพื้นที่กลางสำหรับผลผลิตจากทุนทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ แบ่งเป็น 4 โซน ได้แก่ 1) จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย 2) พื้นที่เวิร์กช็อป 3) การแสดงบนเวที 4) นิทรรศการ Culture Connex และ Cultural Map Thailand & Metaverse มีการจัดแสดงสินค้าวัฒนธรรมและกิจกรรมการแสดงตลอดวัน เป็นกลไกเชื่อมต่อทุนทางวัฒนธรรมของไทย อีกหนึ่งบูธที่โดนเด่นไม่แพ้กันคือ ‘นิทรรศการ The Treasures of Herbal Health Cohesive Ecosystem’ ที่เป็นการต่อยอดงานวิจัย เพิ่มคุณค่าสมุนไพรด้านการแพทย์และสุขภาพ เพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ภายในโซนนิทรรศการยังมีการจัดแสดงพร้อมจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง และยาที่พัฒนาจากสารสกัดธรรมชาติหรือสมุนไพรอีกด้วย

นอกจากนี้ ZONE F: SCIENCE FOR FUTURE THAILAND ยังมีการแสดงสถานีดาวเทียมจำลอง โดยนำเสนอ ‘แบบจำลองสถานีอวกาศขนาดเสมือนจริง’ เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นฐานปฏิบัติการสำรวจ ทดลอง และวิจัยในอวกาศ แบบจำลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสำเร็จด้านเทคโนโลยีอวกาศ สร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีอวกาศ อีกทั้งยังมีกิจกรรมพิเศษ Special Talk: ร่วมพูดคุยกับทีมผู้สร้างภาพยนตร์ URANUS 2324 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2567 เป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้เบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมงานมืออาชีพ ตลอดจนมีการนำเสนอแบบจำลองดาวเทียม Theos2 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติรุ่นล่าสุดของไทย เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศ แบบจำลองนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสำรวจและติดตามทรัพยากรธรรมชาติของไทย ซึ่งจะช่วยในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้นมีการนำ ‘ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5’ มาจัดแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และยังเป็นเป็นครั้งแรกที่นำออกมาจัดแสดงนอกประเทศจีน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทย-จีน ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยกิจกรรมนี้ได้แสดงอุปกรณ์ปฏิบัติภารกิจวิทยาศาสตร์ของไทยที่จะติดตั้งบนยานฉางเอ๋อ 7 ชื่อ MATCH เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ รวมถึงยังจัดแสดงผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่าง ๆ โดยใช้โจทย์ทางดาราศาสตร์ เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของคนไทยด้วยเช่นกัน อีกหนึ่งนิทรรศการที่โดดเด่นคือ ‘Hub of Talents and Hub of Knowledge For All’ นำเสนอนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์หลากหลาย ได้แก่ 1) Agricultural: เทคโนโลยีเกษตรและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง 2) Economy: นวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3) Environmental: เทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด 4) Future Tech: เทคโนโลยีล้ำสมัยสำหรับอนาคต 5) Health: นวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพ 6) Society: งานวิจัยเพื่อสังคมปลอดภัยและน่าอยู่ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์อนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนสุดท้ายคือ นิทรรศการ ‘Irradiation for Sustainable Future’ ที่นำเสนอผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการฉายรังสีใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมการแพทย์: การฆ่าเชื้อ วัสดุทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 2) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร: การยกระดับคุณภาพอาหารและวัสดุจากธรรมชาติ 3) อุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม: การกักเก็บพลังงานและบำบัดน้ำเสีย 4) การปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุด้วยรังสี นอกจากนี้นิทรรศการมีบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารที่ผ่านการฉายรังสี โดยเฉพาะแหนมหลากหลายรูปแบบ เช่น แหนมตุ้มติ๋ว แหนมสไลซ์ และแหนมแท่งพร้อมทาน ซึ่งเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในอุตสาหกรรมอาหาร

อย่างไรก็ตาม ยังมีการแข่งขัน “AI Hackathon Final Pitching” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และ University of Queensland พร้อมจัดเต็มความบันเทิงกับมินิคอนเสิร์ตสุดพิเศษจากวงซีซันไฟฟ์ (SEASON FIVE) ที่มามอบความสุขและความสนุกบนเวทีด้วยเพลงฮิตและการแสดงสดที่ทำให้ทุกคนได้ผ่อนคลายหลังจากตลอดทั้งวันเต็มไปด้วยสาระความรู้

ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานประกวดวงดนตรีระดับอุดมศึกษา “MHESI Music Variety Awards 2024” ซึ่งให้ผู้เข้าแข่งขันนำเสนอผลงานดนตรีที่ผสมผสานประกอบการแสดงวัฒนธรรมพื้นถิ่นไทย เพื่อชิงถ้วยพระราชทานอันทรงเกียรติ ต่อด้วยการบรรยายพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของประเทศ เรื่อง “Functional Thin Films for Thailand: Solar Cell, Light Emitting Diode, and Photodetector” และยังมีการบรรยายเรื่อง “Rapid Survey” ความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำโขงตอนล่างและแม่น้ำสาขาในภาวะวิกฤตแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมี “Seafood Chefs Table” ที่สาธิตการใช้วัตถุดิบผลผลิตจากทะเล เพื่อรังสรรค์เมนูอาหารทะเลของเชฟ ซึ่งเป็นผลผลิตจากงานวิจัยคุณภาพอาหารทะเล ยกระดับคุณภาพและรสชาติของอาหาร พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยอย่างยั่งยืน

พบกับไฮไลต์สุดอลังการและความสนุกที่รอให้มาสัมผัส วันนี้ – 28 ก.ค.นี้ ณ ศูนย์ฯ สิริกิติ์

นางสาวสุตานันท์ อาวจำปา (กลางขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้เกียรติรับมอบคู่มือท่องเที่ยว “เคทีซี ไกด์ซีน” (KTC Guidezine) จำนวน 1,850 เล่ม จากนางสาวเจนจิต ลัดพลี (กลางซ้าย) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปส่งต่อให้กับเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ  ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ ได้ใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ ณ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถนนพระราม 6 เมื่อเร็วๆ นี้

“เคทีซี ไกด์ซีน” เป็นหนังสือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอารยธรรม สถาปัตยกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของชนพื้นเมืองรวม 6 เส้นทาง ได้แก่ เมือง เดลีและเมืองอัครา ประเทศอินเดีย / เมืองมอสโคว์ เมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เส้นทางสายทรานไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย / ประเทศไอซ์แลนด์ / ประเทศอิหร่าน / ประเทศกรีซและประเทศตุรกี

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click