มนุษย์เงินเดือน หากจัดการเงินไม่เป็น ติดสไตล์สายเปย์ ก็มักจะหลงเข้าไปในวงจรการเงินแบบเดือนชนเดือน วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมาเปลี่ยน...จากมนุษย์เงินเดือนสายเปย์ไม่เลือก เป็นมนุษย์เงินเดือนสายเปย์แบบสมาร์ทให้คุณรู้จัก วางแผนใช้จ่าย เก็บออม และพร้อมลงมือทำ เพื่อการเงินที่ดีทั้งวันนี้และในอนาคต เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมตัวช่วยอย่าง “บัตรเดบิต”

บัตรเดบิต ตัวช่วยให้คุณไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งแต่ละการใช้จ่าย ยอดจะถูกตัดจากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ผูกกับบัตร ช่วยให้บริหารรายจ่ายได้ง่ายขึ้น ไม่เกินตัว เกินกำลัง ตามเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก่อนจะทำบัตรเดบิตสักใบ มาดูกันกับ “5 เรื่องบัตรเดบิตต้องรู้”

  1. ศึกษาเงื่อนไขให้เข้าใจ

บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารย่อมมีเงื่อนไขการใช้แตกต่างกัน ก่อนสมัครจึงควรทำความเข้าใจกับเงื่อนไขของแต่ละบัตรให้ดีเพื่อเลือกทำบัตรที่ตรงกับความต้องการ อาทิ มีค่าธรรมเนียมอย่างไร มีเงื่อนไขฝากขั้นต่ำครั้งแรกหรือไม่ ซึ่งบัตรเดบิต ttb all free เป็นบัญชีเงินฝากใหม่ที่ให้ฟรีสารพัดรายการไม่ว่าจะเป็น

  • ฟรีค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี
  • ฟรีค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต รูปแบบบัตรดิจิทัล ใช้จ่ายออนไลน์ได้สะดวก
  • ฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินกับตู้เอทีเอ็ม
  • ฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินทั่วประเทศ
  • ฟรีค่าธรรมเนียม เติมเงิน และจ่ายบิล ทั้งผ่านตู้เอทีเอ็ม และ บนแอป ttb touch
  1. เลือกประเภทบัญชีที่ตอบโจทย์

บัตรเดบิตเป็นการทำบัตรกดเงินที่ผูกเข้ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพราะฉะนั้นเมื่ออยากเปิดบัญชีเงินฝากให้ตรงกับความต้องการจึงควรเลือกดูทั้งเรื่อง ค่าธรรมเนียม เงินฝากขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงื่อนไขในการถอนเงิน เพื่อเปรียบเทียบประเภทบัญชีเงินฝากที่ตอบโจทย์มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อต้องการเปิดบัญชีไว้ใช้จ่ายเป็นหลัก เก็บออมเป็นรอง ประเภทบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ฟรีอาจเป็นคำตอบที่ดีของใครหลายคน เช่น บัตรเดบิต ttb all free ที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระ ไม่มีบวกเพิ่มค่าธรรมเนียมให้เป็นภาระการใช้จ่าย ใช้จ่ายบิล ซื้อของออนไลน์ หรือใช้จ่ายต่างประเทศก็ทำได้ ยิ่งถ้าเป็นคนชอบช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายออนไลน์ หรือทำอะไรบนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ บัตรเดบิต ttb all free ดิจิทัล จะช่วยตอบโจทย์ได้มาก ที่สำคัญไม่มีค่าธรรมเนียมออกบัตรและรายปี

  1. ติดตามยอดเงินบนบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ หรือ โมบายแบงก์กิ้ง ได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก และปลอดภัยขึ้นได้

ใส่ใจกับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกทักษะทางการเงิน และการรับผิดชอบตัวเอง พร้อมตรวจสอบ และติดตามยอดเงินบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ จะได้รู้ตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าเมื่อไหร่ใช้จ่ายเยอะเกินไป

  1. รู้วิธีเก็บบัตรเดบิตให้ปลอดภัย

เมื่อมีบัตรเดบิตเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญ คือ วิธีเก็บบัตรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่มิจฉาชีพเกลื่อนเมืองแถมเข้าถึงตัวได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังเรื่องของข้อมูลบัตรเดบิตเป็นพิเศษ ไม่ถ่ายรูปบัตรลงโซเชียลโดยเด็ดขาด รวมทั้งไม่บอกและไม่กรอกข้อมูลบัตรสุ่มสี่สุ่มห้า หากมีเหตุทำบัตรหล่นหาย หาบัตรไม่เจอ มีการแจ้งเตือนกดเงินที่ไม่ได้เป็นคนกดเอง

สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก คือ การอายัดบัตร โดยลูกค้าทีทีบีสามารถอายัดบัตรผ่านแอป ttb touch ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  • เข้าหน้าหลักแอป ttb touch จากนั้นเลื่อนหาปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
  • เลือกเมนูเงินฝากที่ต้องการอายัดบัตร
  • เลือกแถบข้อมูลบัญชี
  • เลื่อนลงมาที่หัวข้อ การจัดการบัญชี เลือกเมนู บัตรเดบิต
  • เลือกประเภทบัตรเดบิตที่ต้องการอายัด
  • กดอายัดบัตร
  • อ่านรายละเอียด หากเข้าใจแล้วกดอายัดบัตร
  • ใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
  • ทำรายการอายัดบัตรเดบิตสำเร็จ
  1. เลือกบัตรเดบิตที่ให้สิทธิประโยชน์คุ้มกว่า

ข้อเปรียบเทียบสุดท้ายก่อนจะเลือกทำบัตรเดบิตสักใบคือเรื่องของความคุ้มค่า หลายคนจึงมองหาบัตรที่ให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าการเก็บเงินไว้เฉย ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ฝากเงินไว้ครบตามเงื่อนไขก็จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี และมีบัตรเดบิตที่คุ้มค่าในทุกการใช้จ่าย เช่น บัตรเดบิต ttb all free ฝากเงินไว้ได้ฟรีประกันอุบัติเหตุ เพียงเก็บเงินไว้ในบัญชีอย่างน้อย 5,000 บาท ก็ได้รับสิทธิ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน

ง่าย ๆ เพียงแสดงบัตร all free E-Care Card ในแอปพลิเคชัน ttb touch สถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

จะเห็นได้ว่าบัตรเดบิตก็สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการเรื่องเงินให้ดีขึ้นได้ และเป็นได้มากกว่าบัตรเดบิต ด้วยสิทธิประโยชน์อื่น ๆ หรือการดูแลคุ้มครอง…รู้อย่างนี้แล้ว มาวางแผนการเงินให้ดีขึ้นได้ด้วย บัตรเดบิตที่ตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์เงินเดือนด้วยกันเถอะ!

การวางแผน “ภาษี” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนวัยทำงานต้องไม่ลืม เมื่อใกล้สิ้นปีแล้ว! ควรรีบคำนวณรายได้ปี 2566 ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และควรใช้ตัวช่วยอะไรมาลดหย่อนภาษีให้ได้คุ้มค่า สำหรับใครที่นิยมซื้อกองทุน อย่าลืมว่านอกจาก SSF และ RMF ตัวช่วยที่คุ้ม 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนค่าภาษีเซฟเงินในกระเป๋า และต่อยอดเงินลงทุนแล้ว ในปีนี้ยังมีตัวช่วยใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืนกองทุน “ThaiESG” เพิ่มมาอีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะชวนมาทำความรู้จักกองทุนใหม่ ThaiESG พร้อมวิธีช่วยคำนวณในการซื้อกองทุนต่าง ๆ เพื่อลดหย่อนภาษีปลายปีกัน

รู้จักกองทุน ThaiESG

กองทุน ThaiESG หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่เป็น ESG ประกอบด้วย ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ​และบรรษัทภิบาล (Governance) เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกับ SSF และ RMF แต่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยการลงทุนในกองทุน ThaiESG จะต้องลงทุนระยะยาว 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ หรือ 10 ปีปฏิทิน ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท ซึ่งจะเป็นการแยกวงเงินออกจากกองทุน SSF และ RMF

ในขณะที่กองทุน SSF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ประกันชีวิตบำนาญแล้ว ต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

พูดง่าย ๆ ก็คือ จะสามารถใช้ กองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 600,000 บาท

คำนวณดี ๆ รายได้เท่านี้ ควรซื้อกองทุนเท่าไหร่?

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ

อันดับแรกต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยคำนวณจากการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

หากมีเงินเดือน 100,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 1,200,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท เมื่อคิดเงินได้สุทธิแล้วจะอยู่ที่ 1,031,000 บาท

STEP 2 : คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย

หลังจากคำนวณเงินได้สุทธิแล้วให้นำมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าต้องจ่ายภาษีท่าไหร่

[(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ]

+ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า = ภาษีที่ต้องจ่าย

จากจำนวนเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท จะอยู่ระหว่างฐาน 1,000,001 -  2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ทำให้จะต้องเสียภาษี (1,031,000 - 1,000,000) x 25% + 115,000 เท่ากับภาษีที่ต้องจ่าย 122,750 บาท

STEP 3 : คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

หากต้องการเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง SSF RMF และ ThaiESG ได้ ซึ่งจะคำนวณจาก

เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น = เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด

ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้พอดี จะคิดจากเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท หักเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น 150,000 บาท จะได้เท่ากับ 881,000 บาท แต่เนื่องจากเงื่อนไขของกองทุน SSF และ RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น เมื่อรวมกับกองทุน ThaiESG อีก 100,000 บาท จะเท่ากับว่าสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 600,000 บาทเท่านั้น

แล้วควรซื้อกองทุนไหนดี จำนวนเท่าไหร่บ้างนั้น ก็ให้ดูตามความเหมาะสม ได้แก่ เป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หากต้องการลงทุนระยะยาว 10 ปี ก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน SSF จำนวน 200,000 บาท และกองทุน RMF อีก 300,000 บาท หรือหากต้องการลงทุนเพื่อเกษียณอายุก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน RMF จำนวน 360,000 บาท แล้วที่เหลืออีก 140,000 บาท จึงนำไปซื้อ SSF ก็ได้เช่นกัน

สรุป หากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 600,000 บาท จะทำให้เหลือเงินได้สุทธิ (1,031,000 – 600,000) เท่ากับ 431,000 บาท ซึ่งจากเดิมจะเสียภาษีฐาน 25% มาเหลือเพียงฐาน 10% เท่านั้น และเมื่อคำนวณภาษีใหม่ จะเสียภาษี (431,000 - 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 20,600 บาท ซึ่งประหยัดได้ถึง 102,150 บาท เลยทีเดียว

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนภาษี จะทำให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีหลักพันไปจนถึงหลักแสน แต่ถ้าย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย

หากยังเลือกไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อกองทุนไหนดี ทีทีบีคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว โดยมีให้เลือกหลากหลายทั้ง SSF และ RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566 และยังมีกองทุน ThaiESG ตัวใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืน ที่คัดมาให้แล้ว คลิกดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal-invest

มาวางแผนลดหย่อนภาษีกันแต่เนิ่น ๆ ไปกับ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ เพื่อการเงินที่ดีขึ้นกัน!

fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนเช็กกันอีกรอบก่อนสิ้นปี! สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาสำรวจให้ดี ๆ ว่าปีนี้วางแผนภาษีล่วงหน้ากันครบถ้วนแล้วหรือยัง โดยเริ่มจากการคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องเสียและหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีรูปแบบต่าง ๆ

ยื่นภาษีเงินได้ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2567 สามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการยื่นภาษีแบบเอกสารกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใกล้บ้าน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2567 หรือจะเลือกยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th สามารถทำได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2567

อัตราภาษีเงินได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี

การคำนวณภาษีจะเป็นการคิดคำนวณแบบขั้นบันได ซึ่งจากข้อมูลอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2566

ผู้มีเงินได้สุทธิ 0 - 150,000 บาทแรก จะได้รับการยกเว้นภาษี และเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะเริ่มอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี โดยเริ่มที่ฐาน 5% รายละเอียดเกณฑ์อัตราภาษีสามารถดูได้จากภาพประกอบด้านล่าง

ภาษีเงินได้เกิน มีอะไรที่สามารถนำมาช่วยลดหย่อนได้บ้าง

"ค่าลดหย่อน" คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ถูกกำหนดตามกฎหมาย กำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว จะช่วยทำให้เราเสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยในแต่ละปีอาจมีรายการลดหย่อนภาษีต่างกันออกไปเล็กน้อย เนื่องจากนโยบายของรัฐในช่วงนั้น ๆ โดยสำหรับปี 2566 มีรายการลดหย่อนภาษีแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. คู่สมรส (จดทะเบียนสมรส - ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
  3. บุตร คนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • อายุไม่เกิน 20 ปี
  • หากอายุ 21 - 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  1. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  2. ค่าดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และสามารถหักลดหย่อนสำหรับพ่อแม่ของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท
  3. ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท โดยผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวคนพิการ

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันและการลงทุน (ลำดับ)

  1. ประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
  2. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ของตัวเองและของคู่สมรส ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต (คุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  4. เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  5. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอาจจะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปี ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
  1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และสำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  2. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
  • ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อและไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี
  1. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
  • ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
  • ขายได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  1. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 30,000 บาท

ทั้งนี้ กองทุน RMF, กองทุน SSF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ

  1. ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม หรือที่อยู่อาศัย โดยเราต้องอาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
  • ต้องเป็นการกู้เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง หรือกู้เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม
  • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศ
  • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน
  1. เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) 100,000 บาท
  2. ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชนแล้ว
  • มีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ลดหย่อนได้ 30,000 บาท
  • มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนเพิ่มได้อีก 10,000 บาท
  • ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในช่วงวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  1. บริจาคพรรคการเมือง 10,000 บาท
  2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา สนับสนุนกีฬา พัฒนาสังคมต่าง ๆ มูลนิธิด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลรัฐ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  3. เงินบริจาคอื่น ๆ มูลนิธิและองค์กรสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

สำหรับใครที่มองหาวิธีเปลี่ยนเรื่องภาษีให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทีทีบีขอแนะนำ “My Tax” ฟีเจอร์ใหม่ บนแอป ttb touch ผู้ช่วยจัดการภาษีแบบครบวงจร ที่มาพร้อมฟีเจอร์ครบครันด้านภาษี ช่วยให้คุณวางแผนการเงินเพื่อประหยัดภาษีได้ล่วงหน้า…สะดวก ใช้งานก็ง่าย แถมไม่ต้องยุ่งยากกับเอกสารอีกด้วย

คลิก https://ttbbank.com/mytax เพื่อลองใช้งาน My Tax ผ่านแอป ttb touch

วางแผนลดหย่อนภาษีสามารถจัดการได้แต่เนิ่น ๆ

อ่านบทความฉบับเต็ม คลิกเลย! https://www.ttbbank.com/th/fintips-tax66-pr

หรือติดตามเคล็ดลับการเงินอื่น ๆ จาก fintips by ttb ได้ที่เว็บไซต์ทีทีบี เลือก “เคล็ดลับการเงิน”

คลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-097

 

เพราะการเก็บเงินจริงจัง เป็นเรื่องยากของเด็กจบใหม่ หรือวัยเริ่มทำงาน โดยเฉพาะคนที่อยากสร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยเงินเดือนที่อยู่ในระดับ Entry Level หรือเพิ่งเริ่มต้น ซึ่งหลายคนนอกจากต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่อยู่อาศัย หรือค่าอาหารในทุกวันแล้ว อาจต้องชำระคืนทุนการศึกษา หรือต้องช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านอีกด้วย ดังนั้น First Jobbers อาจพบเจอความท้าทายทางการเงินได้หลากหลาย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมารู้จักเคล็ดลับ 5 นิสัยที่ช่วยให้วัยเริ่มทำงานเก็บเงินได้ไวขึ้น เพื่อการเงินที่ดีขึ้น

  1. กำหนดงบประมาณที่ใช้ต่อเดือน

 ไม่ว่าการเริ่มต้นชีวิตมนุษย์ทำงานจะยุ่งเหยิงแค่ไหน แบกอะไรบ้าง แต่เรื่อง “การเงิน”ต้องไม่หลุดโฟกัส เมื่อตั้งใจเก็บเงินอย่างจริงจัง สิ่งสำคัญคือ การคุมงบใช้จ่ายอย่างหนักแน่น ซึ่งการรู้จักตัวเองว่าในแต่ละเดือน ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับอะไร เท่าไหร่ ทั้งค่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงค่าชอปปิงต่าง ๆ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดสรรงบประมาณที่ใช้จ่ายต่อเดือน และการแยกบัญชีเป็นสัดส่วน 2 บัญชี คือ บัญชีเพื่อใช้และเพื่อออม เป็นตัวช่วยที่ดีในการจัดสรรเงิน และช่วยให้ติดตามการใช้เงินได้ง่ายขึ้น โดยจะได้รู้ว่าใช้เงินค่าอะไรไปเท่าไหร่ ตลอดเดือนจะเหลือเงินให้ใช้เท่าไหร่ ใกล้เต็มลิมิตแล้วหรือยัง และทำให้มั่นใจได้ว่าไม่รบกวนเงินที่ตั้งใจเก็บไว้แน่นอน

  1. ตั้งเป้าหมายการออม

เมื่อมีอิสระทางการเงินของตัวเองและทำงานเหนื่อย การเปย์ตัวเองด้วยของรางวัลจึงเป็นเรื่องปกติของวัยเริ่มทำงาน แต่หากมีความตั้งใจเก็บเงินให้ไวขึ้น การตั้งเป้าหมายการออมจะช่วยให้มีความแน่วแน่และข้ามผ่านอุปสรรคยั่วยวนใจได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายระยะสั้น เช่น เดือนนี้จะเก็บเงินให้ได้ 5,000 บาท เพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อของที่อยากได้มานาน หรือเป้าหมายระยะยาว เช่น เก็บเงินเพื่อดาวน์คอนโด ดาวน์รถ การมีเส้นชัยที่ต้องไปให้ถึง ย่อมทำให้มีกำลังใจในการเก็บเงินโดยไม่ล้มเลิกไปเสียก่อน

  1. มีเงินสำรองฉุกเฉิน

เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอน อาจเจอเรื่องไม่คาดฝันได้ทุกเวลา เช่น เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ มีเรื่องให้จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ หรืองานที่ทำยังไม่มั่นคง อาจมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนงาน ออกจากงาน เงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นเบาะรองรับสำคัญ เมื่อถึงวันสะดุดล้มก็ไม่เจ็บช้ำจนเกินไป

หนึ่งทางออกเพื่อรองรับความเสี่ยงเหล่านี้คือ การสำรองเงินบางส่วนไว้ผ่านการเปิดบัญชีเงินฝากที่มีประกันอุบัติเหตุฟรี เช่น เปิดบัญชีเงินฝาก ttb all free ที่ทำธุรกรรมออนไลน์ ได้อย่างสะดวก รวดเร็วผ่าน แอป ttb touch ที่สำคัญยังได้ประกันอุบัติเหตุฟรี เบิกค่ารักษาได้ 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพียงคงเงินฝากไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ทุกวันตลอดทั้งเดือน

หากอายุยังน้อยและไม่แน่ใจว่าจะซื้อประกันอะไรดี แค่มีเงินฝากเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ttb all free ก็ได้รับประกันอุบัติเหตุฟรีแบบไม่ต้องสมัครอะไร หรือเสียค่าอื่นใดเพิ่ม เริ่มต้นสร้างวินัยทางการเงิน ด้วยการมียอดเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี ttb all free ให้ได้ตามเงื่อนไข เพิ่มความคุ้มครองทางการเงินได้อีกทาง

  1. ทำบันทึกรายรับรายจ่าย

หลายคนอาจมองว่าการทำบันทึกรายรับรายจ่ายยุ่งยาก เพราะต้องติดตามว่าในแต่ละวันจ่ายเงินค่าอะไรบ้าง ทว่าที่จริงแล้ว นิสัยการใช้จ่ายของคนวัยทำงานในปัจจุบัน มักเลือกโอนเงินผ่านโมบายแบงก์กิ้ง หรือรูดจ่ายผ่านบัตรเดบิต ทำให้การทำบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยย้อนทวนความจำหรือว้าวุ่นกับเงินหล่นหาย เพราะมีหลักฐานทุกครั้งที่โอนเงินออกจากบัญชี ย้อนกลับมาดูก็เห็นทั้งภาพรวมและรายละเอียดทุกรายการ ทำให้ช่วยประเมินตัวเองได้ง่ายขึ้น จัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายได้อย่างชัดเจน และเห็นภาพว่ายอดใช้จ่ายไหนควรตัดออกเพื่อให้เก็บเงินได้มากขึ้น

สะดวกมากขึ้นด้วยฟังก์ชัน ‘Smart Search’ จากแอป ttb touch ให้คุณค้นหา และเรียกดูทุกรายการเดินบัญชีได้ง่าย ๆ เป็นตัวช่วยบันทึกและสรุปรายการใช้-จ่าย ให้คุณวางแผน ดูแลการเงินได้ดีขึ้น

  1. เลี่ยงการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้

 การใช้จ่ายเกินตัวของวัยทำงานอาจกลายเป็นภาระหนี้ที่ยากเกินแบกรับ ดังนั้น หากเป้าหมายคือการมีเงินเก็บ สิ่งสำคัญที่ต้องเลี่ยงคือ “หนี้” เพราะการมีหนี้หมายถึงการหยิบยืม ที่จำเป็นต้องจ่ายคืนในภายหลัง ซึ่งหากเป็นหนี้แล้ว การจะสำรองเงินไว้เพื่อการออมอาจเป็นเรื่องยากขึ้น หาเงินได้เท่าไหร่ก็ต้องนำไปจ่ายคืนในส่วนที่หยิบยืมมา

หากทำได้ทั้ง 5 ข้อดังกล่าวข้างต้น ก็จะทำให้วัยเริ่มทำงานมีโอกาสเก็บเงินได้เร็วมากขึ้น และการเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อเก็บเงินอย่างจริงจังควบคู่กันไปด้วยนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างรากฐานที่มั่นคงตั้งแต่เนิ่น ๆ พร้อมเปิดโอกาสให้ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ได้มากกว่า

รถยนต์ถือเป็นทรัพย์สินที่มากกว่าแค่ใช้ขับขี่ แต่ยังสามารถใช้เพื่อสร้างรายได้ และต่อยอดโอกาสได้มากมาย เช่น ปล่อยให้เช่า หรือนำไปประกอบธุรกิจในการรับส่งของ รวมทั้งสามารถผันไปเป็นหลักประกันเงินกู้ยามจำเป็นได้อีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะมาช่วยเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างสินเชื่อยอดนิยมทั้ง 2 รูปแบบ คือ รีไฟแนนซ์รถยนต์ และสินเชื่อรถแลกเงิน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนการกู้ยืม

รีไฟแนนซ์รถยนต์

รีไฟแนนซ์รถยนต์ คือ สินเชื่อทางเลือกสำหรับคนที่มีรถแต่ยังผ่อนไม่หมด แม้จะมีภาระผูกพันทางการเงิน แต่สินเชื่อประเภทนี้ช่วยให้ผู้กู้สามารถใช้รถยนต์เป็นหลักประกันในการกู้ได้  แต่ก็ยังสามารถนำรถยนต์ไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งประโยชน์ที่นำไปใช้จากเงินก้อนนี้ ได้แก่ ช่วยขยายระยะเวลาการผ่อนคืนได้นานขึ้น อัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระที่ลดลงเมื่อเทียบกับหนี้เดิม และที่สำคัญช่วยคลายความเครียดจากภาระการผ่อนรายเดือน รวมทั้งหากมีเงินส่วนต่างเหลือยังสามารถนำไปจัดสรรเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้

ตัวอย่างการทำสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์

หากกู้เงินเพื่อผ่อนรถเป็นจำนวน 500,000 บาท โดยผ่อนไปแล้ว 300,000 บาท เหลือเงินอีก 200,000 บาท และหากสถาบันการเงินทำการประเมินมูลค่ารถยนต์อีกครั้งและปล่อยกู้ได้ที่ 350,000 บาท เราก็จะสามารถนำเงินที่ได้ตรงนี้ไปปิดหนี้ที่เหลืออยู่ 200,000 บาทได้ โดยที่ยังเหลือเงินกู้ส่วนต่างอีกจำนวน 150,000 บาท ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อต่อยอดทำธุรกิจ หรือนำไปชำระหนี้ส่วนอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล

สินเชื่อรถแลกเงิน

สำหรับสินเชื่อรถแลกเงิน เป็นสินเชื่อเพื่อคนมีรถที่ผ่อนชำระหมดแล้ว โดยผู้ที่ต้องการกู้สามารถใช้รถยนต์หรือเล่มทะเบียนรถเป็นหลักค้ำประกันเพื่อยื่นขอกู้สินเชื่อได้ และยังสามารถนำรถไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะแบ่งประเภทสินเชื่อรถแลกเงินออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบโอนเล่มทะเบียนรถ และ แบบไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีเงื่อนไขในการรับรถยนต์ที่ขอยื่นกู้จำเป็นต้องมีอายุการงานไม่เกิน 16 ปี

เมื่อจำเป็นต้องกู้เงินโดยใช้รถเป็นหลักประกันนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกพิจารณา คือ รถที่จะนำไปเป็นหลักประกันยังมีภาระผูกพันทางการเงินหรือไม่ เพราะถ้าหากยังผ่อนไม่หมด การรีไฟแนนซ์อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยปิดวงเงินสินเชื่อเดิม และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง รวมทั้งอาจมีเงินกู้เหลือพอที่จะนำไปใช้เป็นเงินทุนทำอย่างอื่น ในทางกลับกัน หากมีรถที่ผ่อนหมดแล้ว สามารถขอสินเชื่อรถแลกเงินเพื่อเพื่อนำเงินไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ทางการเงินที่ต้องการได้

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจว่าจะเลือกทำสินเชื่อแบบใดแบบหนึ่ง ควรหาข้อมูล และขอรายละเอียดให้ครบถ้วนจากสถาบันการเงินเสียก่อน เช่น เงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย วงเงินที่ให้ การให้บริการ และรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อนำมาเปรียบกันหลาย ๆ ที่เพื่อให้สามารถได้รับสิ่งที่คุ้มค่าและดีที่สุด

มาร่วมออกแบบชีวิตทางการเงินในวันนี้และในอนาคต เพื่อพิชิตเป้าหมายการมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเคล็ดลับทางการเงินดี ๆ ได้ที่ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ

เพียงคลิก https://www.ttbbank.com/th/fintips-075 

หรืออ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/fintips-car-loan  

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click