SCB CIO คาดเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแบบSoft landing จากเงินเฟ้อที่ชะลอลงต่อเนื่อง แม้อีก 1-2 ปีถึงจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%มองในปี 2567–2568 เฟดจะลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. มาอยู่ที่ 3.4% พร้อมแนะนำหลีกเลี่ยงหุ้นกู้High Yield โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์จีนจากภาวะหนี้สินสูงและการฟื้นตัวช้า ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นและเวียดนามเป็น Neutral และยังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทยหลังความชัดเจนทางการเมืองมีมากขึ้น

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า SCB CIO ได้ปรับมุมมองที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยคาดว่า จะชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากเดิมที่มองว่าอาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายในช่วงปี 2568 แต่ด้วยตลาดแรงงานโดยเฉพาะในภาคบริการที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปี 2566-2567 มีการชะลอตัวแบบจัดการได้ โดยจากประมาณการล่าสุดของ Fed (มิ.ย. 2566) คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2566-2568 จะเติบโต 1.0% , 1.1% และ 1.8% ตามลำดับ เทียบกับอัตราการเติบโตในระยะยาวเฉลี่ยที่ 1.8%

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่า จากแนวโน้มเศรษฐกิจแบบ Soft landing บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงช้า ทำให้การลดดอกเบี้ยของ Fed ในรอบนี้จะมีลักษณะค่อยๆ ลดลง (small and slow rate cuts) และน้อยกว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งก่อนๆ โดย Fed คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย 100 และ 120 bps. ในปี 2567-2568 ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ปลายปี 2568 อัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed ยังอยู่ในระดับสูงถึง 3.4% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับนี้ในช่วงการลดดอกเบี้ยของFedครั้งสุดท้ายเกิดขี้นในปี2551 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอมากกว่าคาด น่าจะเริ่มเห็นการลดดอกเบี้ย เช่น จีนและเวียดนามหรือการหยุดขึ้นดอกเบี้ย เช่น ไทย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างระหว่างสหรัฐฯ และประเทศ Emerging ยังคงอยู่ในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนที่มีการก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession คือภาวะภาคธุรกิจและครัวเรือนกังวลกับหนี้สินที่อยู่ในระดับสูง ราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้าหรือปรับลดลงบวกกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้รายได้ส่วนใหญ่ไม่ถูกนำมาใช้จ่ายบริโภคและลงทุนรวมถึงไม่กู้ยืมเพิ่มเติม แต่เน้นการจ่ายคืนหนี้เพื่อลดภาระทางการเงิน ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 และล่าสุดจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่ตลาดเริ่มมีความกังวลในประเด็นนี้ อย่างไรก็ตาม

เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นในช่วงปี 2533 ภาคการธนาคารของจีนในปัจจุบันยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแรงกว่า รวมถึง ราคาสินทรัพย์ของจีนโดยเฉพาะราคาบ้านแม้ฟื้นตัวช้าแต่ไม่ได้ประสบปัญหาราคาร่วงลงรุนแรงเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่น

ดร.กำพล กล่าวว่า จากมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Soft landing ทำให้เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive หรือทยอยสะสมได้ แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง (High Yield หรือ HY) โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน เนื่องจาก เราเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับท่าทีของ Fed ในการหยุดขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2567 จะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทั้งระยะสั้นและยาว ทยอยลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ค้างในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้กลุ่ม HY ยังมีโอกาสขยับสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะหุ้นกู้ในกลุ่มธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในจีน

สำหรับมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2566 ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาด โดยยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ชะลอตัวลง แต่มีผลประกอบการและกำไรที่ดีกว่าคาดหรือลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นหุ้นของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ในNasdaq 100 ตามมาด้วย S&P500 โดยรวมจะดีกว่าหุ้นกลุ่มบริษัทขนาดกลางและเล็ก ใน Russell 2000 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยอดขายสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย แต่ผลกำไรยังเติบโตตามอานิสงส์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยวและค่าเงินเยนอ่อนค่า นอกจากจะเติบโตได้มากแล้ว ยังทำได้ดีกว่าคาดอีกด้วย ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป EuroStoxx600 มียอดขายและกำไรหดตัว ตลาดหุ้นเวียดนาม กำไรจากยอดขายสินค้าและบริการของบริษัทยังคงฟื้นตัวช้า แต่แย่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และตลาดหุ้นไทย ยอดขายและผลประกอบการหดตัวและต่ำกว่าคาด แรงฉุดหลักมาจากกลุ่มพลังงาน สินค้าบริโภค และอสังหาริมทรัพย์

SCB CIO มองว่า ความตึงตัวของ Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว เริ่มปรับลดลงโดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯกลุ่มTech ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้าลงทุนในกลุ่มหุ้นทนทานความผันผวน (Defensive) ไปก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันเราได้ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral (หยุดขายหรือถือไว้) หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบายการควบคุมการเคลื่อนไหวของเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไปพอสมควรแล้ว ขณะที่ในระยะถัดไปยังได้แรงหนุนจากความคืบหน้าการปฏิรูปตลาดหุ้นญี่ปุ่นเน้นเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้นและแนวโน้มการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัท

นอกจากนี้ เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share แนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง ปรับมุมมองหุ้นเวียดนามเป็น Neutral (หลัง Valuation ปรับความตึงตัวลงและงบออกมาแย่น้อยกว่าคาด) สำหรับหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมองเป็น Neutral แม้ Valuation จะถูกลงค่อนข้างมาก แต่ความกังวลประเด็นหุ้นกลุ่มธนาคาร ( 18% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) ที่ผลประกอบการอาจถูกกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงหุ้นกลุ่ม Tech (37% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด) จากความเสี่ยงด้าน Tech war ที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าส่งมอบความยั่งยืนสู่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยโซลูชั่นเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SCB SME Green Finance) จับมือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ นำร่องโครงการสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปให้แก่ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น (PTT Station) วงเงินสูงสุด 100% ของเงินลงทุน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี รวมปลอดเงินต้น 1 ปี และอัตราดอกเบี้ยปีแรกคงที่ 3.99% ต่อปี

ทั้งยังตอกย้ำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน Net Zero ที่สอดคล้องกันกับโออาร์ รณรงค์ให้สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในสถานีฯ เพื่อเป็นผู้นำสถานีบริการที่มีการใช้พลังงานสะอาดและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับจุดยืนการดำเนินธุรกิจที่ พีทีที สเตชั่น เป็น “สถานีที่เติมเต็มทุกความสุข” ที่พร้อมเติบโตไปพร้อมกับผู้คน สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมตั้งเป้า พีทีที สเตชั่น 200 สาขาแรกให้เป็นสถานีรักษ์โลกด้วยสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปภายในสิ้นปี 2566

นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย โดยเฉพาะในประเด็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการผลิต ซึ่งในระยะข้างหน้า หากธุรกิจเอสเอ็มอีไม่รีบปรับตัวในเรื่องดังกล่าว โอกาสในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันจะยิ่งลดน้อยถอยลง การพาเอสเอ็มอีก้าวข้ามความท้าทายนั้น เป็นความจำเป็นที่ธนาคารและธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเข้าใจการปรับปรุงกระบวนการทำงานไปสู่ Net Zero ต้องร่วมมือกันพาเอสเอ็มอีเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวิธีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ธนาคารจึงจัดเตรียมโซลูชั่นเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SCB SME Green Finance) ซึ่งเป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการลงทุนใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการต้นทุนให้แก่เอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมต่างๆ สอดคล้องกับพันธกิจหลักของธนาคารในการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050

“เราเห็นความต้องการในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการสถานีน้ำมันพีทีที สเตชั่น ประกอบกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ มีเป้าหมายสนับสนุนให้ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ธนาคารจึงนำร่อง SCB SME Green Finance ด้วย สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ให้แก่ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการพีทีที สเตชั่น นำสินเชื่อดังกล่าวไปติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อประหยัดพลังงานและลดคาร์บอนฯ และมีส่วนช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศ โดยให้วงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 2 - 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ทั้งนี้ ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการพีทีที สเตชั่น แห่งแรกที่ใช้สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป คือ พีทีที สเตชั่น จ.ชลบุรี ภายใต้การบริหารของบริษัท เลิศประเสริฐ ออยล์ จำกัด ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่า จะมีผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น จำนวน 200 แห่ง สมัครใช้สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ภายในสิ้นปี 2566 นี้” นางพิกุล กล่าว

นายพิมาน พูลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ กล่าวว่า การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปภายในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น นั้นเป็นหนึ่งใน โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่่ผลักดันให้ พีทีที สเตชั่น เป็น “สถานีที่เติมเต็มทุกความสุข” ที่เติบโตไปพร้อมกับผู้คน สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับแนวคิด SDG ตามแบบฉบับของโออาร์ ในเรื่อง G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด โดย โออาร์ มีความมุ่งมั่นที่จะให้ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศจำนวนกว่า 2,000 แห่ง ทั้งที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ โออาร์ และผู้แทนจำหน่ายจำนวนกว่า 1,600 แห่ง ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อเป็นผู้นำสถานีบริการที่มีการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการ SAVE ต้นทุนให้ธุรกิจด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ โออาร์ ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจากโซลาร์รูฟท็อปให้ครบ 18 เมกะวัตต์ในปี 2573 ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon-Neutrality) ภายในปี 2573 และบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593 ดังนั้น การที่ได้ธนาคารไทยพาณิชย์ เข้ามาร่วมมอบโซลูชั่นทางการเงินให้แก่ผู้แทนจำหน่ายสถานีในครั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญให้พีทีที สเตชั่น เป็นผู้นำสถานีบริการที่มีการใช้พลังงานสะอาด และผลักดันให้โออาร์ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่วางไว้

นางสาวกรสินี ไวว่อง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิศประเสริฐ ออยล์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการพีทีที สเตชั่น จำนวน 2 แห่ง สาขาหนองใหญ่ และสาขาหนองใหญ่-วังจันทร์ NY344 Stationจังหวัดชลบุรี ซึ่งทำเลที่ตั้งของสถานีน้ำมันอยู่ในพื้นที่ชุมชน ใกล้โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และภาคตะวันออก นั้นเป็นประตูสู่การท่องเที่ยว ดังนั้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในสถานีฯ น้ำมันจึงอยู่ในอัตราที่สูง บริษัท จึงมีความตั้งใจจะบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประจวบกับทางโออาร์มีโครงการสนับสนุน ให้สถานีบริการน้ำมันดีลเลอร์ใช้โซลาร์รูฟ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับสถานี และธนาคารไทยพาณิชย์นำเสนอสินเชื่อโซลาร์รูฟ ที่ให้เงื่อนไขพิเศษ สร้างความยืดหยุ่น ให้กับการบริหารจัดการสภาพคล่องให้แก่บริษัทเป็นอย่างมาก บริษัทจึงใช้บริการสินเชื่อดังกล่าวเพื่อติดตั้งแผง โซลาร์รูฟภายในสถานีฯ น้ำมัน ซึ่งช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุนค่าไฟได้มากกว่า 20% นอกจากนี้ บริษัทฯมีความ ภาคภูมิใจที่มีส่วนช่วยลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับ ประเทศ”

สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SCB SME Green Finance) โดยให้วงเงินสูงสุด 100% ของเงินลงทุน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี (รวมระยะเวลาปลอดเงินต้น 1ปี) ด้วยอัตราดอกเบี้ยปีแรกคงที่ 3.99% ต่อปี ผู้ประกอบการที่สนใจสมัครสินเชื่อ สามารถติดต่อยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2566 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2566 สอบถามเพิ่มเติม SCB SME Call Center โทร 02 722 2222 หรือ เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลแต่ละพื้นที่

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อเป็นแอปพลิเคชันรองรับการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC ซึ่งออกโดย ธปท. นำร่องเปิดให้ผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัด ทดลองใช้งานแอปฯ ผ่านฟีเจอร์การเติม สแกนจ่าย โอน แลกคืน CBDC ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคาร รวมถึงความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรในการรองรับการให้บริการในทุกมิติ เพื่อร่วมกันศึกษาและวางโครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมการเงินแห่งอนาคตให้กับประเทศไทยต่อไป

 

ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารมุ่งมั่นนำขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรของธนาคารมาใช้ในการสนับสนุนและผลักดันโครงการสกุลเงินดิจิทัล (CBDC) ร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยได้พัฒนา แอปพลิเคชัน CBDC SCB เพื่อทดสอบการใช้งานฟีเจอร์พื้นฐาน ได้แก่ การเติม-จ่าย-โอน-แลกคืน CBDC โดยได้เริ่มทดสอบการใช้งานที่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาและเริ่มขยายบริเวณทดสอบมายังร้านค้าโดยรอบธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ และจะมีการทดสอบใช้งานไปจนถึงประมาณไตรมาส 3 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมทดสอบ (Whitelist) ในวงจำกัดร่วมกับธนาคาร เป็นพนักงาน SCB และพนักงานในกลุ่ม SCBX ทั้งสิ้นกว่า 3,000 ราย ซึ่งกลุ่ม Whitelist จะสามารถดาวน์โหลดแอป CBDC SCB ได้จาก App Store หรือ Play Store เพื่อลงทะเบียนใช้งาน และแอปฯ นี้จะลงทะเบียนใช้งานได้เฉพาะกลุ่ม Whitelist เท่านั้น ผู้ใช้งานจะสามารถเติม CBDC ผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้เชื่อมต่อกับแอป SCB EASY และสามารถแลก CBDC กลับคืนเป็นเงินในบัญชี

ดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาทดสอบ โดย 1CBDC มีมูลค่าเท่ากับ 1 บาทเสมอ โดยการทดสอบในครั้งนี้อยู่ภายใต้ขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร”

“นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ร่วมกับ ธปท. และผู้ให้บริการ CBDC รายอื่น ทดลองพัฒนานวัตกรรมต่อยอดบนระบบ CBDC เพื่อศึกษาแนวทางการรองรับโจทย์ในภาคธุรกิจ (Innovation Track) โดย Innovation Track นี้เป็นเพียงการทดสอบในระบบปิดเท่านั้น และไม่มีการนำไปใช้งานกับผู้เข้าร่วมโครงการและร้านค้า โดยปัจจุบัน Retail CBDC เป็นโครงการเพื่อศึกษาตามที่ ธปท.ย้ำเสมอว่า “Pilot to Learn, Not Pilot to Launch”

การทดสอบในครั้งนี้เป็นการทดสอบในวงจำกัดโดยมีผู้ใช้งานและร้านค้าที่เป็นกลุ่ม Whitelistรวมทุกผู้ให้บริการ CBDC ประมาณ 10,000 คน และยังไม่มีแผนที่จะออกใช้งานจริง” ดร.ชาลี กล่าวทิ้งท้าย

ธนาคารได้พัฒนาประสบการณ์การใช้งาน และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยการทดสอบการใช้งาน Retail CBDC โดยมีรายละเอียดดังนี้

· กำหนดให้มีการคัดกรองเฉพาะผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมทดสอบเท่านั้น

· กำหนดให้มีการยืนยันตัวตนผู้เข้าร่วมทดสอบ (KYC) และการเติมเงินผ่านการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน SCB EASY รวมถึงกำหนดการแลกคืน CBDC เข้าบัญชี SCB ที่เชื่อมต่อไว้ตอนทำการสมัครเท่านั้น สร้างความมั่นใจด้านมาตรฐานความปลอดภัย โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการสมัครเปิดบัญชีธนาคาร

· แอปพลิเคชัน CBDC SCB สามารถดูธุรกรรมการเงินย้อนหลังได้

· มีฟีเจอร์โอน CBDC ให้กับผู้เข้าร่วมทดสอบด้วยกันผ่าน My QR รวมถึงสามารถบันทึก QR Code เพื่อสะดวกต่อการทำธุรกรรม

· กำหนดให้มีขั้นตอนและกระบวนการดูแลผู้เข้าร่วมทดสอบที่ได้มาตรฐานเดียวกับลูกค้าของทางธนาคาร และมีช่องทางการติดต่อโดยตรงของโครงการ

· ธนาคารมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้งาน CBDC ภายในธนาคารเพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการใช้จ่ายจริง เพื่อสนับสนุนโครงการของธปท. ให้บรรลุเป้าหมายการทดสอบ

สกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชนที่ออกโดยธนาคารกลาง (Retail CBDC) คือ เงินในรูปแบบธนบัตรที่ถูกพัฒนาให้กลายสภาพเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ทำให้การถือ Retail CBDC เทียบเท่ากับการถือธนบัตร ไม่มีความเสี่ยง นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินครั้งสำคัญที่จะเชื่อมโยง และเพิ่มโอกาสต่อยอดเพื่อรองรับนวัตกรรมทุกมิติ เช่น Open DLT Blockchain หรือ Programmable Payment ได้ในอนาคต ลดการแลกเปลี่ยนผ่านตัวกลาง ช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจของไทย เข้าถึงบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรวจสอบได้ และมีต้นทุนที่ถูกกว่าในปัจจุบัน

นโยบายการเงินโลกมีความแตกต่างกันมากขึ้น ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังมีอยู่ ส่งผลให้เงินบาทจะยังผันผวนสูงในระยะต่อไป SCB มองเงินบาทในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอ่อนค่าในกรอบ 34.35-35.35 แนะลูกค้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเงินบาทผันผวน

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) เดินหน้าสานต่อกลยุทธ์ “The New Wave of Wealth” เร่งเครื่องเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงของเมืองไทยด้วยบริการแบบครบวงจร ล่าสุด เปิดหลักสูตรสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “The 45 Academia” ภายใต้แนวคิด “Leader of Tomorrow” มุ่งปั้นผู้นำแห่งอนาคตที่มีพลังและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมในทุกมิติ ผ่านการปูพื้นฐานด้านการลงทุนและเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation) ให้เข้าใจถึงการบริหารความมั่งคั่งอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยโปรแกรมพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเข้มข้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากซีอีโอและนักธุรกิจแถวหน้าของเมืองไทยและต่างประเทศนั่งแท่นที่ปรึกษาหลักสูตรอย่างใกล้ชิด พร้อมบิสซิเนสทริปบินลัดฟ้าสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัมผัสประสบการณ์เรียนรู้จริงกับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงของ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) และโอกาสเข้าร่วมเวิร์คชอปกับ IMD (International Institute for Management Development) สถาบันพัฒนาการจัดการด้านธุรกิจระดับโลก โดยกิจกรรมครั้งนี้นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่น “Your Legacy. Our Promise.” ของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ อย่างแท้จริง ผ่านการรักษาคุณค่าและช่วยให้ลูกค้าคนสำคัญสามารถวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ

นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ เล็งเห็นว่าการส่งต่อความมั่งคั่งนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย โดยเรามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะพัฒนาหลักสูตร “The 45 Academia” สำหรับกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation) ภายใต้แนวคิด “Leader of Tomorrow” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างผู้นำแห่งอนาคตที่มีพลังและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมในทุกมิติ ผ่านการปูพื้นฐานด้านการลงทุนและเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation) ให้เข้าใจถึงการบริหารความมั่งคั่งอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยโปรแกรมพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเข้มข้นจากข้อมูลเชิงลึกโดยตรง (Firsthand Insight) ทั้งในเรื่องของเทรนด์ในอนาคต เพื่อเห็นโอกาสใหม่ๆ และความท้าทาย ตลอดจนมุมมองของผู้นำที่หลากหลาย ผ่านการแชร์ประสบการณ์อันทรงคุณค่าจากซีอีโอชั้นนำในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในอนาคต

(Future Thinking Skills) ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Family Succession) และการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation Development) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จึงได้ร่วมกับ IMD (International Institute for Management Development) สถาบันพัฒนาการจัดการด้านธุรกิจระดับโลก ที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดด้านการทำงานร่วมกับสถาบันชั้นนำระดับโลก ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารจูเลียส แบร์ พัฒนาหลักสูตรที่ตั้งใจออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมโปรแกรมของเราได้มีโอกาสเรียนรู้จริงกับเวิร์คชอป ณ แคมปัสของ IMD ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยความร่วมมือครั้งนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นขององค์กร “Your Legacy. Our Promise.” ที่ลูกค้าสามารถเชื่อมั่นและไว้วางใจได้อย่างแท้จริง”

 

ด้าน นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ คณบดีหลักสูตร The 45 Academia เปิดเผยว่า “การเป็นผู้นำในยุคนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมของผู้บริโภค หรือแม้แต่ climate change ทำให้ผู้นำต้องปรับตัว ตื่นตัวที่จะพัฒนาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เปรียบเสมือนน้ำที่ไม่เต็มแก้ว เพื่อนำพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน และส่งต่อความยั่งยืนนี้กลับคืนสู่สังคม และโลกต่อไป โดยจุดประสงค์หลักของการพัฒนาหลักสูตร “The 45 Academia” คือ การร่วมกันสร้างผู้นำแห่งอนาคตรุ่นใหม่ “Leader of Tomorrow” ที่ไม่เพียงแต่สร้างความมั่งคั่งเฉพาะบุคคล แต่เป็นการต่อยอดศักยภาพของกลุ่มทายาทธุรกิจคนรุ่นใหม่ (Next Generation) ผ่านการรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่สามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้แก่สังคมและคนหมู่มากอย่างแท้จริง โดยเราได้รับเกียรติจากซีอีโอและนักธุรกิจแถวหน้าของเมืองไทยและต่างประเทศ ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ครอบคลุมทุกด้านของ Leadership Skills อาทิ ความรู้ในการบริหารธุรกิจและเวลธ์แมเนจเม้นท์ กลยุทธ์และเทรนด์การลงทุน การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการพัฒนา Mindset ของตนเองอย่างเข้มข้น เพื่อช่วยให้กลุ่มทายาทคนรุ่นใหม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ต่อยอดในการขยายธุรกิจของตนเองและธุรกิจของครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG) เป็นสิ่งสำคัญ”

 

หลักสูตร “The 45 Academia” นำทีมโดย นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ คณบดีหลักสูตร The 45 Academia พร้อมด้วย ผู้อำนวยการหลักสูตร มร.เอเดรียน เมซนาวเออร์ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารฝ่ายการบริหารความมั่งคั่ง บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด และนางสาวไปรวรรณ ทังสุนันทน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ อะคาเดมี และทีมที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านอนาคตศาสตร์และสินทรัพย์ดิจิตัล กลุ่มบริษัทดีทีจีโอ (FutureTales Lab, DTGO Group) นายรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และนางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศอีกมากมายที่ร่วมแชร์ประสบการณ์ และแนวคิดในการสานต่อความมั่งคั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมกลุ่มทายาทคนรุ่นใหม่สู่ “Leader of Tomorrow”

X

Right Click

No right click