ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีมSCB Chief Investmen t Office (SCB CIO ) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด ) ส่งผลให้เกิดความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบางประเทศ จาก 3 ปัจจัยหลักที่อาจจะกระทบกับเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาส 3 / 2022 ประกอบด้วย 1 ) สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อต่อราคาพลังงานและอาหาร รวมถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ( global supply chain disruption ) ที่ส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อจากปัจจัยอุปทานยังอยู่ในระดับสูงแม้จะชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ 2 ) อานิสงค์การเปิดเมืองไม่เพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบจากต้นทุนการผลิต ต้นทุนทางการเงินและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยล่าสุด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.6% ในปี 2022 และ 2023 ในขณะที่ ปี 2021 อยู่ที่ 6.1% โดยเฉพาะในยุโรปที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคสูงกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ และ 3 ) การเร่งตัวขึ้นเร็วของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ยิ่งส่งผลให้ตลาดกังวลประเด็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจะทำให้ตลาดการเงินโลกยังคงมีความผันผวน จนกว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอลงของเงินเฟ้อ และความชัดเจนในความเร็วของการขึ้นดอกเบี้ยจากธนาคารกลางหลัก เช่น เฟด โดย SCB CIO คาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วและแรง จนทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอยู่ระหว่าง 3.25%-3.50% เมื่อเทียบกับระดับ 0-0.25% ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ส่วนแนวโน้มตลาดการเงินโลก จากความไม่แน่นอนของสงครามและความเร็วในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นมีความผันผวนและอาจเกิดภาวะแรงฉุดจากความผันผวน (volatility drag) ในพอร์ตโฟลิโอได้ เนื่องจาก คาดว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรจะเพิ่มขึ้นในระดับที่ชะลอตัวลง หลังจากที่ตลาดมีการ priced-in เรื่องเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยไปบ้างแล้ว และเริ่มกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยที่สูงขึ้นจะเข้ามากดดันการคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการในครึ่งปีหลัง ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ผลประกอบการอาจจะถดถอย และ กับดักด้านมูลค่า (Valuation trap) จึงเป็นโอกาสในการจับจังหวะทยอยสะสมหุ้นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน อัตรากำไรสูงและสามารถส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นได้
ดร. กำพล กล่าวต่อไปว่า ในช่วงที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนสูง SCB CIO ยังคงแนะนำให้มีเงินสดในพอร์ตโฟลิโอ สัดส่วนประมาณ 5-10% และเมื่อการขยับขึ้นของเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง แนะทยอยสะสมพันธบัตรระดับInvestment Grade ในสัดส่วน 20-30% เพื่อสร้างกระแสรายได้ให้กับพอร์ตโฟลิโอ สำหรับตลาดหุ้น เรายังคงมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากผลประกอบการยังฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ในระยะข้างหน้าจะได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อสูงและการเร่งตัวของดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร คงมุมมองหุ้นยูโรป slightly negative จากผลกระทบที่ยืดเยื้อของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป สำหรับกลุ่ม Emerging Market คงมุมมอง slightly positive ต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นจีนหลังมีการทยอยเปิดเมืองและออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีความเสี่ยงในด้านเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยต่ำกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ ส่วนไทยและเวียดนาม ปรับมุมมอง slightly positive เนื่องจาก แม้จะได้อานิสงค์จากการเปิดประเทศ แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ย รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น และปรับ Asian REITs เป็น Neutral เนื่องจากผลกระทบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น เช่นกัน
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อ SCB CIO ปรับสินค้าโภคภัณฑ์เป็น positive โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร ที่อุปทานมีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่องจากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการห้ามส่งออกอาหารในหลายประเทศ ในขณะที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง แต่การปรับตัวขึ้นน่าจะถูกกระทบจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย สำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่งระดับสูง ( High Net Worth /Ultra High Net worth ) การมี Alternative assets เช่น Structure note และ Private asset อยู่ในพอร์ตจะช่วยสร้างกระแสรายได้และลดความผันผวนของพอร์ตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ความไม่แน่นอนในตลาดเงินโลกยังอยู่ในระดับสูง