ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาได้รับการออกแบบให้มีความเฉพาะตัวและมีรูปแบบที่ผสมผสานกันมากขึ้น

หัวเว่ย ดิจิทัลพาวเวอร์มุ่งผลักดันพลังงานสะอาดในประเทศไทย ตอบรับแผนกระทรวงพลังงาน เร่งผลักดันพลังงานสะอาดให้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย

 บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการประจำปี “Seeds for the Future 2021” ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ฝึกฝนทักษะด้านไอซีที และให้นิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถได้ค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตน ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โดยมีพิธีปิดงานและพิธีมอบประกาศนียบัตรได้รับเกียรติจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาเป็นประธานในพิธีฯ

 

ในปี 2564 นี้ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 15 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการ โดยตลอดหลักสูตรได้มีนักศึกษาจากประเทศอุซเบกิสถาน และเบลารุส เข้าร่วมในชั้นเรียนออนไลน์พร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมระหว่าง 3 ประเทศ

 

คอร์สฝึกอบรมแบบเร่งรัดในระยะเวลา 8 วัน ประกอบด้วยหลักสูตรไอซีทีที่ถ่ายทอดสดมาจากสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในเซินเจิ้น ประเทศจีน รวมถึงคลาสแบบออฟไลน์ที่จัดขึ้นที่สำนักงานของหัวเว่ย ประเทศไทย เช่นการเยี่ยม

ชมศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) การจัดเวิร์กช็อปเขียนพู่กันจีนและศึกษาตัวอักษรภาษาจีน ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมจีนมากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศของเพื่อนต่างชาติร่วมชั้นเรียน

 

การอบรมและเนื้อหาในหลักสูตรโครงการนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากหลักสูตรออนไลน์ในหัวข้อ 5G, IoT, AI และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมยังได้มีโอกาสร่วมกันระดมความคิดสร้างสรรค์และทำโปรเจ็กต์กลุ่ม “TECH4Good” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ นอกจากนี้นิสิตนักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากหัวเว่ยเพื่อเป็นหลักฐานการสำเร็จหลักสูตร

 

หลักสูตรนี้ทำให้เราเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมและทิศทางของวงการไอซีทีในอนาคต เนื้อหาที่เราได้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและทักษะต่าง ๆ นั้นจัดทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจริงที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้เชิงลึกที่หาไม่ได้ที่ไหน รวมไปถึงเวิร์คช้อปการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การไปเยี่ยมชมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และโครงการ TECH4Good ที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพของสังคมในด้านต่าง ๆ ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตการทำงานจริง ดิฉันมั่นใจว่าความรู้และทักษะที่ได้จากโครงการนี้จะช่วยยกระดับศักยภาพในการทำงานและเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พวกเรา ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่จัดกิจกรรมดี ๆ แบบโครงการ Seeds for the Future นี้ขึ้นมา” นางสาวพัชรินทร์ บุญสมเชื้อ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Seeds for The Future กล่าว

 

ระหว่างพิธีมอบประกาศนียบัตร นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีว่า “หนึ่งในภารกิจหลักของกระทรวงฯ คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน และด้วยการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เราจึงได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลคุณภาพสูงและส่งเสริมการพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน” พร้อมเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม รากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน แท้จริงแล้วคือการพัฒนาบุคลากรไอซีที กระทรวงฯ เชื่อว่าการศึกษาเชิงปฏิบัตินั้นสร้างประโยชน์มากมายแก่ผู้เรียนเมื่อพวกเขาเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน เราจึงพร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพบุคคลอย่าง “Seeds for the Future” ของหัวเว่ยอย่างเต็มที่ตลอดมา ดิฉันขอขอบคุณหัวเว่ยที่ได้ ร่วมทุ่มเท เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร จนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสามารถ และการมีส่วนร่วมของหัวเว่ยในการช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 อย่างเต็มความสามารถตลอดมา” นางสาวอัจฉรินทร์ กล่าวสรุป

 

หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีที ภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคนี้ โครงการ Seeds for the Future ซึ่งริเริ่มขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 เราได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมไอซีทีให้แก่คนรุ่นใหม่มาโดยตลอด และด้วยประสบการณ์ระดับโลกในด้านไอซีทีกว่าหลายสิบปี เราจะร่วมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรดิจิทัล ให้ความรู้ในห้องเรียนสอดคล้องกับทักษะสำหรับการทำงานในชีวิตจริง เราพร้อมจับมือกับภาครัฐและพันธมิตร เพื่อยกระดับแรงงานดิจิทัลที่จะเข้ามาพลิกโฉมประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างพิธีปิดงาน

 

 

 

 

กรุงเทพฯ/ 27 ตุลาคม 2564 - หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ประกาศเปิดตัวโครงการ Huawei ICT Competition 2021 - 2022 อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้ธีม “Connection, Glory, Future” ซึ่งเริ่มขึ้นพร้อมกันในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีให้แข็งแกร่งและยั่งยืนยิ่งขึ้น

 โครงการ Huawei ICT Competition ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2558 เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถของนิสิตนักศึกษาด้านไอซีทีทั่วโลก เพื่อคัดสรรและบ่มเพาะผู้ที่มีความสามารถในด้านดังกล่าว และจัดคอร์สฝึกอบรมระดับโลกรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจัดขึ้นร่วมกับหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับองค์กร เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญคุณภาพสูง

ทางด้านไอซีทีให้มีจำนวนมากขึ้น การแข่งขันด้านไอซีทีนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้มีร่วมประลองทักษะในการแข่งขันชั้นนำ พัฒนาความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีที กิจกรรม Huawei ICT Competition ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต (Seeds for the Future)” ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมของหัวเว่ย ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีในประเทศ และเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

 การแข่งขัน Huawei ICT Competition 2021-2022 ในประเทศไทย ประกอบด้วยการแข่งขันหลายรอบ โดยนิสิตนักศึกษาที่มีความสนใจและมีพื้นฐานด้านไอซีที สามารถรวมกลุ่มและลงทะเบียนสมัครเป็นทีม ๆ ละ 3 คน และเริ่มศึกษาด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์ก เช่น ดาต้าคอม หรือเทคโนโลยีด้านคลาวด์ เช่น คลาวด์ เซอร์วิส กิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ทีมที่ชนะจะมีโอกาสลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ รวมถึงทริปเดินทางเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไอซีที เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม ตลอดจนถึงโอกาสในการทำงานที่หัวเว่ย

 

         หมายเหตุ: ตารางข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “Huawei ICT Competition ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเฟ้นหาพันธมิตรรุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลของประเทศในอนาคต ประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นำในการเปิดให้บริการ 5G ในภูมิภาคอาเซียน และแรง

หนุนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาทางด้านดิจิทัลก็คือรากฐานด้านบุคลากรที่แข็งแกร่ง หัวเว่ยได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลอย่างต่อเนื่องผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือและโครงการต่าง ๆ อย่างเช่นโครงการนี้ ในขณะที่ไอซีทีได้เติบโตไปสู่ทุกอุตสาหกรรมและกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญในการพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าทางสังคม”

 นอกเหนือจากการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่โดดเด่นของบุคลากรด้านดิจิทัลในเวทีระดับโลกแล้ว โครงการ Huawei ICT Competition ยังเป็นโอกาสในการตอกย้ำคำมั่นที่จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ร่วมเดินหน้าสำรวจแนวทางการพัฒนาใหม่ ๆ และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเทคโนโลยีไอซีที พัฒนาบุคลากร และลดช่องว่างด้านความขาดแคลนบุคลากรในสาขานี้ นอกจากนี้ บริษัทยังเดินกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเวทีที่เปิดกว้างและสร้างโอกาสใหม่ ๆ อย่างมั่นคง ซึ่งท้ายที่สุดจะสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ

 นิสิตนักศึกษาที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/talent/#/news/details?consultationId=1483 และลงทะเบียนได้ที่นี่

 

-จบ-

X

Right Click

No right click