December 23, 2024

ยุทธศาสตร์ NOKIA ปี 2564

April 01, 2021 1734

โนเกีย วางเป้าแผนดำเนินธุรกิจสามเฟส เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับการสร้างผลกำไร และความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี

โนเกีย ประกาศแผนกลยุทธ์การดำเนินงานสามเฟส: Reset, Accelerate, Scale เพื่อความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี พร้อมเร่งขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

โนเกีย มองเห็นเทรนด์สำคัญ ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ด้วยเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องจะเอื้อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) องค์กร และบริษัทเว็บสเกลต่างๆ โดยโนเกียได้คาดการณ์ว่าการสร้างเครือข่าย 5G จะครอบคลุมเวลายาวนานเป็นสองเท่าของจุดสูงสุดของการสร้างเครือข่าย 4G ด้วยปัจจัยอันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมดิจิทัล

หนึ่งในเทรนด์สำคัญ คือการใช้เทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีไร้สายกับ fiber-to-the-home เพื่อสร้างสังคมกิกะบิต หรือ “gigabit society” ซึ่งจะเป็นประสบการณ์การสื่อสารแบบไร้รอยต่อสำหรับผู้บริโภคภายในที่พักอาศัยและที่ทำงาน  นอกจากนี้องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฎิบัติการและมีการเชื่อมต่อกัน จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ประสิทธิภาพ ตลอดจนความปลอดภัยให้แก่ทั่วทั้งอุตสาหกรรมได้อย่างมหาศาล

ก่อนหน้านี้โนเกียได้ประกาศรูปแบบการดำเนินงานใหม่ด้วยสี่กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ Mobile Networks, Network Infrastructure, Cloud and Network Services, และ Nokia Technologies.

 

โนเกีย จับมือกับ กูเกิล คลาวด์, AWS, และ ไมโครซอฟท์ เพื่อให้บริการโซลูชั่นคลาวด์ แบบ 5G สำหรับองค์กร

เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โนเกีย ได้ร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตรชั้นนำอย่าง กูเกิลคลาวด์ (Google Cloud) AWS และ ไมโครซอฟท์ ในการจัดทำการวิจัย ตลอดจนสร้างและพัฒนาโซลูชั่นคลาวด์ 5G สำหรับองค์กรที่เน้นให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

โนเกีย กำลังทำงานร่วมกับ กูเกิล คลาวด์ ในการทำโซลูชั่นที่รวมเครือข่ายการเข้าถึงผ่านการรับส่งทางคลื่นวิทยุ (RAN), Open RAN, Cloud RAN (vRAN), และเทคโนโลยี Edge Cloud รุ่นอื่น ๆ มาประมวลเข้ากับแพลตฟอร์มและระบบแอปพลิเคชันแบบ Edge ของกูเกิลเพื่อพัฒนาโซลูชั่นและการใช้งานที่จะสามารถตอบโจทย์แผนการใช้งาน 5G สำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วโลก

เช่นเดียวกับการเป็นพันธมิตรกับ AWS ที่จะได้เห็นความร่วมมือด้านงานวิจัยและการใช้งาน Cloud RAN (vRAN) และ เทคโนโลยี Open RAN ด้วยเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในเชิงนวัตกรรม (innovative proof of concept: POCs) ที่สามารถนำมาใช้กับการวางเครือข่าย 5G รวมถึงการพัฒนาการใช้งาน 5G ในรูปแบบใหม่ ๆ อีกด้วย

ในขณะเดียวกัน โนเกีย ยังได้ทำข้อตกลงร่วมกับ ไมโครซอฟท์ ในการพัฒนาการใช้งานแบบใหม่ ๆ โดยใช้เครือข่าย 4G และ 5G ไร้สายเฉพาะองค์กร โดยการนำเทคโนโลยี Cloud RAN (vRAN) ของโนเกีย มารวมให้บริการกับระบบคลาวด์ของ Microsoft Azure  และร่วมกับกลุ่มนักพัฒนาในระบบนิเวศนี้เพื่อช่วยกันพัฒนาฟังก์ชั่น ที่จะเกิดจากการใช้งานในโครงการธุรกิจใหม่

 

โนเกีย ต่อยอดธุรกิจจับมือเชิงอุตสาหกรรม-วิชาการ เพื่อวิจัยและออกแบบการใช้งาน 5G รูปแบบใหม่

เมื่อเดือนมีนาคม 2564 โนเกียร่วมกับสองพันธมิตรเชิงวิชาการในออสเตรเลียและญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาการใช้งาน 5G สำหรับภาคอุตสาหกรรมและการใช้งานทั่วไป

ในออสเตรเลีย โนเกีย ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ University of Technology Sydney (UTS) เป็นเวลา 5 ปีเพื่อสร้างและดำเนินการห้องทดลองนวัตกรรม 5G สุดทันสมัยภายในพื้นที่ Tech Lab ของมหาวิทยาลัยในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย  ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าในการใช้เทคโนโลยี 5G อย่างเต็มที่ โดยจะมุ่งเน้นไปยังการใช้งาน 5G ที่ใช้ได้จริงกับในโลกปัจจุบัน ซึ่งจะรวมถึงการใช้งานในอุตสาหกรรม 4.0, IoT, และสมาร์ทซิตี้ ซึ่งห้องทดลองนวัตกรรม 5G นี้จะเป็นทั้งสนามทดสอบ 5G แบบเรียลไทม์สำหรับพันธมิตรทางธุรกิจ  และเป็นห้องทดลองเพื่อการวิจัยสำหรับภาคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) อีกด้วย

ในขณะเดียวกัน โนเกีย ยังได้ร่วมมือกับ Qnet, INC บริษัทในเครือ Kyushu Electric Power ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 5G ไร้สายแบบเฉพาะองค์กรทั่วภูมิภาคคิวชู  ในประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นความร่วมมือแรกในการวางระบบ 5G ไร้สายให้ก้บท้องถิ่นผ่านการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อธุรกิจ  และกำลังจะร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งคิวชู (Kyushu Institute of Technology) ในการให้บริการ 5G ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

 

โนเกีย ทำลายสถิติความเร็วของไฟเบอร์บรอดแบนด์กับโวดาโฟน และร่วมมือกับ Mobily สำหรับเครือข่าย 4G และ 5G ไร้สายแบบประจำที่ (FWA) แบบแยกส่วน

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โนเกีย และ โวดาโฟน ได้ประกาศความสำเร็จในการทดลองเทคโนโลยีเครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ (Passsive Optical Network: PON) ที่ให้ความเร็วถึง 100 กิกะบิตต่อวินาทีบนความยาวคลื่นแบบลำแสงเดียวซึ่งนับเป็นสิบเท่าของเครือข่ายที่ล้ำสมัยที่สุดในปัจจุบัน และถือเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมนี้ ต่อเนื่องจากความสำเร็จในเทคโนโลยี 10G PON, TWDN-PON, universal PON และ 25G PON

โนเกีย ยังประสบความสำเร็จในการนำร่อง เครือข่าย 4G และ 5G ไร้สายแบบประจำที่ (FWA) แบบแยกส่วน ร่วมกับ Mobily ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในซาอุดิอาระเบีย เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา  ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในโลกสำหรับการใช้งานในเครือข่ายจริง และโซลูชั่นนี้ยังช่วยให้ Mobily นำเสนอบริการ FWA ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าสำคัญและลูกค้าองค์กรอีกด้วย

โนเกีย คว้าสัญญา 5G ใหม่ที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์

ตลอดไตรมาสแรกของปี 2564 โนเกีย ประสบความสำเร็จในธุรกิจ 5G ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประเทศสิงคโปร์ บริษัทฯ ได้ประกาศการวางเครือข่าย 5G standalone RAN Sharing เครือข่ายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับ Antina บริษัทร่วมทุนซึ่งก่อตั้งโดย ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สาย M1 และ StarHub

นอกจากนี้ โนเกียยังได้ลงนามข้อตกลงทางธุรกิจกับ M1 เพื่อนำซอฟต์แวร์ cloud-native Core ของโนเกีย มาใช้ในการขับเคลื่อนเครือข่าย 5G standalone ที่เปิดให้บริการในประเทศสิงคโปร์ในปี 2564 นี้ และ โนเกีย ยังได้จับมือกับ StarHub ในการวางเครือข่าย cloud-native 5G core ร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งาน 5G standalone ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศ

ในออสเตรเลีย โนเกียได้เปิดให้บริการ 5G กับ Optus ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายที่ Optus Stadium ในเมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ผู้มาร่วมกิจกรรมงานกีฬาหรือการแสดงดนตรีสามารถเข้าใช้ระบบ 5G ได้ทั้งในและนอกอาคารด้วยความเร็วมากกว่า 1 กิกะบิตต่อวินาที ความร่วมมือนี้จะทำให้เห็นว่า Optus ได้ใช้ประโยชน์จากโซลูชั่น AirScale indoor Radio solution ของโนเกีย ในการให้บริการที่ครอบคลุมได้อย่างทั่วถึงสำหรับพื้นที่ในอาคารอย่าง เช่นโซนที่นั่งสำหรับองค์กรหรือพื้นที่รับรองวีไอพี  โดยโซลูชั่นนี้สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเครือข่ายหลัก ๆ และถูกออกแบบให้ง่ายต่อการอัพเกรด จาก 4G เป็น 5G New Radio (NR)

ท้ายสุด โนเกีย ได้ถูกเลือกโดย Globe Telecom ในประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยการทำข้อตกลงเป็นระยะเวลาสามปี เพื่ออัพเกรดเครือข่าย 4G ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และขยายเครือข่าย 5G มากกว่า 1,000 สถานีฐานทั่วประเทศ โดยการวางเครือข่ายจะครอบคลุมถึงเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองและอันดับสามของประเทศ อย่าง เกาะมินดาเนา และเกาะวิซายัส โดยจะเริ่มดำเนินการในใตรมาสที่สองของปี 2564 นี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566

ซีอีโอ บล็อค: บิ๊ก สมอล์ เทค

เป็กก้า ลุนด์มาร์ก ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโนเกีย อธิบายให้เห็นถึงข้อดีของนวัตกรรมในแอปพลิเคชันของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ส่งผลดีกับท้องถิ่นว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา ที่ช่วยให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชุมชน ตลอดจนการให้บริการสาธารณะ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ

X

Right Click

No right click