ธุรกิจการเงินและประกันเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นและความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในบริการทางการเงิน ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าได้ แพลตฟอร์ม LINE ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจกลุ่มนี้ในการสื่อสาร ทำการตลาด ไม่เพียงเพราะความสามารถในการเข้าถึงคนไทยจำนวนมาก แต่ยังมีโซลูชันหลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าคนไทย พร้อมข้อมูลอินไซด์มากมาย เพื่อให้ภาคธุรกิจได้นำมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการเติบโต ล่าสุด LINE ประเทศไทย ได้จัดงาน Insight Sharing อัปเดตเทรนด์สำคัญในการใช้เทคโนโลยี LINE สำหรับธุรกิจการเงินและประกันโดยเฉพาะ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก LINE ประเทศไทย นำโดย คุณพันพิศุทธิ์ เอี๊ยเจริญ (ในรูป-กลาง) หัวหน้าทีมที่ปรึกษาธุรกิจการเงินและประกัน LINE ประเทศไทย พร้อมด้วย คุณราชัน รัชนิวรากรกุล (ในรูป-ซ้าย) และคุณภาคิณ ฤทธิ์คำรพ (ในรูป-ขวา) ที่ปรึกษาธุรกิจการเงินและประกัน LINE ประเทศไทย มาร่วมให้ข้อมูล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทรนด์การใช้ LINE ของกลุ่มธุรกิจการเงินและประกันในไทยพัฒนาไปอย่างมาก จากในระยะเริ่มต้น ที่เน้นใช้งานเครื่องมือหลักอย่าง LINE OA เพื่อสื่อสารทางเดียวในรูปแบบการบรอดแคสต์หาลูกค้าจำนวนมาก ด้วยคอนเทนต์เดียวกัน สู่ยุคแห่งการสร้างสรรค์การสื่อสารแบบ Personalized เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคลมากขึ้น ด้วยอัตราการเติบโตของจำนวนข้อความรูปแบบดังกล่าว ในช่วงปี 2022-2023 เกิน 130% และการสื่อสารแบบสองทางผ่านแชตบอท ด้วยอัตราการเติบโตของแชตบอทเกิน 82% ชี้ให้เห็นว่า LINE กลายเป็นศูนย์กลางการสื่อสาร การให้บริการลูกค้าแต่ละบุคคลได้อย่างครบครัน โดยสรุปเป็นภาพรวมความเคลื่อนไหวการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลบน LINE สำหรับธุรกิจการเงินและประกันได้เป็น 4 เทรนด์ใหญ่ ดังนี้
1) เชื่อมต่อ LINE OA ด้วย API เพื่อสื่อสาร ให้บริการแบบ Personalized
หลากหลายแบรนด์มีการเชื่อมต่อ LINE OA กับระบบต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่ผ่าน LINE API นอกจากเพื่อเสริมสร้าง ต่อยอดประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าใน LINE OA ให้ครบครัน ครอบคลุมและหลากหลายแล้ว ยังช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลส่วนตัวจากลูกค้าโดยตรง ด้วยเงื่อนไขที่ลูกค้าจำเป็นต้องผูกบัญชีและ Verify ตัวตนเบื้องต้นก่อนใช้งาน โดยแบรนด์สามารถนำข้อมูลดังกล่าว รวมถึง User ID ของลูกค้าที่ได้ มาร่วมจำแนก จัดเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เพื่อเลือกสื่อสาร นำเสนอคอนเทนต์ และบริการแบบ Personalized ให้ลูกค้าแต่ละคน แต่ละกลุ่ม ได้ตรงใจ ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การบรอดแคสต์ข้อความแบบ Narrowcast ตามกลุ่มลักษณะของลูกค้าที่แบรนด์ได้แบ่งกลุ่มไว้ การบรอดแคสต์ข้อความแบบ Multicast ถึงลูกค้ากลุ่มใหญ่โดยอาศัยข้อมูล User ID ที่แบรนด์ได้มา รวมไปถึงการส่งข้อความแชต 1:1 หาลูกค้าเป้าหมายรายบุคคล เป็นต้น ซึ่งการส่งข้อความแบบ Personalized เช่นนี้ ย่อมทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าเป็นที่น่าประทับใจ ลูกค้าได้รับข้อมูลตรงความสนใจ ลดอัตราการบล็อค LINE OA ไปด้วยในตัว จึงกลายเป็นที่นิยมของหลากหลายแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจนี้ ด้วยอัตราการบรอดแคสต์ข้อความแบบ Narrowcast และ Multicast ในปี 2024 เติบโตจากปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่า
2) ทำ Data Utilization ใช้ประโยชน์จากข้อมูลหลายแหล่งที่มา
ธุรกิจกลุ่มการเงินและประกันในไทย ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่ใช้ดาต้าเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้งานเครื่องมือ Business Manager ในการรวมทุกข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มาไว้ในถังข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้แบรนด์สามารถนำมาบริหารจัดการร่วมกัน และดึงมาใช้เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าในการสื่อสาร ทำการตลาดแบบ Cross-Targeting บน LINE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าที่เกิดขึ้นบน LINE OA เช่น การคลิกข้อความบรอดแคสต์หรือริชเมนู ข้อมูลที่ได้จากการติด Tag ฯลฯ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นต่อโฆษณาบน LINE เช่น การรับชม การคลิกโฆษณา ทั้งโฆษณาที่มาจากระบบประมูลผ่าน LINE Ads และโฆษณาในตำแหน่ง Smart Channel และ Master Banner เป็นต้น อีกทั้งแบรนด์ยังสามารถเพิ่มข้อมูล 1st Party Data เดิมที่แบรนด์มี เช่น เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ User ID มาร่วมเก็บไว้ในถังข้อมูลเดียวกัน เพื่อวิเคราะห์แบ่งกลุ่มร่วมกันได้อีกด้วย โดยจากผลทดสอบ การใช้ Business Manager สำหรับทำการตลาดแบบ Cross-Targeting บน LINE สามารถช่วยเพิ่ม CTR ได้มากถึง 1.46 เท่า และหากมีการใช้ข้อมูล 1st Party Data ร่วมด้วย จะช่วยเพิ่มผล CTR สูงถึง 1.76 เท่าเลยทีเดียว จึงทำให้กลุ่มธุรกิจการเงินและประกันในไทย เริ่มมีการเปิดใช้งาน Business Manager ในปีนี้เพิ่มมากขึ้นจากปี 2023 ถึง 90% และ 90% ของกลุ่มดังกล่าว เน้นความต้องการดึงข้อมูลพฤติกรรมต่อโฆษณาบน LINE เป็นสำคัญ
3) เสริมความมั่นใจ คงความปลอดภัยในการแจ้งเตือนด้วย LINE Official Notification (LON)
การแจ้งเตือนจากกลุ่มธุรกิจการเงินและประกัน มักเกี่ยวเนื่องกับข้อมูลสำคัญเชิงธุรกรรม จึงต้องการความปลอดภัยสูงในการสื่อสาร LON คือ โซลูชั่นการส่งข้อความแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ ที่แบรนด์สามารถส่งหาลูกค้าด้วยระบบของ LINE ผ่านฐานข้อมูลที่เป็นเบอร์โทรศัพท์ โดยจะแสดงผลผ่าน LINE OA ของแบรนด์ดังกล่าว นับเป็นเครื่องมือใหม่จาก LINE ที่ช่วยเสริมความปลอดภัยในทุกการแจ้งเตือนจากแบรนด์สู่ลูกค้าได้ พร้อมเสริมความมั่นใจให้ลูกค้าไร้ความกังวลในการเปิดอ่าน โดยผลการใช้งานจริงจากธุรกิจโบรกเกอร์ชั้นนำอย่าง ‘หยวนต้า’ พบว่าการใช้งาน LON ช่วยประหยัดงบประมาณในการส่งข้อความ SMS ลดลงกว่า 80% พร้อมอัตราการส่งข้อความสำเร็จที่สูงขึ้นถึง 47.29% สะท้อนถึงประสิทธิภาพของโซลูชั่น LON ที่ตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดี จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยสัดส่วนข้อความแจ้งเตือน LON ที่ถูกส่งโดยกลุ่มธุรกิจนี้สูงถึง 37% ของจำนวนข้อความแจ้งเตือน LON ทั้งหมด นับว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มธุรกิจอื่นที่มีการเปิดใช้งาน LON
4) สร้างการรับรู้ผ่านโฆษณาบน LINE สู่ผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้
ผลลัพธ์และประสิทธิภาพของเครื่องมือดิจิทัลที่วัดผลได้ชัดเจน เป็นสิ่งที่กลุ่มธุรกิจการเงินและประกันให้ความสำคัญ โดยกลุ่มธุรกิจนี้ นับเป็นกลุ่มธุรกิจที่ลงทุนในโฆษณาผ่าน LINE Ads มากที่สุดในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความคุ้มค่าในเม็ดเงินลงทุน โดยวัตถุประสงค์ 3 อันดับแรกของการใช้งาน LINE Ads สำหรับกลุ่มธุรกิจนี้ คือ Website Conversion 45% การเข้าชมเว็บไซต์หรือ Website Visit 30% และ Smart Channel Custom 11% พร้อมค่าเฉลี่ยผลลัพธ์การใช้งาน LINE Ads อันโดดเด่นจากกลุ่มธุรกิจนี้ (ณ เดือนก.ค. 2567) อาทิ ต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้งหรือ CPM 16 บาท ต้นทุนต่อการคลิกหรือ CPC 2.20 บาท อัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็นหรือ CTR 0.57% เป็นต้น เมื่อมีมาตรฐานการชี้วัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน LINE Ads จึงถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์การใช้งานดิจิทัลบน LINE ที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มธุรกิจนี้เช่นกัน
ธุรกิจการเงินและประกันถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่เป็นผู้นำในด้านการใช้งานเทคโนโลยีในประเทศไทย เป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ที่มีการใช้งาน LINE เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดย LINE พร้อมเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนให้กลุ่มธุรกิจนี้เดินหน้าสู่การเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตลาดดิจิทัลไทยในภาพรวมได้เทียบเท่าระดับสากล กลุ่มธุรกิจธนาคารและประกัน ที่สนใจใช้งานแพลตฟอร์มหรือโซลูชั่นต่างๆ บน LINE สามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อสอบถามทีมที่ปรึกษาธุรกิจองค์กร LINE ประเทศไทยได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/contact หรือติดต่อสอบถามเอเจนซี่ที่ดูแลแบรนด์ของท่านได้ทันที หรือเลือกติดต่อพันธมิตรเอเจนซี่ของ LINE ได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/partner
ท่ามกลางการแข่งขันที่ท้าทายในตลาดออนไลน์ การทำความรู้จักพฤติกรรมลูกค้า และการมองหาช่องทางการขายใหม่ ๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ LINE SHOPPING ผู้ให้บริการโซเชียลคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งของไทย เปิดอินไซต์นักช้อปออนไลน์ที่ร้านค้าควรรู้ พร้อมอัปเดตเทรนด์พฤตกรรมนักช้อปบน LINE SHOPPING ที่จะช่วยให้ไม่พลาดทุกโอกาสการขาย และวิธีสร้างฐานลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ด้วยค่าธรรมเนียมการใช้บริการที่ถูกกว่า
LINE SHOPPING ยังคงเป็นขวัญใจของเหล่าสาวนักช้อปอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้งานหญิงครองสัดส่วนถึง 75% โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 20 - 34 ปี ที่มีการซื้อขายอย่างคึกคัก รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มวัยทำงานและมีกำลังซื้อสูง เวลาที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่นิยมเข้ามาช้อปปิ้ง คือ วันอังคารและวันพุธ ระหว่างเวลา 10:00 - 12:00 น. ทำให้ร้านค้าที่มี LINE OA และเปิดขายแอคทีฟ (Active)ในช่วงเวลานี้ อาจเพิ่มโอกาสในการปิดการขายที่เร็วขึ้นและกระตุ้นยอดขายได้สูงขึ้น ผ่านการพูดคุยและออกออเดอร์ผ่านแชทที่รวดเร็วได้ใจลูกค้า
หมวดหมู่สินค้าที่ครองใจนักช้อปสาวสุดอินเทรนด์บน LINE SHOPPING ต้องยกให้หมวดสุขภาพและความงาม รวมไปถึงหมวดแฟชั่น ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สกินแคร์ดูแลผิว เครื่องสำอาง หรือเสื้อผ้าแฟชั่นที่สาว ๆ ชอบอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และอีกหนึ่งหมวดสินค้าที่มีอัตราการเติบโตถึง 5% จากปีที่แล้ว ได้แก่ หมวดแม่และเด็ก โดยมียอดขายกว่า 6 แสนออเดอร์ในปีที่ผ่านมา
LINE SHOPPING ยังเป็นแหล่งรวมร้านค้าคนดังของศิลปิน ดารา และอินฟลูเอนเซอร์มากมาย ที่เหล่าแฟนคลับต่างพากันมาอุดหนุนสินค้า แย่งชิงของเอ็กซ์คลูซีฟมาครองในตะกร้า โดยเฉพาะร้านค้าหมวดอาหารที่มาแรงแซงทางโค้งจากกระแสในโซเชียลมีเดีย อาทิ ร้าน Nie & Ivan ของ “เนเน่ พรนับพัน” ที่ยอดออเดอร์เค้กทุเรียนและเค้กลอดช่องทะลักยาวข้ามเดือน, ร้านมาการอง Souri ของ “วิน เมธวิน” ที่สามารถสั่งเป็นเช็ตของขวัญสุดคิ้วท์ที่ส่งให้เพื่อนได้ทุกเทศกาล และร้าน Pop Monsters ป๊อปคอร์นหลากรสของ “โอ๋ ภัคจีรา” ที่เป็นขวัญใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีร้านค้าหมวดไลฟ์สไตล์ของบ้านแฟนด้อมทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น เทพลีลา, Rubsarb, VELENCE, Astro Stuffs, hometomyheart หรือ GMMSHOPS สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มีความเป็นแฟนคลับอันเหนียวแน่น และพร้อมยินดีจ่ายให้กับสินค้าพิเศษเอ็กซ์คลูซีฟ ทำให้ LINE SHOPPING เหมาะสำหรับร้านค้าที่ขายสินค้าแบบเน้นความ exclusive ต่อฐานแฟนคลับที่มีอยู่ และรวมไปถึงร้านค้าที่ต้องการต่อยอดสร้างฐานแฟนคลับเป็นของตัวเอง
ในปี 2024 มีผู้ใช้ LINE POINTS เพื่อซื้อสินค้ารวมแล้วกว่า 14 ล้านพอยท์ หรือเทียบเท่ากับ 14 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้งาน LINE SHOPPING อีกกว่า 150,000 คน ที่ได้รับ LINE POINTS แล้วเลือกกลับไปช้อปเพิ่มอีกกว่า 9 ล้านพอยท์
LINE SHOPPING รวมฟีเจอร์ไม้ตายช่วยเพิ่มฐานลูกค้า ด้วยต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า
LINE SHOPPING มีฟีเจอร์ช่วยสร้างฐานลูกค้าให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ LIVE, การบรอดแคสต์บน LINE OA, ระบบจัดการฐานข้อมูลลูกค้าหลังบ้าน หรือแม้แต่คูปองส่วนลดที่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพิชิตใจทั้งลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่ รวมทั้งยังช่วยสร้างความ Loyalty ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ได้ ซึ่งจากข้อมูลของบริษัทฐานข้อมูลการตลาด Acxiom พบว่า ผู้บริโภคกว่า 72% เต็มใจพร้อมที่จะภักดีต่อแบรนด์หากได้รับข้อเสนอส่วนลด นอกจากนี้ LINE SHOPPING ยังให้ความสำคัญกับการช่วยลดต้นทุนให้ร้านค้า คิดค่าธรรมเนียมการใช้บริการอย่างเป็นมิตรและคิดตามจริง โดยแบ่งเป็นค่าธรรมเนียมธุรกรรมการเงิน (Transaction Fee) 3% และค่าธรรมเนียมการใช้บริการ (Service Fee) 3% เฉพาะคำสั่งซื้อจากช่องทาง สื่อ และแคมเปญ LINE SHOPPING ซึ่งโดยรวมป็นอัตราที่ต่ำกว่าท้องตลาด จึงช่วยให้ร้านค้ามีกำไรเพิ่มขึ้น และสำหรับร้านค้าที่สนใจเพิ่มช่องทางขายเป็นของตัวเอง พิเศษ! เพียงเปิดร้านกับ LINE SHOPPING วันนี้ ฟรีส่วนลดค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 0% นาน 30 วัน
LINE MAN ผู้นำแพลตฟอร์มออนดีมานด์ เดินหน้าขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) จับมือ กรุงเทพมหานคร สนับสนุนโครงการ BKK Food Bank ช่วยค่าบริการจัดส่งอาหารให้กับกลุ่มที่มีความต้องการและกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ 50 เขตกรุงเทพมหานคร ผ่านบริการ LINE MAN MESSENGER มูลค่ารวม 1 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระจายอาหารสู่ผู้ที่มีความต้องการ
โครงการ BKK Food Bank จัดตั้งขึ้นจากความตั้งใจของ กทม. ที่เล็งเห็นว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีทั้งกลุ่มร้านอาหารหรือคนที่มีอาหารเกินจำเป็น และมีกลุ่มคนที่ขาดแคลนอาหาร จึงร่วมกับสำนักงานเขต 50 เขต ในการช่วยเขตแก้ไขปัญหาด้านการจัดส่งอาหารเหลือทิ้ง (Food Waste) ส่งต่ออาหารส่วนเกิน (Food Surplus) อย่างเป็นระบบ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ให้แก่ประชาชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านการจัดส่งอาหารจากบริการ LINE MAN MESSENGER ให้ถึงมือกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ที่ไม่สามารถเดินทางมารับอาหารได้เองที่สำนักงานเขตในแต่ละพื้นที่ทั่วกทม.
คุณยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยโครงการ BKK Food Bank ถือเป็นหนึ่งโครงการที่ช่วยแก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้ง และอาหารส่วนเกิน ซึ่งการจับมือกับกรุงเทพมหานครในวันนี้เราไม่เพียงแค่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนการส่งมอบอาหารผ่านบริการ LINE MAN MESSENGER เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยลด Food Waste ปัญหาด้านขยะอาหารอย่างยั่งยืนอีกด้วย โดยเรานำจุดแข็งด้านเทคโนโลยี และการมีไรเดอร์ในระบบทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ที่พร้อมให้บริการส่งอาหารมาช่วยให้โครงการสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่มีความต้องการ แต่ไม่สะดวกเดินทางมารับอาหารด้วยตัวเองได้อีกด้วย”
ด้านคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความมุ่งมั่นของโครงการนี้ว่า "โครงการ BKK Food Bank เป็นการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนผ่านการแบ่งปันอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้กลุ่มคนที่ต้องการและกลุ่มคนเปราะบาง ไม่เพียงช่วยสร้างรอยยิ้มให้กับผู้รับ แต่ยังสร้างความมั่นคงทางทางอาหาร ลดขยะและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ล่าสุดได้ขยายโครงการครอบคลุมทั้ง 50 เขต โดยการสนับสนุนจาก LINE MAN ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่ช่วยผลักดันความมุ่งมั่นของเรา ผ่านการจัดส่งอาหารที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลายทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครได้มากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่เป็นบ้านของพวกเราทุกคน”
ความร่วมมือในครั้งนี้ LINE MAN สนับสนุนส่วนลดค่าบริการจัดส่งอาหารผ่าน LINE MAN MESSENGER มูลค่ารวม 1 ล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ทางกรุงเทพมหานครในการจัดส่งอาหารแก่กลุ่มที่มีความต้องการและกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ 50 เขตกรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนนี้นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของทั้ง LINE MAN และกรุงเทพมหานคร ในการแก้ปัญหา และช่วยลด Food Waste ปัญหาด้านขยะอาหารอย่างยั่งยืน