×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

มุ่งขยายโอกาสและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี เพื่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคน

การเปิดตัวโครงการ “1st JobberHack Challenge ติดอาวุธเสริมทักษะด้านดิจิทัล” จัดขึ้นที่บริษัทเอไอเอส เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนระดับชั้นอุดมศึกษาด้วย

ทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21 พร้อมสนับสนุนการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงผ่านการนำเสนอไอเดียโซลูชั่นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับธุรกิจได้จริง โดยต่อยอดจากการฝึกอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams ซึ่งครอบคลุมหัวข้อพื้นฐาน ได้แก่ การประมวลผลของชุดคำสั่ง (documenting) การสื่อสาร (communication) การเก็บข้อมูลและเว็บไซต์ (data collecting and website) การจินตนาการภาพจากข้อมูล (data visualization) ระบบควบคุมอัตโนมัติและการสร้างแอปพลิเคชัน (automation and building application) และการสร้างแอปพลิเคชันผลิตภัณฑ์ (create product application) 

ในงานเปิดตัวโครงการที่ผ่านมา มีนิสิตนักศึกษาให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 29 ทีม จาก 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนอกจากนิสิตนักศึกษาเหล่านี้จะได้รับความรู้จากเวิร์คช็อปการออกแบบความคิดและนำเสนอไอเดีย พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมในงานเปิดตัวที่ผ่านมาแล้ว พวกเขายังได้รับโอกาสในการฝึกอบรมทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นและมีประโยชน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ Microsoft Teams เป็นระยะเวลา 1 เดือน จนถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ด้วย

 Image preview

นายสุกฤษ ฉัตรไชยเดช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกว่าโครงการ 1st JobberHack Challenge มีความน่าสนใจตรงที่เป็นโครงการที่เกิดความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่งอย่างไมโครซอฟท์และเอไอเอส ผมจึงเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ผมได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากทั้งสองบริษัทที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรม จากการเรียนรู้ทักษะความรู้ระดับพื้นฐานที่สำคัญในการจัดกระบวนการคิดเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจต่าง ๆ”

 Image preview

นางสาวยุภาภรณ์ วันนา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสารสนเทศสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 จึงรู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลองนำความรู้เชิงทฤษฎีที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงทดสอบศักยภาพของตนเอง ก่อนที่จะออกไปเจอกับสนามแข่งจริง หนูเชื่อว่าทักษะและความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มชีวิตการทำงานในอนาคต ทั้งจากการแบ่งปันประสบการณ์และคำแนะนำโดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จ และจากการฝึกคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจร่วมกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม”

 

หลังจากการฝึกอบรมทางออนไลน์แล้ว ทีมนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะนำเสนอไอเดียโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจในรูปแบบวิดีโอที่มีความยาว 1-2 นาที และทีมผู้ชนะเลิศของการแข่งขันจะถูกประกาศขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 หลังจากการนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการซึ่งล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โดยทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับ Surface Go จำนวน 3 เครื่อง รางวัลละ 25,900 บาท บาท พร้อมการฝึกอบรมการใช้งาน PowerApp และ PowerPlatform สำหรับนักศึกษาจำนวน 50 คนจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ ในขณะที่ทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลเป็น Surface Go จำนวน 3 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท และทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลเป็นหูฟัง Logitech G933s จำนวน 3 รางวัล มูลค่า กว่า 6,000 บาท นอกจากนี้มหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศจะได้รับคอร์สสอนการใช้งาน Office 365 จำนวน 50 ที่นั่งฟรี

ฟอร์ติเน็ตและบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ ทรานสฟอร์เมชั่นส์ เซอร์วิสเซส จำกัด (Tata Communications Transformation Services Limited หรือ TCTS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัดจับมือกับไมโครซอฟท์อาชัวร์ (Microsoft Azure) เพื่อเปิดตัวบริการเอสดีแวนที่มีการจัดการ (Managed SD-WAN) ให้กับเครือข่ายอาชัวร์เวอร์ชวลแวน (Azure Virtual WAN)

บริการเอสดีแวนจาก TCTS จะช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถสร้างโซลูชันในการช่วยให้องค์กรต่างๆ ย้ายไปยังแพลทฟอร์มอาชัวร์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นการช่วยเร่งสร้างรายได้แก่ผู้ให้บริการในการช่วยย้ายระบบไอทีไปสู่คลาวด์สาธารณะ ทั้งนี้ โซลูชั่นครั้งนี้เป็นการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างสาขาให้กับลูกค้าที่ใช้ไมโครซอฟท์เป็นแพลทฟอร์มหลัก และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ทำงานบนอาชัวร์ได้อย่างปลอดภัยและรักษาระดับบริการ SLA ได้ตามต้องการ  โซลูชั่นนี้นับเป็นหนึ่งในโซลูชั่นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่เสนอเอสดีแวนพร้อมกับระบบความปลอดภัยให้แก่ทราฟฟิคที่ทำงานบนแพลทฟอร์มคลาวด์ของอาชัวร์

ทั้งนี้ TCTS ได้ยกระดับเครือข่ายอาชัวร์เวอร์ชวลแวนให้สูงขึ้นได้ จากศักยภาพในการกำหนดค่าบริหารนโยบายของแอปพลิเคชันได้จากส่วนกลางโดยใช้เทคโนโลยีเอสดีแวนของฟอร์ติเน็ตเข้ากับเทคโนโลยีเครือข่ายเอจ (Network Edge) ของอิควินิกซ์ เพื่อสร้างบริการเครือข่ายเสมือนจริงที่มีประสิทธิภาพการทำงานและปลอดภัยระดับสูง นอกจากนี้ บริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ (Cloud Networking-as-a-Service: CNaaS) ของ TCTS ถือเป็นส่วนหนึ่งของบริการคลาวด์ที่มีนวัตกรรมมากที่สุดและได้รับรางวัลของ TCTS จึงส่งให้บริการนี้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมจากคู่ค้าของ TCTS จากการยอมรับเป็นอย่างดีในธุรกิจให้คำปรึกษา การติดตั้งและการบริหารงานด้านเวอร์ชวลไลเซชั่น

มาดุสุดาน ไมซอร์ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TCTS กล่าวว่า “TCTS พัฒนาบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการโยกย้ายระบบไอทีขององค์กรที่ซับซ้อนที่สุด สามารถให้ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกนำไปเปิดบริการประเภทแมนเน็จเซอร์วิสที่มีการจัดการ (MSP) ที่ดีที่สุดให้กับฐานลูกค้าองค์กรของไมโครซอฟต์ที่มึอยู่ทั่วโลกได้ทันที จึงเป็นวิธีการสร้างกระแสรายได้สูงสำหรับผู้ให้บริการ  ทั้งนี้ TCTS มีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาทางเทคนิคที่เกี่ยวกับโซลูชั่นบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์นี้ จึงช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถเปิดบริการรองรับอาชัวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว”

ในขณะที่ระบบคลาวด์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่างยิ่งต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของอุปกรณ์ที่หลากหลาย อุปกรณ์เกตเวย์ การกำหนดค่า การจัดเซ็คเม้นต์ และการตรวจสอบระบบ Virtual Private Clouds (VPCs) ที่ทำงานอยู่ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้บริการโครงข่าย Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ในระดับภูมิภาคและทั่วโลก จึงทำให้การกำหนดค่าของเอสดีแวน วีพีเอ็น ตารางเร้าติ้ง ระบบความปลอดภัย เกตเวย์และการเชื่อมต่อแบบไฮบริดภายในพับลิคคลาวด์ยังคงเป็นปัญหาสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ เมื่อคลาวด์ขยายไปถึงส่วนเอจ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีการจัดการระหว่างคลาวด์และผู้ให้บริการ (เช่น Azure ExpressRoute และอื่นๆ ) แล้ว คลาวด์จึงมีความซับซ้อนในขั้นตอนการกำหนดค่าและใช้งานมาก

รอส โอเตก้า ผู้จัดการ ฝ่ายโปรแกรมสำหรับพันธมิตร หน่วยธุรกิจเครือข่ายไมโครซอฟต์อาชัวร์  แห่งไมโครซอฟต์ ได้กล่าวว่า “ความต้องการใช้งานเครือข่ายแวน (WAN) โน้มไปทางคลาวด์มากขึ้น ซึ่ง Microsoft Azure Virtual WAN (VWAN) สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ดี เนื่องจากเป็นเครือข่ายที่เอื้อให้อุปกรณ์และไซต์ต่างๆ เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์สาธารณะของอาชัวร์ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ บริการเอสดีแวนที่มีการจัดการของ TCTS บนเครือข่าย VWAN ของอาชัวร์จะช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถส่งให้บริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ที่มีการจัดการได้”

ด้วยความร่วมมือกันนี้ จึงทำให้องค์กรที่ไซต์ใดๆ สามารถสลับใช้สื่อประเภท MPLS และอินเทอร์เน็ต เพื่อหลีกเลี่ยงการรับส่งข้อมูลระหว่างภารกิจสำคัญในการรับส่งข้อมูล (ผ่านสื่อ MPLS และ Carrier Ethernet) และภารกิจที่ไม่สำคัญ (ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับอาชัวร์ผ่าน Azure ExpressRoute ได้  ทั้งนี้ การเชื่อมต่อเหล่านี้สามารถสร้างได้จากศูนย์ 'Virtual Cloud exchange' ของ TCTS ที่ใช้สร้างสภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการเดิมหรือสร้างบริการใหม่โดยทำงานร่วมกับศูนย์ Equinix' Cloud Exchange Fabric™ (ECX Fabric™) และโซลูชั่น Network Edge ในดาต้าเซ็นเตอร์ของอิควินิกซ์ที่มีอยู่ทั่วโลก

จอห์น แมดดิสัน รองประธานอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์และซีเอ็มโอแห่งฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า “การที่องค์กรปรับใช้คลาวด์กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายแวนขึ้นทั่วโลกโดยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเอสดีแวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้นด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตได้นำเสนอโซลูชั่นซีเคียวเอสดีแวน (Secure SD-WAN) ซึ่งมาพร้อมกับเอสดีแวนที่ดีที่สุด ไฟร์วอลล์ประเภทเน็กซ์เจเนอเรชั่นอันทรงประสิทธิภาพ คุณสมบัติด้านการจัดเร้าติ้งขั้นสูงและการเพิ่มประสิทธิภาพแวนรวมอยู่ในโซลูชั่นเดียว จึงส่งให้บริการเอสดีแวนที่มีการจัดการของ TCTS สามารถช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีโซลูชั่นแบบเบ็ดเสร็จในการมอบบริการเชื่อมต่อที่มีความปลอดภัยเชื่อถือได้และมีความหน่วงต่ำได้"

ศูนย์ Virtual Cloud exchange ของ TCTS (อยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา) ทำการเชื่อมต่อและการจัดการกับอาชัวร์และระบบคลาวด์สาธารณะอื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติผ่านทางโซลูชันที่ใช้เปิดบริการใหม่สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลก ซึ่งบริการจาก TCTS ส่งให้ผู้ให้บริการสามารถให้ลูกค้าองค์กรของอาชัวร์สามารถเลือกข้อเสนอมาตรฐานที่ไม่ต้องการฟังก์ชั่นเครือข่ายเอสดีแวนเสมือน (SD-WAN Virtual Network Function: VNF) ในอาชัวร์ หรือเลือกการทำงานขั้นสูง SD-WAN VNF ในอาชัวร์ที่ป้องกันทราฟฟิคของแอพลิเคชั่นให้ปลอดภัย

ทั้งนี้ TCTS จะให้บริการระดับมืออาชีพสำหรับโซลูชั่นบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ แก่ลูกค้า ดังนี้:

การวางแผน – ความต้องการทางธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์คลาวด์ การประเมินการรับประกันคลาวด์ การวางแผนการย้ายระบบคลาวด์ และการวางแผนความปลอดภัยของคลาวด์ การกำกับดูแลข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเสี่ยง

การเริ่มใช้งาน - พิสูจน์แนวคิด การทดสอบใช้งานของ Cloud SaaS, IaaS และ PaaS การกำหนดค่า VPC บนคลาวด์ การฝึกอบรมด้านคลาวด์ การย้ายระบบคลาวด์ การเพิ่มประสิทธิภาพและนโยบายสำหรับคลาวด์

การดำเนินงาน - การดำเนินงานด้วยนโยบาย 365X7X24 การสนับสนุนด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหา การบริหารการเปลี่ยนแปลง การจัดการสิทธิ์การเข้าถึง การตรวจสอบระบบคลาวด์ การจัดการกับอุปกรณ์ การรวมผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

หมายเหตุ: TATA COMMUNICATIONS และ TATA เป็นเครื่องหมายการค้าของ Tata Sons Private Limited ในบางประเทศ

 

การทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลจากหลากหลายเพศสามารถนำมาซึ่งโซลูชันที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ด้วยมุมมองที่แตกต่างจะส่งผลให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการเหมารวมว่าวงการเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมสำหรับผู้ชายเป็นหลักนั้นอาจ

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลสำรวจหัวข้อ  Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI ร่วมกับ มร.ไมเคิล อะราเน็ตตา (ที่ 4 จากซ้าย) รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ คุณชัชวลิต ธรรมสโรช (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบริหารทั่วไป บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ นางกัญจนี วงศ์รุ่งโรจน์กิจ (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ฟรอนทิส จำกัด

 

มีรายงานวิจัยที่จัดทำขึ้นร่วมกันโดยไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก และไอดีซี ในหัวข้อ Future Ready Business: Assessing Asia Pacifics Growth Potential Through AI ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาคธุรกิจของไทยควรเร่งนำ AI มาใช้งาน เพื่อยกระดับศักยภาพในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน โดยจากผลสำรวจองค์กรธุรกิจ 101 แห่งทั่วประเทศ พบว่ามีองค์กรเพียง 26% เท่านั้นที่นำ AI เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ทางธุรกิจ แม้ว่ากว่า 85% ขององค์กรเหล่านั้นจะเข้าใจดีถึงผลกระทบเชิงบวกจากการใช้งาน AI ก็ตาม

ผลสำรวจดังกล่าวยังเผยอีกว่า องค์กรธุรกิจไทยคาดว่า AI จะเพิ่มอัตราการสร้างนวัตกรรมขึ้นอีก 66% และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ราว 32% ภายในปี 2564 ขณะที่จะศักยภาพการแข่งขันจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 81%

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทุกวันนี้ ทุกบริษัทก็เป็นเหมือนบริษัทซอฟต์แวร์ และการทำงานในทุกส่วนก็เป็นดิจิทัลมากขึ้น การจะประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่นี้ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้ให้ได้โดยเร็ว และสร้างความสามารถเชิงดิจิทัลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองได้ ซึ่งในยุคของเรา AI จะเป็นเทคโนโลยีที่กำหนดทิศทางแห่งอนาคต ด้วยศักยภาพมหาศาลทั้งในการขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจ สร้างนวัตกรรม เสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และต่อยอดการเติบโตของธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศและธุรกิจที่ยังไม่ได้เริ่มต้นใช้งาน AI จึงกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน และตกเป็นรองธุรกิจที่เป็นผู้นำในด้านนี้”

สำหรับองค์กรที่เริ่มนำ AI มาใช้ มีปัจจัยขับเคลื่อนให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ใน 5 อันดับแรกคือ ประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้า (31% ของผู้ร่วมทำการสำรวจเลือกเป็นปัจจัยอันดับหนึ่ง) ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น (22%) ส่วนต่างกำไรที่เพิ่มขึ้น (22%) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (9%) และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น (8%) ตลอดปีที่ผ่านมา องค์กรที่เริ่มใช้งาน AI ได้เห็นถึงการพัฒนาที่ชัดเจนจากศักยภาพในด้านต่างๆ เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นราว 28-36% และยังคาดการณ์อีกว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกไม่ต่ำกว่า 20% ในช่วงระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า

 

ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพด้านข้อมูล และเสริมการลงทุนเกี่ยวกับ AI

ผลการสำรวจของไมโครซอฟท์และไอดีซีนี้ ได้เก็บข้อมูลด้านความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ AI ใน 6 ด้านหลักๆ โดยพบว่าประเทศไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาศักยภาพต่อไปในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านข้อมูลและการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำ AI มาใช้งานอย่างเต็มตัว

มร.ไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ กล่าวว่า “ประเทศไทยยังต้องเสริมความพร้อมในหลายมิติ เพื่อให้คว้าโอกาสจากพลังของ AI ได้ อย่างเต็มที่ ขณะที่หลายๆ ธุรกิจของไทยประกาศความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเปิดรับเทคโนโลยีไปแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการเพื่อทำให้เกิดกลยุทธ์ AI ที่ชัดเจน โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และระบบข้อมูลที่เพียบพร้อม เปิดให้เข้าถึงได้โดยสมบูรณ์ ปัจจัยทั้งหมดนี้จะปูทางไปสู่ความสามารถที่ดีขึ้นของ AI และผลกระทบทางธุรกิจที่สัมผัสได้อย่างแท้จริง ภาคธุรกิจจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน มุ่งเน้นความคล่องตัว เพื่อวางรากฐานของความสำเร็จในระยะยาว โดยที่ในบางกรณี อาจไม่ได้เห็นผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินในทันที”

ส่วนผู้นำในภาคธุรกิจที่กำลังประยุกต์ใช้ AI กำลังประสบกับความท้าทาย 3 ประการ ได้แก่ ภาวะขาดความเป็นผู้นำทางความคิด และความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการลงทุนกับ AI การขาดทักษะ ทรัพยากร และโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการที่ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาระบบข้อมูลให้พร้อมสำหรับ AI

ผลสำรวจนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการใช้งาน AI ผู้นำธุรกิจและพนักงานที่ร่วมแสดงความเห็นจำนวนมากเชื่อว่า คุณสมบัติทางวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI เช่น การพร้อมรับความเสี่ยง การสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงรุก และความร่วมมือข้ามสายงานของแต่ละทีม ยังไม่แพร่หลายนักในสภาพแวดล้อมการทำงานปัจจุบัน

“โดยรวมแล้ว พนักงานขององค์กรในประเทศไทยมีความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับความพร้อมทางวัฒนธรรมขององค์กร มากกว่าในกลุ่มผู้นำธุรกิจ” นายอะราเน็ตตาเสริม “ผู้นำธุรกิจต้องเปิดใจรับวัฒนธรรมใหม่เสียแต่ตอนนี้ และพัฒนาให้นวัตกรรมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นส่วนประกอบหลักของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เกิดความคล่องตัว ความสามารถในการปรับตัว และการเติบโตต่อไป”

 

ยังต้องแก้ไขปัญหาด้านทักษะของแรงงาน ก่อนปูทางสู่การใช้งาน AI

ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า ผู้นำธุรกิจและพนักงานมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบของ AI ต่อการทำงานในอนาคต โดยมากกว่าครึ่งหนึ่ง (77% ของผู้นำธุรกิจ และ 58% ของพนักงาน) เชื่อว่า AI จะช่วยทำงานปัจจุบันของพวกเขาให้ดีขึ้น หรือลดภาระในกรณีของงานที่ต้องทำซ้ำๆ อยู่เป็นประจำ

“เมื่อพูดถึงกรณีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ หรือโอกาสใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแทนที่งานแบบเดิม ผู้นำธุรกิจ 13% เชื่อว่า AI จะช่วยสร้างโอกาสงานใหม่ๆ ได้ ขณะที่มีเพียง 5% ที่รู้สึกว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาแทนที่แรงงานคน ในภาพรวม ผู้นำธุรกิจ 90% และพนักงาน 77% มองว่าการนำ AI มาประยุกต์ใช้จะช่วยเปิดทางไปสู่โอกาสใหม่ๆ หรือเสริมให้พวกเขาทำงานที่ทำอยู่เดิมได้ดียิ่งขึ้น” นายอะราเน็ตตากล่าว

ผลสำรวจนี้ยังพบอีกว่า พนักงานมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มากกว่าที่ผู้นำธุรกิจคาดการณ์ไว้ โดยผู้นำ 36% รู้สึกว่าพนักงานไม่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ขณะที่มีพนักงานเพียง 18% ที่รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

“วิสัยทัศน์ด้าน AI ของไมโครซอฟท์มุ่งเน้นไปที่มนุษย์ก่อนเป็นอันดับแรก เทคโนโลยี AI ไม่สามารถก้าวหน้าไปได้โดยปราศจากคน จึงเท่ากับว่าพนักงานหลายล้านคนจำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองให้มีทักษะ ยกระดับความสามารถให้พร้อมสำหรับอนาคตในยุคแห่ง AI” นายธนวัฒน์กล่าวเสริม “เป็นเรื่องน่ายินดีที่ธุรกิจถึง 81% ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะของพนักงานในอนาคต พวกเขาวางแผนที่จะลงทุนไปกับทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ขณะเดียวกัน ผู้นำธุรกิจราว 48% ก็ยังไม่เริ่มดำเนินการเพื่อช่วยพนักงานของพวกเขาให้มีทักษะที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ในขณะนี้ โดยพวกเขาจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฝึกสอนพนักงานโดยด่วน”

สำหรับ 3 ทักษะสำคัญที่ผู้นำธุรกิจในประเทศไทยต้องการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดิจิทัล และการคิดวิเคราะห์ โดยที่ 2 ทักษะแรกนั้น มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงกว่าปริมาณบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการนี้ ผลสำรวจนี้ยังเผยว่า ผู้นำธุรกิจให้ความสำคัญกับความสามารถทางด้านสังคมมากกว่าที่พนักงานคาดการณ์ไว้ ส่วนทักษะที่มีภาวะขาดแคลนมากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการโครงการ ความเป็นผู้นำและการจัดการบุคลากร และความคิดสร้างสรรค์

 

จีซี ยกระดับความปลอดภัยของการเดินทางด้วย “AI for Road Safety”

โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยถึง 66 คน ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งกว่า 60% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถขนส่งสาธารณะ มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินกำหนดและความเหนื่อยล้าหรือง่วงนอนของผู้ขับขี่ ทั้งนี้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี มีสำนักงานในกรุงเทพฯ และโรงงานในระยอง ซึ่งถือเป็นจังหวัดศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม ในแต่ละปีพนักงานของจีซีจะเดินทางไป-กลับบนเส้นทางนี้จำนวนมาก ด้วยรถตู้รับส่งของบริษัทฯ

จีซีให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง บริษัทฯ จึงเริ่มเดินหน้าใช้โซลูชั่นอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านโครงการ “AI for Road Safety” โดยความร่วมมือระหว่างจีซีและฟรอนทิส บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านการวางแผนกลยุทธ์และการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี AI ของไมโครซอฟท์ ซึ่งผสมผสานระบบการจดจำใบหน้า เข้ากับระบบการวิเคราะห์ภาพวิดีโอและข้อมูล เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้แบบเรียลไทม์

ระบบดังกล่าวทำงานโดยใช้กล้องที่จับภาพคนขับ พร้อมระบบจีพีเอส เพื่อเก็บข้อมูลภาพใบหน้าและการเคลื่อนไหวของยานพาหนะก่อนจะส่งไปยังระบบคลาวด์ เพื่อประมวลผลด้วย Machine Learning หากตรวจพบสัญญาณความเสี่ยง ผู้ขับจะได้รับการแจ้งเตือน หรือได้รับการติดต่อจากผู้ดูแลระบบรถโดยสาร โดยอาจมีการส่งคนขับรายใหม่ไปแทนที่ในกรณีที่จำเป็น นอกจากนี้ ผู้ดูแลระบบยังสามารถประเมินผลการทำงานของรถโดยสารและผู้ขับขี่ในระยะยาวได้ ผ่านหน้าจอแสดงข้อมูลที่มีระบบการวิเคราะห์ข้อมูล Power BI ของไมโครซอฟท์ โดยครอบคลุมทั้งศักยภาพของผู้ขับขี่ ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแง่มุมต่างๆ ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในการฝึกอบรมผู้ขับขี่

คุณชัชวลิต ธรรมสโรช ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบริหารทั่วไป บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ของประเทศ บริษัทฯ ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง โดยเป้าหมายสูงสุดคือ ต้องไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในทุกพื้นที่โรงงาน สำนักงาน และเขตอุตสาหกรรมของเรา ตลอดจนความปลอดภัยของบุคลากรทุกคน การนำระบบ AI นี้มาใช้งาน ไม่เพียงทำให้เกิดประโยชน์กับบริษัทเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมความอุ่นใจให้กับครอบครัวของพนักงานทุกคน ที่ต่างก็ต้องการให้สมาชิกของครอบครัวได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย พร้อมหน้าพร้อมตากันทุกวัน เราเชื่อว่าความมุ่งมั่นและแรงสนับสนุนจากทีมงานของเรา ผนึกกับศักยภาพของ AI จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนี้ไปได้ด้วยดี”

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น AI ของไมโครซอฟท์ได้ที่

https://news.microsoft.com/apac/features/artificial-intelligence/

Page 4 of 5
X

Right Click

No right click