รายงาน Trends Demand Gold ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ในไตรมาส 3 ของปี 2565 แตะ 1,181 ตัน เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี และด้วยความต้องการที่สูงขึ้นจึงทำให้ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีกลับไปเกือบเท่าช่วงก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ยิ่งไปกว่านั้น ความต้องการทองคำยังได้รับแรงหนุนจากผู้บริโภคและธนาคารกลาง แม้ว่าจะมีการหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในส่วนของการซื้อเพื่อการลงทุน
ความต้องการทองคำของผู้บริโภคในไทยในไตรมาส 3/2565 เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบเป็นรายปี กล่าวคือ จาก 8.6 ตัน ในไตรมาส 3/2564 ไปเป็น 12.1 ตัน ในไตรมาส 3/2565 ด้วยแรงหนุนจากความต้องการอัญมณีที่สูงขึ้น 35% เมื่อเทียบเป็นรายปี จาก 1.9 ตัน ในไตรมาส 3/2564 เป็น 2.5 ตัน ในไตรมาส 3/2565 และความต้องการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำพุ่งขึ้น 42% เมื่อเทียบเป็นรายปี จาก 6.7 ตัน ในไตรมาส 3/2564 เป็น 9.6 ตัน ในไตรมาส 3/2565
Mr. Andrew Naylor ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาค APAC (ไม่รวมประเทศจีน) ของสภาทองคำโลก กล่าวว่า "ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันที่เราได้เห็นความต้องการอัญมณีในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการฟื้นตัวของภาคส่วนการท่องเที่ยวและราคาทองคำที่ลดลง อันเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกทองคำเร่งเติมคลังโดยคาดว่าความต้องการจะยังคงแข็งแกร่งต่อไปในไตรมาสที่สี่ เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้คนนิยมแต่งงานและมีการเฉลิมฉลองส่งท้ายปี”
การลงทุนทั่วโลกดิ่งลง 47% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากนักลงทุน ETF ไม่สู้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งตัว โดยมีการไหลออกที่ 277 ตัน ซึ่งเหล่านี้ ผนวกรวมกับความต้องการการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง และทัศนคติเชิงลบในตลาดซื้อขายล่วงหน้านับเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของราคาทองคำส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลง 8% ในไตรมาส 3/2565
อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดปัญหาข้างต้น แต่ทองคำก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักลงทุนรายย่อยที่ตอบสนองต่อสัญญาณของตลาดต่าง ๆ และหันไปลงทุนในทองคำ เนื่องจากยังสามารถตรึงราคาไว้ได้ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยนักลงทุนจะเลี่ยงผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อด้วยการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำ ทำให้ความต้องการในส่วนค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากการซื้ออย่างมีนัยสำคัญในประเทศตุรกี (มากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา) และในประเทศเยอรมนี (เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่ 42 ตัน) พร้อมอานิสงค์ที่เด่นชัดจากตลาดหลักทั่วโลก
การซื้ออัญมณียังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและได้กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ 523 ตัน โดยนับว่าเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 การเติบโตส่วนใหญ่นี้มีสาเหตุมาจากผู้บริโภคในตัวเมืองของประเทศอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อความต้องการให้เพิ่มขึ้น 17% เป็น 146 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นอกจากประเทศอินเดียแล้วยังมีการเติบโตที่น่าประทับใจในหลายพื้นทั่วตะวันออกกลาง โดยประเทศซาอุดิอาระเบียเลือกซื้อเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่ไตรมาส 3/2564 และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มขึ้น 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ความต้องการของเครื่องประดับในจีนยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่มากขึ้น และราคาทองคำในประเทศที่ลดลงในเดือนกรกฎาคม รวมถึงการผลิตตามความต้องการที่เคยถูกชะลอไว้บางส่วน
ควบคู่ไปกับความต้องการในทองคำของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง การซื้อของธนาคารกลาง1ดีดตัวขึ้นอย่างมาก โดยมียอดซื้อสูงเป็นประวัติการณ์เกือบ 400 ตัน ในไตรมาส 3 สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากข้อมูลสำรวจเชิงลึกที่เราได้จากธนาคารกลางเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ว่า 25% ของผู้ตอบแบบสอบถามประสงค์ที่จะสำรองทองคำเพิ่มในอีก 12 เดือนข้างหน้า2
เมื่อมองไปในส่วนของอุปทานการทำเหมืองทอง (การลดความเสี่ยงสุทธิ) เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 โดยการทำเหมืองทองคำได้เติบโตติดต่อกันถึงไตรมาสที่หก ในทางกลับกัน การรีไซเคิลลดลง 6% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากผู้บริโภคไม่ตัดสินใจขายทองคำในภาวะที่เงินเฟ้อสูงขึ้นและมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
Ms. Louise Street นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโส ของสภาทองคำโลก ให้ความเห็นว่า
“แม้สภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาคจะไม่ทรงตัว แต่ความต้องการในปีนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงสถานะของทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าทองคำยังทำกำไรได้ดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในปี 2565
“ในอนาคต เราคาดว่าการซื้อของธนาคารกลางและการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยจะยังคงมีความแข็งแกร่งต่อไป ทำให้สามารถชดเชยการลงทุนใน OTC (Over-The-Counter) และ ETF (Exchange Traded Fund) ที่อาจลดลงในกรณี
ที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังคาดว่าความต้องการในเครื่องประดับจะยังคงแข็งแกร่งในบางภูมิภาค อาทิ อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ภาคเทคโนโลยีจะมีแนวโน้มลดลงอีกเมื่อเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ”
สามารถอ่านรายงาน Gold Demand Trends ฉบับครอบคลุมข้อมูลสำหรับไตรมาส 3/2565 ของทาง Metals Focus ได้ที่นี่: https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q3- 2022