คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ ด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ 1 อัตรา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หรืออยู่ระหว่างศึกษาระดับปริญญาเอกโดยผ่านการสอบประมวลวัดผล Ph.D. Candidate ทางด้านหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2565
ผู้ที่สนใจสามารถ Download ใบสมัคร ได้ที่ http://www.tbs.tu.ac.th/เกี่ยวกับเรา/Job-Opportunities รายละเอียดโทร. 06 3947 2614 ในวันและเวลาราชการ
กิจกรรมแข่งขันการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ท้าดวลวันที่ 28 มีนาคม 2563 ด้วยความร่วมมือจากมากกว่า 30 หน่วยงานพันธมิตรทั้งในภาครัฐและเอกชน
ช่วงนี้เป็นช่วงที่บัณฑิตใหม่ทั้งหลายกำลังออกล่าหางานทำกัน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรในโลกธุรกิจที่สำคัญมาก เพราะการเริ่มต้นได้ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
แบรนด์ “กิจการเพื่อสังคม” วีซ่าผ่านทางเพื่อค้นหา “งานที่ชอบ อาชีพที่ใช่“
บันทึกล่าฝัน และงานของ“ชาร์ลี”
หากหลับตาแล้วนึกภาพเด็กหนุ่มสัญชาติไทยผู้เติบโตในสิงคโปร์ตั้งแต่เด็ก เขาเริ่มต้นค้นหาความชอบของตัวเองในช่วงสมัยวัยรุ่น งานแรกที่เขาเริ่มคือการเป็นเด็กเสิร์ฟในร้านราเม็ง ทำงานไปโดยที่ยังไม่แน่ใจว่าอะไรคือสิ่งที่ตนเองชอบ รู้เพียงแต่ว่าชอบการพบปะและพบเจอกับผู้คน จนกระทั่งเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และก้าวเข้าสู่อาชีพการทำงานด้านโรงแรมในประเทศไทยในเวลาต่อมา เขาคิดเสมอว่าชอบอาชีพด้านการโรงแรม จนกระทั่งได้รับการเชิญออกจากงาน ด้วยสาเหตุอันมีที่มาจากความขัดแย้งกับหัวหน้างาน เพราะขาดความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กร
เป็นเวลามากกว่า 6 เดือนที่เขาต้องเฝ้าสับสน พร้อมด้วยอาการ “หลงทาง” เต็มรูปแบบ แต่แล้วโอกาสก็ผลักให้เขาให้กระโจนลงถนนแห่งอาชีพ sale จนเริ่มรู้สึกตัวในเวลาต่อมาว่า “ยังไม่ใช่” เขาปิดเกมอาชีพ sale อย่างรวดเร็วแล้วเดินต่อด้วยการเริ่มอาชีพใหม่ ด้วยการเป็น Head Hunter ที่นี่เองที่เขาค้นพบว่าเป็นอาชีพที่เขาทำได้ดี และดีสุดขีดทั้งหน้าที่การงานและรายรับต่อเดือนจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับเพื่อนมนุษย์เงินเดือนทั่วๆ ไป หากแต่คำถามก็เกิดขึ้นและยังเฝ้าวนเวียนอยู่ในหัวว่า “ทำไมผมจึงไม่มีความสุข? แม้จะเป็นงานที่ทำได้ดี”
บนเส้นทาง และระยะเวลาที่เขาใช้เพื่อการค้นหาคำตอบสำหรับคำถามเรื่อง “งานที่ชอบ และ อาชีพที่ใช่” โดยในที่สุด “เขา” หรือ “ชาร์ลี” ชาลี วิทยชำนาญกุล ได้ค้นพบว่า เขามีความสามารถและโดดเด่นในด้านการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมไปถึงการมีปฏิสังสรรค์ในด้านธุรกิจที่ต้องอาศัยศิลปะในการเจรจากับผู้คนเป็นหลัก เมื่อล่วงรู้ว่าสิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จในแทบทุกครั้งว่าคืออะไร ในปัจจุบันชาร์ลีผู้มีวัยเพียง 24 ปีจึงพบกับความสุข กับงานและการเป็น Co-Founder และ CEO ของบริษัท Asia สตาร์ทอัพ โดยได้เป็นผู้ทำการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรด้วยตนเองตามสิ่งที่ตนเองรัก และดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ อย่างสอดคล้องกับสิ่งที่ตนเองเป็น
ชาร์ลี เปิดเผยอย่างเป็นกันเองในห้องประชุม CareerVisa ที่จัดสัมมนาให้กับเยาวชนรุ่นน้อง ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมการทำงานในเวลาอันใกล้นี้ว่า “หัวใจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ ที่ค้นพบคือ การตัดสินใจที่มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว พยายามค้นหาว่าตัวเองทำอะไรได้ดีแล้วทดลองทำในสิ่งที่ชอบโดยไม่ต้องลังเล หรือกลัวจะเสียเวลา ไม่กลัวที่จะล้มเหลวเพื่อให้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่า สิ่งที่คิดว่าตนเองชอบนั้นอาจจะไม่ใช่วิถีทางอันเหมาะสมที่จะก้าวไป และต้องไม่ลืมที่จะเก็บเกี่ยวการตัดสินใจในอดีตมาเป็นประสบการณ์ สิ่งสำคัญอีกประการ คือ ต้องไม่หลอกตัวเอง หรือจำกัดความคิดของตัวเองไปที่การรักหรือสนใจงานอะไรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นธรรมดาที่ทุกๆ 5 หรือ 10 ปี เมื่อเราโตขึ้น ความสนใจและแรงบันดาลใจของเราก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย” และ ชาร์ลี คือหนึ่งในสองของวิทยากรผู้มาร่วมแชร์ประสบการณ์และมุมมองทางความคิด ใน bi-weekly meeting ครั้งที่ 1 ของกิจกรรม Career Launcher ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้กับ นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมทักษะ และความพร้อมก่อนเข้าสู่วงจรสายอาชีพ
เรื่องของ “วิน” และงานสายศิลป์ที่ตามหา
อีกหนึ่งผู้แบ่งปัน ชื่อว่า “วิน” วารินทร์ จรรยาภรณ์พงษ์ Interior designer ดีกรีศิษย์เก่าเตรียมอุดม สายวิทย์หัวไบรท์ แต่จิตใจฝักใฝ่ศิลปะ, เกม และการ์ตูนฯลฯ เดิมเลย วิน สมัยมัธยมมีความคิดที่เชื่อแค่ว่า ศิลปะเป็นได้แค่งานอดิเรกตามสไตล์เด็กสายวิทย์ “วิน” เฝ้าหาคำตอบตลอดช่วงมัธยมปลายว่าควรจะเลือกคณะอะไรดี ระหว่างวิศวะฯ สาขาคอมพิวเตอร์ เพราะคิดว่าตัวเองชอบเล่นเกมการเรียนคอมพ์ฯ คงไปกันได้ แต่อีกใจก็ลังเลอยากเลือกเรียน สถาปัตย์ฯ เพราะสนใจการออกแบบและงานตกแต่งภายใน เผื่อจะมีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถทางศิลปะหากได้เรียนในสาขาอาชีพดังกล่าว
และแล้วเมื่อถึงเวลา สิ่งที่ “วิน” เลือกคว้าไว้ คือการเป็นนักศึกษา BBA International Program คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะคิดว่าบริหารธุรกิจสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้หลากหลาย ระหว่างเรียน เขาติด F วิชาไฟแนนซ์ ทำให้รู้ทันทีว่าตัวเองไม่ชอบสายการเงินอย่างแน่นอน วินหันกลับมาสำรวจตัวตนของตัวเองอีกครั้งด้วยการค้นคว้าตำรา How To ต่างๆ โดยให้คุณค่าไปกับสิ่งที่เขาชอบและสามารถทำได้เป็นอย่างดี อะไรที่ไม่ต้องใช้ความพยายามมากเท่าที่ควร จนกระทั่งค้นพบอยู่ 2 สิ่ง นั่นคือทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและการวาดรูป
เมื่อจบบริหารธุรกิจ เขาตัดสินใจไปศึกษาสาขา Interior Design ที่ประเทศอังกฤษในทันที โดยสรุปแล้ว “วิน” ใช้เวลารวม 8 ปีกับดีกรีปริญญาตรี 2 ใบ สถาปัตย์ฯ จาก Leeds University และ BBA จาก ม.ธรรมศาสตร์ เป็นแรงส่งที่ทำให้” วิน” ในปัจจุบันคือ ผู้ก่อตั้ง Varin Interior Design โดย “วิน” คือหนึ่งในวิทยากรผู้มาร่วมแบ่งปัน ประสบการณ์ในการค้นหาสิ่งที่เรียกว่า งานที่ชอบ และอาชีพที่ใช่ “เขาบอกเล่ากับน้องๆ ในกิจกรรม Career Launcher ว่า “ไม่เคยมองว่าเป็นการเสียเวลาในชีวิตกับการเรียนปริญญาตรีถึง 2 ครั้ง แต่คิดว่ามันคือประสบการณ์ที่มีคุณค่า ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ที่ขีดความสามารถของเราในขณะนั้นจะเอื้ออำนวย และช่วยนำพาเราไปยังเป้าหมายในแต่ละจุดที่ได้ตั้งเอาไว้”
เรื่องราวทั้งสอง ของสองวิทยากรที่มาร่วมแบ่งปันอย่างเป็นกันเองในเวิร์คช็อป bi-weekly meeting ซึ่ง CareerVisa Thailand เล็งเห็นถึงความสำคัญของการบอกเล่าพูดคุยประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทาง และไกด์แนวทางให้กับน้องๆ ในการออกแบบอนาคตและเลือกเส้นทางสายอาชีพบนแนวคิด “งานที่ชอบ และ อาชีพที่ใช่” ด้วยหวังว่าจะเป็นเหมือนปุ่ม “ทางลัด” บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้น้องๆ นิสิตนักศึกษารุ่นหลังๆ ที่คิดว่าตนเองกำลัง “หลงทาง” ได้ “คลิก” เพื่อเก็บเกี่ยวเอาหลักคิดหรือมีส่วนช่วยจุดประกายการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
CareerVisa Thailand , More than Start-up : Social Enterprise Start-up
เมื่อเรียนรู้งานด้านที่คิดว่า “ใช่” จนอิ่มตัว และ “แน่ใจว่า ไม่ใช่”
Career Launcher คือโครงการพัฒนาศักยภาพในด้านอาชีพทั้งในและนอกองค์กร เป้าหมายสำคัญคือการมุ่งเสริมทักษะและประสบการณ์จริงให้กับนิสิตนักศึกษาที่มีความต้องการพัฒนาตนเอง ทั้งที่อยากเป็นผู้ประกอบการและการเข้าทำงานกับองค์กรชั้นนำที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้ โดยโครงการกำหนดระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยเริ่มจากการ (1) อบรมเวิร์คช็อป เพื่อปูพื้นฐานด้านทักษะสำคัญ ใน 6 ด้าน ผ่านกรณีศึกษาทางธุรกิจเป็นระยะเวลา 4 วัน จากนั้นผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับโอกาสใน (2) การฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพที่เรียกว่า “Project-Based Internship” เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยในระหว่างนี้ทุกๆ 2 สัปดาห์ จะมีการพบปะพูดคุยกันในหัวข้อที่กำหนด (Bi-weekly meeting) โดยมีผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต่างๆ มาร่วมแชร์ประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เหมือนกรณีอย่างเช่น “พี่ชาร์ลี และ พี่วิน” ในเรื่องราวข้างต้น ในขณะเดียวกันน้องๆ ผู้ร่วมโครงการก็จะมีพี่เลี้ยงที่ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดโครงการ และบทปิดท้ายด้วย (3) Networking Party ซึ่งเวทีนี้นี่เองที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีโอกาสนำเสนอสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้รวมทั้งทักษะที่ได้พัฒนา และประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ Career Launcher รวมถึงแนวความคิดเกี่ยวกับสตาร์ทอัพที่สั่งสมมาให้กับแขกผู้มีเกียรติจากองค์กรและผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพชั้นนำ ทั้งหมดตั้งเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการพัฒนาตัวเองขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 2 เดือน
“อยากให้มองเราเป็น Social Enterprise มากกว่าเป็นธุรกิจทั่วๆ ไป” เอ็ม ธีรยา ธีรนาคนาท หนึ่งใน Co-founder และ COO แห่งบริษัท แคเรียร์วีซ่า (ประเทศไทย) จำกัด เกริ่นยิ้มๆ กับ MBA ด้วยความเป็นมิตรและกระตือรือร้นอยู่ในที
แรกเริ่มเดิมที บทบาทของเอ็มที่ Career Visa Thailand นั้นมาจากอาการ “หลงทาง” ในเส้นทางอาชีพของตัวเอ็มเองเช่นกัน แม้จะตั้งธงไว้ว่าวันหนึ่งจะต้องเป็น CEO ขององค์กรชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศ และรู้ว่าตัวเองเอาดีกับงานด้านการเงินได้ แต่นั่นกลับไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ตัวเธอมีความสุขเมื่อต้องทำงานเหล่านั้นซ้ำๆ วนเวียนอยู่ทุกวัน และเมื่อเธอได้มีโอกาสไปศึกษาและจบโท MBA ที่ Kellogg University ที่อเมริกา สถาบันการศึกษาแห่งนี้ได้เปิดให้เห็นถึงประสบการณ์ใหม่ๆ และมองออกถึงช่องว่างในรอยต่อของสิ่งที่หายไปจากระบบการศึกษาในบ้านเกิด และนั่นคือจุดประกายที่มองเห็น “ความจำเป็น” จนกลายเป็น CareerVisa Thailand ในเวลาต่อมา
เอ็ม ร่วมกับพิณ และเพื่อนในรุ่นก่อตั้งอีก 1 คน ร่วมผลักดัน CareerVisa Thailand บนแนวคิด กิจการเพื่อสังคม โดยทั้งสามได้ช่วยกันกำหนดทิศทางการของกิจการ โดยเฉพาะโปรแกรมฝึกอบรม ที่ตั้งเป็น “ธง” ของธุรกิจ ด้วยแนวคิดว่าต้องกระชับและคัดสรรเฉพาะเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อการพัฒนาความคิดและเอื้อต่อการสร้างสรรค์ต่อยอดให้มากที่สุด
หลักสูตรของ CareerVisa ที่ทั้งสามร่วมกันดีไซน์และสร้างขึ้นมา ได้รับการตอบรับหลังนำเสนอไปยังมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอีก 2 สถาบันการศึกษาชั้นนำ หลังพิจารณาถึงสาระของเนื้อหา ทางคณาจารย์ผู้พิจารณาได้ดำเนินการบรรจุให้เป็นวิชาเลือกของภาคบังคับอย่างไม่ช้านาน นอกจากนี้ในภาคเอกชน ได้มีองค์กรชั้นนำที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของนิสิตนักศึกษาก่อนที่จะเรียนจบและก้าวเข้าสู่สังคมการทำงาน ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนโดยผ่านรูปแบบของโครงการ CSR ที่มีความต่อเนื่องและมุ่งเน้นประสิทธิผลในการเข้าอบรมเป็นสำคัญ
“ด้วยสภาพสังคมในบ้านเราที่ต่างรู้กันดีว่าเด็กไทยส่วนมากมีค่านิยมมุ่งเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ รวมทั้งการแนะแนวทางการศึกษาในบ้านเรายังมีความจำกัด ทำให้เด็กค่อนข้างลำบากในการมองภาพรวมของอาชีพที่เป็นไปได้ บางสาขาที่นักศึกษาเข้าเรียนนั้นมีอัตราการว่างงานสูงมากๆ แต่เด็กยังไม่ทราบ ว่าถ้าเรียนจบออกมาแล้วต้องการจะมุ่งไปทางไหนและยังหลงทางว่าอะไรคือเป้าหมายสูงสุดของอาชีพที่ตนเองมุ่งหวัง“
“เราอยากให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสค้นหาและออกแบบอาชีพที่ใช่สำหรับตัวเอง แล้วเขาจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่าเขายังขาดอะไร จึงต้องการมาเสริมทักษะและประสบการณ์ตรงนี้ เราเริ่มบิวด์ให้น้องๆ ตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพที่ทำแล้วมีความสุข ได้ใช้ความรู้ความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เพื่อตอบโจทย์ Lifestyle & Value ของแต่ละคนอย่างแท้จริง”
เรายังอยากกระตุ้นให้น้องๆ มีแรงบันดาลใจที่ดีเมื่อได้ฟังเรื่องราวจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพมาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยที่น้องๆ เหล่านั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องไปเป็นสตาร์ทอัพ เพราะองค์กรไม่ว่าใหญ่หรือเล็กก็ต้องการคนในลักษณะนี้เช่นกัน มันเป็นสิ่งที่ดีต่อองค์กรด้วย ธีรยาเล่าถึงความตั้งใจที่แท้จริงในการก่อตั้ง Career Visa Thailand
เพราะโลกหมุนเร็วและเปลี่ยนเร็วมาก เวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย อาจไม่เพียงพอที่จะสร้างความแข็งแกร่งเหนือคู่แข่ง เพราะเป็นไปได้ที่ เมื่อเรียนจบหลัง 4 ปีผ่านไป สิ่งที่เรียนมาก็อาจจะยังไม่พอ เพราะโลกเปลี่ยนไปตลอดเวลา Career Visa Thailand ไม่ได้ต้องการเป็นเพียงคนนำทางให้เด็กหลงทางได้พบทางออก แต่เรายินดีเป็นพี่เลี้ยงที่คอยเดินนำและประกบอยู่ใกล้ๆ และจะคอยส่งเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อให้น้องได้ทดลองใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง-เต็มศักยภาพ-ในเวลาที่เหมาะสม จนสามารถที่ก้าวไปพบ “งานที่ชอบ และอาชีพที่ใช่ “ในที่สุด