January 22, 2025

“เอสซีจี” ปั้นนักพัฒนา Low-Code คนไทย รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

March 20, 2022 2972

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) 

กลุ่มบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ประกาศตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับเพิ่มทักษะการสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์ด้วยแพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชัน Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มองค์ความรู้แก่พนักงานในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟที่มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจจากการร่วมมือกับเอาท์ซิสเต็มส์ โดยล่าสุดบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านกระบวนการทางการเงินและบัญชีไปสู่ดิจิทัลด้วยเอาท์ซิสเต็มส์

 

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ประกอบกับความต้องการให้ทีมไอทีมุ่งเน้นการทำงานที่เน้นเป้าหมายทางธุรกิจมากขึ้น เอสซีจีจึงได้นำแพลตฟอร์ม Low-Code จากเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้เพิ่มทักษะแก่ทีมงานไอทีและพัฒนาแอปพลิเคชันระบบบัญชีต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยทีมของเอสซีจีเอง ด้วยแนวทางการพัฒนาแบบ Low-Code เอสซีจีสามารถสร้างแอปพลิเคชันเพื่อรองรับการดำเนินงานของบริษัทในเครือได้มากกว่า 200 แห่งและยังวางแผนสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงต่อยอดพัฒนานวัตกรรมโซลูชันเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในอนาคต

เป้าหมายหลักของเอสซีจีคือการเพิ่มทักษะและพัฒนาองค์ความรู้แก่ทีมงานภายในอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้บริษัทฯ เน้นการพัฒนาด้วยรูปแบบการเขียนโค้ดเป็นหลัก และอาศัยความเชี่ยวชาญของแผนกไอที หรือว่าจ้างบุคคลภายนอกเพื่อให้ทำงานร่วมกับบริษัทอื่น ๆ ในเครือกว่า 200 บริษัท ทั้งนี้หน่วยงานด้านไอทีภายใต้สำนักงานบัญชีที่ทรัพยากรต่าง ๆ เป็นความท้าทายหลักขององค์กร เพราะธุรกิจหลักมุ่งไปที่การพัฒนาแอปพลิเคชันระดับองค์กรที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถรักษาต้นทุนรวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนที่สูงขึ้นได้ ซึ่งจากการนำเทคโนโลยี Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์มาใช้ ทำให้เอสซีจีสามารถพัฒนาแอปฯ ใหม่ ๆ ได้มากกว่า 10 แอปฯ ในเวลาเพียง ปี ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขหรืออัปเดตระบบต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ ดังนั้นจึงเป็นความสำเร็จที่ตอกย้ำความสามารถของเทคโนโลยี Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์สำหรับนักพัฒนาในทุกองค์กร ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้

นายพิชิต ลีละพันธ์เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี แอคเค้าน์ติ้ง เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเอสซีจี มีธุรกิจหลัก กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Cement Building Materials) ธุรกิจเคมี (Chemical) และธุรกิจแพคเกจจิ้ง Packaging) ที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยส่วนกลาง (Corporate)  ซึ่งจะรวมถึงฝ่ายไอทีที่ให้การสนับสนุนเรื่องดิจิทัลในทุกด้าน เช่น การพัฒนาระบบบัญชีให้กับทุกธุรกิจในเครือ อาทิ การของบประมาณ ขอสินทรัพย์ และรับผิดชอบดูแลเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาใช้งานในองค์กรอีกด้วย เช่น High-Code, Low-Code, Blockchain, Robotic Process Automation (RPA) เป็นต้น และเนื่องจากบุคลากรไอทีจากส่วนกลางดูแลรับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีทั้งหมดในองค์กร ดังนั้นจึงสามารถนำเทคโนโลยีที่มีอยู่นำมาใช้งานได้อย่างสอดประสานกันได้อย่างลงตัว

 

แพลตฟอร์ม Low-Code ของเอาท์ซิสเต็มส์ช่วยให้เราขยายทักษะและความสามารถด้านไอทีในการพัฒนาระบบใหม่ ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแก่ทีมงานบัญชีต่าง ๆ ของเรา นอกจากนี้ยังช่วยให้เราพัฒนาและอัปเดตแอปพลิเคชันอื่น ๆ อีกมากกว่า 20 แอปฯ โดยบางแอปฯ เราพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นถึง 50% ที่สำคัญเราพัฒนาด้วยทีมงานของเราเอง นอกจากนี้เอสซีจียังได้ต่อยอดจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะแก่บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยตั้งเป้าผลิตนักพัฒนาที่ผ่านการรับรองมาตราฐานจากเอาท์ซิสเต็มส์เพิ่มเป็น 20 ราย ภายในปีนี้” นายพิชิต กล่าวเพิ่มเติม

อีกจุดเด่นหลัก ๆ ของการนำเทคโนโลยี Low-Code มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในเครือคือเราสามารถผสานเข้ากับแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ปัจจุบันได้ทันที อาทิ SAP, Microsoft และ SCG Integration Hub โดยใช้ เอาท์ซิสเต็มส์เป็นตัวเชื่อม (Gateway API)” 

เป้าหมายในอนาคตของเอสซีจีคือการเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเป็นแหล่งเพิ่มพูนทักษะให้แก่พนักงาน โดยเราวางแผนอัปเกรดทักษะต่าง ๆ สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี Low-Code เพื่อสร้าง Prototype ออกแบบและพัฒนา UX/UI และมีแผนต่อยอดความร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง เอาท์ซิสเต็มส์ ที่เป็นผู้ให้บริการหลัก ร่วมพัฒนาองค์ความรู้และชุดทักษะที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจ Low-Code Consultant เนื่องจากตลาดในประเทศไทยมีความต้องการเป็นอย่างสูง” นายพิชิต กล่าวสรุป

 

Last modified on Monday, 21 March 2022 02:35
X

Right Click

No right click