×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 807

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

บิ๊กดาต้าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจค้าปลีก และแบรนด์สินค้าเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและสามารถแข่งขันในยุคเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลหรือดาต้าเป็นหลัก

ดันน์ฮัมบี้ (ประเทศไทย) บริษัทที่ทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลเชิงลึก ให้การบริการแก่ลูกค้าชั้นนำต่างๆ ได้แก่ Tesco The Kroger Coca-Cola Macy's Procter & Gamble และ PepsiCo เผย "บิ๊กดาต้า กำลังเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนโลกแห่งการโฆษณา และถึงแม้คำว่า บิ๊กดาต้า ถือเป็นคำใหม่ในแวดวงการตลาดในประเทศไทย แต่บิ๊กดาต้าได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโลกของธุรกิจ

หลายบริษัทเน้นที่จะให้ความสำคัญกับบิ๊กดาต้า เพราะเมื่อถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องแล้ว บิ๊กดาต้าสามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจได้ในทุกอุตสาหกรรม ซึ่ง ดันน์ฮัมบี้ สามารถเข้าถึงข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าปลีกของลูกค้าทั่วประเทศได้มากกว่า 70 % ทำให้บริษัทมีความเข้าใจถึงความแตกต่างของลูกค้าหลากหลายประเภทได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่พวกเขาซื้อ เหตุผลที่พวกเขาซื้อสินค้านั้น และขั้นตอนระหว่างการตัดสินใจซื้อสินค้า

นายธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ ประธานกรรมการผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ดันน์ฮัมบี้ จำกัด กล่าวว่า "เราต้องให้ความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า ทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ตั้งแต่เริ่มรู้จักผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการพิจารณาเพื่อเลือกแบรนด์ ตลอดจนการตัดสินใจเลือกแบรนด์ และซื้อสินค้าจากแบรนด์นั้นในที่สุด"

"เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งการขยายสาขาของร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ก็มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันที่สูงมากในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค และด้วยตัวเลือกที่มีมากขึ้นในการซื้อสินค้าหมวดหมู่เดียว และมีช่องทางการซื้อหลากหลายให้กับผู้บริโภค ผลลัพธ์คือ การจะทำให้คนจงรักภักดีต่อแบรนด์จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้น พอๆกับการดึงลูกค้ากลุ่มใหม่ และลูกค้าสามารถสับเปลี่ยนเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายแบรนด์มากขึ้น

 

 

นอกจากนี้เส้นทางการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือ Customer Journey ไม่ได้เริ่มจากบ้านแล้วตรงมาซื้อที่จุดขายอีกต่อไป แต่มี Customer Journey และวิธีการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่ซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น และแต่ละคนมีวิธีการตัดสินใจซื้อสินค้าที่แตกต่างกันออกไป

ดังนั้น การที่เราเข้าใจความแตกต่างของกลุ่มลูกค้า โดยการสร้างกลยุทธ์ของการสื่อสารที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสื่อสารกับลูกค้าในทุกช่องทาง เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อให้กับลูกค้า"

ดันน์ฮัมบี้ แบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่หลักๆ โดยเมื่อดูจากช่องทางการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของลูกค้าแล้ว คือ

กลุ่มลูกค้าที่ซื้อจากร้านค้า

กลุ่มลูกค้าที่ซื้อของออนไลน์

กลุ่มลูกค้าที่ซื้อจากทั้งสองช่องทาง

ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลของดันน์ฮัมบี้ ได้พบว่าประวัติของลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันไป โดยกลุ่มที่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์เป็นส่วนใหญ่คือกลุ่มที่มีรายได้สูง คิดเป็น 63 % ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าออนไลน์ทั้งหมด

 ในขณะที่กลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าในร้านส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง คิดเป็น 53 % ของลูกค้าที่ซื้อจากร้านค้าทั้งหมด และกว่า 56 % ของกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านทั้งสองช่องทาง คือ กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าถึงลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านกลยุทธ์ทางสื่อสารและโฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและพฤติกรรมที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากบิ๊กดาต้าจึงมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาให้มีประสิทธิภาพ

ดันน์ฮัมบี้ เชื่อว่า ร้านค้าในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่จะยังคงมีบทบาทสำคัญสำหรับลูกค้าชาวไทย และสื่อโฆษณา ณ จุดขาย มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่จัดขายเพิ่มมากขึ้น

 

 

จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าและเห็นโฆษณาทั้งที่ร้านค้าและผ่านทางออนไลน์นำคูปองส่วนลดมาซื้อสินค้าที่ร้านค้ามากกว่า 43% เมื่อเทียบกับอัตราการนำคูปองส่วนลดมาซื้อสินค้าของลูกค้าที่ซื้อสินค้าและเห็นโฆษณาผ่านทางช่องทางเดียว

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สื่อโฆษณา ณ จุดขาย มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขึ้นของช่องทางการซื้อสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศไทย ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภคในการเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านสื่อดิจิตอล

แต่สิ่งที่สำคัญคือการใช้กลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาที่เหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ด้วยการทำความเข้าใจในพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าใน Customer Journey ขั้นตอนต่างๆของกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างลึกซึ้ง

"ท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายสำคัญสำหรับนักโฆษณาก็คือ การรักษากลุ่มลูกค้าที่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ พร้อมกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ และการดึงดูดลูกค้าที่ยังคงซื้อสินค้าสลับไปมาหลายแบรนด์ให้หันกลับมาซื้อแบรนด์ของเราเป็นประจำ การใช้ กลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาแบบเฉพาะเจาะจง โดยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจาก บิ๊กดาต้า จะช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีขึ้น ด้วยเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของลูกค้า

ส่งผลให้การสร้างกลยุทธ์การโฆษณามีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ บิ๊กดาต้า ยังเป็นเครื่องมือการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นตัวชี้วัดว่ากลุยทธ์การสื่อสารและโฆษณาที่คิดขึ้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และยังเป็นแนวทางต่อไปสำหรับแบรนด์ได้ โซลูชั่นการโฆษณาเชิงกลยุทธ์ของเรานั้นมีเครื่องมือที่เหมาะสมและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อให้แบรนด์สามารถดึงดูดและรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้ต่อไปในระยะยาว" นายธีรเดช กล่าว

 

 

 

หลังการเปิดตัว กุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชี้แจงภารกิจปี 2561 ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง ประกาศภารกิจสำคัญ 3 ด้านที่ต้องเร่งดำเนินการ

 “ในฐานะที่เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคนใหม่ ซึ่งเป็นอธิบดีของกรมฯ ในลำดับที่ 27 ภารกิจสำคัญที่เป็นเป้าหมายหลักที่จะต้องเร่งดำเนินงานในปี 2561 นี้ จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 

1.เน้นการสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้สามารถแข่งขันได้

ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของ SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของ    ประเทศให้สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มธุรกิจรุ่นใหม่ สมาชิกเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club, OTOP ผู้ประกอบการชุมชน, วิสาหกิจเพื่อสังคม เน้นการบริหารจัดการ การส่งเสริมให้เข้าสู่ตลาด และดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบยิ่งขึ้น

            - เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจสู่การเป็น Smart Enterprises เสริมสร้างแนวคิดและทักษะของผู้ประกอบธุรกิจที่ดี  มีความเป็นมืออาชีพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความความต้องการของตลาด

  - พัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ (Offline to Online) เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ การจัดทำบรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าออนไลน์ การบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ และส่งเสริมธุรกิจ e-Commerce เพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายตลาดให้ทันต่อเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ

            - สร้างมาตรฐานและโอกาสทางการตลาดให้แก่ธุรกิจบริการ อาทิ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น ตลอดจนสร้างโอกาสด้านอาชีพเพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชนจากงานบริการ เช่น งานช่างประเภทต่างๆ งานให้บริการหัวหน้าแม่บ้าน เป็นต้น

            - ยกระดับและพัฒนาส่งเสริมร้านค้าปลีกในชุมชนให้มีระบบบริหารจัดการร้านค้าที่มีประสิทธิภาพ     ลดต้นทุนทางการค้า เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ โดยจะต่อยอดโครงการ      โชวห่วยไฮบริดเชื่อมกับ e-Commerce, Counter Service ไปรษณีย์ไทย รวมทั้งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ (Local Economy) โดยจะพัฒนาร้านค้าชุมชนให้เกิดการแข่งขันได้มีแหล่งรับซื้อสินค้าชุมชนในภูมิภาคระหว่างภูมิภาค เพื่อพัฒนาสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

2.พัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นคุณภาพมากขึ้น

รวมทั้ง เชื่อมต่อฐานข้อมูลธุรกิจของกรมฯ กับฐานข้อมูลของหน่วยงานราชการอื่นๆ เพื่อให้เป็นคลังข้อมูลธุรกิจขนาดใหญ่ (Big Data) ของประเทศ อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจที่ง่าย สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการเริ่มต้นของธุรกิจโดยรวมขั้นตอนการจดทะเบียนให้เหลือเพียง 1 ขั้นตอน

ซึ่งจากระบบเดิมจะมีขั้นตอนที่ 1 จองชื่อ ขั้นตอนที่ 2 จดทะเบียนบริษัท โดยระบบใหม่จะรวมขั้น 1 + 2 ให้เหลือเพียงขั้นตอนเดียว โดยรวมขั้นตอนการจองชื่อนิติบุคคลและการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ให้อยู่ในขั้นตอน/หน้าเดียวกัน ซึ่งการพัฒนาบริการในส่วนนี้จะสอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกที่เน้นการบริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ เพิ่มช่องทางการจองชื่อนิติบุคคลผ่าน Mobile Application

            - พัฒนาการขอหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ทำคำขอผ่าน Smart Phone เพื่อขอหนังสือรับรองได้ทุกที่ทุกเวลา นอกเหนือจากการขอหนังสือรับรองฯ ผ่านธนาคาร

            - การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพคลังข้อมูลธุรกิจของกรมฯ สู่การเป็น Business Intelligence โดยการให้บริการค้นหาข้อมูลและจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ให้สามารถติดต่อทางธุรกิจได้โดยง่าย เพิ่มข้อมูลการติดต่อผ่าน e-Mail จากเดิมที่มีเพียงเบอร์โทรศัพท์/โทรสารเท่านั้น

             - สามารถวิเคราะห์แนวโน้นทางธุรกิจ การพยากรณ์ผลการประกอบธุรกิจจากอัตราส่วนทางการเงินและงบการเงินเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถพิจารณาข้อมูลเชิงลึก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ และจะใช้ข้อมูลธุรกิจที่กรมมีอยู่ตั้งเป็นศูนย์กลางคลังข้อมูลธุรกิจเชื่อมโยงข้อมูลธุรกิจกับหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศหรือ Big Data ต่อไป

3. ส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า(Business Governance)

โดยจะเน้นทั้งมาตรการป้องปรามและมาตรการส่งเสริม ได้แก่ การตรวจสอบแนะนำการปฎิบัติตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลให้ภาคธุรกิจปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ติดตามควบคุมธุรกิจกลุ่มเสี่ยง เช่น นิติบุคคลไทยที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น (นอมินี) การส่งเสริมให้ธุรกิจนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น

            - จะมีการยกระดับธุรกิจตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมฯ จัดทำขึ้นซึ่งอิงตามเกณฑ์มาตรฐานสากล

            - จัดให้มีธุรกิจต้นแบบและประกวดธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลดีเด่นในระดับจังหวัดและระดับประเทศ

            - จะใช้ระบบบัญชีมาตรฐานเข้ามาช่วยสร้างธรรมาภิบาลให้แก่ภาคธุรกิจ (สามารถจัดทำบัญชีผ่านทาง Application หรือ ทางออนไลน์) และจัดทำระบบ e-Accountiog เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถจัดทำรายรับรายจ่าย และงบแสดงฐานะการเงินได้โดยง่าย สามารถนำส่งงบการเงินประจำปีได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ SMEs มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง สามารถประเมินสภาพคล่องทางการเงิน และสามารถดำเนินงานได้

            นอกจากนี้ การบริหารงานภายในกรมฯ จะมีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ สร้างบรรยายการทำงานในลักษณะ Team Work บูรณาการการทำงานด้วยความเกื้อกูลและสนับสนุนซึ้งกันและกัน เดินหน้าสู่ DBD 4.0 ที่จะรักษาไว้ซึ่งต้นสายปลายทางธุรกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วย “ยิ้มแย้ม โปร่งใส ใส่ใจบริการ” 

ภาพ : DIP

Page 4 of 4
X

Right Click

No right click