January 15, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 808

วริศรา ตันตราธิวุฒิ ว่าที่นักเรียน Kellogg School of Management

July 06, 2017 4088
วริศรา ตันตราธิวุฒิ วริศรา ตันตราธิวุฒิ

แม้จะตั้งธุรกิจ Startup ของตัวเองขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างได้ปีครึ่งแล้ว แต่ผู้บริหารสาววัย 26 อย่าง “ต้อง-วริศรา ตันตราธิวุฒิ” Co-Founder บริษัท “Cookit Delivery” ชุดทำอาหารส่งถึงบ้านรายแรกในประเทศไทย ยังคงมองว่าการเดินทางไปเพิ่มรอยหยักให้สมองในมหาวิทยาลัย “Kellogg (Kellogg School of Management)” คือเรื่องจำเป็น ก่อนจะกลับมาขยายฐานการค้า และสานฝันให้เป็น “ธุรกิจเพื่อสังคม” ช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรถูกกดราคาผลผลิตได้อย่างยั่งยืน


Q: คิดว่าจำเป็นแค่ไหนที่ต้องไปเรียน MBA เพิ่ม
A: ต้องมองว่ามันเป็นการขยายธุรกิจค่ะ คือถ้าไม่ไปเรียน
เราทำเองได้ก็จริง แต่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็น จากที่เคยใช้เวลาปีครึ่งจัดการธุรกิจมาถึงจุดนี้ ถ้าไปเรียน ต้องอาจจะรู้ทั้งหมดนี้แบบไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเอง และอาจจะทำทุกอย่างนี้ให้เสร็จภายใน 3 เดือนเลยก็ได้
ยิ่งถ้าอยากลุยทำ Online Marketing อย่างเรา แต่กลับมองตลาดไม่ขาด ไปลงเงินไม่ตรงกลุ่มลูกค้า มันก็เหมือนแก้วน้ำก้นรั่ว ที่น้ำจะไหลออกไปเรื่อยๆ ต้องเลยมองว่าการเรียนตรงนี้จะช่วยต้องได้ค่ะ เพราะถ้าเราเคลื่อนธุรกิจให้ไปได้เร็วขึ้น ไม่ใช่แค่ประหยัดเรื่องเวลานะคะ แต่มันหมายถึงเราได้ใช้เงินน้อยลงไปด้วย

Q: เห็นบอกว่าอยากเปลี่ยนธุรกิจตัวเองให้เป็น Social Enterprise คิดไว้ว่าจะกลับมาทำให้เปลี่ยนจากเดิมยังไงบ้าง
A: เราอยากจะช่วยชาวนา ช่วย Supplier คนไทยค่ะ (ยิ้ม) หน้าที่ของ Cookit Delivery คือการส่งวัตถุดิบที่ชั่งตวงวัดมาพอดีปริมาณ พร้อมทำแล้วไปให้คนสั่ง ซึ่งเราพยายามจะสั่งวัตถุดิบจากคนไทย ทุกวันนี้ก็มีรับข้าวจากโครงการ “แม่ฟ้าหลวง” ด้วย แต่ก็ถือว่ายังช่วยได้น้อย อยากขยายฐานไปได้กว้างกว่านี้ในอนาคต เราอยากเปลี่ยนผักสดให้เป็นออร์แกนิกทั้งหมดด้วยค่ะ วางไว้ว่าจะรับผักจากเชียงใหม่ อาหารทะเลจากภูเก็ต คือตั้งใจว่าจะให้อย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ของ Supplier ทั้งหมดเป็นของคนไทย จากที่เคยส่งเฉพาะในกรุงเทพฯ ก็จะขยายไปให้ได้ทั่วประเทศ และอยากทำเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ขยายไปประเทศเพื่อนบ้าน ยิ่งถ้าตลาดขยายออกไปมาก ก็เท่ากับเราได้ช่วยเกษตรกรมากขึ้นไปด้วยในตัว

Q: ทำไมถึงอยากช่วยเกษตรกรไทย
A: มันมาจากตอนเรียนธรรมศาสตร์ค่ะ (BBA International Program คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) ต้องเคยไปค่ายอาสา มีอยู่วันหนึ่งได้ไปช่วยเขาเก็บหัวไชเท้า เอาออกมาล้างๆ ใส่ตะกร้า ทำทั้งวันจนได้ 1 Truckload ไปถามชาวบ้านว่าเขาได้กี่บาท เขาตอบเราว่าได้กิโลกรัมละ 8 บาท หมดหลังกระบะนั้นน่าจะได้สัก 50 บาท (ยิ้มเนือยๆ) รู้สึกว่าทำไมค่าตอบแทนมันต่ำขนาดนี้ เป็นเพราะมันต้องผ่านคนกลางอีกหลายต่อมากๆ จนแทบไม่เหลืออะไรกลับมาให้คนปลูกเลย ทั้งๆ ที่คนที่ทำเขา Deserve ที่จะได้รับอะไรมากกว่านั้น เหมือนชาวบ้านเขาไม่รู้ว่าของที่ส่งไป มันขายในเมืองอยู่ที่กี่บาท ซึ่งต้องว่ามันไม่แฟร์กับเขา เลยอยากจะเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้นค่ะ

Q: ในธุรกิจอาหาร คิดว่ามีปัญหาอะไรอีกบ้างไหมที่มองเห็นและอยากกลับมาแก้ไขให้ดีขึ้น
A: เรื่อง Hunger Problem ต้องก็อยากจะทำค่ะ ทุกวันนี้ ปัญหาใหญ่ของธุรกิจอาหารที่ชัดมากๆ คือเรื่องของเสียมันเยอะค่ะ ของเสียจากการที่คนไม่กิน, คนทำเหลือ, อาหารหมดอายุ ฯลฯ ทั้งๆ ที่คนอดอยากมีอยู่เยอะมากบนโลกใบนี้ ถ้าสามารถลดช่องโหว่และส่งต่อให้คนอื่นๆ ได้ ก็น่าจะดีขึ้นได้ คิดโมเดลเอาไว้ว่าถ้าซื้ออาหารกับเรา 1 ชุด เราจะบริจาคอาหารให้คนยากจนอีก 1 ชุด เผื่อจะช่วยให้ปัญหาที่มีอยู่มันดีขึ้นได้บ้าง

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Thursday, 06 July 2017 09:40
X

Right Click

No right click