มูลนิธิทุนการศึกษาเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ขอเชิญนักเรียนที่มีพรสวรรค์ทางวิชาการจากทั่วโลก สมัครชิงทุนประจำปีการศึกษา 2567-2569 เพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรเอ - เลเวล ณ โรงเรียนในเครือเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์
มูลนิธิทุนการศึกษาเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ (AISL Harrow Scholarships Foundation) เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางการศึกษา เปิดรับสมัครนักเรียนทุนในโครงการทุนการศึกษาเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ (AISL Harrow Scholarships Programme) ประจำปีการศึกษา 2567-2569 ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ถึง 8 ธันวาคม 2566 โดยนับเป็นปีที่ 4 แล้วที่มีการมอบโอกาสครั้งสำคัญให้แก่นักเรียนที่มีคุณสมบัติโดดเด่นจากทั่วโลกได้ศึกษาในหลักสูตรเอ-เลเวล (A-Level) ณ โรงเรียนในเครือเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ เพื่อปูทางสู่การศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
มอบการศึกษาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชน
มูลนิธิทุนการศึกษาเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ เป็นองค์ประกอบสำคัญภายใต้กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ครอบคลุมของเอไอเอสแอล โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนที่มีความสามารถและมีศักยภาพในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นให้แก่โลกของเรา ทางมูลนิธิมุ่งมั่นที่จะขยายและสร้างความหลากหลายให้กับชุมชนฮาร์โรว์ ด้วยการดึงดูดนักเรียนที่มีพรสวรรค์ทางวิชาการจากทั่วโลกที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมหลักของฮาร์โรว์ และเปิดโอกาสให้เข้าศึกษาในโรงเรียนในเครือเอไอเอสแอล
ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน รวมทั้งได้รับการยกเว้นค่าหอพักและค่าธรรมเนียมการสอบ ซึ่งช่วยให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาแบบฉบับฮาร์โรว์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักจาก "ความเป็นเลิศทางการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นผู้นำ" (Educational Excellence for Life and Leadership) สำหรับทุนการศึกษานี้จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2564 โดยมอบให้แก่นักเรียน 16 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้สมัครมากกว่า 1,300 คน และยังคงเดินหน้าบ่มเพาะและฟูมฟักนักเรียนมากความสามารถและมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเพื่ออนาคตที่ดีกว่าต่อไป
ความสำเร็จอันโดดเด่นของนักเรียนทุนกลุ่มแรก
นักเรียนทุนกลุ่มแรกจำนวน 5 คนจบการศึกษาในซัมเมอร์นี้ด้วยเกรด A* และ A รวม 18 ตัวในการสอบเอ-เลเวล ต่างได้รับข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ฯลฯ
" การเป็นนักเรียนทุนเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ทำให้ผมมีความรับผิดชอบในการรักษามาตรฐานส่วนตัวและมาตรฐานทางวิชาการอยู่เสมอ รวมถึงมีความใส่ใจช่วยเหลือชุมชนอีกด้วย " - แมททิว ซี. (Matthew C.) จากโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ฮ่องกง ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
" ฉันใฝ่ฝันว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมาตลอด และทุนการศึกษาเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ก็ช่วยสานฝันของฉันให้กลายเป็นจริง "
- ทิฟฟานี ซี. (Tiffany C.) จากโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ ฮ่องกง ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
" โรงเรียนนี้ช่วยให้ฉันมีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้ฉันกล้าเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ และออกจากคอมฟอร์ตโซน " - อี้ซำ วาย. (Yi Sum Y.) จากโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ เซี่ยงไฮ้ ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ดร.โรซานนา หว่อง (Rosanna Wong) ประธานเอไอเอสแอล กล่าวว่า "นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นการเติบโตอันน่าทึ่งของนักเรียนกลุ่มแรกในช่วงสองปีที่ได้ศึกษาในเครือโรงเรียนเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบได้นี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จของโครงการในการสนับสนุนนักเรียนให้มีความก้าวหน้าทางการศึกษา และสามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำได้"
โรงเรียน 10 แห่งทั่วเอเชียพร้อมมอบทุนการศึกษารวม 20 ทุน
โรงเรียน 10 แห่งในเครือเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ได้เข้าร่วมในโครงการมอบทุนการศึกษาประจำปีการศึกษา 2567-2569 ประกอบด้วยโรงเรียนเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ กรุงเทพฯ, ปักกิ่ง, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้, เขตเฉียนไห่ในเซินเจิ้น และไหโข่ว รวมถึงโรงเรียนอีก 4 แห่งที่เข้าร่วมเป็นปีแรก ได้แก่ อัปปิ (Appi) ในญี่ปุ่น, เหิงฉิน, ฉงชิ่ง และหนานหนิง โดยโรงเรียนแต่ละแห่งจะมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนไม่เกินสองคน รวมทุนการศึกษาทั้งหมด 20 ทุนสำหรับปีนี้
ทางมูลนิธิพร้อมเปิดรับเยาวชนที่มีความโดดเด่น แสดงออกถึงความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ดร.โรซานนา หว่อง กล่าวเสริมว่า "แม้ว่าผลการเรียนที่ยอดเยี่ยมยังคงเป็นข้อกำหนดพื้นฐานในการสมัคร แต่เราก็ให้ความสำคัญกับศักยภาพความเป็นผู้นำ ความสนใจในการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และความมุ่งมั่นในการทำประโยชน์ต่อสังคม เรามองหาค่านิยมหลักของฮาร์โรว์ในตัวผู้สมัคร นั่นคือ ความกล้าหาญ เกียรติยศ ความอ่อนน้อมถ่อมตน และมิตรภาพ ในรูปแบบที่โดดเด่นที่สุด"
ระยะเวลาการสมัคร
ผู้สมัครสามารถส่งแบบฟอร์มแสดงความจำนงได้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ถึง 8 ธันวาคม 2566 ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการทดสอบประเมินระดับเอ-เลเวล ระหว่างวันที่ 8 ถึง 30 มกราคม 2567 จากนั้นจะมีการสัมภาษณ์ออนไลน์โดยคณาจารย์จากเอไอเอสแอลระหว่างวันที่ 5 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 และจะมีการประกาศผลในวันที่ 8 เมษายน 2567
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ aislharrow.com/apply-for-aisl-harrow-scholarships-2024/ นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจยังสามารถติดตามเอไอเอสแอล ฮาร์โรว์ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อรับข้อมูลข่าวสารล่าสุด
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพค โลจิสติกส์และอินดัสเทรียล หรือ “PROSPECT REIT” เตรียมเสนอขายหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนครั้งที่ 1 จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 130,000,000 หน่วย พร้อมเปิดให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์เดิมที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 (Record Date)
จองซื้อในวันที่ 8-14 มีนาคม 2566 ที่ราคาสูงสุด 9.70 บาทต่อหน่วยทรัสต์ สามารถเลือกจองซื้อได้ 2 ช่องทาง 1) ระบบออนไลน์ www.tiscosec.com และ 2) ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด (ผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์) กำหนดอัตราส่วนใช้สิทธิจองซื้อที่ 1 หน่วยทรัสต์เดิม ต่อ 0.4775 หน่วยทรัสต์ที่ออกและเสนอขายเพิ่มเติม สำหรับนักลงทุนทั่วไป จองซื้อในวันที่ 16-20 มีนาคม 2566 ช่องทางเดียว ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด จองซื้อในราคาเสนอขายสุดท้าย ซึ่งจะประกาศภายในวันที่ 15 มีนาคม 2566 ผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังสำรวจความต้องการจองซื้อจากนักลงทุนสถาบัน (Bookbuilding) ซึ่งการจัดสรรหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนให้นักลงทุนทั่วไปตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์
ในกรณีที่ราคาเสนอขายสุดท้ายต่ำกว่า 9.70 บาท ผู้ถือหน่วยเดิมที่ได้จองซื้อหน่วยทรัสต์เพิ่มทุนทุกราย จะได้รับเงินส่วนต่างค่าจองซื้อคืนในภายหลังวันจองซื้อวันสุดท้าย ทั้งนี้ คาดการณ์ผลตอบแทนภายหลังการเพิ่มทุนและเข้าลงทุนในทรัพย์สินเพิ่มเติม สูงกว่า 8% ต่อปี
นางสาวอรอนงค์ ชัยธง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรอสเพค รีท แมเนจเมนท์ จำกัด ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ PROSPECT REIT เปิดเผยว่า “การเพิ่มทุนครั้งแรกของ PROSPECT REIT เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนของกองทรัสต์ เพื่อนำไปลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สินศักยภาพสูงของบริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำนวน 2 โครงการ พื้นที่เช่ารวม 70,129 ตร.ม. รวมมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1,800 ล้านบาท ได้แก่ โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน 2 (BFTZ 2) ถนนเทพารักษ์ มีพื้นที่เช่า 20,996 ตารางเมตร เป็นอาคารสำเร็จรูป Ready Built จำนวน 12 ยูนิต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คลังสินค้า โรงงานแบบ Stand-alone และโรงงานขนาดเล็ก เป็นการลงทุนในรูปแบบสิทธิการเช่า ระยะเวลาลงทุนไม่เกิน 28 ปี และโครงการบางกอกฟรีเทรดโซน 3 (BFTZ 3) ถนนบางนา-ตราด กม.19 มีพื้นที่เช่า 49,133 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารคลังสินค้าสำเร็จรูป 23 ยูนิต โดยที่โครงการ BFTZ 3 ส่วนที่เข้าลงทุนเป็นพื้นที่ Free Zone ทั้งหมด เป็นการลงทุนในรูปแบบกรรมสิทธิ์”
นายมานพ เพชรดำรงค์สกุล หัวหน้าธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายหน่วยทรัสต์ PROSPECT REIT กล่าวว่า “ภายหลังการเข้าลงทุนในทรัพย์สินเพิ่มเติมครั้งนี้ ประมาณการการจ่ายเงินออกให้ผู้ถือหน่วยของ PROSPECT REIT จะเพิ่มขึ้นจาก 0.84 บาทต่อหน่วย เป็น 0.86 บาทต่อหน่วย (ช่วงเวลาประมาณการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566) ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจผันผวนในปัจจุบัน จึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุน”
สำหรับทรัพย์สินศักยภาพสูงทั้งสองโครงการที่ PROSPECT REIT วางแผนเข้าลงทุน มีจุดเด่นคือ อยู่ในทำเลที่มีศักยภาพโซนบางนา-ตราด จุดยุทธศาสตร์ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ รองรับกิจการทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
อีกทั้งอยู่ในพื้นที่ผังเมืองสีม่วงสำหรับประกอบการอุตสาหกรรม ประกอบกิจการได้ทั้งคลังสินค้าและโรงงาน ที่สำคัญ การลงทุนครั้งนี้จะทำให้ PROSPECT REIT มีพื้นที่ภายใต้การจัดการที่เป็นเขตปลอดอากร หรือ Free Zone เพิ่มขึ้น และเป็นการลงทุนในรูปแบบกรรมสิทธิ์ (Freehold) ถึง 76% ของมูลค่าลงทุนในครั้งนี้ รวมถึงมีทรัพย์สินแบบ Leasehold ที่มีระยะเวลาสิทธิการเช่าที่ยาวขึ้น ซึ่งจะเพิ่มเสถียรภาพให้กับกองทรัสต์ ช่วยสร้างโอกาสการเติบโตที่ส่งผลให้สามารถจ่ายผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ถือหน่วย
ภายหลังการเพิ่มทุนและเข้าลงทุนเพิ่มเติม กองทรัสต์จะมีทรัพย์สินภายใต้การบริหารรวม 292,332 ตารางเมตร คาดว่าจะมีมูลค่าสินทรัพย์ตามงบการเงินของกองทรัสต์เพิ่มจาก 3,538 ล้านบาท เป็น 5,338 ล้านบาท
การศึกษาฉบับใหม่ “อนาคตของไทยสตาร์ทอัพ และ Venture Capital”โดยดีลอยท์ คอนซัลติ้ง (“ดีลอยท์”) ชี้ว่า Startup ไทยจำนวนมากเผชิญความยากลำบากในการแข่งขันและดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Startup ในไทยยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนระยะเริ่มต้นจากแหล่งเงินทุนอย่างเช่น Venture Capital Firm (VC) ส่งผลให้ Startup ในไทยขาดแคลนเงินทุนที่ต้องการเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ Startup ไม่ว่าจะเป็น ผู้ก่อตั้ง Startup VC และหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 20 ราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงอ้างอิงผลการวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการศึกษาฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาสตาร์ทอัพและ Venture Capital ในประเทศไทย
ปัญหาหลักของระบบนิเวศในประเทศไทยที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข
จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศไทย เราพบว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน โดยปัญหาหลักที่ขัดขวางการเติบโตของระบบนิเวศนั้น มีตั้งแต่ปัญหาการเข้าถึงเงินทุน จนไปถึงความยากลำบากในการหาผู้ประกอบกิจการที่มีความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น
· Startup ในไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage) จำนวนรอบระดมทุนของ Startup ในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage ลดลงตั้งแต่ปี 2562 จากเดิมจำนวนรอบระดมทุน 33 รอบ ลดลงไปกว่าครึ่งในปี 2563 ตามข้อมูลจาก Innovation Club Thailand หนึ่งในสาเหตุของการลดจำนวนลง เกิดจากการที่ Accelerator แบบไม่เฉพาะเจาะจงประเภทธุรกิจของ Startup ระยะเริ่มต้นนั้นมีจำนวนลดลง นอกจากนั้น พื้นฐานของตลาด VC ในไทยยังมี VC จากบริษัทใหญ่ หรือ Corporate VCs (CVCs) ถือครองอยู่ ที่มักจะเน้นลงทุนใน Startup ระยะท้าย หรือ Later Stage
· โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของ Startup อันเนื่องมาจากมูลค่าเงินทุนสนับสนุนของโครงการนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ Startup การออกแบบโครงการที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของ Startup ยกตัวอย่างเช่น การที่โครงการให้การสนับสนุน Startup ด้วยเงินทุนจำนวน 20,000 ถึง 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยที่แท้จริงแล้ว Startup ต้องการเงินทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ดำเนินการสำหรับ 1-2 ปี นอกจากนั้น จากการสัมภาษณ์ Startup เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานภาครัฐ Startup หลายๆ ที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำเอกสาร และการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ความลำบากในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนนั้น ยังได้เพิ่มความกดดันให้กับผู้ประกอบกิจการในการบริหารเงินสะพัดของ Startups อีกด้วย
· Startup ไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงที่ปรึกษาในประเทศเนื่องจากจำนวนที่ปรึกษาในประเทศไทยนั้นมีจำนวนจำกัด โดยปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทย ไม่ได้มีจำนวนผู้ประกอบการ Startup เกิดขึ้นภายในประเทศเยอะ ส่งผลให้จำนวนปรึกษาที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ Startup รุ่นใหม่นั้น มีจำนวนน้อยตาม ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ในอนาคตโดยอาศัยเวลาและประสบการณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ก่อตั้ง Startup ในไทย มีปัญหาในการเปิดรับแนวคิดความกล้ายอมรับความเสี่ยง และวิสัยทัศน์การขยายธุรกิจออกสู่สากล ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้าง Unicorn Startups ในไทย
“ปัญหาที่ Startup ไทยเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน” ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว “เงินทุนระยะเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อ Startup ในการดำเนินธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง VC หลายๆ เจ้ายังคงมองว่าระบบนิเวศ Startup ในประเทศไทยนั้นยังมีขนาดเล็กและยังไม่ได้พัฒนามากนัก รวมถึง Startup ไทยที่ประสบความสำเร็จยังมีจำนวนน้อย ส่งผลให้ VC ยังไม่กล้าที่จะลงทุนใน Startup ไทยซักเท่าไหร่”
“มีคำกล่าวที่ว่า It takes a village to raise a startup ในกรณีของประเทศไทยเราเชื่อว่าระบบนิเวศที่สนับสนุน Startup นั้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างแรก” ดร.เมธินี กล่าว
แนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทย:
จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราพบว่าระบบนิเวศที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงความเพียงพอของช่องทางในการรับแหล่งเงินทุน โดยเราเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาต่างๆ ในระบบนิเวศและส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศผ่านแนวทางต่อไปนี้
1) จัดตั้งโครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เหมือนอย่างในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ SEEDS Capital ในประเทศสิงคโปร์ โครงการ London Co-Investment Fund
ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อเป็นการดึงดูด VC ให้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานภาครัฐสามารถที่จะพิจารณาออกแบบโครงการร่วมลงทุนนี้ให้ช่วยลดความเสี่ยงที่ VC ต้องแบกรับในการลงทุนใน Startup และนำเสนอโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Upside Return) แก่ VC โดยโครงการเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สนับสนุนด้านการเงินแก่ Startup แต่ยังช่วยให้ Startup ได้ความรู้ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจ ความเข้าใจตลาด และเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ จาก VC อีกด้วย
2) พิจารณาการเพิ่มงบประมาณสำหรับการส่งเสริม Startup และพัฒนาโครงการเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเงินทุนสนับสนุน Startup สำหรับแต่ละโครงการให้มีมูลค่าเพียงพอต่อการสนับสนุน Startup เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี (เช่น การให้เงินสนับสนุนจำนวนอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ) นอกจากนี้ โครงการควรที่จะลดความยุ่งยากในการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และเบิกจ่ายเงินสนับสนุน (เช่น การเปิดรับสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ และการเพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน)
3) จัดตั้งและมอบหมายอำนาจให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการพัฒนาระบบนิเวศ โดยหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย จะช่วยพัฒนาและดูแลโครงการส่งเสริม Startup และ VC ในระบบนิเวศ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรม กำกับดูแลให้โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานต่างๆ ให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน และจัดโครงสร้างให้กับโครงการที่มาจากแต่ละภาคส่วน อีกทั้ง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายนั้น จะช่วยพัฒนาการสื่อสาร และร่วมมือ ระหว่าง Startup และหน่วยงานของภาครัฐ นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยจัดหาทรัพยากรที่ Startup สามารถเข้าถึงได้ง่ายอีกด้วย
“เราได้เห็นแล้วว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น โครงการในประเทศสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และ ประเทศอิสราเอล นั้นมีความสามารถที่จะช่วยผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโครงการเหล่านี้ยังช่วยดึงดูด VC จากทั้งในประเทศและนอกประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนิเวศ Startup อีกด้วย” ดร.เมธินี กล่าว
“จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราค้นพบว่าแต่ละประเทศนั้นล้วนมีปัญหาหรือความท้าทายในการพัฒนาระบบนิเวศที่แตกต่างกันไป และประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันกับเราว่า โครงการหรือแนวทางแก้ปัญหาแบบ One-size Fits All นั้นไม่มีอยู่จริง และเราควรที่จะทำการศึกษาแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่างกันเหล่านั้นเพื่อเรียนรู้ว่าเราจะสามารถปรับปรุงและนำบทเรียนจากโครงการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทยต่อไปได้อย่างไร” เคนเนท เทย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายอุตสาหกรรมการเงิน ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว
“การพัฒนาระบบนิเวศนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา” เคนเนท กล่าวเสริม “การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ การปลูกฝังแนวคิดที่กล้ายอมรับความเสี่ยง รวมไปถึงการค้นพบไอเดียใหม่ๆ ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้เวลา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะพัฒนาหรือสร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน”
“เราเชื่อว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วย Startup ที่ประสบความสำเร็จ เป็นระบบนิเวศที่สามารถดึงดูด VC ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนใน Startup ไทย รวมไปถึงเป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วยที่ปรึกษาที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่ Startup หน้าใหม่ สุดท้ายนี้เราเชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการพัฒนาครั้งนี้” ดร.เมธินี กล่าวเสริม
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www2.deloitte.com/sg/en/pages/human-capital/articles/venture-capital-ecosystem-thai.html
SHR RING (THAILAND) ประกาศการเริ่มต้นระยะเวลาในการเปิดรับสมัครทุนในการโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติในด้านที่เกี่ยวเนื่องกับ metaverse [การแบ่งปันสภาพแวดล้อมของโลกเสมือนจริงของผู้คนผ่านทางอินเทอร์เน็ต] และ digital identity [การยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล] รวมถึง NFTs โดยบริษัทยินดีเปิดรับแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับ digital identity ซึ่งอยู่ภายในสภาพแวดล้อมของ metaverse ตลอดจนการพัฒนาและการใช้งาน NFT พร้อมยูทิลิตี้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ในการเข้าถึงสถานที่ การยืนยันตัวตน หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่ไม่รวมกับ NFT art ด้วย
ทุนนี้จะได้รับการจัดการโดย ShareRing Lab — หน่วยงานใหม่ภายใต้บริษัท ShareRing ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการวิจัยเชิงนวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง ความคิดริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ ShareRing ในการสำรวจแนวทางใหม่ๆ ในการออก การจัดเก็บ การตรวจสอบ และการแบ่งปันข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ
บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี 2561 และเติบโตจนกลายเป็นธุรกิจเทคโนโลยีระดับโลก โดยมีพนักงานกระจายอยู่ใน 11 ประเทศ และในกว่า 5 ภูมิภาคทั่วโลก ShareRing มีต้นกำเนิดจากระบบเศรษฐกิจการแบ่งปันและการเช่า และได้พัฒนาไปสู่ระบบนิเวศข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัลที่สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาดำเนินการ
สำหรับปีนี้ ทุนสนับสนุนจะมีให้สำหรับผู้สมัครในประเทศไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ ShareRing มีแผนที่จะเปิดรับใบสมัครจากประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ShareRing ขอเชิญนักวิจัยและนักวิชาการสมัครทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม รวมทั้งยินดีต้อนรับนักวิจัยรุ่นเยาว์และรุ่นต้นสายอาชีพเป็นพิเศษด้วย ทุนวิจัยทั้งหมด 3 ทุน จะพร้อมให้ใช้งานได้ในปี 2564 โดยใช้ได้สูงสุดครั้งละ 150.000 บาท โดยเงินช่วยเหลือจะครอบคลุมถึงโครงการวิจัยเป็นระยะเวลาสามเดือน หลังจากนั้นจะต้องทำการส่งรายงานผล แต่อย่างไรก็ตามสิทธิ์ในวรรณกรรมและสิทธิบัตรทั้งหมดจะยังคงอยู่กับผู้รับทุน
รับใบสมัครที่สมบูรณ์ ภายในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2564 นี้ และสามารถดูคำแนะนำโดยละเอียด รวมถึงแบบฟอร์มใบสมัครขอรับทุน ได้ที่ https://forms.gle/CJvjPfEFuwvq4o959 รายละเอียดเพิ่มเติม PDF shorturl.at/wGZ69
ทั้งนี้ ShareRing เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่สร้างระบบบนบล็อกเชนที่ทำงานร่วมกันได้ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสำหรับการออก จัดเก็บ เข้าถึงและแบ่งปันการยืนยันตัวตนส่วนบุคคลและข้อมูลที่ตรวจสอบได้ บุคคลและองค์กรสามารถทำธุรกรรมในสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยและเป็นที่เชื่อถือได้ เป็นศูนย์กลางในการสร้างความน่าเชื่อถือในระดับสูง กล่าวคือโซลูชัน ID เป็นแบบอธิปไตยที่จะต้องเข้ารหัส โดย ShareRing ใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนในการสร้าง "ลายนิ้วมือ" ที่ไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันข้อมูลประจำตัวส่วนบุคคลและเอกสารต่าง ๆ ที่ตรวจสอบได้ของแต่ละบุคคล มีอำนาจอธิปไตยในตนเอง ซึ่งหมายถึง บุคคลยังคงสามารถควบคุมข้อมูลของตนเองได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะอยู่บนอุปกรณ์ส่วนตัวของตนในรูปแบบที่เข้ารหัสเท่านั้น และไม่เคยถูกจัดเก็บไว้ที่ส่วนกลางแต่อย่างใด
โตเกียว--1 ต.ค.--เกียวโด เจบีเอ็น-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
- สตาร์ทอัพชั้นนำ 11 แห่งจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมเข้าร่วมด้วย -
CyberAgent Capital Inc. ประกาศในวันที่ 28 กันยายนว่า บริษัทเตรียมจัดอีเวนต์สตาร์ทอัพระดับโลกที่มุ่งเจาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง "Monthly Pitch Asia" ในชื่อใหม่ซึ่งก็คือ "CyberAgent Pitching Arena" ในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 นี้ ในรูปแบบออนไลน์
เวลาเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีจำกัด CyberAgent Capital จึงได้เริ่ม "Monthly Pitch ( https://monthly-pitch.com/ )" ขึ้น เพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการระยะแรกเริ่มพบปะกับนักลงทุนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้พวกเขาเสียเวลาน้อยที่สุดในการระดมทุน และนำเวลานั้นไปมุ่งพัฒนาธุรกิจของตนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
เดือนกันยายน 2564 นับเป็นครั้งที่ 52 แล้ว โดยทาง CyberAgent Capital ได้จัดงานนี้เป็นประจำทุกเดือนมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งนับจนถึงวันนี้มีบริษัทเข้าร่วมอีเวนต์รวมกัน 403 ราย (บริษัทในประเทศ 387 ราย และบริษัทต่างประเทศ 16 ราย) ขึ้นแท่นอีเวนต์ระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
อีเวนต์ที่กำลังจะมาถึงนี้ จะประกอบไปด้วยการนำเสนอบริษัทเพื่อหาทุน (pitch) ของสตาร์ทอัพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 แห่ง ทั้งยังมีการประชุมระหว่างสตาร์ทอัพกับนักลงทุนจากทั่วโลกด้วย
กำหนดการ:
การนำเสนอบริษัทเพื่อหาทุนซึ่งบันทึกไว้ล่วงหน้า (5-6 นาที) ตามด้วยช่วงถามตอบ (5 นาที)