ตอกย้ำเป้าหมายมุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้ลูกค้าผ่านดิจิทัลโซลูชัน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ตอกย้ำความคุ้มค่าของการเป็นลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี ทีทีบี ด้วยข้อเสนอสุดคุ้มโค้งสุดท้ายของปีแบบดีเวอรรร์ ทั้งการซื้อประกันและกองทุน เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีประจำปี 2566 กับแคมเปญพิเศษเพิ่มสิทธิประโยชน์ทั้งเครดิตเงินคืนและรับหน่วยลงทุนเมื่อลงทุนตามที่ธนาคารกำหนด

นางสาวนันทพร ตั้งเจริญศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารความสัมพันธ์และประสบการณ์ลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะดูแลลูกค้าบัญชีเงินเดือน ทีทีบี ให้ได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่ามากที่สุด ทั้งอัตราดอกเบี้ยพิเศษของผลิตภัณฑ์เงินฝากและสินเชื่อ รวมทั้งกิจกรรมการตลาดที่มีตลอดทั้งปี ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยในภาพรวมมีผู้เข้าร่วมแคมเปญทั้งหมดในปีนี้เพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อน

สำหรับช่วงเวลาสองเดือนสุดท้ายของปี เป็นช่วงของการเก็บตกสิทธิประโยชน์เพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษีจากการซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ กองทุนทั้ง SSF และ RMF ซึ่งทีทีบีได้จัดแคมเปญพิเศษขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่คุ้มกว่าสำหรับลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี ทีทีบี ตอกย้ำความคุ้มค่าที่ได้มากกว่าบัญชีเงินเดือนทั่วไป โดยเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2566 รับสิทธิประโยชน์เพื่อลดหย่อนภาษี ปี 2566 ดีเวอรรร์

  1. รับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝาก ทีทีบี สูงสุด 32% เมื่อสมัครซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต พรูเด็นเชียล ที่ร่วมรายการ พร้อมสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 3 คุ้ม ได้แก่ 1) รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% หรือคะแนนสะสม ttb rewards plus สูงสุด x10 และแบ่งชำระเบี้ยประกัน 0% นาน 6 เดือน เมื่อชำระด้วยบัตรเครดิต ทีทีบี 2) รับบัตรกำนัลจากเครือ BDMS สูงสุด 7,500 บาท เมื่อสมัครประกันชีวิตที่ร่วมรายการ และ 3) รับดอกเบี้ยเงินฝากอัตราพิเศษ สูงสุด 25% ต่อปี เมื่อสมัครประกันชีวิตที่ร่วมรายการ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและรายชื่อประกันชีวิตที่ร่วมรายการ ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/ba-tax-festival-2023
  2. รับหน่วยลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตราสารตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท เมื่อลูกค้าลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีทุก ๆ 50,000 บาท ในกองทุนที่ร่วมรายการ กับโพยกองทุนเด็ด SSF ที่จะช่วยให้การลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องง่าย เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและลดหย่อนภาษี โดยทีทีบีได้คัดกองทุนเด็ดและจัดตามระดับความเสี่ยงมาให้แล้ว อาทิ กองทุน UOBSD-SSF, UESG-SSF / UESG-SSF-D, T-ES-GCG-SSF, T-ES-GTECH-SSF, UEV-SSF, ttb smart port-SSF นอกจากนี้ยังมีโพยกองเด็ด RMF ที่เหมาะกับการลงทุนระยาวยาว เพื่อวางแผนเกษียณ อาทิ TMBGRMF, TMBGINCOMERMF, TMBGQGRMF, T-ES-GCG-RMF, TMB-ES-VIETNAM-RMF ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและรายชื่อกองทุนเด็ดที่ทีทีบีคัดมาให้แล้ว ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/rmf-ssf-2023 

“ทีทีบี เข้าใจความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความคุ้มค่าจากการลงทุน และช่วงเวลาโค้งสุดท้ายของปีในการลงทุนเพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษี โดยทีทีบีได้คัดสรรกองทุนที่มีผลประกอบการดีและเหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ หรือประกันที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน ซึ่งทีทีบีพร้อมส่งเสริมสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยความมุ่งมั่นของธนาคารที่จะทำให้ลูกค้าที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี ทีทีบี มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริง และนำเสนอแคมเปญพิเศษเพื่อลูกค้าบัญชีเงินเดือน ทีทีบี อย่างต่อเนื่อง” นางสาวนันทพร สรุป

รายละเอียดและสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานที่รับเงินเดือนผ่านบัญชี ทีทีบี ที่สนใจวางแผนลดหย่อนภาษี สามารถอ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ttps://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/ba-tax-festival-2023 หรือสอบถามข้อมูลที่ ทีทีบี ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ttb contact center 1428

fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนเช็กกันอีกรอบก่อนสิ้นปี! สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาสำรวจให้ดี ๆ ว่าปีนี้วางแผนภาษีล่วงหน้ากันครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยเริ่มจากการคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องเสียและหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีรูปแบบต่าง ๆ

ยื่นภาษีเงินได้ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2567 สามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการยื่นภาษีแบบเอกสารกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใกล้บ้าน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 หรือจะเลือกยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th สามารถทำได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2567

อัตราภาษีเงินได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี

การคำนวณภาษีจะเป็นการคิดคำนวณแบบขั้นบันได ซึ่งจากข้อมูลอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566

ผู้มีเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นภาษี และเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยเริ่มที่ฐาน 5% รายละเอียดเกณฑ์อัตราภาษีสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

ภาษีเงินได้เกิน มีอะไรที่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนได้บ้าง

"ค่าลดหย่อน" คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ถูกกำหนดตามกฎหมาย กำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว จะช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยในแต่ละปีอาจมีรายการลดหย่อนภาษีต่างกันออกไปเล็กน้อย เนื่องจากนโยบายของรัฐในช่วงนั้น ๆ โดยสำหรับปี 2566 มีรายการลดหย่อนภาษีแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส - ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
  3. บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • อายุไม่เกิน 20 ปี
  • หากอายุ 21 - 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  1. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  2. ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
  3. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน (ลำดับ)

  1. ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
  2. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของตัวเองและของคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และสำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  2. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  1. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
  • ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท

ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

  1. ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
  • ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
  • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
  • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
  1. เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100,000 บาท
  2. ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
  • มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
  • มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 10,000 บาท
  • ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  1. บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
  2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  3. เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

สำหรับใครที่มองหาวิธีเปลี่ยนเรื่องภาษีให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทีทีบีขอแนะนำ “My Tax” ฟีเจอร์ใหม่ บนแอป ttb touch ผู้ช่วยจัดการภาษีแบบครบวงจร ที่มาพร้อมฟีเจอร์ครบครันด้านภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินเพื่อประหยัดภาษีได้ล่วงหน้า…สะดวก ใช้งานก็ง่าย แถมไม่ต้องยุ่งยากกับเอกสารอีกด้วย

คลิก https://ttbbank.com/mytax เพื่อลองใช้งาน My Tax ผ่านแอป ttb touch

วางแผนลดหย่อนภาษีสามารถจัดการได้แต่เนิ่น ๆ

อ่านบทความฉบับเต็ม คลิกเลย! https://www.ttbbank.com/th/fintips-tax66-pr

หรือติดตามเคล็ดลับการเงินอื่น ๆ จาก fintips by ttb ได้ที่เว็บไซต์ทีทีบี เลือก “เคล็ดลับการเงิน”

คลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-097

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดการปรับเพิ่มราคาน้ำตาลทราย ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคาสินค้า พร้อมสนับสนุนมติภาครัฐที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุมราคา พร้อมเน้นสนับสนุนให้เกษตรกรไร่อ้อย และผู้ผลิตน้ำตาล เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุน หรือมาตรการลดภาษีให้ผู้ผลิต มากกว่าการเพิ่มราคาที่จะส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศเรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 โดยมีผลทำให้ราคาน้ำตาลทรายขาวเพิ่มขึ้นจาก 19 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23 บาทต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกิโลกรัมละ 20 บาทเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 24 บาท ส่งผลให้ราคาขายปลีกที่ประชาชนต้องใช้จ่ายเพื่อการบริโภคหรือเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นสูงจาก 24-25 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มเป็น 28-29 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 17%

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลทรายย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีการใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางตรง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และ อุตสาหกรรมของหวานและเบเกอรี รวมถึงกลุ่มที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางอ้อมในลักษณะเครื่องปรุงรส เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดย ttb analytics ได้ประเมินว่าการที่น้ำตาลทรายขึ้นราคาส่งผลกระทบค่อนข้างจำกัด โดยกำไรขั้นต้น (กำไรที่ยังไม่หักต้นทุนการขาย การดำเนินการ และต้นทุนทางการเงินอื่น) ของกลุ่มเครื่องดื่ม เช่น ผลิตภัณฑ์นม และน้ำอัดลม อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง 1.2% และ 2.6% ตามลำดับ ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมหวาน กำไรขั้นต้นลดลง 0.5%-3% ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการใช้น้ำตาลทรายในขนมหวานแต่ละประเภท ในขณะที่ผู้ขายอาหารตามสั่ง พบพื้นที่กำไรขั้นต้นลดลง 0.4%-0.6% อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำไรที่ลดจากผลกระทบของราคาน้ำตาลทรายที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากกลไกของราคาแต่มาจากนโยบายภาครัฐ จึงอาจไม่เป็นธรรมกับฝั่งของผู้ประกอบการที่กำไรลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางส่วนอาจมีการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผ่านการขึ้นราคาสินค้าซึ่งอาจกระทบกับภาคประชาชนและผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคา ttb analytics ได้แบ่งผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายโดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ประชาชนและภาคครัวเรือน อาจต้องรับภาระที่ค่าครองชีพปรับเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายครั้งนี้กระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ และด้วยสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากกลไกราคาแต่เกิดจากที่มีประกาศให้ขึ้นราคาตามตลาดโลก จึงมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีบทบาทสูงสะท้อนผ่านสัดส่วนรายได้สูงถึง 98% ของมูลค่าตลาด รวมถึงช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ ราคาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมักขึ้นราคาเป็น บาท/หน่วย และ การที่ราคาเครื่องดื่มตามร้านสะดวก

ซื้อทั่วไปมีการปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท หมายถึงรายรับของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นที่ 5-10% ส่งผลให้ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ส่งผ่านราคาได้ มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% - 6.5% จากราคาที่ปรับเพิ่ม รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กที่มีความได้เปรียบในทำเลอาจส่งผ่านราคา โดยตามธรรมชาติการเพิ่มราคาของผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะเพิ่มราคาต่อเมนูขั้นต่ำที่ 5 บาท ส่งผลต่อรายรับที่อาจสูงขึ้นราว 10 % ส่งผลให้ร้านอาหารที่ขึ้นราคาได้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นราว 5.6% รวมถึงโดยธรรมชาติของสินค้าบริโภคขั้นสุดท้ายราคาจะมีความหนืด (Price Rigidity) ในการปรับราคาลง

2) ธุรกิจ SMEs รายย่อย เช่น ผู้ประกอบการอาหาร และขนมหวานรายย่อย แม้พื้นที่กำไรอาจไม่ส่งผลกระทบมากแต่ด้วยปริมาณการขายที่ไม่สูงมากนักส่ง ผลให้มีความกังวลว่าถ้าขึ้นราคาอาจส่งผลต่อยอดขาย ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ประกอบการที่มีรายได้ประมาณ 2,000 บาทต่อวัน กำไรขั้นต้นของร้านอาหาร และ ผู้ผลิตของหวานจะอยู่ที่ราว 800 – 830 บาท ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าแรงงาน ค่าเช่า พื้นที่กำไรที่เหลืออาจค่อนข้างจำกัดเพื่อใช้ยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องต้นทุนจากราคาน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น กดดันให้กำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ลดลงเหลือ 790 – 810 บาทต่อวัน และด้วยรายได้ที่แต่เดิมจำกัดในการยังชีพ เมื่อประสบภาวะต้นทุนที่ปรับเพิ่มจากราคาน้ำตาลทรายที่แม้ไม่สูงมาก แต่อาจส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัวได้

โดยสรุป การประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทรายอาจส่งผลดีต่อผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย และ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งผ่านราคา แต่ผลดีดังกล่าวถูกดึงมาจากภาคครัวเรือน และ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถส่งผ่านราคาได้ ประกอบกับเหตุผลของการขึ้นราคาน้ำตาลทรายในครั้งนี้ตามที่ สอน. ให้เหตุผลว่าปรับตามราคาตลาดโลก ก็ต้องมองย้อนกลับไปที่สาเหตุว่าเพิ่มขึ้นจากการที่อินเดียระงับการส่งออกน้ำตาลทรายจากผลผลิตที่ลดลง เพื่อใช้บริโภคในประเทศและไม่ให้กระทบความเป็นอยู่ของภาคประชาชน แต่ในทางกลับกัน การปรับเพิ่มราคาขายในประเทศจะกลายมาเป็นภาระต้นทุนให้กับภาคประชาชนมากกว่ากรณีของอินเดียที่ประกาศขยายการควบคุมการส่งออกน้ำตาลทรายเพื่อควบคุมราคาภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ทาง ttb analytics จึงสนับสนุนมติ ครม. ที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุม และเสนอเรื่องการช่วยเหลือผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย อาจใช้เรื่องของการให้เงินสนับสนุน เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไร่อ้อยหรือมาตรการลดภาษีให้กับผู้ผลิตน้ำตาลทราย แทนที่จะขึ้นราคาสินค้าที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb จัดรายการส่งเสริมการขาย ยิ่งผ่อนยิ่งคุ้ม เอาใจคนชอบผ่อน 0% เมื่อซื้อสินค้า หรือบริการที่ร่วมรายการด้วยบัตรเครดิต ttb ทุกประเภท และบัตรกดเงินสด ttb ณ ร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศที่ร่วมรายการ ทั้งการซื้อที่หน้าร้านค้าและการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมียอดใช้จ่ายขั้นต่ำ 5,000 บาทขึ้นไปต่อเซลล์สลิป และมียอดแบ่งชำระ 0% Pay Plan สะสมตลอดรายการตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป รับเครดิตเงินคืน 3% (จำกัดสูงสุด 6,000 บาท / บัญชีบัตรหลัก / ตลอดรายการส่งเสริมการขาย) ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2566 ลงทะเบียนทุกหน้าบัตรเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอป ttb touch หรือส่ง SMS พิมพ์ IPP ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 12 หลักสุดท้าย ส่งมาที่ 4806026   

ทั้งนี้ ร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการ มี 5 หมวด ได้แก่ หมวดสายการบินและการท่องเที่ยว หมวดศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์และศูนย์บริการรถยนต์ หมวดสถานเสริมความงาม หมวดโรงพยาบาล และหมวดออนไลน์

X

Right Click

No right click