ขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นรายได้จากการขายของกิจการประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และรายได้จากการขายของกิจการต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 18
บริษัท ฯ รายงานกำไรสุทธิ จำนวน 2,842 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักที่ทำให้กำไรลดลง มาจากราคาสุกรในประเทศเวียดนามและประเทศจีนอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีระดับราคาสูงจากภาวะขาดแคลนสุกรจากโรคระบาด ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นับเป็นช่วงเวลาที่มีความท้าทายในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างมาก จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลก และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ นอกจากนั้น กรณีความขัดแย้งของประเทศรัสเซียและประเทศยูเครน ทำให้เกิดความท้าทายและความผันผวนทางเศรษฐกิจ อาทิ อัตราแลกเปลี่ยน การเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน และการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการผลิต และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ต้นทุนของธุรกิจอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้
ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ คาดว่า ผลการดำเนินงานจากนี้ไปจะมีแนวโน้มที่ดี จากการบริโภคที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประเทศไทยและหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายการจำกัดการเดินทาง และแนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากภาวะการขาดแคลนเนื้อสัตว์ในบางประเทศ รวมถึงปริมาณการส่งออกไก่ของไทยที่เพิ่มขึ้น จึงมองว่าผลการดำเนินงานปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา