บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานผลดำเนินการไตรมาส 3/2566 รายได้รวมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากผลจากการเติบโตต่อเนื่องทั้งรายได้บริการและยอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะที่การดำเนินการบูรณาการเป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยเฉพาะในเรื่องหลักที่นำไปสู่การผสานร่วมกัน สะท้อนถึงความพยายามที่เห็นผลสำเร็จอีกทั้งการรับรู้ด้านประสิทธิภาพเชิงโครงสร้างนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ EBTIDA ในไตรมาสที่สามติดต่อกันหลังควบรวมกิจการ

นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผลประกอบการทางการเงินของทรู คอร์ปอเรชั่น ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่สามภายหลังจากการควบรวมทรูดีแทคผ่านไป 6 เดือน ซึ่งผลประกอบการดังกล่าวไม่เพียงทำได้ตามเป้าหมายแต่นับว่ามากเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ สะท้อนชัดถึงความมุ่งมั่นและความพยายามของเรา การกลับมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวและแรงงานต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ได้ส่งผลเชิงบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจระดับมหภาค ขณะที่สถานการณ์ภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลเทคโนโลยีคงการแข่งขันต่อเนื่อง โดยผู้ให้บริการโอเปอเรเตอร์ยังคงต่างมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มตอบโจทย์หลากหลายไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ทั้งนี้บริษัทยังคงดำเนินการเป็นไปตามแผนการรวมธุรกิจที่วางไว้ โดยเริ่มเห็นผลจากการผสานจุดแข็งของทั้งทรู-ดีแทค ตามที่ได้รายงานผ่านวันพบนักลงทุน (Capital Markets Day) ที่ผ่านมา

ในไตรมาสที่ 3/2566 ผลจากการรวมธุรกิจทำให้เรามีรายได้จากการให้บริการสุทธิ 4.4 พันล้านบาท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ (ค่าใช้จ่ายการลงทุน) CAPEX และ EBITDA สำหรับโครงการดำเนินการรวมโครงสร้างเสาสัญญาณภายใต้โครงข่ายเดียว (Single Grid) มีความคืบหน้าเป็นไปตามแผนหลังจากการเริ่มดำเนินการไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยภายในช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน มีการบูรณาการเสาสัญญาณไปแล้วมากกว่า 300 แห่ง และปรับปรุงจุดที่ซ้ำซ้อน 100 แห่ง ทำให้มีส่วนช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีที่ยิ่งขึ้น อีกทั้งได้บริหารค่าเช่าได้ดียิ่งขึ้น โดยโครงการ Single Grid อัจฉริยะที่เพิ่มจำนวนสถานีฐาน ตอกย้ำความตั้งใจของบริษัทที่มุ่งส่งมอบบริการที่ดียิ่งกว่าให้แก่ลูกค้าของเราที่เติบโตขึ้นผ่านการบริหารจัดการจำนวนสถานีฐานและการขยายเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินการ Single Grid จะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในไตรมาสที่ 4 ตามแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เรายังคงเดินหน้าตามแผนงานที่สอดคล้องตามกลยุทธ์ของบริษัท  บริษัทยังสามารถบรรลุรายได้ของการผสานพลังทรูดีแทคด้วยการนำเสนอบริการที่รวมเทคโนโลยีด้านการสื่อสารทั้งในแบบเคลื่อนที่และประจำที่ (FMC) ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการ FMC เพิ่มขึ้น 8% หลังจากการควบรวม และมีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ (ARPU) กลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 10% ทรู คอร์ปอเรชั่นยังคงมุ่งมั่นให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ที่จะใช้ประโยชน์สูงสุดจากการผสานความแข็งแกร่งในการดำเนินการทางการตลาดร่วมกันตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน"

 นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ดีแทคและทรูยังคงเป็นแบรนด์ชั้นนำในใจของนักท่องเที่ยวและกลุ่มแรงงานต่างชาติ โดยเรายังคงนำศักยภาพเทคโนโลยีทั้งการวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาออกแบบบริการให้ตรงใจเฉพาะแต่ละกลุ่มลูกค้า สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งเราได้เห็นรายได้เฉลี่ยต่อวันของนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นถึง 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และคะแนนความพึงพอใจลูกค้าสูงขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการรวมธุรกิจ อันเป็นผลจากความพยายามร่วมกันที่จะให้บริการลูกค้ามุ่งเน้นการส่งมอบสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันได้มีการแลกสิทธิประโยชน์ไปแล้ว 120 ล้านรายการภายใต้โปรแกรมสิทธิพิเศษของทั้ง ทรูและดีแทค และ ณ สิ้นสุดของไตรมาสที่ 3/2566 ทรู คอร์ปอเรชั่นมีฐานผู้ใช้งานดิจิทัลรวมประมาณ 15 ล้านราย สะท้อนความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง

สำหรับการดำเนินงานเชิงพาณิชย์นั้น เราประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพถึง 56% ด้วยการใช้แพลตฟอร์มอันหลากหลายเป็นช่องทางในการให้บริการลูกค้าในรูปแบบ Omni Channel ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปี 2566 ทำให้มีจำนวนช้อปที่สามารถนำเสนอสินค้าและบริการทั้งหมดแก่ลูกค้าทั้งดีแทคและทรูเพิ่มขึ้น อันนำไปสู่การยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งนำมาซึ่งประสิทธิผลในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น สามารถบูรณาการได้อย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งลดการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความครอบคลุมของ 5G 90% และ 4G 99% ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ทำให้ทรูยังคงเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ที่มีสัญญาณครอบคลุมมากที่สุดในประเทศ โดยไตรมาสที่ 3/ 2566 มีจำนวนผู้ใช้งาน 5G มากที่สุดถึง 9.4 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่าเครือข่าย 5G ของทรูเป็นเครือข่ายที่ได้รับการชื่นชอบมากที่สุดในไทย ซึ่งความตั้งใจที่จะเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าอย่างต่อเนื่องนำมาสู่การใช้งานดาต้าทั้ง 4G และ 5G ของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา พร้อมกับการเพิ่มรายได้ ARPU ของลูกค้า 5G มาโดยตลอด"

ดีแทคและทรูยังคงเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าไว้ใจอย่างต่อเนื่องทั้งประสบการณ์ใช้งานและตอบสนองความคุ้มค่าตรงความต้องการ ในไตรมาสที่สามนี้ มีจำนวนผู้ใช้บริการมือถือเพิ่มขึ้น 254,000 ราย รวมเป็น 51.4 ล้านราย โดยเพิ่มขึ้น 0.5% จากไตรมาสที่ผ่านมา และ จำนวนผู้ใช้งาน 5G สูงถึง 9.4 ล้านราย เพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสที่ 2/2566 โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในการใช้งานและการเพิ่มขึ้นของ ARPU 10-15% โดยมาจากปัจจัยหลักคือการจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารพร้อมกับบริการร่วมกัน

นายนกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทฯ รายงานผลการดำเนินงานทางการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นสำหรับไตรมาสที่ 3/2566 โดยได้แรงหนุนจากรายได้บริการที่เพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง EBITDA ที่เป็นมาตรฐานดีขึ้นเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันนับตั้งแต่การควบรวมกิจการ โดยได้ประโยชน์จากการผสานรวมกัน และการริเริ่ม

ดำเนินการสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องตามแผนที่วางไว้ ตอกย้ำสถานภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท

รายได้จากการดำเนินงานรวมปรับเพิ่มขึ้น 2.4% จากไตรมาสก่อน โดยได้แรงหนุนจากรายได้จากการบริการและยอดขายผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น รายได้จากการบริการเพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบไตรมาสที่ผ่านมา (QoQ) โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) พร้อมกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของจำนวนผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ การเติบโตแบบแข็งแกร่งส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มเป็น 51.4 ล้านเลขหมาย ณ ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ในขณะที่รายได้จากบริการมือถือเพิ่มขึ้น 1.4% (QoQ) ซึ่งได้ผลดีจากกลุ่มนักท่องเที่ยวและกลุ่มใช้แรงงานข้ามชาติ ควบคู่ไปกับการปรับข้อเสนออย่างเหมาะสม โดยรายได้จากโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) เพิ่มขึ้น 5.8% (QoQ) โดยได้แรงหนุนหลักจากคอนเสิร์ต สำหรับยอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น 18.7% (QoQ) จากการเปิดตัว iPhone ใหม่ในไตรมาส 3/2566

 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (D&A) เพิ่มขึ้น 7.7% จากไตรมาสที่ผ่านมา จากการเพิ่มขึ้นด้านต้นทุนขายควบคู่กับผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 15.1% ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว (one-time positive impact) ในไตรมาส 2/2566 ทั้งนี้ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนอื่นของการดำเนินงานเป็นอย่างดี จากการริเริ่มด้านประสิทธิภาพของโครงสร้างและประโยชน์จากการผสานรวมกัน ขณะที่การปรับปรุง (Normalized) EBITDA เพิ่มขึ้น 2.0% (QoQ) ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกันของการเติบโตนับตั้งแต่การควบรวมกิจการ การปรับตัวดีขึ้นของ EBITDA ได้รับแรงหนุนจากรายได้ที่เติบโตขึ้น และการรับรู้ผลประโยชน์จากการผสานรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลอัตรากำไร EBITDA รายได้รวมอยู่ที่ 54.1% โดยขาดทุนสุทธิหลังหักภาษี จำนวน 1,598 ล้านบาท ปรับฟื้นขึ้น 31.1% (QoQ) รวมค่าใช้จ่ายผสานรวมกันในไตรมาส เงินลงทุน หรือ CAPEX ในไตรมาส 3/2566 อยูที่ 3,481 ล้านบาท โดยได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพจากการควบรวมกิจการ  ขณะเดียวกัน ในด้านความยั่งยืน ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงครองอันดับ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมของโลก 5 ปีซ้อน และคงสถานะสมาชิกดัชนีความยั่งยืน DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 แสดงถึงความมุ่งมั่นด้านความรับผิดชอบครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ทั้งมิติด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล

สำหรับการคาดการณ์ในปี 2566 บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงแนวโน้มสำหรับปี 2566 ซึ่งคิดเป็นระยะเวลา 10 เดือนของการดำเนินงานนับจากวันที่ควบรวมกิจการเสร็จสิ้น โดยคาดว่า EBITDA จะมีการเติบโตที่เป็นตัวเลขหลักเดียวในระดับต่ำ-ปานกลาง (low-to-mid single digit) และยังคงแนวโน้มที่ทรงตัวสำหรับรายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) ทั้งนี้ เงินลงทุน หรือ CAPEX ประมาณการณ์ไว้ที่ 25,000 – 30,000 ล้านบาท ตามที่เคยประกาศไว้

ตัวเลขสำคัญทางการเงินในไตรมาส 3 ปี 2566

 · รายได้จากบริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC (การจัดประเภทใหม่) จำนวน 39,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4% (QoQ)

· EBITDA อยู่ที่ 21,443 ล้านบาท ลดลงราว 3.9% (QoQ)

· อัตรากำไร EBITDA (เมื่อเทียบกับรายได้รวม) อยู่ที่ 54.1%

· ขาดทุนสุทธิ จำนวน 1,598 ล้านบาท

ทรู คอร์ปฯ มั่นใจคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่สั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องกรณีพิพาทระหว่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กับ กสทช. ไม่มีผลต่อการควบรวมของบริษัทที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ และถูกต้องครบถ้วนตามกระบวนการทางกฎหมายเเล้ว

ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งยังประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน (ข้อมูลจาก https://www.trisrating.com/th/) รวมถึงหุ้นกู้ชุดปัจจุบันของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ("ทรู”) ที่กำลังเสนอขายอยู่ ที่ระดับ “A+” ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” ด้วยเหตุที่ว่าคำสั่งศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และสถานะความเสี่ยงด้านธุรกิจและความเสี่ยงด้านการเงินของบริษัทยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

นางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “คำสั่งศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวเป็นเพียงการสั่งให้ศาลปกครองชั้นต้นรับคำฟ้องข้างต้นของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ได้ยื่นฟ้องโดยขาดอายุความไปแล้วเท่านั้น โดยที่ศาลปกครองชั้นต้นยังจะต้องพิจารณาประเด็นของคดีดังกล่าวต่อไปว่ามติรับทราบการควบรวมธุรกิจของ กสทช. ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  การฟ้องคดีดังกล่าวเป็นข้อพิพาทระหว่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับ กสทช. และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจใดๆ ของบริษัทฯ การควบรวมของ ทรู (เดิม) และดีแทค ได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้ว และเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและเหมือนกับกระบวนการควบรวมธุรกิจที่ผ่านมาของบริษัทมหาชนซึ่งประกอบธุรกิจโทรคมนาคม อีกทั้งคดีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ยื่นฟ้อง กสทช. ดังกล่าวเป็นคดีที่มีประเด็นเดียวกันกับคดีที่ศาลปกครองชั้นต้นได้เคยมีคำสั่งยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวโดยศาลเห็นว่า มติรับทราบการควบรวมบริษัทของ กสทช. ได้อาศัยอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว จีงไม่มีเหตุรับฟังได้ว่ามติรับทราบการควบรวมธุรกิจของ กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

ทั้งนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นกำลังเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 5 ชุด อายุหุ้นกู้ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง 3.15-4.60% ต่อปี เปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนได้ลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำที่มีศักยภาพ และความน่าเชื่อถือระดับ A+ (แนวโน้มอันดับเครดิต คงที่) โดยสามารถจองซื้อได้แล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เท่านั้น โดยมีธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา ซีไอเอ็มบี ไทย และยูโอบี เป็นผู้จัดจำหน่าย รวมถึงการขายผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 2.5 แสนล้านบาท โดยมีการระบุถึงปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดประโยชน์ดังกล่าว ซึ่งร้อยละ 35 มาจากระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) คาด EBITDA เติบโต แซงการเติบโตของรายได้จากการให้บริการจากการมุ่งที่การเติบโตอย่างมีกำไรในการทรานส์ฟอร์มครั้งใหญ่ โดยคาดว่าจะสามารถประหยัดกระแสเงินสดได้ในระดับคงที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ปี 2569

นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่นเป็นผลจากการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียเมื่อพิจารณาจากมูลค่าของกิจการ ซึ่งมีฐานความแข็งแกร่งและประสบการณ์จากผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตลาดไทยในการทำธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย รวมถึงมีความครอบคลุมของช่องทางกระจายสินค้า และเทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินกิจการด้านโทรคมนาคมที่เน้นเรื่องผลประกอบการและการสร้างผลกำไร วันนี้เราเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคมเคลื่อนที่ของไทยด้วยยอดผู้ใช้งานมากกว่า 51 ล้านเลขหมาย โดยมีผู้ใช้งานออนไลน์ 3.8 ล้านคน และผู้ใช้งานดิจิทัล 40 ล้านคน เราเปลี่ยนองค์กรของเราจากบริษัทโทรคมนาคมสู่บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำของไทย โดยการผสานธุรกิจด้านการเชื่อมต่อ และความสามารถในการดำเนินการธุรกิจ เข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัย ด้วยการขยายขีดความสามารถของเราไปยังกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มอุตสาหกรรม เราจะสร้างโอกาสใหม่ในการเติบโตทางธุรกิจนอกเหนือบริการเชื่อมต่อด้วยวิสัยทัศน์ของเราในการมุ่งสู่บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำ”

นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการรวมโครงสร้างเสาสัญญาณระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) จะเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานของเรา ในขณะที่เราบูรณาการโดยการปรับลดโครงสร้างพื้นฐานที่ซ้ำซ้อนลง 30% แต่สร้างเครือข่ายที่รองรับสัญญาณเพิ่ม ครอบคลุม กว้างขึ้น และดีกว่าสำหรับลูกค้าของเรา โดยมุ่งเน้นการดำเนินการแบบเจาะลึกในรายละเอียด ลดช่องว่างพื้นที่ใช้งาน พร้อมเพิ่มความแข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยีเสาสัญญาณล้ำสมัยที่ผสานหลากหลายคลื่นความถี่ ทั้งนี้ ในการรวมโครงข่าย เราจะมุ่งเน้นความสำคัญในการยกระดับประสบการณ์ใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้นด้วยชุดคลื่นความถี่แต่ละชุดที่เรามี การสร้างเครือข่ายที่มีความครอบคลุมที่ทับซ้อน และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ด้วยการดำเนินการจากพันธมิตรระดับโลก เราตั้งเป้าโครงการระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) แล้วเสร็จภายในปี 2568

ทรู คอร์ปอเรชั่นจะมุ่งหน้าสร้างคุณค่าสำหรับลูกค้าของเราด้วยความแตกต่างด้วยข้อเสนอผลิตภันฑ์และบริการที่หลากหลายตรงความต้องการของลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ที่มีความล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับบริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์ด้วยประสบการณ์แบบไร้รอยต่อ ทั้งนี้ การสร้างรายได้จากบริการ 5G การใช้กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย (Up-selling) และการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) ด้วยข้อเสนอพิเศษ พร้อมทั้งยกระดับการให้บริการลูกค้าแบบพรีเมี่ยมด้วยบริการดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับตัวของข้อเสนอในตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน”

นายนกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “มากกว่า 100 ปัจจัยที่จะสร้างมูลค่าผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการ 2.5 แสนล้านบาท โดย 15 อันดับแรกจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการคิดเป็นร้อยละ 85 ของมูลค่ารวม ค่าใช้จ่ายหลักในการผสานรวมกันจะเกิดขึ้นภายในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทบรรลุผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการสุทธิเป็นบวกในปี 2568 และมีกำไร โดยทรู คอร์ปอเรชั่นคาดว่าจะสามารถรับรู้การประหยัดกระแสเงินสดได้ในระดับคงที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ปี 2569

ด้วยการมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงโครงสร้างของต้นทุนอย่างต่อเนื่อง การใช้สินทรัพย์เพื่อให้ก่อประโยชน์สูงสุด และการเติบโตแบบมีกำไร EBTIDA จะเติบโตเร็วกว่ารายได้จากการให้บริการ โดยคาดว่าอัตรา EBITDA ต่อรายได้จากการให้บริการจะดีขึ้น 11 จุด (Percentage point) ภายในปี 2570 ทั้งนี้ ด้วยผลประโยชน์จากการรวมการจัดซื้อจัดจ้าง และระบบโครงข่ายเดียว (Single Grid) รวมถึงการรวมคลื่นความถี่ และความมีวินัยในการบริหารจัดการเงินลงทุนซึ่งฝังอยู่ในวิถีการทำงานของเรา ค่าใช้จ่ายการลงทุน CAPEX ของทรู คอร์ปอเรชั่นหลังจากการรวมเครือข่ายเสร็จสมบูรณ์คาดว่าจะลดลงครึ่งหนึ่งจากช่วงก่อนควบรวม ทั้งนี้ ในฐานะผู้นำในการให้บริการด้าน เทคโนโลยีที่มีจุดแข็งจากผู้ถือหุ้นของเรา ทรู คอร์ปอเรชั่นพร้อมที่จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าถึงโอกาสใหม่และส่งมอบคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกคน”

สำหรับการคาดการณ์ในปี 2566 บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ระบุแนวโน้มสำหรับปี 2566 ซึ่งคิดเป็นระยะเวลา 10 เดือนของการดำเนินงานนับจากวันทีมีการควบรวม

  • รายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) คงที่
  • คาดว่า EBITDA จะมีการเติบโตที่เป็นตัวเลขหลักเดียวในระดับต่ำ-ปานกลาง (low-to-mid single digit)
  • เงินลงทุน หรือ CAPEX ประมาณการณ์ไว้ที่ 25,000 – 30,000 ล้านบาท

ทรู คอร์ปอเรชั่น กำหนดเป้าหมายเป็นองค์กรจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี พ.ศ. 2573 เปิดตัวโครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” อำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถนำสมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งาน มาทิ้งได้ที่กล่องจุดรับขยะ e-Waste ทั้งที่ ทรูช้อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค รวม 154 สาขาทั่วประเทศ พร้อมผนึกพันธมิตรชั้นนำจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้ง ออลล์ นาว โลจิสติกส์, โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ในการขนส่งและรีไซเคิล รวมถึงทรูคอฟฟี่, PAUL, เต่าบิน, Sukishi Korean Charcoal Grill, NARS, Ultima II และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเลือก “Drop for Rewards” เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกันได้แล้ววันนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจเร่งสร้าง ทรู คอร์ป สู่การเป็น Telecom-Tech Company อย่างเต็มรูปแบบ คือการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งแบรนด์ทรูและดีแทคต่างเป็นช่องทางจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือและดีไวซ์รวมมากกว่าล้านเครื่องต่อปี บริษัทฯ จึงตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบครบวงจรและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อร่วมลดปริมาณขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ โครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ เป็นผลจากการนำจุดแข็งของเราสององค์กรมาสานต่อและยกระดับให้เกิดการจัดการ e-Waste ที่ขยายจุดรับทิ้งขยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีการจัดการขนส่งขยะไปสู่ระบบการรีไซเคิลที่ถูกวิธีอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การมอบสิทธิพิเศษที่หลากหลายจากองค์กรพันธมิตรของทั้งทรูและดีแทค นี่คือ พันธกิจสำคัญของเรา ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices ในตลาดเกิดใหม่กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน”

ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ หัวหน้าสายงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า “โครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ที่เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และการเป็นองค์กรที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี 2573 รวมถึงเป้าหมายที่ 12 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs ในการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการใช้แล้วทุกชิ้น จะถูกนำไปคัดแยกและรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแน่นอน และครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร ทั้ง TES ผู้นำด้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ออลล์ นาว โลจิสติกส์ ที่ให้การสนับสนุนการขนส่ง e-Waste จากจุดรับทั่วประเทศ รวมถึงอีกหลากหลายแบรนด์ชั้นนำที่จะมามอบสิทธิพิเศษต่างๆ ให้แก่ลูกค้าที่ร่วมโครงการอีกด้วย”

สำหรับลูกค้าทรู-ดีแทค ที่ทิ้ง e-Waste ถูกที่ ดีต่อใจ สามารถเลือก “Drop for Rewards” กับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้แก่ ทรูคอฟฟี่ – อัปไซส์เครื่องดื่มที่ร่วมรายการ PAUL – รับส่วนลด 50% เมนูที่ร่วมรายการ เต่าบิน – รับฟรีเมนูโอริโอ้ปั่น มูลค่า 55 บาท Sukishi Korean Charcoal Grill –  รับฟรีคอร์นด็อกซอสชีส มูลค่า 100 บาท เมื่อรับประทานบุฟเฟ่ต์ Sukishi Overload ขั้นต่ำ Gold tier Gold 699+ บาท หรือ A la carte ขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป NARS – รับฟรีบริการ Touch Up มูลค่า 800 บาท Ultima II –  รับฟรี ULTIMA II Delicate Translucent Powder With Moisturizer 5g NETRAL TT มูลค่า 199 บาท และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ –  ฟรีค่าสมัครสมาชิก M Gen มูลค่า 100 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

Page 3 of 5
X

Right Click

No right click