ประกาศ 3 กลยุทธ์หลัก ปูทางเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

ทรู คอร์ปอเรชั่นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทย ปล่อยหมัดเด็ดด้วยศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ Business and Network Intelligence Center (BNIC)  พร้อมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพิ่มประสิทธิภาพความเชื่อมั่นเครือข่าย 5G, 4G และอินเทอร์เน็ตบ้าน พร้อมดูแลและบริหารเครือข่ายครอบคลุมทุกบริการ ชูเป้าหมายหลักเพิ่มคุณภาพวอย์และดาต้า เร็ว มั่นใจในสัญญาณเพื่อลูกค้ามากกว่า 50 ล้านเลขหมายทั่วไทย

BNIC ชูจุดเด่นด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning รวมถึงระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation) มาทำงานร่วมกันกับชุดข้อมูลที่เรียกว่าบิ๊กดาต้า (Big data) โดยนำมาเทรนนิ่ง AI เพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ดาต้าเชิงลึกอย่างแม่นยำ และการวิเคราะห์ขั้นสูง AI รูปแบบ Anomaly Detection สามารถทำให้ BNIC ที่โดยพื้นฐานออกแบบสำหรับทำงานเชิงรับในการจัดการโครงข่าย เป็นการทำงานเชิงรุกจากความสามารถคาดการณ์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จากชุด Algorithm ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งาน

นายประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นี่คือก้าวสำคัญอีกครั้งในการยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายของทรู คอร์ปอเรชั่น ด้วยการนำศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ หรือ Business and Network Intelligence Center (BNIC)  ซึ่งสร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางการบริหารและดูแลระบบเครือข่ายดิจิทัลด้านการสื่อสารของบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย ที่ครอบคลุมทุกการบริการของทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งภายหลังควบรวมมีเครือข่ายขนาดใหญ่และซับซ้อน โดยเฉพาะเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีคลื่นความถี่ที่หลากหลายมากที่สุดในไทย จึงจำเป็นต้องมีการดูแลอย่างรอบด้านเพื่อพร้อมให้บริการคุณภาพสูงแก่ลูกค้ามากกว่า 50 ล้านหมายเลขทั่วประเทศ รวมทั้งลูกค้าองค์กร และทรู ออนไลน์ อินเทอร์เน็ตบ้านโครงข่ายไฟเบอร์อัจฉริยะที่มีลูกค้าเกือบ 4 ล้านรายทั่วประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ทีมงานวิศวกรได้ปฏิบัติการที่ศูนย์ BNIC ทุกวันไม่เคยหยุด กล่าวคือ ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน และตลอดปี ซึ่งเป็นฮีโร่ที่อยู่เบื้องหลังที่ดูแลลูกค้าหรือผู้ใช้งานทุกพื้นที่ทั่วไทยให้ได้รับคุณภาพสูงสุดทุกเวลา”

ศูนย์ BNIC เปรียบเสมือนสมองกลสำคัญที่ทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการให้บริการเครือข่ายของทรุ คอร์ปอเรชั่น ด้วยการวิเคราะห์ วางแผน จัดการ ซึ่งเชื่อมโยงทุกพื้นที่ทั่วไทยและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดทั้ง โครงสร้างพื้นฐาน และแพลตฟอร์มภายนอกที่เชื่อมโยงสู่การใช้งานในระบบเครือข่าย อาทิ OTT หรือ Over-the-top ทั้งรูปแบบแอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย สตรีมมิ่ง ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หรือถ้ากรณีเกิดเหตุ (Incident) สามารถวิเคราะห์จัดการดูแลได้ทันที เพื่อลดผลกระทบต่อการใช้งานของลูกค้า อีกทั้งสามารถนำข้อมูลในรูปแบบบิ๊กดาต้ามาประมวลผลเพื่อวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย (Manage Performance) และบำรุงรักษา (Manage Maintenance) ได้ดีขึ้น

ความสามารถหลัก BNIC

การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย คือ หน้าที่พื้นฐานสำคัญของ BNIC ซึ่งต้องมอนิเตอร์การใช้งานของเครือข่ายต่อเนื่อง เช่น การรับส่งข้อมูลเครือข่าย การใช้แบนด์วิธ ความสมบูรณ์ของระบบ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ เครื่องมือตรวจสอบขั้นสูงให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของส่วนภายในเครือข่ายที่ใช้งานต่างๆ โดยครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การตรวจสอบเครือข่ายแบบเรียลไทม์ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครือข่ายทรู คอร์ปอเรชั่นทั้งประเทศ
  • แจ้งเตือนทันทีในกรณีเกิดเหตุ (Incident) หรือเหตุจากภัยพิบัติ (Disaster) ที่กระทบการใช้งานทุกบริการ
  • รายงานประสิทธิภาพ พร้อมโซลูชันในการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย และแก้ไขในกรณีเกิดเหตุทันที
  • รายงานประสิทธิภาพและข้อเสนอในการเพิ่มประสิทธิภาพ OTT ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า
  • การอัปเดต การแก้ไขปัญหา และติดตามการแก้ไขปัญหาจนเสร็จสมบูรณ์

นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นยังนำ Anomaly Detection ซึ่งเป็นการใช้ AI มาตรวจจับความผิดปกติ จากรูปแบบการใช้งาน ซึ่งทาง BNIC มีข้อมูลบิ๊กดาต้ารายงานการใช้งานแบบเรียลไทม์ในทุกพื้นที่ทั่วไทย ซึ่งสามารถใช้บิ๊กดาต้าจากกราฟนับแสนนับล้านในโครงข่ายมาตรวจหาข้อมูล กรณีถ้ามีสิ่งผิดปกติ ระบบจะ Alert ให้รู้ทันที พร้อมนำเสนอโซลูชันในการจัดการปัญหาได้อย่างเร็วที่สุด โดยทั้งหมดนี้เพิ่มประสิทธิภาพความเชื่อมั่นเครือข่าย 5G, 4G และอินเทอร์เน็ตบ้าน พร้อมดูแลและบริหารเครือข่ายครอบคลุมเพื่อลูกค้าทรู คอร์ปอเรชั่นในทุกบริการอีกด้วย

จากผลสำรวจ Telenor Asia Digital Lives Decoded 2566 ระบุว่า คนไทยมีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนเอเชีย ซึ่งมีเพียง 17% ของคนไทยเท่านั้นที่ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการเคารพความเป็นส่วนตัว ปกป้องคุ้มครองข้อมูล และสร้างความเชื่อมั่น เนื่องในวัน Data Privacy Day หรือวันความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ในวันที่ 28 มกราคมของทุกปี

มนตรี สถาพรกุล Head of Data Protection บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) พูดคุย วิเคราะห์เจาะลึกถึงพัฒนาการแนวคิดความเป็นส่วนตัว ความท้าทายองค์กรเอกชนต่อการจัดการภายใน และสิ่งที่ผู้บริโภคควรตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวในยุคปัญญาประดิษฐ์

ความเป็นส่วนตัวคือสิทธิมนุษยชน

มนตรี ฉายภาพกว้างประเด็นความเป็นส่วนตัวว่า นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประชาคมโลกมีความตื่นตัวด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก ในปี 2491 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ครอบคลุมมิติต่างๆ เช่น สิทธิในชีวิต สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ฯลฯ

อนึ่ง ความเป็นมนุษย์ล้วนถูกประกอบสร้างด้วยความหลากหลาย ซึ่งหนึ่งในบริบทที่สำคัญคือ “ความเป็นตัวตน” (Identity) และเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างสมเกียรติความเป็นมนุษย์คือ ข้อมูล โดยมีภาษาเป็น “ตัวเชื่อม” ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์สังคม

สำหรับการสื่อสารสองทางที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร และชุดข้อมูล หากผู้รับสารต้องการนำชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นใด ควรจะมีการขอ “ความยินยอม” (Consent) กับผู้ส่งสาร ซึ่งเป็นสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Subject) ตามแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน การขอความยินยอมถือเป็นกลไกหนึ่งที่ผู้รับสารแสดงถึง “ความเคารพ” ในสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ของเจ้าของข้อมูล เพื่อชี้แจ้งถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลของเจ้าของข้อมูลอย่างโปร่งใส ในทางกฎหมายเรียกว่า “สิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่ถ่ายทอดผ่านเงื่อนไขของข้อมูล”

ซึ่งแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าวถือเป็นกรอบความคิดหลักที่นำมาพัฒนาต่อยอดจนเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยกำกับผ่านกฎหมายที่ดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหภาพยุโรปในปี 2563 ที่เรียกว่า General Data Protection Regulation (GDPR) และต่อมาไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA ซึ่งการประกาศกฎหมายดังกล่าวถือเป็นการ “คืนสิทธิ” ความเป็นส่วนตัวอันชอบธรรมแก่ผู้บริโภค ผ่านการกำกับหน่วยงานห้างร้านที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ ขณะที่ความเป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคลมีกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์คุ้มครองอยู่แล้ว

“ที่ผ่านมา GDPR ใช้เวลาในการพัฒนาถึง 20 ปี PDPA ของไทย ใช้เวลา 21 ปี จนพัฒนาเป็นแนวคิดที่หนักแน่นด้านความเป็นส่วนตัว โดยกำหนดนิยาม ขอบเขต การกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงผู้มีแนวโน้มในการละเมิดสิทธิมนุษชนสูงสุด ซึ่งกรณีกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนดไว้เป็นผู้ให้บริการ ผู้ประกอบการ ห้างร้าน ดังนั้น พวกเขาจึงไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้” มนตรี กล่าว

ความเสี่ยงในศักยภาพจากข้อมูลดิจิทัล

เขาอธิบายเสริมว่า ในยุคอนาล็อก การส่งผ่านข้อมูลมีลักษณะ 1-1 ข้อมูลที่เกิดขึ้นในระหว่างให้บริการที่สามารถระบุตัวตนได้มีเพียง หมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 โลกเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมทางการเงิน ค้นหาข้อมูล ดูคลิปวิดีโอผ่านโซเชียลมีเดีย ข้อมูลที่เกิดขึ้นมีรูปแบบที่หลากหลายและลึกขึ้น นำมาซึ่งศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลโดยเฉพาะการระบุตัวตน พฤติกรรมและความสนใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทาง “บวกและลบ” ได้

ด้วยศักยภาพของข้อมูลดิจิทัลที่เป็นอนันต์ กล่าวคือ ผู้รับบริการอาจได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษและโปรโมชั่นด้านการตลาดที่เกินความคาดหมายในรูปแบบ Contextual Marketing แต่คุณประโยชน์นั้น ก็นำมาซึ่ง “ความกังวล” ในสิทธิความเป็นส่วนตัว

“การได้รับประโยชน์ทางการตลาดถือเป็นสิ่งที่ดีที่ผู้ให้บริการสามารถมอบให้กับลูกค้าได้ แต่นั่นต้องอยู่บนพื้นฐานและหลักการสิทธิมนุษยชนและความโปร่งใสผ่านกลไกความยินยอม โดยไม่ทึกทักหรือคิดเองว่าสิ่งนั้นคือประโยชน์ที่ลูกค้าต้องการ” มนตรีเน้นย้ำ

เช่นเดียวกับกรณีบริการโทรคมนาคม หากผู้ให้บริการต้องการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากบริการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการจะต้องขอความยินยอมจากลูกค้าเป็น “รายบุคคลและรายกรณี” นั่นหมายถึง ผู้ให้บริการจะสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปประมวลผลหรือวิจัย เพื่อส่งมอบบริการอื่นๆ ก็ต่อเมื่อลูกค้าให้ความยินยอมแล้วเท่านั้น

ในยุคที่เทคโนโลยีมีวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทำให้ความเสี่ยงจากการใช้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเทคโนโลยีด้วย ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Automation ที่มีความตายตัวมากกว่า เมื่อเทียบกับ AI ที่ขึ้นอยู่กับ บริบทและการตีความ” ของชุดข้อมูล นำไปเรียนรู้และพัฒนาต่อจนเป็นข้อมูลใหม่ได้ นำมาซึ่งความเสี่ยงที่มากขึ้น

3 เสาแห่งความสมดุลเพื่อสิทธิความเป็นส่วนตัว

มนตรี ในฐานะ Data Protection Officer ของทรู คอร์ปอเรชั่น ได้เล็งเห็นความเสี่ยงที่สูงขึ้นในความเป็นส่วนตัวที่มาพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย จึงมีความจำเป็นต้องกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยี AI ให้อยู่ในกรอบที่ควรจะเป็น โดยยึดตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศ อันได้แก่ ความเป็นธรรมและศีลธรรมอันดีของสังคม และไม่เป็นอันตรายและกัดกร่อนความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับการทำงานของพนักงานที่ได้รับสิทธิให้เข้าถึงข้อมูลลูกค้า (เช่น พนักงานคอลเซ็นเตอร์) ก็ต้องทำงานภายใต้ “ระเบียบ” เพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักการ

เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า การรักษาสมดุลระหว่างสิทธิผู้บริโภคและผลประโยชน์ทางธุรกิจอาจเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนหลัก “ความโปร่งใส” และหลัก “ความจำเป็นและการได้สัดส่วน” (Principle of Necessity and Proportionality) ภายใต้เงื่อนไขความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ซึ่งการรักษาสมดุลทั้ง 3 เสานั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Privacy and Security by Design เคารพความเป็นส่วนตัว ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ประกอบด้วย

  1. ความยินยอมและการรับรู้จากเจ้าของข้อมูล คือหัวใจของกระบวนการ Privacy and Security by Design ซึ่งในกรณีบริการโทรคมนาคม ข้อมูลที่ใช้จะต้องเกี่ยวข้องกับสัญญาบริการโทรคมนาคมเท่านั้น
  2. หากการใช้ข้อมูลไม่เกี่ยวข้องกับบริการโทรคมนาคม ได้มีการขอความยินยอมจากลูกค้าหรือไม่
  3. และหากไม่ จะต้องขอบริการ “ทุกครั้ง” ตามวัตถุประสงค์ จะเก็บหรือใช้ต้องให้มีความชัดเจน

ทั้งนี้ การแจ้งขอความยินยอมจากลูกค้า จะต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ขณะเดียวกัน การใช้ข้อมูลทุกชุดต้องมีภายใต้หลักความจำเป็นและการได้สัดส่วน “ไม่มีการขอเผื่อ”

“มันอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและยุ่งยากสำหรับธุรกิจที่ต้องใช้ข้อมูลให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย แต่การรักษาไว้ซึ่งหลักการ สิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้อย่างยั่งยืน” เขากล่าวและเสริมว่า ในช่วงแรกของการตีกรอบกฎเกณฑ์ภายในเหล่านี้ อาจต้องปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสุดท้าย หน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านั้นล้วนตระหนักและให้ความเคารพถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว แม้จะต้องเล่นท่ายาก แต่ทุกคนเห็นภาพเดียวกันมากขึ้น โดยยึดเอาผลประโยชน์และสิทธิผู้บริโภคเป็นที่ตั้ง ซึ่งแม้เมื่อมีการควบรวมกิจการแล้ว ก็จะต้องร่วมกันปรับปรุงและพัฒนาในสอดรับกับหลักการสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย

มนตรี ให้ข้อคิดแก่ผู้บริโภคว่า “อย่าหลงเชื่อผลลัพธ์ที่ได้เสียทีเดียว และควร ‘เอ๊ะ’ หรือตั้งข้อสงสัยต่อการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านั้นว่าเป็นตามหลักที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพื่อ “รักษา” ในสิทธิความเป็นส่วนตัวของตัวเอง”

Page 2 of 5
X

Right Click

No right click