กรุงเทพฯ: บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ของปี 2565 จำนวน 10,309 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลของการขยายตัวของฐานรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและการตั้งเงินสำรองที่ลดลง ในขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองมีจำนวน 22,815 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2565 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 30,403 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในไตรมาส 3 ของปี 2565 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 27,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิพร้อมกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ในขณะที่สินเชื่อโดยรวมขยายตัว 3.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

รายได้ค่าธรรมเนียมและอื่นๆ มีจำนวน 11,752 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้น 6.5% จากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบและการฟื้นตัวของกิจกรรมทางธุรกิจในวงกว้าง ในขณะที่รายได้จากการลงทุนและการค้าปรับตัวลดลง 81.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 16,942 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ ยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดีที่ 42.6% ในไตรมาส 3 ของปี 2565

บริษัทฯ ได้ตั้งเงินสำรองในไตรมาส 3 ของปี 2565 จำนวน 7,750 ล้านบาท ลดลง 22.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับสูงที่ 163.8%

คุณภาพของสินเชื่อโดยรวมปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ 3.34% ปรับตัวลดลงจาก 3.58% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 และเงินกองทุนตามกฎหมายยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.5%

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธุรกิจของกลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ยังคงขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ควบคู่กับการสนับสนุนการฟื้นตัวของลูกค้าในกลุ่มต่างๆ ในขณะเดียวกันการจัดตั้งธุรกิจใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ยานแม่” มีความก้าวหน้าหลายประการ อาทิ การบุกตลาดธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ของบริษัท ออโต้ เอกซ์ ภายใต้แบรนด์ “เงินไชโย” ที่สามารถขยายฐานลูกค้าและสินเชื่อมากกว่า 3,000 ล้านบาท ภายในไตรมาสเดียว บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ ได้เปิดตัวซูเปอร์แอป ด้านการลงทุนแห่งแรกของไทยที่รวบรวมการซื้อขายสินทรัพย์ดั้งเดิมและสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ในแพลตฟอร์มเดียว อีกทั้งแพลตฟอร์มโรบินฮู้ดได้ผันตัวไปเป็นซูเปอร์แอป อย่างเต็มรูปแบบโดยเพิ่มบริการจองที่พักและกิจกรรมท่องเที่ยว (Online Travel Agent) บริการสั่งซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้า (Mart Service) และบริการรับ-ส่งของ (Express Service) ตลอดจนได้รับใบอนุญาตแพลตฟอร์มบริการเรียกรถแล้ว และในไตรมาสนี้ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ ได้รับเงินปันผลพิเศษจากธนาคารเพื่อใช้ดำเนินงานตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อนำพาองค์กรก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำในระดับภูมิภาคต่อไป”

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนทุนการศึกษาและทุนวิจัยแก่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารเทศ (IST) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ประจำปี 2565 รวมเป็นเงิน 30 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุนการศึกษาให้แก่นิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 10 ทุน เป็นเงิน 20 ล้านบาท และทุนสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย สำหรับความร่วมมือระหว่างสำนักวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นเงิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นรูปแบบใหม่และก้าวสู่มาตรฐานชั้นนำระดับโลก สร้างบุคลากรให้เป็นผู้นำด้านงานวิจัยทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอัตโนมัติขั้นสูง สร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศได้ ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ VISTEC ในการเป็น World-class frontier research institute โดยมี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (กลาง) นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี เป็นประธานในพิธี และคุณกฤษณ์ จันทโนทก (ที่ 6 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ มอบให้แก่ ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล (ที่ 4 จากซ้าย) อธิการบดีสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

การสนับสนุนทุนการศึกษาและทุนโครงงานวิจัยแก่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารเทศ (IST) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นโครงการต่อเนื่อง ภายหลังจากที่ธนาคารฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ที่จังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี 2559 โดยสนับสนุนงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 450 ล้านบาท ในระหว่างปี 2560-2564 (ระยะที่ 1) ในการจัดตั้งสำนักวิชา ทุนการศึกษา และความร่วมมือในการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ด้วยตระหนักดีว่าการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเป็นพลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนอนาคตและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวแก่ประเทศไทย ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น เน้นการวิจัยที่จะทำให้เป็นผู้รู้จริง และรู้จักแก้ไขปัญหา รวมถึงสร้างแนวคิด องค์ความรู้ และนวัตกรรม ต่าง ๆ และในครั้งนี้ได้สนับสนุนทุนการศึกษาและทุนวิจัย ในระยะที่ 2 ระหว่างปี 2565-2569 รวมเป็นเงิน 150 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายปีละ 30 ล้านบาท

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำนักวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชนในปี 2564 กว่า 40 ผลงาน ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและมวลมนุษยชาติ

ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อย

สปป.ลาวกำลังเผชิญวิกฤตเงินกีบอ่อนค่ารุนแรง พร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้น ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2022 ค่าเงินกีบอ่อนค่าทะลุระดับ 15,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการอ่อนค่าลงถึง 57% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และ 44% เมื่อเทียบกับเงินบาท นับจากเดือนกันยายน 2021 เป็นต้นมา และอ่อนค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ในภูมิภาค การอ่อนค่าของเงินกีบตามภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น ประกอบกับการเร่งตัวของราคาน้ำมันและสินค้าต่าง ๆ จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาอุปทานคอขวดโลกที่สปป.ลาวจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าในสัดส่วนสูง ได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสปป.ลาวเร่งตัวขึ้น เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ และปัญหาการขาดแคลนสินค้าโดยเฉพาะน้ำมันเป็นวงกว้าง

 

ธนาคารไทยพาณิชย์  และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงสนับสนุนการจัดหลักสูตรการอบรมเพื่อใช้ในการฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหาร และหรือบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะความรู้ที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพให้กับผู้บริหารและบุคลากร และยกขีดความสามารถให้องค์กรให้สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยนำความเชี่ยวชาญของ SCB Academy มาพัฒนาเป็นหลักสูตรสำหรับการอบรมบุคลากรกลุ่มต่างๆ แบ่งเป็น 3 หลักสูตรหลัก ได้แก่ 1) หลักสูตร Foundation Courses เน้นการพัฒนาทางด้าน Power Skills และสร้าง Mindset ที่จำเป็นในยุคดิจิทัลสำหรับบุคลากรระดับหัวหน้างาน 2) Executive Program for Siriraj หลักสูตรผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด และ 3) Lean Evangelist for Siriraj สำหรับบุคลากรที่ทำงานทางด้านลีน ซึ่งเป็นหลักสูตร Train the Trainer จัดทำให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ หลักการ เทคนิค และเครื่องมือของการเป็นวิทยากรทางด้านลีน โดยการอบรมจะเน้นสร้างองค์ความรู้และความสามารถในการเป็นผู้ฝึกสอน (Trainer) รวมถึงเป็นผู้เผยแพร่วิธีคิดและการทำงานในรูปแบบลีน ให้แก่บุคลากรในองค์กร โดยมี ศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศ.นพ.สุโรจน์ ศุภเวคิน รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และ นายวรวัจน์ สุวคนธ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน SCB Academy ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง เมื่อเร็วๆ นี้

X

Right Click

No right click