December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

รัฐบาลไทยดึงนักลงทุนซามูไร สู่ขุมทรัพย์ EEC

September 13, 2017 2546

จุดพลุสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 130 ปี จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจพร้อม ด้วยคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ระดับสูงจากญี่ปุ่นกว่า 500 ราย หารือแนวทางการยกระดับและสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกัน เผยญี่ปุ่นให้ความสนใจในนโยบายไ ทยแลนด์ 4.0 พร้อมเตรียมให้การสนับสนุนการพั ฒนาEEC หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยด้วยกา รถ่ายทอดการประยุกต์เทคโนโลยีดิ จิทัลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ นักลงทุนจากไทยและญี่ปุ่นอีกกว่า 1,400 รายเข้าร่วมรับฟังโอกาสแห่งความ ร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและยกระดับการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ

อีกทั้งยังจะผลักดันให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจและข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ของทั้งสองฝ่าย อาทิ ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับ Industry 4.0 ผ่านโครงการ Flex Campus ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับสถานทูตญี่ปุ่น ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพั ฒนา EEC ระหว่าง สำนักงาน EEC กับ JICA และบริษัท Hitachi ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมก ารค้าระหว่างประเทศและ JETRO ฯลฯ

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ปี 2560 นับเป็นปีที่สำคัญสำหรับประเทศไ ทยและญี่ปุ่น เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศได้ดำเนินความสัมพันธ์ทาง การทูตอย่างเป็นทางการเป็นเวลาย าวนานถึง 130 ปี โดยความสัมพันธ์อันแนบแน่นนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลากหลายสา ขากิจกรรมที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจและการเมือง ความร่วมมือทางการค้า การพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนการร่วมทุน-ลงทุน ฯลฯ

สำหรับในปัจจุบัน ญี่ปุ่นยังคงเป็นชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากสุดเป็นอันดับ 1 มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 40 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 2  รองจากจีน

โดยในช่วงครึ่งปีแรกญี่ปุ่นมีเงินลงทุนโดยตรงไปแล้วกว่า 4.73 หมื่นล้านบาท มีปริมาณเงินลงทุนในการยื่นขอส่งเสริมสูงที่สุดคิดเป็นอีกร้อยล ะ 55 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น การผลิต Hybrid Vehicle มูลค่า 19,547 ล้านบาท กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิ ดพิเศษ มูลค่า 15,182 ล้านบาท กิจการผลิตตัวยึดจับฮาร์ดดิสก์ มูลค่า 3,083 ล้านบาท ฯลฯ

นอกจากนี้จำนวนสมาชิกของหอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทยยังมีจำนวนถึ ง 1,748 บริษัท ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดว่ าความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศยังต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันอีกมาก และหลังจากนี้หน่วยงานต่างๆ ของไทยเองก็มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลักดันนโยบายการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมเกิดการขยายความร่วมมือกับญี่ปุ่นในบริบทและรูปแบบที่กว้างและหลากหลายมากยิ่งขึ้น

ดร.สมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลได้นำคณะรัฐมนตรีด้ านเศรษฐกิจและหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องเดินทางไปเยือนประเทศญี่ ปุ่นเพื่อหารือร่วมกับผู้บริหารภาครัฐ ภาคธุรกิจ รวมทั้งสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren)

ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมศูนย์ธุรกิ จของญี่ปุ่นในสาขาต่าง ๆ ผลจากการเดินทางในครั้งนี้ได้ แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของข้ อตกลงความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมหลายประการมากขึ้น เกิดการลงนามในบันทึกข้ อตกลงใหม่ๆ อีกหลายฉบับ โดยเฉพาะข้อตกลงระหว่ างกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) และกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยที่ จะร่วมมือกันยกระดับภาคอุตสาหกรรม การส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

นอกจากนี้ ยังนำมาสู่การเดินทางเยือนประเทศไทยครั้งพิเศษของคณะผู้ บริหารระดับสูงทั้งภาครั ฐและเอกชนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน ที่นำโดย Mr. Hiroshige Seko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)  องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (JETRO) องค์การสนับสนุน SMEs แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ผู้บริหารระดับสูงของสมาพันธ์ธุ รกิจญี่ปุ่น (Keidanren) รวมทั้งผู้บริหารชั้นนำในภาคเอกชน

โดยโอกาสดังกล่าวถือเป็นประวัติ ศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจที่สำคั ญอีกครั้ง เนื่องจากมีผู้ให้ความสนใจร่ วมคณะเดินทางมากที่สุดถึงเกือบ 600 คน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการเดินทางที่ นอกเหนือจากการเฉลิมฉลองความสั มพันธ์อย่างเป็นทางการแล้ว ยังเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่ นในการสร้างอนาคตร่วมกันในการพั ฒนาเศรษฐกิจตามเป้าหมายของทั้ง 2 ประเทศ  โดยหน่วยงานไทยยังได้จัดกิ จกรรมสำคัญทั้งการเข้าเยี่ ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย พร้อมรับฟังทิศทางและนโยบายการพัฒนาประเทศไทย 4.0 เพื่อให้สร้างความมั่นใจ และรับทราบถึงแนวทางความร่วมมื อที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายไปสู่อนาคตด้วยกัน

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบี ยงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริ มการลงทุน (BOI)  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ยังได้ร่วมกันจัดการสัมมนาใหญ่ ในหัวข้อ Symposium on Thailand 4.0 towards Connected Industries เพื่อนำเสนอโอกาสแห่งความร่วมมื อของภาครัฐบาล ภาคเอกชนของไทยและญี่ปุ่ นในการส่งเสริมและยกระดับการค้ าการลงทุนของทั้งสองประเทศให้กั บผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่เดิ นทางมายังประเทศไทย ทั้งยังได้ส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ประกอบการไทย ผู้ประกอบการญี่ปุ่นทั้งในระดับ LEs และ SMEs ตลอดจนนักลงทุนญี่ปุ่นที่อยู่ ในประเทศไทยอยู่แล้ว ด้วยการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมสั มมนากับคณะ METI  ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,400 คน ทั้งนี้ เนื้อหาการสัมมนาจะอยู่ภายใต้ กรอบความร่วมมือการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) ที่ METI ได้แสดงความพร้อมในการสนับสนุ นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมดังกล่าวของไทยผ่านการถ่ ายทอดเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่ อนไทยไปสู่ Industry 4.0 พร้อมด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์และผสมผสานกั บเทคโนโลยีอุตสาหกรรมให้เป็นรู ปแบบจนเกิดเป็นการทำงานอย่ างชาญฉลาด รวมทั้งการลงนามบันทึกความเข้ าใจและข้อตกลงความร่วมมือระหว่ างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของทั้ งสองฝ่ายในหลายๆ เรื่อง อาทิ

 1) ความร่วมมือในการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรม ฝั่งภาคเอกชนระหว่าง Keidanren, Japan Chamber of Commerce and Industry  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย

 2) ความร่วมมือในการขับเคลื่ อนการพัฒนา EEC ระหว่าง สำนักงาน EEC กับ JICA และบริษัท Hitachi

 3) ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับ Industry 4.0 โดยอาศัยองค์ความรู้จากฝั่งญี่ปุ่น ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยเพื่อช่วยพัฒนาวิ ศวกรและอาชีวศึกษาของไทยในอุ ตสาหกรรมสำคัญต่าง ๆ ผ่านโครงการ “Flex Campus”

 4) ความร่วมมือในการยกระดับศูนย์ สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ของไทยระหว่างกระทรวงอุ ตสาหกรรมกับองค์การสนับสนุน SMEs แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ)

 5) ความร่วมมือด้านการค้า ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่ างประเทศ (DITP) กับ องค์การส่งเสริมการค้าต่ างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ฯลฯ

อีกทั้ง ยังได้มีการจัด Business Matching ระหว่างนักธุรกิจญี่ปุ่ นและไทยในกลุ่ม 5 อุตสาหกรรม 1) ยานยนต์ 2) ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3) เกษตร อาหาร และสุขภาพ 4) ธุรกิจบริการ และ 5) หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงิน

ส่วนความร่วมมือด้านแผนงาน EEC ที่เป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในอนาคตนั้น  ทั้งสองฝ่ายจะผลักดันให้เกิดการหารือร่วมกันระหว่างกลุ่มธุ รกิจญี่ปุ่นและหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกั บนโยบายและการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัน โดยในวันที่ 13 กันยายนนี้ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุ ตสาหกรรม จะนำ Mr. Hiroshige Seko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิ จการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นพร้ อมคณะ เดินทางไปยังพื้นที่จริงของ EEC ณ สนามบินอู่ตะเภา รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อเป็นการแสดงถึงความพร้ อมและศักยภาพในด้านโครงสร้างพื้ นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน ท่าเรือ ระบบสาธารณูปโภค นิคมอุตสาหกรรม รวมไปถึงความตั้งใจอย่างเป็นรู ปธรรมในการผลักดัน EEC ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดร.สมคิด กล่าวปิดท้าย              

ด้านนายฮิโรชิเกะ เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) กล่าวว่า  ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเข้าสู่ การปฏิรูปอุตสาหกรรมในครั้งที่ 4 ซึ่งภาครัฐฯและภาคเอกชนของญี่ปุ่ นได้ให้ความสำคัญพร้อมตระหนักเสมอว่า ญี่ปุ่นและเอเชียจะต้องทำอย่างไรกับการปฏิวัติครั้งสำคัญนี้ โดยเฉพาะในภาคแปรรูปที่ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว  สำหรับภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น ต้องยอมรับว่ามีทั้งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ มีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และมีอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงมากมาย

แต่ปัญหาที่สำคัญในขณะนี้คือยังไม่สามารถแบ่งปันและเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่นๆในภูมิ ภาคเอเชียด้วยกันได้ และด้วยอุปสรรคที่เกิดขึ้นจึ งเป็นที่มาของนโยบาย Connected Industries ที่ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปทุกสิ่ งทุกอย่างจะต้องมีการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันไม่ว่าจะเป็น ห่วงโซ่การผลิต การบริการ ฐานข้อมูล องค์ความรู้ ฯลฯ นอกจากนี้ในเดือนที่ผ่านมารั ฐมนตรี METI ยังเปิดเผยอีกว่า ตนได้มีโอกาสในการเดินทางเยี่ยมเยือนประเทศเช็คโกสโลวาเกีย ซึ่งในประเทศนี้และเยอรมันถื อเป็นประเทศต้นแบบในการสร้างระบบออโตเมชั่น และระบบดังกล่าวได้พิสูจน์ให้ เห็นแล้วว่าช่วยลดอัตราการว่ างงานของประชากรในประเทศให้อยู่ ในระดับที่ต่ำมาก   

สำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น ตนได้เห็นรูปแบบและตัวอย่างแนวทางของทั้งสองประเทศที่ จะนำมาเสริมสร้างขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมในประเทศของตนรวมถึ งประเทศไทยในเร็วๆนี้ อาทิ การดีไซน์สายการผลิต การนำเรื่องระบบ Data และ IOT มาปรับใช้ ซึ่งในอนาคตต่อไปคนไทยก็จะมีบุ คลากรที่เชี่ยวชาญด้านเหล่านี้ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการพั ฒนาเอสเอ็มอี ต่อเนื่องถึงการนำไปเผยแพร่ยังประเทศเครือข่ ายโดยรอบในฐานะเทรนเนอร์ อาทิ CLMV อาเซียน โดยญี่ปุ่นยังจะมุ่งสู่การถ่ ายทอดการสร้างระบบ Smart Maintainance หรือนวัตกรรมการยืดอายุการใช้ งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจับมือส่งเสริม Startup Company การพัฒนาอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ให้กับไทย ซึ่งเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า นโยบาย Thailand 4.0 จะป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่นำทางไทยไปสู่ศูนย์กลางภูมิภาค และหวังให้ไทยเป็นสายพานที่เชื่ อมไปยังฐานการผลิต และห่วงโซ่ต่างๆในประเทศที่อยู่ โดยรอบ โดยในความสัมพันธ์ 130 ปีนี้ ญี่ปุ่นเองก็จะรวบรวมพลั งประชาชนและรัฐบาลให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ทั้งสองประเทศก้าวไปสู่เป้าหมายโดยที่ไม่ทอดทิ้งกัน

X

Right Click

No right click