×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

DISCOVERY YOU & How to? ถอดรหัสการใช้ชีวิตของคน 4 ประเภท เพื่อเป้าหมาย ค้นหาตัวตนและอาชีพที่ใช่

August 31, 2017 3400

ทำไมต้องหาอาชีพที่ใช่? อาชีพไหนที่เราทำได้ มั่นคง เงินเดือนดี ก็พอแล้วไม่ใช่หรือ? แป๋ม เพื่อนเอ็มก็เคยคิดอย่างนั้นค่ะ 

 

“เราไม่รู้ว่าจะทำงานไรดีว่ะ”

“แล้วแกไม่อยากเป็น Investment Banker แล้วเหรอ? นึกว่าที่ทำอยู่ก็แฮปปี้ดี”

“มันก็ดีอ่ะแก เงินเยอะ โบนัสก็โอเค แต่มันรู้สึกเบื่อๆ 

ยังไงก็ไม่รู้ ทำงานเดิมๆ เหมือนเดิมมา 7 ปีละนะ”

“แล้วแกคิดว่างานไรที่จะไม่เบื่อวะ?”

“ไม่รู้ดิ แต่วันจันทร์ทีไรก็ไม่อยากไปทำงานแล้วอ่ะ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาก็ไม่อยากไปทำงาน เลยลาป่วยไปช้อปปิ้ง”

“......”

 

ทำไมคนที่เรียนเก่ง จบมาด้วยเกียรตินิยม มีงานที่มั่นคง เงินเดือนสูง ก้าวหน้าเร็วอย่างแป๋ม จึงไม่มีความสุข?

 

จากหนังสือ “วิชาความสุขที่มีสอนแค่ในฮาร์วาร์ด” ที่เขียนโดย ทาล เบน-ชาฮาร์ (Tal Ben-Shahar) ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชานี้ ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนได้แบ่งการใช้ชีวิตของคนทุกคนไว้เป็นสี่แบบด้วยกัน คือ 1. หนูวิ่งแข่ง 2. คนเจ้าสำราญ 3. คนหมดอาลัยตายอยาก และ 4. คนมีความสุข

 

“หนูวิ่งแข่ง” คาดว่ามันจะมีความสุขเมื่อโล่งใจจากการผ่านพ้นความทรมานในการพยายามวิ่งเข้าสู่เส้นชัย แป๋มก็เช่นกัน ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย แป๋มก็ตั้งใจเรียนมาก หมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องเอาเกียรตินิยมอันดับ 1 มาให้ได้ เพราะคิดว่าอนาคตที่ดี งานที่ดี จะได้มาจากผลการเรียนที่ดี เมื่อถึงเวลาสมัครงาน ก็ตั้งเป้าเป็นงานที่แข่งขันสูงที่สุด อย่าง Investment Banking (วาณิช-ธนกิจ) ซึ่งเป็นสายงานที่เงินเดือนสูงที่สุด และเข้ายากที่สุดสำหรับสายการเงิน แต่แป๋มก็ยังไม่มีความสุขกับงาน แป๋มเป็นคนมีความกังวลเกือบจะตลอดเวลา ไม่ค่อยเห็นเวลาที่ไม่พารานอยด์ มีความสุข ตอนที่ดีใจเฉพาะเวลาประกาศผลสอบ ประกาศผลรับเข้าทำงาน เท่านั้น จึงกลายเป็นทาสของอนาคต ไม่มีความสุขในปัจจุบัน จนกระทั่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดดงานไปใช้ชีวิตอย่าง “คนเจ้าสำราญ”

 

“คนเจ้าสำราญ” มักยึดคติว่า YOLO (You Only Live Once) และทำทุกอย่างเหมือนไม่มีพรุ่งนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ตัวเองพอใจมากในปัจจุบัน และอาจเกิดผลเสียในอนาคต เหมือนที่แป๋มลาป่วย เพียงเพราะว่าไม่อยากไปทำงาน แล้วไปปรนเปรอตัวเองด้วยการช้อปปิ้ง ฟังดูเหมือนไม่มีอะไร ลางานวันเดียวไม่ใช่เรื่องใหญ่ซะหน่อย แต่ลองคิดดูว่าถ้าผู้อ่านเป็นเจ้านายของแป๋ม ซึ่งเห็นว่าแป๋มเป็นคนเก่ง มีความรับผิดชอบมาโดยตลอด จะสูญเสียความเชื่อใจขนาดไหน หากเขารู้ความจริง แต่ด้วยความที่เป็นเพื่อนกันมานาน และรู้ว่าแป๋มเป็นคนจริงจัง มีความรับผิดชอบเสมอ ดังนั้น การที่แป๋มทำตัวเป็นคนเจ้าสำราญ น่าจะหมายความว่า แป๋ม “หมดอาลัยตายอยาก” ในที่ทำงานไปแล้ว 

 

คนหมดอาลัยตายอยาก คือ คนที่ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่ออนาคต และไม่ก่อให้เกิดความสุขในปัจจุบัน 

 

ผู้เขียนกล่าวถึงการทดลองที่แบ่งสุนัขออกเป็น 3 กลุ่ม ในครึ่งแรกของการทดลองกลุ่มที่ 1 ถูกช็อตไฟฟ้า แต่สามารถปิดเครื่องช็อตไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย กลุ่มที่ 2 ถูกช็อตไฟฟ้า และไม่สามารถปิดเครื่องได้ กลุ่มที่ 3 ไม่ถูกช็อตไฟฟ้าเลย ในครึ่งหลัง สุนัขทั้ง 3 กลุ่มถูกจับไปอยู่ในกรงที่มีไฟฟ้าช็อต แต่สามารถหนีได้ด้วยการกระโดดข้ามรั้วเตี้ยๆ ซึ่งสุนัขในกลุ่มที่ 1 และ 3 กระโดดข้ามรั้วมาอย่างง่ายดาย แต่กลุ่มที่ 2 ไม่แม้แต่จะพยายาม

 

แป๋มคงไม่มีความสุขกับงานนี้ และหาทางออก แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้มาเป็นปีแล้ว จึงเป็นทาสของอดีตที่ตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จึงหมดความหวังว่าตนเองจะสามารถควบคุมอะไรได้ในปัจจุบันและอนาคต และไม่ทำอะไรที่พอใจในปัจจุบัน หรือเป็นประโยชน์ในอนาคต ด้วยการบ่นเรื่องเบื่องาน อยากเปลี่ยนงานไปวันๆ โดยไม่ลงมือค้นหาตัวเองว่าชอบอะไร และหางานใหม่จริงจังสักที ถ้าเอาแต่บ่น ก็คงเป็นได้แค่คนหมดอาลัยตายอยาก แล้วแป๋มจะเป็น “คนมีความสุข” ได้อย่างไร?

 

คนมีความสุข จะไม่เป็นทาสของอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เนื่องจากพวกเขาจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาพอใจในปัจจุบันด้วย แป๋มจะเป็นคนกลุ่มนี้ได้ก็ต่อเมื่อได้ทำอาชีพที่ใช่ ที่เหมาะสมกับตัวแป๋ม ซึ่งพูดง่าย แต่ทำยาก จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าอาชีพที่ใช่ของตัวเอง คืออะไรตั้งแต่เรียนจบ

 

ตัวเอ็มเอง ก็ใช้เวลาเกือบ 5 ปี ในการลองผิดลองถูก คิดวิเคราะห์ ลงมือทำ สำเร็จบ้าง พลาดบ้าง จึงจะรู้ว่าอาชีพที่ใช่ของตัวเอง คือการประกอบกิจการเพื่อสังคม CareerVisa (แคเรียร์วีซ่า) ที่ช่วยให้บุคคลอื่นค้นพบ ออกแบบ และมีความพร้อมในการทำอาชีพที่ใช่ของตัวเอง ตัดมาที่บิว เพื่อนอีกคนที่เอ็มได้ยินมานานมากแล้วว่าจะลาออกจากงาน แต่ต่างที่เพื่อนคนนี้เป็นคนเทคแอคชั่น ไม่ได้เอาแต่บ่น หรือคิดอย่างเดียว แต่กล้าที่จะลงมือทำด้วย

 

“ตกลงแกจะออกป่ะเนี่ย?”

“เรายังไม่แน่ใจเลยอ่ะเอ็ม ตอนแรกคิดว่าออกแน่ ได้งานใหม่ละด้วยนะ ที่บริษัทอเมริกา เค้าให้เงินเดือนตั้ง 2 เท่า แล้วยังได้ทำ project เกี่ยวกับที่เรียนโทมา ที่เราอยากทำด้วย”

“แล้วทำไมลังเลอ่ะ? เพราะได้ย้ายทีม?”

“อือ พอมาทำทีมนี้ ได้ทำอะไรใหม่ๆ เยอะ เรื่อง YYY ก็น่าสนใจ เป็นเรื่องที่ใหม่แต่มาแน่ในอนาคต ได้ตัดสินใจอะไรเอง คนในทีมก็เก่งได้เรียนรู้จากพี่ๆ เยอะมาก ถ้าออกไปตอนนี้ก็เสียดาย แต่ว่างานใหม่ก็ไม่ใช่

ได้มาง่ายๆนะ กว่าจะผ่านข้อเขียน ผ่านสัมภาษณ์

ตั้งหลายรอบ เลยไม่รู้ว่าจะเอาไงดี”

“อืม งั้นเอางี้ ลองทำ Career Design มั้ย? เผื่อจะคิดไรออก”

 

Career Design คือ อะไร?

Career Design คือหลักสูตรที่กิจการเพื่อสังคม CareerVisa ออกแบบขึ้นโดยมีหลักการมาจาก Designing Your Life ซึ่งเขียนโดยโปรเฟสเซอร์ที่ Stanford’s d .school และ What Color Is Your Parachute? ซึ่งเป็นหนังสือที่เปรียบเสมือนคัมภีร์ของคนที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพตนเอง และได้ทำการทดลองสอนใน 4 มหาวิทยาลัย และสอนในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ให้กับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (EBA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะถูกบรรจุอยู่ในวิชา Professional Development ในหลักสูตรของวิทยาลัยโลกคดีศึกษา Global Studies of Social Entrepreneurship (GSSE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2559 และจะอยู่ในวิชา Professional Development and Design Thinking 

 

แต่เราจะมาหาอาชีพที่ใช่ด้วย Career Design ได้อย่างไร ติดตามฉบับหน้านะคะ

 

เรื่อง : ธีรยา ธีรนาคนาท (เอ็ม) 

Last modified on Saturday, 02 December 2017 15:25
X

Right Click

No right click