FTSE Russell (Financial Times Stock Exchange Russell) บริษัทอิสระที่จัดตั้งขึ้นโดย The Financial Times และ London Stock Exchange ในปี 1995 เพื่อทำดัชนีในระดับสากล (Independent Global Index Provider) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการจัดทำดัชนีให้ตลาดหลักทรัพย์หลายๆ แห่งทั่วโลก อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซ่ามาเลเซีย ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว เป็นต้น ได้ประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิก FTSE4Good Index ประจำปี 2021 ซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนีชั้นนำที่ประเมินศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)  ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก 

โดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ได้รับคัดเลือกเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันแล้ว (2561-2564) ในกลุ่ม Food Retailers & Wholesalers ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในทุกมิติจากคะแนนเต็ม 5.0 ไม่ว่าจะเป็น ด้านสิ่งแวดล้อมที่ 4.1 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 1.3) ด้านสังคม 4.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 2.0) และด้านธรรมาภิบาล 5.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 3.6) ทำให้ยังรักษาระดับคะแนนเฉลี่ยรวมไว้ได้ที่ 4.3 คะแนน ขณะเดียวกัน เมื่อลงลึกไปในแต่ละด้านปรากฏว่า ซีพี ออลล์ ได้คะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศไทยในเกือบทุกตัวชี้วัด ประกอบด้วย มิติสิ่งแวดล้อม ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 3.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 2.0 คะแนน) ด้านห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 2.8 คะแนน) ด้านมลภาวะและทรัพยากร 4.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 3.2 คะแนน) มิติสังคม ด้านความรับผิดชอบต่อลูกค้า 5.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 2.9 คะแนน) ด้านสิทธิมนุษยชนและชุมชน 4.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 3.1 คะแนน) ด้านห่วงโซ่อุปทานทางสังคม 4.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 2.9 คะแนน) มิติธรรมาภิบาล ด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น 5.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 4.5) และด้านการกำกับดูแลกิจการ 5.0 คะแนน (ค่าเฉลี่ย 4.4 คะแนน) 

นายธานินทร์ บูรณมานิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวว่า การได้รับเกียรติให้เข้าเป็นสมาชิก FTSE4Good Index ตั้งแต่ปี 2561 ไม่เพียงเป็นความภาคภูมิใจของทุกคนที่ซีพี ออลล์ แต่ยังถือเป็นเครื่องพิสูจน์ความมุ่งมั่นของบริษัทในการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับสังคม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ตามปณิธานองค์กร ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน ซึ่ง ซีพี ออลล์ให้คำมั่นจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง 

“ค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ การสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร เป็นสิ่งที่ซีพี ออลล์ ยึดมั่นเสมอมาในการดำเนินธุรกิจกว่า 33 ปี เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งการดูแลสิ่งแวดล้อม อยู่เคียงข้างสังคม และมีธรรมาภิบาล รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ตลอดจนปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้อย่างโรคระบาด จนทำให้วิถีชีวิตผู้คนเปลี่ยนแปลงไป เพื่อบรรลุตามพันธกิจที่วางไว้ ในการสร้างความผูกพันกับลูกค้าด้วยสินค้าและบริการที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม มุ่งสู่องค์กรคุณภาพและมีความยั่งยืน” นายธานินทร์ กล่าวเน้นย้ำ 

สำหรับการประเมิน FTSE4Good Index ในปีนี้ มีตัวชี้วัดทั้งสิ้น 156 ตัวชี้วัด ใน 10 หัวข้อหลัก ที่ครอบคลุมทั้งด้านนโยบาย การบริหารจัดการ การประเมินและจัดการความเสี่ยง และการรายงานผล โดยยึดข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณะจากรายงานของบริษัททั้งรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายงานประจำปี รวมทั้งเว็บไซต์ขององค์กร 

ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย เซเว่น โก กรีน  2021 เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) เพื่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ อย่างยั่งยืน พร้อมเชิญชวนคนไทย ลด ละ เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ เผยถึงนโยบาย 7 Go Green  2021 เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง ว่า ซีพี ออลล์ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้ชื่อโครงการ 7 GO Green ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อลด และ เลิก ใช้ถุงพลาสติกที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ 

พร้อมขับเคลื่อนเคมแปญ “ลดวันละถุง...คุณทำได้ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์เชิญชวนลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ปฏิเสธการใช้ถุงพลาสติก รวมทั้งรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ซึ่งได้รับการตอบรับและความร่วมมือจากลูกค้าทั่วประเทศเป็นอย่างดียิ่ง ทำให้แคมเปญ “ลดวันละถุง คุณทำได้ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกและเปลี่ยนเป็นยอดสมทบทุนรวมกว่า 211 ล้านบาท มอบให้กับ โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลในชุมชน และโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร 154 โรงพยาบาลทั่วประเทศ  

อีกทั้ง ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้ ซีพี ออลล์ มิอาจนิ่งนอนใจต่อการเปลี่ยนแปลงและรับผิดชอบต่อการดำเนินธุรกิจด้วยหัวใจที่เอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยมุ่งมั่นในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเรียนรู้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เพื่อช่วยกันลดโลกร้อนด้วยสองมือเรา  

สำหรับปี 2564 ซีพี ออลล์ จึงได้วางแนวทางในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย 7 GO Green Mission 2021 ประกอบด้วย

1. Green Buildingการออกแบบและบริหารจัดการร้านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมการปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ภายใต้กลยุทธ์ “ร้านเพื่อสิ่งแวดล้อม” อาทิ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพคอยล์เย็น สำหรับตู้แช่เย็นขนาดใหญ่, โครงการเครื่องปรับอากาศ ประเภท Inverter ภายในร้านฯ, โครงการใช้หลอดไฟ LED, โครงการสำรวจและติดตามสภาพอากาศภายในร้านฯ, โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์, โครงการปรับปรุงระบบทำความเย็นของตู้แสดงสินค้า ชนิดไร้บานประตูเป็นแบบรวมศูนย์, โครงการ Knockdown Store นำวัสดุเปลือกอาคารกลับมาใช้ใหม่ และ โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โดยในปี 2564 นี้ ซีพี ออลล์ ตั้งเป้า แผนการดำเนินงาน ปี 2564 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนได้  82,987,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 40,248 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 111,554 ต้น 

 

2. Green Store : โครงการด้านการจัดการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น มุ่งหวังในการลดปริมาณขยะพลาสติก ผ่านแนวคิด “ลด และ ทดแทน” โดยพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงทุกกระบวนการในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการหาวัสดุที่มาจากแหล่งทรัพยากรที่สามารถทดแทนได้ และต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถย่อยสลายได้ (Compostable)ได้แก่การจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยได้เริ่มใช้ฝายกดื่มไม่พึ่งหลอด ตั้งแต่ปี เมษายน 2563  ในร้าน All Café จำนวน 8,492 สาขาทั่วประเทศ และใช้ “แก้วรักษ์โลก” หรือ กระดาษที่สามารถย่อยสลายได้ตามตามธรรมชาติ สำหรับเครื่องดื่มร้อน – เย็น ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั่วประเทศ เริ่มใช้ตั้งแต่ปี ธันวาคม 2562  ปัจจุบันใช้แก้วรักษ์โลกในร้านสาขาพื้นที่เกาะ สถานศึกษา และ สำนักงาน รวมกว่า 874 สาขา โครงการการลดใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) โดยการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติทดแทน ได้แก่ ไม้คนกาแฟ ถุงกระดาษ และ กระดาษหุ้มหลอด การขับเคลื่อนโครงการ 7 Go Greenในพื้นที่เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์พื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  รณรงค์ให้ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ นำไปสู่การสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เกิดแนวคิดท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, โครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล โดยการนำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเสื้อ และ โครงการใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรณรงค์ในการลดใช้กระดาษ โดยในปี 2564  ซีพี ออลล์ ตั้งเป้ากำหนดการแผนการดำเนินงานในการลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวน 10,813 ตันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 80,921 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้น จำนวน 224,283 ต้น

 

3. Green Logistic : ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินงานด้านการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการจัดการพลังงานผ่านโครงการต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งและออกแบบศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ กลยุทธ์ “โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม” ทั้งนี้ ซีพี ออลล์ ได้นำหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินอาคาร สีเขียว (Leadership in Energy & Environmental Design: LEED) เป็นหลักเกณฑ์ที่่ใช้การพัฒนาและออกแบบศููนย์กระจายสินค้าทั่่วประเทศอีกด้วยปัจจุบันมีทั้งหมด 20 แห่งใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ และได้ติดตั้งแผง Solar Cell เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศ

โดยในปี 2564  ซีพี ออลล์ ตั้งเป้าเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนได้ 8,786,280 กิโลวัตต์ชั่วโมง(kWh), ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4,261 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 11,810 ต้น 

4. Green Living ซีพี ออลล์ ได้สานต่อโครงการ “ลดและทดแทน” ภายใต้แนวคิด “ปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม” โดยการ รณรงค์และเชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิดหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดยล่าสุดจัดให้มีโครงการ “ถังคัดแยกขยะ” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อย่างยั่งยืน

โดยในปี 2564 ซีพี ออลล์ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน เพื่อลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 128,426 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเปรียบเทียบการปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 347,648 ต้น

ซีพี ออลล์ ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ ผ่านมาตรการต่างๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานที่สอดคล้องกับแผนธุรกิจ และสร้างจิตสำนึกในการให้ความสำคัญของประเทศชาติภายใต้ปณิธาน “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน” นายยุทธศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย 

ปัญหาหลักอย่างหนึ่งของภาคเกษตรกรรมไทยในปัจจุบัน คือจำนวนผู้ที่สนใจเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมลดลง ขณะที่กระบวนการต่างๆ ยังต้องพึ่งพาการลงทุนลงแรงค่อนข้างมาก

เตรียมพร้อมสำหรับโอกาสการลงทุนครั้งใหม่กับ หุ้นกู้ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) ผู้บริหารออลล์ ออนไลน์ และเซเว่น อีเลฟเว่น และผู้ถือหุ้นใหญ่ในสยามแม็คโคร (MAKRO) เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ 4 รุ่น อันดับความน่าเชื่อถือ AA- จัดอันดับโดยทริสเรทติ้ง โดยรุ่นอายุ 4 ปี 9 เดือน 1 วัน อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นกู้เดิมของบริษัทฯ คาดว่าเสนอขายระหว่างวันที่ 21-22 ก.ย. และเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป คาดว่าเสนอขายระหว่างวันที่ 24-25 และ 28 ก.ย. ส่วนหุ้นกู้อีก 3 รุ่น เสนอขายแก่ผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบันคาดว่าเสนอขายระหว่างวันที่ 24-25 และ 28 ก.ย. ซึ่งประกอบด้วย รุ่นอายุ 2 ปี 5 เดือน 17 วัน อัตราดอกเบี้ย 1.90% ต่อปี รุ่นอายุ 9 ปี 7 เดือน 14 วัน อัตราดอกเบี้ย 3.40% ต่อปี และรุ่นอายุ 15 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.90% ต่อปี

ผู้ลงทุนที่สนใจหุ้นกู้ของ “ซีพี ออลล์” ผู้นำในธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ที่ตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภคทุกที่ ทุกเวลา ด้วยช่องทางขายและบริการแบบ O2O จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ ผ่านออลล์ ออนไลน์ และบริการเดลิเวอรี่ของ “เซเว่น อีเลฟเว่น” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ และ บล.เกียรตินาคินภัทร

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด หน่วยงานวิจัยอาหาร บริษัท ซีพีแรม จำกัด ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค พร้อมสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำผลงานทางวิชาการไปใช้ต่อยอดการประยุกต์ใช้บรรจุภัณฑ์อาหารในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทย ในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของภูมิภาคเอเชีย

โดยมี นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะ ผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ พร้อมกันนี้ยังมีทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติก กลุ่มวิจัยกระบวนการทางวัสดุและการผลิตอัตโนมัติ เอ็มเทค สวทช.ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสององค์กรร่วมเป็นสักขีพยาน โดยความร่วมมือดังกล่าวครอบคลุมในเรื่องการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในฐานะศูนย์วิจัยแห่งชาติที่มีทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ ในการนำองค์ความรู้ด้านโพลิเมอร์ขั้นสูงไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกับบริษัทเอกชน เพื่อร่วมผลักดันการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้จริงในอนาคต เพื่อท้ายสุดสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

ด้าน นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักและให้ความสำคัญต่อการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ผ่านยุทธศาสตร์หลักที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 ภายใต้โครงการ “7 Go Green”  ขอบเขตการดำเนินงานมุ่งเน้น 4 ด้านคือ Green Stores, Green Logistics, Green Packaging และ Green Living

“ความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกสำหรับใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งในนโยบายส่งเสริมการพัฒนากระบวนการผลิต สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากบรรจุภัณฑ์   ในการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดของเสียหลังการใช้งานบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่ Green Packaging  คำนึงถึงทุกกระบวนการในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายได้สำหรับอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน ที่สามารถทนต่อการอุ่นร้อนด้วยเครื่องไมโครเวฟได้ พร้อมเน้นความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปตามปณิธานองค์กรของซีพี ออลล์ คือ “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน” สร้างให้เกิดนวัตกรรมในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน   ควบคู่ไปกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง”  นายวิเศษย้ำ

โอกาสนี้ นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มีภารกิจหลักในการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมสนับสนุนการทำวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเสริมสร้างระบบนวัตกรรมของประเทศ ช่วยสนับสนุนเชื่อมโยงองค์กรเอกชนผู้เช่าพื้นที่ทำวิจัยกับหน่วยงานวิจัย และหน่วยงานให้บริการในประชาคมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อยกระดับเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาขององค์กรภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ

ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ทางอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยประสานความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และ บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด หน่วยงานวิจัยอาหาร บริษัท ซีพีแรม จำกัด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน อันเป็นการขับเคลื่อน BCG โมเดล รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดบนฐานการวิจัยและพัฒนาที่ยั่งยืน

X

Right Click

No right click