November 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

บูรณาการจัดการห้วงอวกาศ Actionable Intelligence Policy Platform (AIP)

November 01, 2019 3745

การบริหารจัดการน่านฟ้าของเมืองไทยในอดีตที่ผ่านมาปรากฏอุปสรรคและความท้าทายที่สำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งคือ การบูรณาการการทำงานร่วมกันและอย่างต่อเนื่อง

โดยสิ่งที่ปรากฏซ้ำแล้วซ้ำเล่าคือ พอเกิดปัญหาขึ้นแต่ละครั้งก็วิ่งวุ่นหาทางแก้ไข โดยหลังจากนั้นก็แยกย้าย โดยเรามักจะทำงานกันเป็นแบบคณะทำงาน โดยไม่ค่อยคำนึงถึงความต่อเนื่องกันเป็นระยะยาว เมื่อมองว่าปัญหาเริ่มเบาบาง ความสนใจก็จางหายไป รอวันปัญหาย้อนกลับมาใหม่หรือเกิดขึ้นใหม่ คือ ประเด็นหยิบยกของ ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) ซึ่งกล่าวไว้ในงานสัมมนายุทธศาสตร์ชาติเมื่อต้นปี พ.. 2562 ที่ผ่านมา

ดร.อานนท์ หยิบยกถึงปัญหาใหญ่ปลายปี พ.. 2561 เรื่อง PM2.5 หรือค่าคุณภาพอากาศ ที่เป็นเรื่องเป็นราวต่อเนื่องยาวใหญ่ หลายฝ่ายต้องออกมาระดมกำลังหาทางแก้ไข ซึ่งในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยทีเดียวที่ส่งผลกระทบจนลุกลามเป็นปัญหาอย่างที่เราต้องเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องกระบวนการเฝ้าระวังและการบริหารจัดการที่ต้องการความร่วมมือของหลายหน่วยงานให้เข้ามามีบทบาทหน้าที่ ตรวจสอบและแก้ไข ซึ่ง ดร.อานนท์ยังกล่าวถึงแนวทางการพัฒนา Platform การบริหารงานที่มีลักษณะแบบบูรณาการ และควรมีการนำมานวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ยกตัวอย่างบางหน่วยงานได้รับมอบหมายว่าหากมีวัตถุเข้ามาในประเทศไม่ว่าจากที่ไหนก็ตาม จะมีกฎหมายระหว่างประเทศกำกับดูแลอยู่ จริงๆ แล้วน่านฟ้าของประเทศไทยเรามีคนเฝ้าระวังอยู่เยอะ แต่เหมือนว่าในอดีตที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานดูแลเรื่องที่แตกต่างกันไป หน่วยงานหนึ่งทำเรื่องหนึ่งก็ไปกระทบกับหน่วยงานอื่น เพราะฉะนั้น ในวันนี้เราพยายามเอาบทเรียนในอดีตมาพิจารณาแก้ไขปัญหาว่าเราควรจะต้องทำอย่างไร

ดร.อานนท์ ยังกล่าวถึงกระบวนการต่างๆ ของมวลอากาศที่ล้วนแต่มีผลทำให้คุณภาพและเงื่อนไขของชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลง ฝนฟ้าที่ตกลงมาเอาอะไรลงมาบ้าง ระยะยาวการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นอย่างไร เรื่องของฝนเทียม และอื่นๆ รวมถึงเรื่อง Transportation การพัฒนาศูนย์การบินของไทยให้ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคแข่งขันกับสิงคโปร์ ถ้าดูให้ดีจะพบว่า เรื่องการจราจรทางอากาศของโลกกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย ต่อไปการจราจรทางอากาศจะหนาแน่นมากกว่านี้ ปัจจุบันที่เราไม่สามารถจัดการน่านฟ้าของเราได้เต็มที่เพราะว่าระบบการจัดการจราจรทางอากาศของเรายังเน้นในแค่ 2 มิติ เรายังบริหารระยะห่างทางดิ่งของเครื่องบินได้ไม่ดี ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศสเขาให้ระยะห่างทางดิ่งประมาณไม่ถึง 100 เมตร เพราะฉะนั้นจำนวนการบินในน่านฟ้าของเขาจึงมากกว่าเราอย่างมหาศาล วันนี้ทาง Gisda ก็มีส่วนเข้าไปทำงานโครงการบูรณาการร่วมกัน ระดมความคิดว่าทำอย่างไรให้เราสามารถบริหารจัดการน่านฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็ต้องคุยกับหลายๆ ภาคส่วน มีเรื่องต้องพิจารณามากมาย นอกจากนั้นน่านฟ้าปัจจุบันยังมีการใช้งานในรูปแบบเชิงสันทนาการ อย่างเช่น บั้งไฟ โคมลอย พลุ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง คุมได้บ้างไม่ได้บ้าง ทุกคนต่างก็ใช้น่านฟ้าเดียวกัน ห้วงอากาศเดียวกันทั้งนั้น

ปัจจุบันมีข้อแตกต่างจากที่ผ่านมา คือเรื่องของ Sensor ซึ่งมีวิวัฒนาการและทำงานได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ มีดาวเทียมที่ออกแบบมาเพื่อการตรวจวัดทางด้าน Atmosphere จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรอย่าง NASA หรือ DLR ของเยอรมัน และ JAXA ของญี่ปุ่น ก็มีการเก็บข้อมูลด้วย Sensor ต่างๆ เราจึงมีโอกาสที่จะนำความรู้ความเข้าใจ Sensor ต่างๆ มาใช้ในการจัดการน่านฟ้าของเราได้ดีมากขึ้น มีระบบที่เราสามารถที่จะทำ Experiment อะไรบางอย่างใน Atmosphere ได้ ในระดับประมาณตั้งแต่ 900 กิโลเมตรที่เป็นรอยต่อระหว่างอวกาศกับบรรยากาศ โดยข้อดีของ Sensor เหล่านี้คือเป็นไปเพื่อการวิจัยและส่วนใหญ่ฟรี แต่ก็มี Sensor อีกหลายตัวที่บูรณาการมาเพื่อภารกิจด้านความมั่นคง เรื่องการ Tracking วัตถุที่อยู่ในน่านฟ้าต่างๆ เรื่องการสื่อสาร เรื่องการเชื่อมโยง ซึ่งหากมองจากมุมมองด้านเทคโนโลยีจะเห็นว่ามีการพัฒนาไปเยอะ แต่ในด้าน Policy ที่จะนำมาปรับใช้นั้นยังต้องการความชัดเจน

ทั้งนี้ ดร.อานนท์ ได้อ้างอิงถึง นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อ 5-7 ปีที่แล้ว คือ BI หรือ Business Intelligence Policy เป็นเรื่องของการที่เริ่มเอาองค์ความรู้ที่เป็น Logic Big Data Analytic ต่างๆ มา Combine ระหว่าง Data Solution กับ Data Analysis เข้าด้วยกัน ระบบ Sensor ไม่ได้ให้แค่ Raw Data แต่ Interpret หรือตีความบางอย่างออกมาให้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็จะมีปัญหาตรงที่ Decision ที่เราใช้ Action ต่างๆ ยังต้องรอการสั่งการ หลังจากนั้นจึงมีแนวคิด Actionable Intelligence Policy เกิดขึ้น เป็นการรวม Data Base เข้าด้วยกันเป็น Singularity Platform ตัวมันเองสามารถสั่งการในเชิง Action ได้เลยด้วยซ้ำ ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ดูแลโครงการ AIP Platform ถือเป็นโอกาสดีที่โจทย์สำคัญๆ เกี่ยวกับด้านคุณภาพอากาศ ความยากจน หรือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก Platform ที่มีอยู่นี้ มีการวางแผนโครงการบริหารงานแบบ Co-Development เริ่มจากการ Design ว่า Stakeholders คือใคร Sensor ที่จะต้องนำมาใช้ พวก Data ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องมีที่ไหนบ้าง Analysis คืออะไร Decision นั้น Make โดยใครและอย่างไร แล้วเราจะสามารถเอาพวกระบบ Big Data หรือ Machine Learning เข้ามาทดแทนคนได้มากน้อยขนาดไหน เพื่อจะมุ่งไปยังเรื่องการสั่งการและนำไปสู่แผนพัฒนา โดยมี 2 พื้นที่ที่เริ่มมีการทาบทามให้ลงมือทำคือ พื้นที่ EEC และจังหวัดน่าน ซึ่งมีการทดลองใช้ ระบบจัดการข้อมูลใหม่ๆ และอาจจะงดบังคับใช้กฎหมายบางเรื่อง โดยเกณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้นี้ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถนำไปสู่นวัตกรรมในด้านบริหารจัดการได้

ดังนั้น ความท้าทายเวลานำนวัตกรรมดิจิทัลที่เป็นระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งฟังดูดีเพราะระบบไม่มีการเหนื่อย ทำงานได้ทุกวันไปเรื่อยๆ ข้อดีคือมีความต่อเนื่อง แต่การใช้ได้จริงนั้นมีความแม่นยำเพียงพอมั้ย นี่คือสิ่งสำคัญที่หน่วยงานของเราต้องกลับมาดูให้ได้ว่า Sensor ที่เรามีอยู่ปัจจุบัน มีกลไกในการนำเอา Data ทั้งหลายมา Integrate แล้ว Classified เราจึงต้องการนักวิจัยที่มีความชำนาญในแต่ละเรื่องเข้ามาในระบบเพื่อการันตีว่าระบบนั้นทำแล้วจะได้ผลที่ออกมาดี เป็นเรื่องการสื่อสารระหว่างกลุ่มวิทยาศาสตร์และกลุ่มที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ที่จะต้องนำเอาไปต่อยอดให้กลายเป็นสิ่งที่บริหารจัดการได้จริง


เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา

X

Right Click

No right click