December 07, 2024

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยายเวลาการรับสมัครบุคลากรเพื่อคัดเลือกเป็นพนักงาน สายวิชาการ 3 อัตรา

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) สายสนับสนุนวิชาการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ 2 อัตรา สำเร็จการศึกษาระดับวุฒิปริญญาตรี ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้ที่สนใจสมัครได้ที่ http://app.bus.tu.ac.th/project07/Jobtbs.aspx หรือ https://www.tbs.tu.ac.th/aboutus/job-opportunities/ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 02-613-2252 ในวันและเวลาราชการ 

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์

ขอเชิญร่วมงาน TBS OPEN HOUSE 2020 "Smart Start towards Success"

Thammasat Business School (TBS) 

การจัดการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจหรือ Business School เป็นที่ยอมรับกันมาอย่างยาวนานทั่วโลกว่า เป็นหนึ่งในสาขาของศาสตร์ชั้นสูง เพราะเป็นหลักสูตรเพื่อการปลุกปั้นและพัฒนานักบริหาร รวมทั้งผู้ประกอบการให้มีความรู้ความสามารถและศักยภาพครบพร้อมทั้งภาคทฤษฎีและวิถีปฏิบัติ บ่มเพาะภาวะผู้นำภายใต้การเป็นสมาชิกของสังคมเครือข่ายที่มีศักยภาพในแวดวงธุรกิจและการบริหาร บนเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ผู้ที่ผ่านหลักสูตร MBA มีความพร้อมและสามารถนำพาองค์กรและกิจการก้าวสู่ความสำเร็จ  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ กิจการระดับท้องถิ่นหรือองค์กรข้ามชาติระดับโลก ดังนั้น  Business School จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

B-School ธรรมศาสตร์: ยืนหยัดเพื่อการพัฒนา

เป็นอีกวาระที่ Thammasat Business School หรือ TBS เติบโตขึ้นอีก 1 ปี โดยวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา TBS ได้ฉลองครบรอบ 80 ปีของบทบาทการเป็นสถาบันที่จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรคนของประเทศในสาขาด้านการบริหารธุรกิจหรือ MBA ภายใต้คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี  ซึ่งตลอด 80 ปีที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า TBS ได้รับการยอมรับในความเป็นคณะฯ และหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจอยู่ในอันดับแนวหน้าของประเทศไทย และจุดยืนนี้ยังดำรงอยู่มาโดยตลอด ภายใต้ความสำเร็จและการยอมรับ รศ.ดร.พิภพ อุดร คณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม่ทัพผู้รับบทบาทในการขับเคลื่อนพัฒนาจัดการการศึกษาของคณะฯ ได้เปิดเผยถึงประเด็นนี้ว่า หัวใจหลักของเรา คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง TBS ได้รับความร่วมมือจากทางทีมผู้บริหารรุ่นก่อน นักศึกษา คณาจารย์ ศิษย์เก่า องค์กรและพันธมิตรทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องมาตลอด  โดยที่เรายึดมั่นในสามเรื่องสำคัญ คือ

หนึ่ง  Innovative Education การคิดทำสิ่งใหม่ๆ หรือพัฒนาสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วให้ล้ำนำสมัย ส่งผลให้เรากลายเป็นผู้นำที่เสนอหลักสูตรใหม่ๆมากมายเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

สอง คือ Practical Experience นอกจากภาคทฤษฎีแล้ว เราต้องเปิดประตูออกไปสู่โลกแห่งความเป็นจริง นักศึกษาต้องเรียนรู้การบริหารจัดการจากธุรกิจที่จับต้องได้จริง

และสุดท้าย คือ Corporate Connection การสร้างเครือข่าย การทำอะไรคนเดียวไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีพันธมิตรทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยและองค์กรบริษัทต่างๆ สามสิ่งนี้คือ หัวใจที่ทำให้เราประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้”

รศ.ดร.พิภพ อธิบายถึงปณิธานดั้งเดิมของคณะพาณิชยฯ ที่ต้องการสร้างบัญฑิตขึ้นมาเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม เพราะคุณค่าของบัณฑิตไม่ได้อยู่ที่ว่าคนนั้นเก่งหรือพิเศษกว่าคนอื่นแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าเขาทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้เพียงไร TBS จึงพยายามปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกต่อสังคมและชุมชนมาโดยตลอด มีการนำเอาโจทย์ของสังคม ชุมชนหรือประเทศมาหาคำตอบและทางออกร่วมกันในชั้นเรียน ทำให้มีการร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในการสอน การพัฒนา มีโครงการฝึกงาน สร้างกระบวนการแข่งขัน รวมถึงการให้ทุนการศึกษา เพราะการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบการศึกษาเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต่างได้ประโยชน์

The First Accreditation: ปี 2012

 EFMD Quality Improvement System (EQUIS)        

TBS เริ่มก้าวเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพการศึกษาระดับนานาชาติมาตรฐานสากล และผ่านด่านแรกของการพิจารณาการรับรองจาก EFMD Quality Improvement System (EQUIS) ในปี 2012  ซึ่งการเข้าสู่กระบวนการในครั้งนั้น รศ.ดร. พิภพ ได้เผยถึงเป้าหมายและความสำคัญว่า  “เราต้องการยกระดับมาตรฐานให้หลักสูตรของ TBS ทั้งระบบ ซึ่งหมายความถึงกิจกรรมเชิงวิชาการของคณะฯ และงานวิจัยในทุกระดับการเรียนการสอน ทั้งปริญญาตรี โท และปริญญาเอก ให้มีคุณภาพทัดเทียมและเป็นที่ยอมรับระดับสากล โดยประเด็นสำคัญคือ ต้องการให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความร่วมมือด้านวิชาการต่างๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และแน่นอน บัณฑิตของสถาบันฯ ที่มีมาตรฐานระดับสากลย่อมได้รับประโยชน์ ได้รับการยอมรับและเป็นที่ต้องการของตลาดโลก”

Second Accreditation: 2017

AACSB (The Association to Advance Collegiate School of Business)

การได้รับรองมาตรฐานจาก AACSB ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของ TBS เพราะมีเพียงไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของคณะบริหารธุรกิจใน 53 ประเทศทั่วโลก ที่ผ่านการรับรองนี้ เมื่อรวมกับ EQUIS แล้ว TBS จึงเป็นสถาบันฯ เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจาก 2 ค่ายใหญ่ของโลก คือ AACSB จากสหรัฐอเมริกา และ EQUIS จากสหภาพยุโรป ครบถ้วนทุกระดับปริญญา คือทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

Third Accreditation: 2018

AMBA (Association of MBAs)

ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน 2561 TBS ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับนานาชาติสำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับบัณฑิตศึกษาจาก AMBA (Association of MBAs) ของสหราชอาณาจักร โดยการผ่านมาตรฐานในครั้งนี้ ทำให้ TBS ได้รับสถานะของการเป็น Business School  ที่มี Triple Crown Accreditation จากการได้รับพิจารณามาตรฐานการศึกษานานาชาติ จาก 3 สถาบันชั้นนำของโลก อันได้แก่  EFMD Quality Improvement System(EQUIS), AACSB (The Association to Advance Collegiate School of Business) และ AMBA

“Association of MBAs หรือ AMBA เป็นองค์กรที่มีความพยายามอย่างมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในระดับสากล เพื่อประโยชน์ของทั้งสถาบันการศึกษาด้านบริหารธุรกิจในภาคี ผู้เรียน ศิษย์เก่า รวมไปถึงนายจ้าง มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกอยู่ในกลุ่มนี้ผ่านการประเมินนี้อยู่ที่ประมาณ 264 แห่งทั่วโลกแล้วเขาก็จะหยุดอยู่ที่จำนวน 300 แห่งแปลว่าเมื่อครบ 300 แห่งเขาจะไม่รับรองสถาบันฯ ไหนอีก นอกจากจะมีมหาวิทยาลัยที่ถูกตัดออก จึงมีการประเมินเพิ่มเข้ามา หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพการประเมินคุณภาพ ISO มักใช้ประเมินความสม่ำเสมอการรักษาคุณภาพมาตรฐานขององค์กรนั้นๆ ให้ได้คงที่ แต่การ Accreditation ทางบริหารธุรกิจ หมายความว่า สถาบันหรือคณะที่จะผ่านการรับรองได้ต้องมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไม่หยุดอยู่ที่เดิม ซึ่งการรับรองเหล่านี้จะไม่ได้อยู่กับสถาบันฯ ไปตลอด อย่างการประเมินของ AMBA จะเน้นในด้าน Post-graduated Experience โดยวิธีการ คือ เขาจะมีเงื่อนไขว่าภายในช่วงเวลา 3 หรือ 5 ปี จะมีการกลับมาประเมินวัดผลใหม่ ให้เราประเมินตัวเองในด้านต่างๆ ก่อน จากนั้นจะมีการส่งผู้เชี่ยวชาญจาก 4 ประเทศมาร่วมกันประเมิน โดยจะมีการตรวจสอบทั้งในส่วนของเอกสาร รวมไปถึงการพูดคุยกับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า และบริษัทที่จ้างงานบัณฑิต จึงทำให้ในการประเมินวัดผลสถาบันฯ ทุกครั้งต้องมีพัฒนาการจากการประเมินครั้งก่อน หากหยุดอยู่ที่เดิมก็มีโอกาสที่เขาจะยึดคืน ซึ่ง AACSB และ EQUIS ก็มีเงื่อนไขเวลาเช่นเดียวกัน ดังนั้น คีย์สำคัญของการประเมิน คือ ต้องมีความเป็นเลิศและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี”

Triple Crown Accreditation มงกุฎที่สาม ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

            รศ.ดร. พิภพ กล่าวถึงความสำคัญและการได้มาซึ่งความสำเร็จของการผ่านมาตรฐานการรับรองหลักสูตรของ AMBA ในครั้งนี้ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้รับมาตรฐานจาก AMBA ทำให้เราเป็นหนึ่งใน 90 จาก 13,670 สถาบันทั่วโลกที่จัดการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ เปลี่ยนสถานะเป็น Triple Crown Accreditation ทันที TBS จึงมีมาตรฐานและคุณภาพที่ผ่านการรับรองจากทั้งสามองค์กรเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และในภูมิภาคเดียวกันกับเรามีสถาบันที่ได้ Triple Crown เพียงสองแห่งเท่านั้น ตอนนี้ก็เริ่มมีคนพูดถึงเรามากขึ้น ในแง่ของการที่ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียนทางด้านบริหารธุรกิจในเมืองนอกแล้ว เพราะที่เมืองไทยก็มี TBS ซึ่งมีคุณภาพทัดเทียมระดับโลก ในทางกลับกันคนทั่วโลกที่เขาสนใจศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจอยู่แล้วเมื่อมองเห็นว่าประเทศไทยเรามีหลักสูตรที่ได้ Triple Crown บวกกับเสน่ห์ของเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้คน ศิลปะ อาหาร หรือวัฒนธรรม ก็ยิ่งดึงดูดคนที่เขาต้องการเรียนอย่างมีคุณภาพและใช้ชีวิตในประเทศที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยทั่วโลกเวลาที่เขาต้องการร่วมมือหรือเป็นพันธมิตรกับใคร เขาก็ต้องดูว่าหน่วยงานนั้นมีมาตรฐานและคุณภาพเท่าเทียมกับเขาหรือเปล่า จึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้สร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่อยู่ในกลุ่ม Triple Crown เหมือนกัน ทั้งนี้ TBS ยังเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมโครงการเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ก่อตั้งมากว่า 45 ปี นั่นคือ PIM (Partnership in International Management) ซึ่งมีมหาวิทยาลัยชั้นนำเป็นสมาชิกเพียง 65 แห่งใน 32 ประเทศทั่วโลก และสำหรับช่วงเดือนตุลาลม ปี 2562 เราก็จะได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเครือข่ายสมาชิก PIM ขึ้นที่ประเทศไทย ผู้แทนจากทั้ง 65 มหาวิทยาลัยทั่วโลกจะเดินทางมาร่วมประชุมที่บ้านเรา ซึ่งพอเขามาแล้วก็จะเกิดการเรียนรู้ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบการศึกษา รวมถึงความโดดเด่นของ TBS  ถือเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์และทำให้เราเป็นที่รู้จักได้มากขึ้นในเวทีโลก”

NEXT MOVE ก้าวต่อไปของ TBS

หลังจากได้รับมงกุฎที่สามซึ่งถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของสถาบันทางบริหารธุรกิจมาสวมใส่อย่างสง่างาม รศ.ดร.พิภพ อุดร ก็ได้กล่าวถึงก้าวต่อไปของ TBS ซึ่งมีการพูดคุยร่วมกับผู้บริหารธนาคารในประเทศพม่าผ่าน Myanmar Institute of Banking (MIB) โดยทางประเทศพม่าได้เล็งเห็นถึงคุณภาพระดับ Triple Crown ของ TBS รวมถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมทางการเงินซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เชื่อมโยงกับทุกธุรกิจในการขับเคลื่อนประเทศ ทางกลุ่มธนาคารประเทศพม่าจึงมีการสนับสนุนทุนการศึกษาให้ผู้บริหารระดับกลางเข้ามาศึกษากับ TBS โดยคาดการณ์ว่าในปีหน้าจะมีผู้บริหารราว 30 ท่านมาเรียนในหลักสูตร Global Executive MBA หรือ GEMBA ซึ่งหลักสูตรนี้มีความเป็นสากลมากที่สุดในประเทศไทย เพราะในจำนวนผู้เรียนแต่ละห้อง มีคนไทยไม่ถึงหนึ่งในสาม ทำให้เป็นคลาสที่มีความหลากหลาย ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ทั้งเรื่องการใช้ภาษา การเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและความคิดเห็นของคนที่มาจากพื้นฐานที่ต่างกันทั่วโลก เพราะคนที่เรียนมาคล้ายกัน ประสบการณ์เดียวกัน ก็จะมองเห็นทางแก้ปัญหาในมุมคล้ายกัน ผู้เรียนเองก็จะไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ นอกจากนี้ หลักสูตรนี้ก็จะกำลังขยายไปในระดับผู้บริหารกลุ่มประเทศ CLMVT (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิด หลักการบริหารผ่านกรณีศึกษาระดับโลก โดยจะไม่ได้มีเพียงแค่การในห้องเรียนอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมีการไปเรียนรู้กับผู้บริหารระดับสูงตามบริษัทหรือองค์กรต่างๆ รวมถึงในต่างประเทศด้วย

“โลกมีการปรับเปลี่ยนเดินไปข้างหน้าตลอดเวลาถ้าเราหยุดอยู่ที่เดิมก็เหมือนเราเดินถอยหลัง เพราะฉะนั้นเราต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ การที่เราได้รับการประเมินอย่างนี้ทำให้เรามีพื้นฐานที่ดี เวลาเราขยับขยายก็จะง่ายขึ้นเพราะเรารู้ข้อดีหรือสิ่งที่เราต้องพัฒนาปรับปรุง TBS วางแผนต่อจากนี้ว่าเราจะนำหลักสูตรไปอยู่ในรูปแบบ Virtual Campus ทำให้การเรียนรู้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็ตาม เน้นการเพิ่มทักษะทางการสื่อสารและการปรับตัวเพื่อพัฒนาตัวเองมากกว่าความรู้ เพราะหากผู้เรียนรู้เหมือนๆ กัน จบมาทำงานเหมือนๆ กันมีโอกาสที่ในอนาคตจะถูกแทนที่ด้วย AI (Artificial Intelligence) สูงมาก ทั้งหมดนี้เป้าหมายหลักของเราในการบ่มเพาะคนที่จบออกไป คือ เขาต้องทำให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น ทำให้สังคมดีขึ้น เพราะมุ่งการสร้างกำไรทางธุรกิจเพียงอย่างเดียวไม่มีทางยั่งยืน ตราบใดที่ชีวิตคนและสังคมไม่ดีขึ้น TBS สอนให้คนนึกถึง The Next Generation วันนี้คุณทำอย่างนี้คนรุ่นต่อไปจะได้รับผลกระทบอะไรบ้างทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตและทรัพยากร ต้องคิดอะไรเกินกว่า Generation ของเราเองและเกินกว่าขอบรั้วของชาติเราเอง นึกถึงประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศอื่นในโลกเพราะเขาก็มีประชากรและทรัพยากรที่อาจได้รับผลกระทบจากเราเช่นกัน”

 

X

Right Click

No right click