แกร็บ ประเทศไทย ประกาศความสำเร็จในปี 2566 ตอกย้ำความเป็นผู้นำซูเปอร์แอปในตลาดเรียกรถผ่านแอปและเดลิเวอรี เร่งเครื่องรุกธุรกิจเต็มสูบโดยชูไฮไลท์ “4A” มุ่งรักษาฐานลูกค้าหลัก (Active Users) ผุดบริการใหม่ที่เน้นความคุ้มค่า (Affordability) ใช้เทคโนโลยีเอไอเสริมแกร่ง (AI Technology) โหมธุรกิจโฆษณา-บริการใหม่ (Ads & New Services) พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนโดยมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและผลักดันโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมการใช้รถ EV การชดเชยคาร์บอน และการพัฒนาศักยภาพ-เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้หญิง

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า “ปี 2566 ถือเป็นอีกหนึ่งปีทองของ แกร็บ ประเทศไทย ภายหลังจากที่เราได้ประกาศนโยบายขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยผลประกอบการทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และความสำเร็จ จากการเปิดตัวบริการใหม่ๆ ตลอดจนโครงการความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการเดินทางที่เติบโตขึ้นอย่างมากภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ด้วยอานิสงส์ของนโยบายการเปิดประเทศและการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล ทำให้ใน ปีที่ผ่านมายอดใช้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน Grab ในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติเติบโตขึ้นถึง 139%1 ขณะที่ธุรกิจเดลิเวอรีของเรา ก็ยังคงแข็งแกร่ง โดยบริการ GrabFood และ GrabMart ยังคงครองใจผู้ใช้บริการยุคใหม่ที่มองหาความสะดวกสบายและบริการ ที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันเราก็ได้พัฒนาฟีเจอร์และบริการใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างบริการรับเองที่ร้าน

(Pickup) บริการสั่งอาหารแบบกลุ่ม (Group Order) หรือแม้แต่บริการกินที่ร้าน (Dine-in) ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของธุรกิจทางการเงิน เราได้เพิ่มช่องทางการชำระเงินสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยร่วมมือกับ Alipay และ Kakao Pay พร้อมขยาย ฐานผู้ใช้บริการในต่างจังหวัดผ่านการผนึกพันธมิตรกับธนาคารกรุงไทยโดยได้เชื่อมต่อระบบชำระเงินของแกร็บเพย์ วอลเล็ต (GrabPay Wallet) เข้ากับแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT”

“แกร็บมองเห็นสัญญาณเชิงบวกและเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของทั้งภูมิภาค รวมถึงประเทศไทย ยังคงมีแนวโน้ม การเติบโตที่ดี โดยปัจจุบันประเทศไทยมีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลสูงถึง 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ2 โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเรียกรถผ่านแอปและฟู้ดเดลิเวอรี ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 15%3 ภายในปี 2568 โดยในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย เตรียมเดินหน้ารุกธุรกิจเต็มสูบเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยมุ่งเน้นไป ที่ 4 ประเด็นหลัก (หรือ 4A) ควบคู่ไปกับการสานต่อโครงการต่างๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน และสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นกับทุกคนในอีโคซิสเต็มของเรา” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

สำหรับในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย มุ่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจโดยเน้นไปที่ 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย

· Active Users: แกร็บให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าหลักโดยมุ่งรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะ 3 กลุ่มหลัก คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สมาชิกแพ็กเกจ GrabUnlimited และลูกค้าคุณภาพ ที่ใช้บริการเป็นประจำ (Quality User) ผ่านการผนึกความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตร อาทิ การร่วมมือกับการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยและ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและผลักดันซอฟต์พาวเวอร์อย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว การพัฒนาสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าการ ให้ส่วนลดสำหรับสมาชิก GrabUnlimited รวมถึงการเปิดตัวแพ็กเกจสมาชิกแบบรายปีเพื่อรักษาฐานลูกค้าในระยะยาว ตลอดจนการพัฒนาสองแฟล็กชิพแบรนด์ของบริการ GrabFood อย่าง #GrabThumbsUp และ Only at Grab เพื่อรักษามาตรฐานและประสบการณ์ความอร่อยให้กับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

· Affordability: เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการและขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ แกร็บได้นำเสนอบริการใหม่โดยชูจุดเด่นใน เรื่องความคุ้มค่าเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้บริการที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาเป็นหลัก โดยแกร็บได้เปิดตัวบริการ “GrabCar SAVER” สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ขนาดเล็กในราคาประหยัดลงสูงสุดถึง 15% (เมื่อเทียบกับบริการ GrabCar) ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มทดลองให้บริการแล้วใน 20 จังหวัด และบริการ “GrabBike SAVER” สำหรับการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ในระยะทางไม่เกิน 4 กิโลเมตรในราคาเริ่มต้นเพียง 26 บาท ในส่วนของธุรกิจเดลิเวอรี นอกจากการเพิ่มทางเลือกในการจัดส่งอาหารแบบประหยัดหรือ “SAVER Delivery” แล้ว ล่าสุด แกร็บได้เปิดตัวซับแบรนด์ใหม่ “Hot Deals” เป็นเครื่องหมายการันตีความคุ้ม เอาใจสายประหยัดด้วยการนำเสนอเมนูเด็ดที่ลดราคาเป็นพิเศษจากหลากหลายร้านอาหาร มาพร้อมส่วนลดออนท็อป ในทุกช่วงเวลาให้ได้อิ่มคุ้มทั้งวัน

 

· AI Technology: ในปีที่ผ่านมาแกร็บได้พัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML: Machine Learning) มากกว่า 1,000 โมเดลเพื่อพัฒนาบริการและเสริมประสิทธิภาพ ในการดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาค สำหรับในปีนี้ แกร็บ ประเทศไทย ยังคงนำเทคโนโลยีที่พัฒนาเองเหล่านี้ มาใช้ต่อยอดเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้แพลตฟอร์มให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงพาร์ทเนอร์คนขับและร้านค้า อาทิ การนำ AI และ ML มาใช้ปรับปรุงและพัฒนาระบบพิจารณาเครดิตสำหรับการให้สินเชื่อกับพาร์ทเนอร์ หรือการพัฒนา GrabGPT เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำคอนเทนต์หรืองานออกแบบภายในองค์กร เป็นต้น

· Ads & New Services: แกร็บเตรียมขยายบริการ GrabAds เต็มสูบเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจโฆษณา โดยนอกจากการ เจาะตลาดลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว สินค้าสุขภาพ-ความงาม และสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว ในปีนี้แกร็บ ยังเตรียมผลักดัน “Self-serve Ads” เครื่องมือในการโฆษณาสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้า ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็กสามารถเพิ่มยอดขายจากการทำโฆษณาและแนะนำโปรโมชันกับลูกค้าได้ด้วยตัวเอง โดยมีผลตอบแทนจากการโฆษณา (Return on Ad Spend) เฉลี่ยสูงถึง 6 เท่า4 นอกจากนี้ แกร็บยังวางแผนที่จะพัฒนาและปรับปรุงบริการใหม่ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เรียกรถและเดลิเวอรี อาทิ บริการจองการเดินทางล่วงหน้า (Advance Booking) และกินที่ร้าน (Dine-in) ให้มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ผู้ใช้บริการยิ่งขึ้น

นอกจากการพัฒนาในด้านธุรกิจแล้ว แกร็บ ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นเจตนารมณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน ในสังคมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้เรายังเดินหน้าสานต่อโครงการสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โครงการ GrabEV เพื่อผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มพาร์ทเนอร์คนขับให้ได้ 10% ภายในปี 2569 โครงการ Carbon Offset ที่ยังคงร่วมปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยคาร์บอนจากการใช้บริการ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับและร้านค้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เพื่อเป้าหมายในการสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้คนไทย” นายวรฉัตร กล่าวทิ้งท้าย

ครั้งแรกกับโครงการใหญ่ “Alipay+-in-China” (A+China) ที่ช่วยให้ผู้ใช้โมบายวอลเล็ท 10 แบรนด์ชั้นนำจากไทย มาเลเซีย มองโกเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และเขตบริหารพิเศษมาเก๊า สามารถใช้อีวอลเล็ทของประเทศตนเองในจีนแผ่นดินใหญ่ได้แล้ว สร้างการเข้าถึงให้กับประชากรกว่า 175 ล้านคน  ถือเป็นการขยายอีโคซิสเต็มการชำระเงินผ่านมือถือ หรือโมบายเพย์เมนต์ระหว่างประเทศครั้งใหญ่ของ Alipay+ สู่เครือข่ายผู้ค้าจำนวนมากของจีน

โครงการ A+China เป็นความคิดริเริ่มของแอนท์กรุ๊ปที่จะช่วยแนะนำบริการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศในจีน โดยร่วมมือกับพันธมิตรอีวอลเล็ท และองค์กรบัตรระหว่างประเทศ ก่อนที่จะมีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่หางโจว

ภายใต้โครงการนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกที่จะผูกบัตรธนาคารระหว่างประเทศของตนกับ Alipay เวอร์ชั่นสากลที่อัปเดตแล้ว เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินผ่านมือถือและบริการดิจิทัลไลฟ์ขณะที่ท่องเที่ยวในประเทศจีน

  

การเพิ่มของอีวอลเล็ทดังกล่าวจะส่งผลให้จำนวนอีวอลเล็ทต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 10 ราย โดย AlipayHK (เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน), Touch ’n Go eWallet (มาเลเซีย) และ Kakao Pay (เกาหลีใต้) เป็นบริการนำร่องภายใต้โครงการนี้ตั้งแต่ปลายปี 2565 โดยรวมแล้ววิธีการชำระเงินเหล่านี้สามารถเข้าถึงประชากรกว่า 175 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก

ผู้ใช้อีวอลเล็ทเหล่านี้สามารถใช้แอปชำระเงินของตนเองได้ทุกที่ที่มีการให้บริการของ Alipay เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่โปร่งใสและแข่งขันได้ นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากโปรโมชั่นต่างๆ ผ่าน Alipay+ Rewards ซึ่งเป็นฮับการตลาดดิจิทัลระหว่างประเทศที่อยู่ในวอลเล็ท โดยทีมงานของวอลเล็ทต่างๆ ยังคงให้บริการสนับสนุนลูกค้าที่ใช้โรมมิ่ง โดยอาศัยความสามารถด้านเทคโนโลยีการชำระเงินแบบอัจฉริยะของ Alipay+

ภายใต้โครงการ A+China ทาง Alipay+ ยังได้ต้อนรับพันธมิตรการชำระเงินผ่านมือถือรายใหม่อย่างเป็นทางการอีก 5 ราย ซึ่งได้แก่ Hipay, Changi Pay, OCBC, Naver Pay และ Toss Pay เข้าสู่เครือข่ายผู้ค้าทั่วโลกของ Alipay+

Alipay+ ซึ่งเป็นชุดโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศ รวมถึงโซลูชั่นการตลาดและดิจิทัลที่พัฒนาโดยกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป ช่วยให้พันธมิตรด้านการชำระเงินสามารถเชื่อมผู้ค้าทั่วโลกและผู้ค้าในระดับท้องถิ่นเข้ากับผู้บริโภคดิจิทัลจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

นอกจากประเทศจีน Alipay+ ยังเข้าถึงผู้ค้า 5 ล้านรายใน 56 ตลาด และทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการชำระเงินผ่านมือถือกว่า 20 รายทั่วเอเชีย ซึ่งรวมกันแล้วสามารถให้บริการกับผู้บริโภคได้มากกว่า 1.4 พันล้านบัญชี ตอนนี้โครงการ A+China ได้ขยายบริการ Alipay+ เข้าสู่เครือข่ายผู้ค้าขนาดใหญ่ของจีนที่มีจุดขายสินค้าและบริการ (POS) หลายสิบล้านแห่ง

โครงการ A+China จัดตั้งขึ้นภายใต้การแนะนำของธนาคารประชาชนจีน และได้รับการสนับสนุนจาก NetsUnion Clearing Corporation รวมถึงพันธมิตรด้านอีวอลเล็ท องค์กรบัตรระหว่างประเทศ ตลอดจนสถาบันการเงินอื่นๆ ในจีน นักท่องเที่ยวยังสามารถเลือกที่จะผูกบัตรธนาคารระหว่างประเทศของตนกับ Alipay เวอร์ชั่นสากลที่อัปเดตแล้ว เพื่อเพลิดเพลินกับการชำระเงินผ่านมือถือและบริการดิจิทัลไลฟ์ขณะที่พำนักอยู่ในประเทศจีน

พร้อมกันนี้ แอนท์กรุ๊ปยังได้เปิดตัวแคมเปญด้านการตลาดและให้ความรู้แก่ผู้ค้าทั่วจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ เพื่อต้อนรับเหล่านักกีฬา แฟนๆ และนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย

ดักลาส ฟีกิน รองประธานอาวุโสของแอนท์กรุ๊ป และหัวหน้าฝ่ายบริการการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศของ Alipay+ กล่าวว่า การขยายจำนวนพันธมิตรและเครือข่ายร้านค้า และการยกระดับขีดความสามารถการดำเนินงานด้านดิจิทัลของเอสเอ็มอี ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับกลยุทธ์ในอนาคตของ Alipay+ “ผู้ให้บริการชำระเงินผ่านมือถือจำนวนมากเข้าร่วมอีโคซิสเต็มของการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศมากขึ้น ตั้งแต่โมบายวอลเล็ท ไปจนถึงแอปธนาคาร แอปของผู้ค้าอิสระ และซูเปอร์แอป เรามีแผนที่จะลงทุนเจาะลึกให้รวดเร็วมากขึ้นสำหรับเทคโนโลยีการชำระเงินและดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เพื่อช่วยให้พันธมิตรและผู้ค้าของเราเติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกช่องทาง” ฟีกินกล่าว

ในฐานะสถาบันผู้ให้บริการเคลียร์ริ่งที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารประชาชนจีน NetsUnion Clearing Corporation ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพและบริการหักบัญชีกองทุนสำหรับการชำระเงินมือถือระหว่างประเทศของแอนท์กรุ๊ป และดิจิทัลวอลเล็ทในต่างประเทศ เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนที่แข็งแกร่งสำหรับการชำระเงินผ่านมือถือระหว่างประเทศในเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญ เช่น หางโจวเอเชียนเกมส์ เพื่อช่วยบ่มเพาะการบริโภคระหว่างประเทศที่เปิดกว้างและครอบคลุมในประเทศจีน รวมถึงส่งเสริมการหมุนเวียนคุณภาพสูงของวัฏจักรเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ NetsUnion Clearing Corporation of China กล่าว

เอริก จิง ประธานและซีอีโอของแอนท์กรุ๊ป กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรด้านการชำระเงินอย่างเป็นทางการของเอเชียนเกมส์ เรารู้สึกขอบคุณอย่างมากสำหรับคำแนะนำของธนาคารประชาชนจีน การสนับสนุนของ NetsUnion Clearing Corporation และความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินและองค์กรบัตรระหว่างประเทศรายใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้เราสามารถดึงดูดผู้ใช้โมบายวอลเล็ททั่วโลกและผู้ใช้บัตรธนาคารในต่างประเทศมายังจีน นับเป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างดีเยี่ยมที่เราได้เห็นความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในระดับภูมิภาค เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวเพลิดเพลินกับทางเลือกและความสะดวกสบายมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กก็ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศด้วยนวัตกรรมที่แปลกใหม่ เรามุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือที่กว้างและเจาะลึกมากขึ้น เพื่อสานต่อภารกิจร่วมกันของเราในการทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้นโดยอาศัยพลังของเทคโนโลยีดิจิทัล”

จำนวนธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดในประเทศจีนผ่านวอลเล็ทนำร่องของ A+China ซึ่งได้แก่ Kakao Pay, Touch ’n Go eWallet และ AlipayHK เพิ่มขึ้น 47 เท่าในช่วงหกเดือน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2566 ทั้งนี้ เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้นเป็นเมืองยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้ มาเลเซีย และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจค้าปลีก และการคมนาคมขนส่งเป็นสามหมวดหมู่ที่มีการทำธุรกรรมเหล่านี้มากที่สุด

จากข้อมูลของ PricewaterhouseCoopers1 ภายในปี 2573 จำนวนธุรกรรมไร้เงินสดจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าหรือสามเท่า ขณะที่จีนเป็นผู้นำในภูมิภาคสำหรับการใช้ดิจิทัลวอลเล็ท ส่วนพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลายเป็นตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ผลการศึกษาของ FIS2 ชี้ว่า ระหว่างปี 2561 ถึง 2566 ดิจิทัลวอลเล็ทในภูมิภาคนี้ (ไม่รวมจีน) มีส่วนแบ่งมูลค่าธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า และส่วนแบ่งมูลค่าธุรกรรมการชำระเงิน ณ จุดขายเพิ่มขึ้นหกเท่า

เจ เวนเจอร์ส เดินหน้าขยายวงกว้างสร้างอีโคซิสเต็มการใช้งาน JFIN ให้เติบโต

X

Right Click

No right click