November 22, 2024
CSR

หัวเว่ยเผยรายงานการพัฒนาสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งปี พ.ศ. 2573

April 29, 2022 2097

หัวเว่ยเผยแพร่รายงานการพัฒนาสีเขียวแห่งปี พ.ศ. 2573 (Green Development 2030 Report) ในระหว่างการเสวนาหัวข้อ “Green ICT Empowers Green Development”

ภายในงานประชุม Huawei Global Analyst Summit 2022 (HAS 2022) ที่จัดขึ้น ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน โดยมีนักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และสื่อมวลชนจากทั่วโลกเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก ในโอกาสนี้ นายเควิน จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดของธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีของหัวเว่ย ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับรายงานดังกล่าว พร้อมอธิบายถึงบทบาทและแนวทางที่เทคโนโลยีไอซีทีเข้ามามีผลต่อการพัฒนาอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รายงานการพัฒนาสีเขียวแห่งปี พ.ศ. 2573 (Green Development 2030 Report) เป็นรายงานฉบับล่าสุดภายใต้รายงานโลกอัจฉริยะ พ.ศ. 2573 (Intelligent World 2030) ที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ในอนาคตของของหัวเว่ย และยังถือเป็นแผนแม่บทสู่การพัฒนาภายในอุตสาหกรรมไอซีที รวมไปถึงแนวทางเพื่อช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่หัวเว่ยได้รวบรวมไว้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอีกกว่า 100 คน และองค์กรภายนอกอีกกว่า 30 แห่ง ซึ่งมีทั้งองค์กรภาครัฐ สมาคมอุตสาหกรรม สถาบันวิจัย และองค์กรเอกชน เป็นต้น

รายงานการพัฒนาสีเขียวแห่งปี พ.ศ. 2573 มุ่งเน้นให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digitalization) และการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร รวมถึงแนวทางในการนำเทคโนโลยีไอซีทีสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปใช้ในอุตสาหกรรมสำคัญต่างๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยในรายงานได้กล่าวถึง 6 เทรนด์ในอนาคต ดังนี้

1. พลังงานหมุนเวียนจะเป็นที่แพร่หลาย

ในปี พ.ศ. 2573 ไฟฟ้ามากกว่า 50% จะมาจากพลังงานหมุนเวียน สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับการบริโภคพลังงานประเภทอื่น ขณะเดียวกัน คาดว่าระบบกักเก็บพลังงานทั่วโลกจะสามารถรองรับการกักเก็บได้เพิ่มขึ้น 20 เท่า

2. ภาคอุตสาหกรรมจะมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แรงงานทุกๆ 10,000 คน จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ 390 ตัว

3. การขนส่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์
ทั่วโลกจะมีการใช้งานรถยนต์พลังงานใหม่กว่า 145 ล้านคัน และสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าอีกกว่า 100 ล้านสถานี

4. อาคารสิ่งก่อสร้างในอนาคตจะปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ (net-zero carbon) ได้สำเร็จ
อาคารที่สร้างใหม่คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ภายในปี​ พ.ศ. 2573 ในขณะที่อาคารสิ่งก่อสร้างทั้งหมดคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ภายในปี พ.ศ. 2593

5. ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสีเขียวจะกลายเป็นข้อกำหนดพื้นฐาน
ในปี พ.ศ. 2573 ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลจะมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่าปัจจุบันถึง 100 เท่า   

6. การใช้ชีวิตแบบคาร์บอนต่ำจะเป็นที่นิยม
ตลาดโทรเวชกรรม (telemedicine) ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า การศึกษาแบบออนไลน์ในประเทศจีนจะโตขึ้น 23 เท่า และยอดผู้ใช้บริการทัวร์เสมือนจริงจะมีมากถึง 1 พันล้านคน

รายงานฉบับนี้ยังแนะนำ 3 แนวทางในการขับเคลื่อนนวัตกรรมไอซีทีในอนาคตเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า และการผลักดันให้อุตสาหกรรมมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายเควิน จาง อธิบายว่า “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digitalization) และการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเทคโนโลยีไอซีทีเป็นกุญแจสำคัญในกระบวนการนี้  ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมไอซีที หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ดียิ่งขึ้น นี่คือแนวทางของเราในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับสังคม”

นายแอรอน เจียง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ SingleRAN ของหัวเว่ย ซึ่งเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ด้วย ได้อธิบายถึงแนวปฏิบัติของหัวเว่ยในการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายที่ให้ทั้งประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงานสูงสุดว่า “โซลูชัน 5G สีเขียวของหัวเว่ยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานของสถานีฐานและลดการบริโภคพลังงานทั่วทั้งเครือข่าย”

การเสวนาในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญหลายท่านซึ่งเป็นตัวแทนจากหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ Global Enabling Sustainability Initiative (GeSI), China Mobile, State Grid Yancheng Power Supply Company และ BYD เป็นต้น ซึ่งแต่ละท่านได้นำเสนอแผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดขององค์กรในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

นายลูอิส เนเวส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GeSI กล่าวว่า “เทคโนโลยีไอซีทีมีศักยภาพในการช่วยลดการปล่อยค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ทั่วโลกได้ถึง 20% ในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2558 และยังช่วยให้สามารถแยกความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกจากกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นหมายความว่าผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจที่ได้จากโซลูชันไอซีทีในปี พ.ศ. 2573 สูงกว่าร่องรอยคาร์บอนที่เกิดจากไอซีทีเกือบถึง 10 เท่า นอกจากนี้ จากการประเมิน 8 ภาคอุตสาหกรรมสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การคมนาคมและโลจิสติกส์ การผลิต อาหาร การก่อสร้าง พลังงาน ธุรกิจ สุขภาพ และการศึกษา พบว่าไอซีทีจะมีส่วนช่วยสร้างสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งเทียบเท่ากับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในประเทศจีนตลอดทั้งปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมกัน ดังนั้น GeSI จึงอยากเรียกร้องให้อุตสาหกรรมไอซีที จับมือเพื่อขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีเป้าหมายผ่านโครงการ Digital with Purpose ร่วมกัน”                

นายลี Zhongyan รองผู้จัดการทั่วไปแผนกการวางแผนและการก่อสร้างของไชน่า โมบายล์ กล่าวถึงแผนปฏิบัติการ สีเขียวล่าสุด "C2 + Three Programs" ซึ่งมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดรับกับข้อกำหนดด้านการปล่อยก๊าซคาร์บอนและ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศจีน แผนปฏิบัติการดังกล่าวครอบคลุมถึงโมเดลการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรม ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 ด้าน ได้แก่ การประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานสะอาด และการผลักดันอุตสาหกรรมให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6 โครงการสีเขียว ได้แก่ ระบบเครือข่ายสีเขียว การบริโภคพลังงานสีเขียว ซัพพลายเชนสีเขียว ออฟฟิศสีเขียว การส่งเสริมกิจกรรมสีเขียว และวัฒนธรรมสีเขียว โดยกล่าวว่า “อุตสาหกรรมไอซีทีเป็นรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ ไชน่า โมบายล์ จึงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ประกอบการด้านไอซีทีที่จะต้องทำงานร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิจัย และพันธมิตรในอุตสาหกรรมทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่” ทั้งนี้ ไชน่า โมบายล์ มีแผนที่จะลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อหน่วยการบริการด้านโทรคมนาคมลงให้ได้อย่างน้อย 20% ลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้มากกว่า 4 หมื่นล้านกิโลวัตต์ และผลักดันให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้มากกว่า 1.6 พันล้านตันภายในช่วงสิ้นสุดของแผนการระยะ 5 ปี ครั้งที่ 14 ของบริษัทฯ ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวยังสอดคล้องกับเป้าหมาย “dual carbon” ของประเทศจีนในการบรรลุจุดสูงสุดของการปล่อยก๊าซคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2573 และเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2603

นายหวัง กัวผิง รองผู้จัดการทั่วไปของ State Grid Yancheng Power Supply Company กล่าวว่า “เรากำลังดำเนินการเพื่อให้ Yancheng Low-carbon & Smart-energy Innovation Park ของเราเป็นโรงงานไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเกือบเป็นศูนย์ด้วยการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนใหม่ จากความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหัวเว่ย เราได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานใน 4 ด้าน ได้แก่ การผสานการใช้พลังงานหลายรูปแบบ การบริหารจัดการด้านคาร์บอนเป็นศูนย์แบบอัจฉริยะ การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ และบริการใหม่ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานรูปแบบใหม่ได้มากขึ้น เราภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศจีนได้บรรลุเป้าหมายด้านการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและความเป็นกลางทางคาร์บอน”​       

นายลู เซียงผิง หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยด้านไอซีที ศูนย์ข้อมูลของ BYD อธิบายถึงการนำเครือข่ายออปติคัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของหัวเว่ยมาใช้เพื่อพัฒนาการผลิตแบบอัจฉริยะและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการปฏิบัติการแบบคาร์บอนต่ำ ว่า “ตลาดยานยนต์พลังงานใหม่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในฐานะผู้นำตลาด เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้สร้างโครงการต้นแบบในศูนย์การผลิตของเราในเมืองฉางโจว โดยใช้เทคโนโลยีออปติคัลสีเขียวที่ใช้งานง่ายของหัวเว่ย โซลูชันเครือข่ายออปติคัลของหัวเว่ยรองรับการออกแบบเครือข่ายของเรา ทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง สามารถวางใจได้ และช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครือข่ายการผลิตและสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยอดเยี่ยม”

   

X

Right Click

No right click