October 09, 2024
  • M&A ทวีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องในฐานะเครื่องมือขยายธุรกิจและขยายตลาดของบริษัททั่วโลก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา M&A เติบโตต่อเนื่องจนมีมูลค่าสูงกว่า GDP ของหลายภูมิภาค เช่น อาเซียน และแอฟริกา เป็นต้น
  • M&A มีแนวโน้มกลับมาเติบโตหลัง COVID-19 คลี่คลาย โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีและธุรกิจการแพทย์ที่สอดรับกับเทรนด์ธุรกิจใหม่ (New Normal) โดยขณะนี้หลายบริษัทอยู่ระหว่างชะลอการลงทุนเพื่อปรับกลยุทธ์ M&A ให้สอดรับกับภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป รวมถึงมองหาบริษัทใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในระยะยาว
  • M&A เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่บริษัทไทยใช้ขยายการลงทุนในต่างประเทศ สอดรับกับแนวโน้มการออกไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในต่างประเทศ แก้ปัญหาข้อจำกัดการขยายธุรกิจภายในประเทศ

Mergers & Acquisitions (M&A) คือ การซื้อหุ้น สินทรัพย์ หรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้อำนาจควบคุม/ครอบครองกิจการ

ปัจจุบันหลายบริษัททั่วโลกเดินหน้าขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการควบรวมกิจการ (Mergers & Acquisitions : M&A) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในช่องทางที่ช่วยให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มูลค่า M&A ของโลกขยายตัวต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและทวีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเป็นลำดับ สะท้อนจากสัดส่วนมูลค่าธุรกรรม M&A ต่อ GDP โลกเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% ในช่วงปี 2558-2562 จาก 2.8% ในช่วงปี 2553-2557 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 มูลค่าธุรกรรม M&A ชะลอลงอย่างมาก เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้หลายบริษัทชะลอการลงทุนและรอดูทิศทางของภาคธุรกิจหลังสถานการณ์คลี่คลาย ทั้งนี้ ภาพรวม M&A ของโลกทั้งในมิติของภูมิภาคและอุตสาหกรรม แนวโน้ม M&A ในระยะถัดไป ตลอดจนทิศทาง M&A ของไทยที่กำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้


ฝ่ายวิจัยธุรกิจ

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

 

 

 

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ต้อนรับนางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นางสาวอรไท เล็กสกุลชัย (ขวา) นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นายชาติชาย พานิชชีวะ (ที่ 3 จากซ้าย)  รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสนั่น อังอุบลกุล (ที่ 2 จากขวา) รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายนพพร เทพสิทธา (ซ้าย) คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในพิธีเปิดงานสัมมนา “The Exporter Forum” จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการวางแผนและบริหารธุรกิจส่งออกให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเริ่มต้นส่งออกหรือส่งออกได้มากขึ้น ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ทดลองใช้ระบบบริหารจัดการความรู้และประเมินความพร้อมด้านการส่งออก (Thailand Export Readiness Assessment & Knowledge Management : TERAK) ซึ่ง EXIM BANK ร่วมกับ สรท. พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งในการทำธุรกิจส่งออกในเชิงลึก รวมทั้งเสนอแนะแนวทางปรับปรุงธุรกิจอย่างมีขั้นตอนให้แก่ผู้ส่งออก โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการส่งออกของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563

ลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 50 เมกะวัตต์ในเวียดนาม

EXIM BANK แต่งตั้งนางสาวพรธิกา กัญจนบุศย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร

สำหรับลูกค้า SMEs วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท รวมกว่า 2,500 ราย ยอดคงค้าง 20,000 ลบ. ให้มีสภาพคล่องเพิ่มอีก 4,000 ลบ. ช่วยรักษาการจ้างงานในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก

X

Right Click

No right click