นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ (คนที่ 3 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และ ผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์ ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกับภก.เชิญพร เต็งอำนวย (คนที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด เนื่องในโอกาสจัดกิจกรรมเยี่ยมชมกลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์และบริการในอุตสาหกรรมยาไทย ที่กำลังเข้าร่วมจัดแสดงในงานซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024) ที่กำลังจะถึงนี้

“ซีพีเอชไอ เซาท์อีส เอเชีย 2024 (CPHI South East Asia 2024)” งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และการประชุมด้านอุตสาหกรรมการผลิตยาครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2567 ณ ฮอลล์ 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วที่ www.cphi.com/sea

บุคคลในภาพ (จากซ้าย)

1. นางสุวรรณี เต็งอำนวย รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

2. นางสาวชัญญา เต็งอำนวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

3. ภก.เชิญพร เต็งอำนวย กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

4. นางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาเก็ตส์ และ ผู้จัดการทั่วไป – ฟิลิปปินส์

5. นายชนวิน เต็งอำนวย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท เกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า จำกัด

6. ดร.ศุภเดช โรจไพศาล แพทย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสเต็มเซลล์

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย และ นายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP) พร้อมด้วยผู้แทนจากองค์กรพันธมิตร ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง “โครงการร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการก๊าซเรือนกระจก ในรูปแบบแพลตฟอร์มจัดการก๊าซเรือนกระจกครบวงจรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด (โรงงานข้าวนครหลวง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566

ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อตอบโจทย์คนไทยทุกกลุ่ม และสนับสนุนการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เพื่อมุ่งสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน โดยแพลตฟอร์มจัดการก๊าซเรือนกระจกนี้ ธนาคารคาดหวังว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ มีต้นทุนที่เหมาะสม และมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ โดยธนาคารและพันธมิตรจะร่วมกันศึกษาและพัฒนา แนวทางการดำเนินธุรกิจในด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กรอย่างครบวงจร เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยและสามารถนำมาใช้ได้จริง

นอกจากนี้ มีการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านมาตรฐานการวัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการรับรองกิจกรรม ภายใต้การดำเนินการโครงการความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อให้เกิดกลไกการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและสากล ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตของแต่ละองค์กร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ภายใต้มาตรฐานโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายหรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในเป้าหมายที่ 13 (Climate Action) เรื่องการปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

จับมือพันธมิตร 13 อุตสาหกรรม เปิดโลกใหม่ของการสร้างธุรกิจดิจิทัล ผ่านระบบนิเวศแห่งความสำเร็จระดับโลก

X

Right Click

No right click