ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มองว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่กลับสู่ระดับศักยภาพจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าและไม่ทั่วถึงในหลายภาคส่วน โดยได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ลงจาก 2.8% เหลือ 2.4% สำหรับปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.1% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับผลบวกชั่วคราวจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค อย่างไรก็ดี มองว่าเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังเผชิญความไม่แน่นอนสูงทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ยังไม่แน่นอนสูง ตลาดการเงินผันผวนทั่วโลก ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ รวมถึงความเปราะบางของเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่อาจกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน

 มองเศรษฐกิจไทยฟื้นช้า ชี้ปี 2567 ยังมีความเสี่ยงรออยู่ข้างหน้า

ttb analytics ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยตลอดทั้งปี 2566 ว่าจะเติบโต 2.4% จากเดิมที่ 2.8% แม้เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกลับเข้าสู่ระดับก่อนวิกฤตได้แล้ว แต่ยังไม่กลับสู่ระดับศักยภาพ (Potential Output) จากการฟื้นตัวที่ล่าช้าและไม่ทั่วถึงในหลายภาคส่วน (Slow and Uneven) เห็นได้จากเศรษฐกิจไทยช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวได้เพียง 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้ค่อนข้างมาก จากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการท่องเที่ยวที่ล่าช้ากว่าคาด การบริโภคในประเทศถูกกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงเรื้อรัง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณต่ำกว่าที่ประเมินไว้

ทั้งนี้ ttb analytics ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ 3.1% (จากประมาณการเดิมที่ 3.2%) ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพครัวเรือนและกระตุ้นการบริโภคในภาพรวม อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษี (Easy E-receipt) นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มาตรการแก้หนี้นอกระบบ ตลอดจนแรงส่งจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐในปี 2567 มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง หลังการลงทุน Mega Project โครงการใหม่ ๆ คาดว่าจะล่าช้าออกไปจากกรอบปีงบประมาณปกติราว 6 เดือน จากความล่าช้าในกระบวนการจัดทำ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2567 ซึ่งจะทำให้สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ราวปลายไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 และจะเร่งตัวขึ้นในไตรมาส 3 ก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณ

ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าคาดว่าจะพลิกกลับมาขยายตัว ส่วนหนึ่งจากอานิสงส์ของฐานต่ำในปีนี้ รวมถึงปริมาณการค้าโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และวัฎจักรการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้ดี

เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวเช่นกันจากการฟื้นตัวของภาคการผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าจะมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้า จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยน้อยกว่าคาด รวมถึงจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปกติ ซึ่งแม้ว่าจะมีนโยบายการยกเว้นการขอวีซาเข้าประเทศไทยแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ (Visa Free) แต่อาจยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนนักท่องเที่ยวจีนได้ ทำให้อัตราการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีหน้าจะยังไม่กลับเข้าสู่ระดับปกติเหมือนเช่นปี 2562

ด้านเสถียรภาพทางการเงิน แม้ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะต่ำกว่ากรอบล่างเป้าหมาย แต่ยังมีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะกลับมาเร่งขึ้นบ้างในระยะต่อไป ตามราคาน้ำมันดิบที่อาจผันผวนสูงขึ้นจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์และการเข้าควบคุมกลไกด้านราคาในตลาดโลก ขณะที่การชดเชยราคาพลังงานจากมาตรการลดค่าครองชีพจะทยอยหมดลงในปีหน้า อีกทั้งยังมีแรงกดดันด้านราคาอาหารที่อาจกลับมาเร่งตัวอีกครั้งจากผลพวงของปรากฎการณ์เอลนีโญ ตลอดจนแรงกดดันด้านอุปสงค์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชั่วคราว ทำให้ ttb analytics ยังคงประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทรงตัวที่ 2.5% ตลอดทั้งปี 2567 เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) รองรับกับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 ttb analytics ชี้ 4 ปรากฎการณ์ที่อาจเห็นในปี 2567

“เศรษฐกิจและการค้าโลกมีความไม่แน่นอนสูง” แม้เศรษฐกิจโลกจะผ่านพ้นจุดต่ำสุด (Bottom Out) ไปแล้ว แต่ในระยะต่อไปเศรษฐกิจทั่วโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่น่าจะเผชิญโมเมนตัมเศรษฐกิจแผ่วลง (Soft Landing) เช่นเดียวกับเศรษฐกิจจีนที่กำลังซื้อในประเทศยังอ่อนแอ และยังมีความเปราะบางเชิงโครงสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังครุกรุ่นในหลายภูมิภาคทั่วโลก เหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงด้านต่ำที่อาจลดทอนกำลังซื้อในตลาดโลกและการส่งออกของไทย

“ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนมากขึ้น” โดยตลอดทั้งปี 2567 จะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่หลายแห่งทั่วโลก อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อินเดีย รัสเซีย อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งอาจทำให้ตลาดกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการดำเนินโยบายด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการค้าระหว่างประเทศในระยะต่อไป นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดบางส่วนคาดหวังว่าจะเห็นการทยอยผ่อนคลายการดำเนินนโยบายทางการเงิน (Dovish) ของประเทศหลักในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2567 ซึ่งอาจกดดันตลาดการเงินทั่วโลก รวมไปถึงค่าเงินบาทอาจจะมีกรอบการเคลื่อนไหวที่ผันผวนมากขึ้นได้เช่นกัน

“การบริโภคในประเทศอ่อนแอกว่าที่เห็น” โดยระดับรายได้ของครัวเรือนไทยฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า สวนทางกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด ด้านอัตราดอกเบี้ยก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนอ่อนแอลง ส่งผลให้การปล่อยกู้สินเชื่อภาคธนาคารมีความเข้มงวดขึ้น เห็นได้จากการ

ขยายตัวของสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2566 ขณะที่คุณภาพหนี้ภาคครัวเรือนก็ย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะตัวเลขหนี้เสีย (NPL) และความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสีย (Stage 2) ของสินเชื่อเช่าซื้อรถในไตรมาสล่าสุดที่เร่งขึ้นอย่างมีนัย

“เสถียรภาพเศรษฐกิจเปราะบางขึ้น” คาดว่าโครงการเงินดิจิทัล (Digital Wallet) จะออกมาช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้ในช่วงปลายไตรมาส 2 และ 3 ของปี ซึ่งประเมินเบื้องต้นว่าจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนต่อระบบเศรษฐกิจได้ราว 0.4-0.7% ของจีดีพี และหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.6% ในปีหน้า ทั้งนี้ แม้จะยังไม่เห็นความชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งที่มาของงบประมาณที่จะนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็จำเป็นต้องกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ท่ามกลางพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ที่มีข้อจำกัดมากขึ้นทุกขณะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสายตาของนักลงทุนต่างชาติจากเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศที่เปราะบางขึ้น

โดยสรุป เศรษฐกิจไทยในปี 2567 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่จะเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำจากความไม่แน่นอนรอบด้าน หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกแผ่วลงกว่าคาด ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวนมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ภาคส่งออกและภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนซึ่งต้องรอความชัดเจนจากกลไกสนับสนุนของภาครัฐ

พร้อมเปิดโพยเด็ดกองทุนลดหย่อนภาษี รับโค้งสุดท้ายปลายปี เพื่อการลดหย่อนภาษีที่คุ้มค่า พร้อมโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี

ทีทีบี มอบความคุ้มค่าช่วงโค้งสุดท้ายของปี พร้อมเป็นอีกทางเลือกสำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อลดหย่อนภาษี ในแคมเปญ “เทศกาลลดหย่อนภาษี ดีเวอรรร์!!” พบกับผลิตภัณฑ์ลดหย่อนภาษี อาทิ ประกันชีวิตและสุขภาพ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตบำนาญ จากพรูเด็นเชียล ประเทศไทย และกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี มาพร้อมกับโปรโมชันคุ้มเกินต้านส่งท้ายปี รับเงินคืนสูงสุด 32% พร้อมสิทธิพิเศษถึง 3 คุ้ม และรับของสมนาคุณต่าง ๆ มากมาย ณ บูธกิจกรรม ‘เทศกาลลดหย่อนภาษี ดีเวอรรร์!!’ ที่ ทีทีบี ตลอดเดือนธันวาคม 2566 นี้

ลูกค้าที่สมัครผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจาก พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ที่ร่วมรายการผ่าน ทีทีบี ทุกสาขา หรือแอป ttb touch จะได้รับโปรโมชันพิเศษตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566 ดังต่อไปนี้

รับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝาก สูงสุด 32% ได้แก่

  • รับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝาก สูงสุด 26% ของเบี้ยประกันภัยรายปี ปีแรก
  • รับเงินคืนเพิ่ม 5% สำหรับลูกค้าบัญชีเงินเดือน ทีทีบี
  • รับเพิ่ม! เงินคืน 1% ของค่าเบี้ยประกันรายปี ปีแรก เมื่อซื้อประกันภัยที่ร่วมรายการ และมียอดซื้อสะสมกองทุน SSF RMF ttb smart port SSF ขั้นต่ำ 10,000 บาท / เดือน ภายในเดือนเดียวกับที่ซื้อประกัน

รับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมอีก 3 คุ้ม

  • คุ้มที่ 1 ชำระผ่านบัตรเครดิต ทีทีบี รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% หรือรับคะแนนสะสม ttb rewards plus สูงสุด 10 เท่า และรับสิทธิแบ่งชำระเบี้ยประกัน 0% นาน 6 เดือน
  • คุ้มที่ 2 รับ iPhone 15 Pro Max มูลค่า 48,900 บาท หรือ iPhone 15 Plus มูลค่า 41,900 บาท หรือบัตรกำนัลจากเครือ BDMS สูงสุด 7,500 บาท
  • คุ้มที่ 3 รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด25% ต่อปี

นอกจากนี้ สำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ทีทีบี อีแวลู เซฟเวอร์ 12/5 (ttb e-value saver 12/5) ผ่านแอป ทีทีบี ทัช โดยชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบรายปี ปีแรก พร้อมรับโปรโมชันและของสมนาคุณต่าง ๆ มากมาย โดยระยะเวลาโปรโมชันตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2566

  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 30,000-59,999 บาท รับบัตรกำนัลโลตัส มูลค่า 1,000 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 60,000-99,999 บาท รับลำโพง Marshall Willen สีดำ มูลค่า 3,990 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 100,000-199,999 บาท รับ Huawei Smart Watch GT4 (46mm) สีน้ำตาล มูลค่า 7,990 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 200,000-499,999 บาทขึ้นไป รับ Apple Watch Series 9 (45mm) สี Starlight มูลค่า 16,900 บาท
  • ยอดชำระค่าเบี้ยประกันชีวิต ตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป รับมือถือ Samsung Z Flip มูลค่า 39,900 บาท

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมทาง https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/ba-tax-festival-2023 หรือ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/e-value-saver-12-5 หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ttb contact center 1428

ทีทีบี ส่ง ทีทีบี โบรกเกอร์ บุกธุรกิจประกันวินาศภัย วางแผนธุรกิจ 5 ปี ดันเบี้ยประกันจาก 3,900 ล้านบาท สู่ 13,200 ล้านบาท เติบโต 240% ชูผลิตภัณฑ์เด่นเน้นประกันภัยรถยนต์ ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีรถให้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ตั้งเป้าเป็นผู้นำโบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ด้วยฐานลูกค้าทีทีบีที่มีรถยนต์กว่า 2.4 ล้านราย

นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ทีทีบีมีกลยุทธ์ที่จะรุกด้าน Car Ecosystem ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์และครอบคลุมทุกความต้องการของคนมีรถ นำโดย “ทีทีบี ไดรฟ์” (ttb DRIVE)สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รถแลกเงิน จำนำทะเบียนรถ และที่ผ่านมาได้เปิดตัว บริการ “มาย คาร์” (My Car) บนแอป ทีทีบี ทัช (ttb touch) ที่ช่วยคนมีรถจัดการเรื่องสำคัญเกี่ยวกับรถยนต์ เช่น จ่ายสินเชื่อรถ ต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ซื้อ พ.ร.บ  หรือต่อประกันรถ หรือแม้แต่เช็กยอดคงเหลือและเติมเงินบัตรทางด่วน Easy Pass ได้เลยในแอปเดียว รวมถึงเปิดตัว “รถโดนใจ” (Roddonjai) แพลตฟอร์มออนไลน์ซื้อขายรถมือสองคุณภาพเยี่ยม และล่าสุดเปิดตัว “ทีทีบี โบรกเกอร์” (ttb broker) ที่จะเข้ามาช่วยรุกตลาดประกันภัยรถยนต์ เพื่อทำให้ลูกค้าที่มีรถยนต์มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นแบบรอบด้าน  

“ภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้จะมีเบี้ยประกันภัยราว 286,200 ล้านบาท เป็นการจำหน่ายผ่านนายหน้า 192,000 ล้านบาท คิดเป็น 67% ทีทีบีได้เล็งเห็นโอกาสการเติบโตในธุรกิจนี้ จึงให้ ทีทีบี โบรกเกอร์ เป็นกำลังหลักในการบริการลูกค้าด้านประกันวินาศภัย โดยมุ่งเน้นไปที่ประกันภัยรถยนต์ และประกันที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าของธนาคารที่มีรถยนต์กว่า 2.4 ล้านราย โดยจากข้อมูล พบว่า ในกลุ่มลูกค้าดังกล่าว มีเพียง 336,000 คันที่มีประกันรถยนต์กับธนาคาร หรือคิดเป็นเพียง 15% จึงเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจให้เติบโตได้อีกมาก ยังไม่นับโอกาสจากฐานลูกค้าพันธมิตรดีลเลอร์และเต็นท์รถมากกว่า 4,500 แห่ง รวมถึงฐานลูกค้านิติบุคคลอีกราว 15,000 ราย ซึ่งเรามั่นใจว่าการมีฐานลูกค้าจำนวนมากกว่า 2.4 ล้านราย ประกอบกับจุดแข็งที่สร้างความได้เปรียบ และกลยุทธ์ที่จะสร้างการเติบโต จะทำให้ ทีทีบี โบรกเกอร์ ก้าวเป็นผู้นำโบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ได้ตามเป้าหมาย”

 

นายเอกสิทธิ์ ศักดิ์ธนาคร กรรมการผู้จัดการ ทีทีบี โบรกเกอร์ กล่าวว่า ทีทีบี โบรกเกอร์มีเป้าหมายก้าวเป็น Top 3 บริษัทนายหน้าประกันชั้นนำของไทย ซึ่งภายหลังจากการรวมกิจการของทีเอ็มบี และธนาคารธนชาต ทำให้ ทีทีบี โบรกเกอร์ มีความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมียอดเบี้ยประกันที่ 3,900 ล้านบาท เติบโตถึง 35% จากปีที่ผ่านมา 

“ทีทีบี โบรกเกอร์ วางเป้าปี 2571 หรือ 5 ปีข้างหน้า จะมีเบี้ยประกัน 13,200 ล้านบาท หรือเติบโตราว 240% โดยจะถูกขับเคลื่อนผ่าน 5 กลยุทธ์ คือ การขยายฐานลูกค้าในกลุ่มบริษัท ดีลเลอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ การขยายฐานลูกค้ากับกลุ่มลูกค้าของธนาคาร การขยายช่องทางขายทั้งในส่วนของออนไลน์และออฟไลน์ การใช้กลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือ Data-Driven และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคลและองค์กร”

ทั้งนี้ ทีทีบี โบรกเกอร์สามารถสร้างความได้เปรียบด้วยจุดแข็ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้าน Strategic Partnerships โดยมีพันธมิตรที่เป็นประกันภัยคู่ค้าชั้นนำมากถึง 37 บริษัท มาให้ลูกค้าเลือกความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด ด้าน Car Insurance & Specialty Insurance Product ชูผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้รถ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่คุ้มครองพิเศษรองรับทั้งลูกค้าบุคคลและนิติบุคคล เช่น Cyber Insurance, Medical Malpractice Insurance ด้าน ttb  broker platform  ที่เพิ่มโอกาสให้คู่ค้า พันธมิตรสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้ทุกที่ทุกเวลา ด้าน Sales Channel ที่ครอบคลุมที่สุดผ่านทุกช่องทางต่าง ๆ ของทีทีบี  ช่องทางทีทีบี โบรกเกอร์ และช่องทางพันธมิตร  ด้าน Customer Service ที่มีทีมงานและระบบที่พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ และสุดท้าย ด้าน Payment Method ให้ลูกค้าสามารถแบ่งจ่าย 0% นาน 10 เดือนได้ทั้งบัตรเครดิต ttb และรูปแบบเงินสด

 

นางชยรส ลือภูวพิทักษ์กุล หัวหน้าบริหารงานปฏิบัติการ ทีทีบี โบรกเกอร์ กล่าวว่า ทีทีบี โบรกเกอร์ มีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้า โดยมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ประกันรถยนต์ราว 61% ของพอร์ต โดยบริษัทมีความมั่นใจในจุดแข็งที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งค่าเบี้ยประกันที่สามารถเจรจาผ่านบริษัทประกันที่มีความสัมพันธ์อันดี และเมื่อรวมพลังกับ ทีทีบี ทำให้มีช่องทางขายที่เข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศผ่านสาขาธนาคารกว่า 500 แห่ง แอปทีทีบี ทัช ที่มีผู้ใช้งานกว่า  4.7  ล้านคน และพนักงานสินเชื่อรถยนต์อีกกว่า 1,000  คน ทั่วประเทศ นอกจากนี้ บริษัทเองยังมีช่องทาง Telesales ที่มีพนักงานมากกว่า 400 คน และช่องทาง ttbbroker.com ทำให้ ทีทีบี โบรกเกอร์ เป็นนายหน้าประกันภัยรถยนต์ที่เข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศ และมีช่องทางการขายมากที่สุดในตลาด นอกจากนี้ เรายังมีผลิตภัณฑ์หลักที่โดดเด่น ได้แก่ ประกันรถยนต์มอเตอร์ 1 ซิงเกิ้ล เรท จัดเต็ม และ Family Fleet Motor ที่ให้ความคุ้มครองที่คุ้มค่า รวมทั้ง ประกันอะไหล่รถยนต์ ทีทีบี มอเตอร์ วอร์รันตี

“ทีทีบี โบรกเกอร์ จะมาเชื่อมต่อ Car Ecosystem ทำให้ลูกค้าที่มีรถได้รับบริการแบบมืออาชีพ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ มั่นใจได้ว่าจะได้ประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มค่าที่สุดจากโบรกเกอร์ประกันภัยในเครือทีทีบี รวมไปถึงการแบ่งจ่ายหรือผ่อนชำระ และสามารถเลือกบริษัทประกันชั้นนำที่เป็นพันธมิตรได้มากถึง 37 บริษัท”

การบุกตลาดประกันวินาศภัยผ่าน ทีทีบี โบรกเกอร์ ครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของ ทีทีบี ที่ต้องการให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนมีรถ ซึ่ง ทีทีบี สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตลอดช่วงชีวิตของคนมีรถตั้งแต่ขั้นตอนมองหารถ ซื้อรถ การสมัครสินเชื่อรถ การดูแลรักษารถ จนกระทั่งขายรถ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการสร้างจุดแข็งให้ Car Ecosystem กับคนมีรถแบบครบจบในที่เดียว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดการปรับเพิ่มราคาน้ำตาลทราย ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคาสินค้า พร้อมสนับสนุนมติภาครัฐที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุมราคา พร้อมเน้นสนับสนุนให้เกษตรกรไร่อ้อย และผู้ผลิตน้ำตาล เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุน หรือมาตรการลดภาษีให้ผู้ผลิต มากกว่าการเพิ่มราคาที่จะส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศเรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 โดยมีผลทำให้ราคาน้ำตาลทรายขาวเพิ่มขึ้นจาก 19 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23 บาทต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกิโลกรัมละ 20 บาทเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 24 บาท ส่งผลให้ราคาขายปลีกที่ประชาชนต้องใช้จ่ายเพื่อการบริโภคหรือเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นสูงจาก 24-25 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มเป็น 28-29 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 17%

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลทรายย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีการใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางตรง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และ อุตสาหกรรมของหวานและเบเกอรี รวมถึงกลุ่มที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางอ้อมในลักษณะเครื่องปรุงรส เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดย ttb analytics ได้ประเมินว่าการที่น้ำตาลทรายขึ้นราคาส่งผลกระทบค่อนข้างจำกัด โดยกำไรขั้นต้น (กำไรที่ยังไม่หักต้นทุนการขาย การดำเนินการ และต้นทุนทางการเงินอื่น) ของกลุ่มเครื่องดื่ม เช่น ผลิตภัณฑ์นม และน้ำอัดลม อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง 1.2% และ 2.6% ตามลำดับ ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมหวาน กำไรขั้นต้นลดลง 0.5%-3% ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการใช้น้ำตาลทรายในขนมหวานแต่ละประเภท ในขณะที่ผู้ขายอาหารตามสั่ง พบพื้นที่กำไรขั้นต้นลดลง 0.4%-0.6% อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำไรที่ลดจากผลกระทบของราคาน้ำตาลทรายที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากกลไกของราคาแต่มาจากนโยบายภาครัฐ จึงอาจไม่เป็นธรรมกับฝั่งของผู้ประกอบการที่กำไรลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางส่วนอาจมีการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผ่านการขึ้นราคาสินค้าซึ่งอาจกระทบกับภาคประชาชนและผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคา ttb analytics ได้แบ่งผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายโดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ประชาชนและภาคครัวเรือน อาจต้องรับภาระที่ค่าครองชีพปรับเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายครั้งนี้กระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ และด้วยสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากกลไกราคาแต่เกิดจากที่มีประกาศให้ขึ้นราคาตามตลาดโลก จึงมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีบทบาทสูงสะท้อนผ่านสัดส่วนรายได้สูงถึง 98% ของมูลค่าตลาด รวมถึงช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ ราคาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมักขึ้นราคาเป็น บาท/หน่วย และ การที่ราคาเครื่องดื่มตามร้านสะดวก

ซื้อทั่วไปมีการปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท หมายถึงรายรับของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นที่ 5-10% ส่งผลให้ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ส่งผ่านราคาได้ มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% - 6.5% จากราคาที่ปรับเพิ่ม รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กที่มีความได้เปรียบในทำเลอาจส่งผ่านราคา โดยตามธรรมชาติการเพิ่มราคาของผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะเพิ่มราคาต่อเมนูขั้นต่ำที่ 5 บาท ส่งผลต่อรายรับที่อาจสูงขึ้นราว 10 % ส่งผลให้ร้านอาหารที่ขึ้นราคาได้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นราว 5.6% รวมถึงโดยธรรมชาติของสินค้าบริโภคขั้นสุดท้ายราคาจะมีความหนืด (Price Rigidity) ในการปรับราคาลง

2) ธุรกิจ SMEs รายย่อย เช่น ผู้ประกอบการอาหาร และขนมหวานรายย่อย แม้พื้นที่กำไรอาจไม่ส่งผลกระทบมากแต่ด้วยปริมาณการขายที่ไม่สูงมากนักส่ง ผลให้มีความกังวลว่าถ้าขึ้นราคาอาจส่งผลต่อยอดขาย ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ประกอบการที่มีรายได้ประมาณ 2,000 บาทต่อวัน กำไรขั้นต้นของร้านอาหาร และ ผู้ผลิตของหวานจะอยู่ที่ราว 800 – 830 บาท ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าแรงงาน ค่าเช่า พื้นที่กำไรที่เหลืออาจค่อนข้างจำกัดเพื่อใช้ยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องต้นทุนจากราคาน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น กดดันให้กำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ลดลงเหลือ 790 – 810 บาทต่อวัน และด้วยรายได้ที่แต่เดิมจำกัดในการยังชีพ เมื่อประสบภาวะต้นทุนที่ปรับเพิ่มจากราคาน้ำตาลทรายที่แม้ไม่สูงมาก แต่อาจส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัวได้

โดยสรุป การประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทรายอาจส่งผลดีต่อผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย และ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งผ่านราคา แต่ผลดีดังกล่าวถูกดึงมาจากภาคครัวเรือน และ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถส่งผ่านราคาได้ ประกอบกับเหตุผลของการขึ้นราคาน้ำตาลทรายในครั้งนี้ตามที่ สอน. ให้เหตุผลว่าปรับตามราคาตลาดโลก ก็ต้องมองย้อนกลับไปที่สาเหตุว่าเพิ่มขึ้นจากการที่อินเดียระงับการส่งออกน้ำตาลทรายจากผลผลิตที่ลดลง เพื่อใช้บริโภคในประเทศและไม่ให้กระทบความเป็นอยู่ของภาคประชาชน แต่ในทางกลับกัน การปรับเพิ่มราคาขายในประเทศจะกลายมาเป็นภาระต้นทุนให้กับภาคประชาชนมากกว่ากรณีของอินเดียที่ประกาศขยายการควบคุมการส่งออกน้ำตาลทรายเพื่อควบคุมราคาภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ทาง ttb analytics จึงสนับสนุนมติ ครม. ที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุม และเสนอเรื่องการช่วยเหลือผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย อาจใช้เรื่องของการให้เงินสนับสนุน เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไร่อ้อยหรือมาตรการลดภาษีให้กับผู้ผลิตน้ำตาลทราย แทนที่จะขึ้นราคาสินค้าที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง

X

Right Click

No right click