December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

 
 
สื่อทุกวันนีั ไม่เพียงยืนหยัดบนข้อเท็จจริงเท่านั้น แต่ต้องใส่มุมมองด้านความคิดสร้างสรรค์ลงไปตลอดเวลา ด้านหนึ่ง-เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวผลงาน และให้สอดคล้องกับแพลทฟอร์มทีีอัลกอริธึมมีไดนามิคเอามากๆ  และอีกด้าน-เพื่อสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ ที่ต้องการการสื่อสารการตลาดที่โดนใจ
 
ความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นพื้นฐานของครีเอเตอร์ทุกคนในวันนี้ ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จ เช่นเดียวกันกับที่ The People เราทุกคน ให้น้ำหนักกับเรื่องนี้ เพื่อตอบโจทย์ ทัังงานสำหรับผู้อ่านผู้ชม และสำหรับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเรา
 
ปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจผิดอยู่มากว่า Creativity is an inborn talent เป็นความสามารถพิเศษของคนบางจำพวก ทั้งที่ ความคิดสร้างสรรค์คือทักษะที่ทุกคนสามารถพัฒนาบ่มเพาะ ผ่านการฝึกฝนและเรียนรู้ได้ 
 
สำหรับผู้ที่สนใจประเด็นนี้  บ่าย 2 ของวันศุกร์ที่ 19 กรกฏาคม  2567 ผมมีบรรยายในเรื่องความสำคัญของ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตสื่องานออนไลน์ในวันนี้ 
โดยสามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งมาร่วมฟังกันได้ ตาม QR Code ใน AW ผมหวังว่าจะได้เจอเพื่อนๆ และผู้ประกอบการที่สนใจประเด็นนี้ เพื่อเราจะได้มาจุดประกายความคิดสร้างสรรค์กัน

MI GROUP นำทัพโดยนายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนางสาววรินทร์ ทินประภา ประธานเจ้าหน้าที่เพื่อการเติบโตองค์กร บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ กรุ๊ป จำกัด ตอกย้ำความสำคัญของ Data-Driven Insights และ Creativity ในการทำการตลาดยุค Marketing 6.0 ด้วย MI LEARNLAB ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสื่อและพฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค ภายใต้ MI GROUP

นางสาววรินทร์ ทินประภา ประธานเจ้าหน้าที่เพื่อการเติบโตองค์กร จาก MI GROUP กล่าวว่า “โจทย์การวางแผนด้านกลยุทธ์การสื่อสาร การตลาด และการหาไอเดียต่างๆ ไม่เคยหยุดนิ่ง และนักการตลาดต้องพบเจอกับความ ท้าทายในการต้องวางแผนแคมเปญล่วงหน้าอยู่เสมอ แต่สิ่งหนึ่งที่คงความสำคัญที่สุดไม่เคยเปลี่ยนคือ Consumer Insight ซึ่งทาง MI GROUP มีทีม MI LEARNLAB ในการทำวิเคราะห์ Data วิจัยเชิงลึกและทันสถานการณ์ ทำให้ล้วงลึก Consumer Insight คาดการณ์ Media Trend และมองภาพ Media Landscape ได้อย่างไม่พลาดเป้า ทำให้ทีม Communication Strategists สามารถนำ Data-Driven Insight มาปรับใช้กับ Creativity พัฒนากลยุทธแคมเปญและ ต่อยอดให้กับแบรนด์ต่างๆที่ให้ความไว้วางใจเราเป็น Trusted Advisor“

จึงส่งผลให้ MI GROUP ยกทีมตบเท้าเข้ารับรางวัลจากเวที MAAT Media Awards 2024 ประกาศความสำเร็จหลังคว้ารางวัลจากสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย จากการส่งเข้าประกวด 26 ผลงาน โดยมีผลงาน ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย (Finalists) ถึง 12 ผลงาน และสามารถคว้ารางวัล MAAT Awards ในสาขาต่างๆ ได้ถึง 4 ผลงาน ได้แก่

- Twelve Plus Aura Brighten The Moments เข้าชิง Effectiveness Awards และคว้า Silver Award

- Oh My DOS! เข้าชิง Best Use of Social Awards และคว้า Silver Award

- Rabbit Chemical Fertilizer on Tiktok เข้าชิง Best Use of Social Awards และคว้า Bronze Award

- Sprinkle Redesign to Reduce เข้าชิง Best Media Strategy Awards และคว้า Bronze Award

 

นางสาววรินทร์ กล่าวถึงผลงานบางส่วนที่ชนะรางวัล ว่า

Twelve Plus เป็นผู้ท้าชิงตลาดโรลออนสำหรับผู้หญิงที่ตามหลัง 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ ซึ่งครองส่วนแบ่งการใช้เงินในตลาดถึง 90% ในขณะที่ Twelve Plus ใช้งบประมาณเพียงแค่ 5% ของตลาด

ทาง MI GROUP จึงทำการสำรวจพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายและวิเคราะห์หาโอกาสเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด และค้นพบว่า ซีรีส์วาย หรือ Boys’ Love Series เป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดและมีหลายสินค้า ได้นำไปปรับใช้ในแผนการตลาดจนประสบความสำเร็จ

ซึ่งทีมงานได้วิจัยและศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความนิยมเชิงลึกเพิ่มเติม และได้ค้นพบว่า Girls’ Love Series หรือ ซีรีส์ Yuri กำลังเริ่มเป็นกระแส จากยอด Search หรือ Trend บน X ดังนั้น Twelve Plus จึงร่วมมือกับ Freen และ Becky จากซีรีส์ "ทฤษฎีสีชมพู" ซึ่งเป็นซีรีส์ Yuri เรื่องแรกในประเทศไทย ร่วมกันจัดทำกิจกรรมทางการตลาด เช่น จัดทำมิวสิควิดีโอ "Marry Me" และจัดงานพบปะแฟน ๆ

ผลลัพธ์จากแคมเปญนี้ช่วยทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของ Twelve Plus สามารถแซงหน้าขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในตลาดโรลออนสำหรับผู้หญิง และมิวสิควิดีโอ "Marry Me" ก็ได้รับความนิยมสูง มีการเข้าชมมากกว่า 2 ล้านครั้งและยอด like สูงถึง 120,000 ครั้งในวันแรกของการเปิดตัว

สำหรับ DOS แบรนด์ผลิตภัณฑ์ถังเก็บน้ำที่เป็นผู้นำนวัตกรรมและผู้นำตลาด แบรนด์ต้องการให้ถังน้ำ DOS ถูกจดจำและเป็นแบรนด์แรกที่นึกถึงโดย End User หรือเจ้าของบ้าน และมุ่งให้เป็นหนึ่งในปัจจัยของการเลือกซื้อบ้านจัดสรร เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายว่าการที่น้ำสะอาดจะส่งถึงชีวิตที่ดี ภายใต้ Life in Harmony

ด้วยความร่วมมือกับ DOS ทาง MI GROUP วางกลยุทธเล็งกลุ่ม Modern Family ที่ใส่ใจในความสะอาดของน้ำ ที่ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มครอบครัวไปจนถึง New Gen ซึ่งมีพฤติกรรมที่แตกต่างทั้งการซื้อสินค้าและการเสพสื่อ ทีมได้ทำวิจัยทางด้านมีเดียเพื่อหาจุดร่วมของกลุ่มเป้าหมาย และมีการใช้ครอบครัวของบีม กวี ซึ่งมีฐานแฟนคลับใน Social Media ที่หลากหลาย และใช้มิวสิควิดีโอเพื่อนำไปสู่ Brand Love จากนั้นจึงใช้ Tiktok เพื่อจัด Dance Challenge ในรูปแบบที่คน New Gen เปิดรับ รวมไปถึงการ Collaborate กับ Influencers หลากหลายเพื่อที่จะสร้าง Brand Love ในทุก Platforms

Brand ได้การตอบรับเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น MV ที่ได้รับ View ถึง 1M Views ใน 7 วันแรก รวมไปถึง Positive Comments ที่สื่อถึง Brand และ MV ในทุก Social Media นอกจากนั้นยังได้เลื่อนอันดับ Thailand Social Awards จากที่ 24 มาเป็นอันดับที่ 5 ในกลุ่ม Category ที่เป็นกลุ่มอุปกรณ์สร้างบ้าน จากที่มีการ Consistent Posting Content ในทุก platform ส่งผลให้เกิด Positive Brand Image และคนกลุ่มกว้างได้รู้จักแบรนด์ DOS มากยิ่งขึ้น

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ MI GROUP กล่าวว่า “ตนและทีมงานรู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากเวทีนี้เป็นครั้งที่ 4 แล้ว ซึ่งเป็นกำลังใจและเป็นสิ่งตอกย้ำถึงหัวใจหลักในการทำงานที่ทีม MI GROUP ยึดถือเป็น DNA ซึ่งก็คือการมุ่งหวังประสิทธิผลสูงสุดของการวางแผนสื่อและช่องทางการสื่อสารและยังสามารถคิดนอกกรอบได้ตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที นั่นคือ หลักการ 3 A อันได้แก่ Aware การรู้ลึก รู้จริงถึงแก่นของสิ่งที่ทำ เช่นการมีทีม MI LEARNLAB ที่คอยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล Adapt คือ การทำงานของทีมงานทุกแผนกจะมีความเป็น Partnership มีการปรับตัวรวดเร็วตลอดเวลา และ Agility ความปราดเปรียวในการทำงาน จับกระแสเทรนด์ที่เปลียนแปลงอย่างรวดเร็วแล้วนำมาพัฒนาต่อยอด สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมที่เรียนรู้ผ่านครู ตำรากับห้องเรียนถูกสร้างขึ้นมาเมื่อกว่า 500 ปีและยังคงเป็นรูปแบบหลักเพราะเป้าหมายคือการเพิ่มคุณวุฒิให้กับผู้เรียนด้วยการถ่ายทอดข้อมูลต่อๆ ไปจากผู้สอนสู่ผู้เรียนจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนเราไปแล้วว่า การที่จะสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาด้านใด

ก็เป็นเพราะบุคคลนั้นได้เรียนผ่านวิชาแกน วิชาบังคับ หรือวิชาเลือกอะไรมาบ้างตามหลักสูตรที่กำหนดตายตัวไว้ล่วงหน้าแล้วสถาบันใดไม่สามารถทำให้ผู้ควบคุมคุณภาพการศึกษารับรองโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตรอย่างที่ว่าได้ก็จะถือว่า ไม่ได้มาตรฐาน พิจารณาโดยผิวเผิน ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จที่ลงตัวทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรที่แม้จะได้การรับรองจากหน่วยงานของรัฐแล้ว ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้บัณฑิตเสมอว่าบัณฑิตที่ผ่านหลักสูตรต่างๆ จำนวนมากไม่มีความรู้ความสามารถและทักษะตามที่ผู้ทรงศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาบัตรนั้นๆ พึงจะมี ปริญญาจึงเป็นเพียงจุด เริ่มต้นที่ผู้ได้รับปริญญาต้องใช้เวลาอีก ชั่วชีวิตพิสูจน์ว่าตนเป็นผู้มีการศึกษา แน่แล้ว ฝรั่งจึงเรียกวันรับปริญญาว่า Commencement Day หรือวันแห่งการเริ่มต้น

เสียงเรียกร้องของสังคมมักแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ ฟากฝั่งตลาดแรงงาน ก็ต้องการบุคลากรที่พร้อมใช้งานได้อย่างมืออาชีพ สามารถทำงานที่ไม่เคยเจอมาก่อน มีความภักดีต่อองค์กร และมีความใส่ใจผูกพันต่อผลประโยชน์ของกิจการ และ มิติในฟากอุปสงค์ของผู้เรียนก็คาดหวังว่าจะมีระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จริง หลากหลายรูปแบบ เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน (Any Time Anywhere Education) ตลอดจนคาดหวังว่าผลสัมฤทธิ์จากการเข้าศึกษาจะทำให้สามารถไปทำงานที่ตนชอบได้หลากหลาย (Protean Career) อย่างมีสมดุลระหว่างความสำเร็จในอาชีพและความสุขในชีวิต (Balance of Work Life) ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วแห่งศตวรรษที่ 21

เมื่อนำสภาพการจัดการศึกษามาทาบทับกับเสียงเรียกร้อง ก็จะเกิดปรากฏการณ์อันท้าทายกับทุกสถาบัน เพราะการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรภายใต้บริบททางสังคมเมื่อ 500 ปีที่แล้ว ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของศตวรรษนี้ได้อีกแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ที่ต้องรองรับผลกระทบของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Disruptive Tech-nology) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้ สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อยกำลังวิ่งตามกระแสของนวัตกรรมต่างๆ ให้ทัน ด้วยการทำหลักสูตรของตัวเองให้ทันสมัย สร้างจุดขายของหลักสูตรด้วยการเสนอวิชาใหม่ๆ ชื่อแปลกๆ บ้างก็นำเอาเทคโนโลยี Multimedia และ Social Media มาใช้จัดการการศึกษา แต่คำถามคือ การวิ่งตามเทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องจริงหรือ? ประการแรก การวิ่งตามกระแสของเทคโนโลยีอุบัติใหม่เป็นกลยุทธ์ที่แพง ในขณะที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากอยู่ในสถานะทางการเงินที่จะเพิ่มต้นทุนการผลิตบัณฑิตไม่ได้อีกแล้ว เพราะต้นทุนจมสูงแต่ประชากรที่กำลังเดินเข้าสู่รั้วสถาบันกลับมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ประการที่สอง การสอนให้นักศึกษามีความคล่องแคล่วในเทคโนโลยีล่าสุดของวันนี้เป็นความน่าตื่นเต้นเพียงระยะสั้นเท่านั้นหรือไม่ เพราะไม่ทันที่นักศึกษาคนนั้นๆ จะสำเร็จการศึกษา  เทคโนโลยีที่เคยคุ้นเคยและคล่องแคล่ว ก็อาจพลันล้าสมัยไปเสียแล้ว

ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงควรทำหน้าที่ในระดับการสร้างรากฐานอันจำเป็นที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้เองในอนาคต บวกกับ การพัฒนาทักษะในฐานะผู้ใช้งานที่จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีได้เสมอ ตัวอย่างเล็กๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยตั้งหลักคิดก็ได้คือ ทำไมเราจึงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่ต้องกดหลายปุ่มมาสู่การใช้จอสัมผัสทั้ง Android และ iOS ได้โดยไม่ยากลำบาก นั่นแสดงว่าที่ผ่านมาเราต้องสะสมทักษะอะไรบางอย่างมาพอสมควรจนสามารถปรับตัวได้ หรือในอีกด้านหนึ่ง ผู้สร้างเทคโนโลยีก็ต้องได้เรียนรู้ทักษะอะไรบางอย่างในโลกเก่า จนสามารถออกแบบเทคโนโลยีใหม่ที่สอดคล้องกับการใช้งาน แก้ปัญหา หรือเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้สมัยใหม่ได้

คำถามคือ จะจัดการศึกษาอย่างไรเพื่อพัฒนารากฐานอันมั่นคงและปีกอันแกร่งกล้า รากฐานที่จะต่อยอดความรู้ไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสังคม และปีกที่สามารถนำพาตนเองและโลกโบยบินไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้อย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ บทความนี้กำลังจะอธิบายว่า การศึกษาที่จะสามารถลงลึกได้ถึงการสร้าง Roots and Wings ขนาดนั้นเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้ มีนักการศึกษาได้สร้างกลยุทธ์การสอน (Teaching Strategy) ไว้มากมายนอกเหนือจากการบรรยาย (Lecture) บ้างเกิดในห้องเรียน เช่น การระดมสมอง (Brainstorming) การถกแถลง (Discussion) กรณีศึกษา (Case Study) การเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา (Problem-Based) สถานการณ์จำลอง (Simulation) เกม (Game) การสมมุติบทบาท (Role Play) การทำแบบประเมินเพื่อเข้าใจตนเอง (Self-Awareness Test) เป็นต้น บ้างก็เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ  เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สหกิจศึกษา (Cooperative Education) การฝึกงาน (Internship/ Externship) การเรียนผ่านการทำโครงงาน (Project-Based) การเรียนรู้จากการลงมือทำ (Action Learning) การทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Social Work Activity) จนพัฒนามาเป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างกิจกรรมในกับนอกห้องเรียน เช่น Flipped Classroom ไปถึงการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ เป็นต้น ในช่วงกว่าสอง
ทศวรรษที่ผ่านมาเริ่มกล่าวถึงการนำเรื่องสติ (Mindfulness) มาผสมผสานกับการพัฒนาปัญญา เช่น จิตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญาของผู้เรียน (Constructionism) เป็นต้น

กลยุทธ์การเรียนการสอนดังกล่าว มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป เช่นการระดมสมองเป็นกลยุทธ์พัฒนาทักษะการรู้คิดจากหลายมุมมองและการยอมรับความแตกต่างทางความคิดของคนที่เห็นไม่ตรงกับตนเอง แต่ก็มีข้อจำกัดที่ว่าหากโจทย์ปัญหามีคำตอบที่จำกัดโดยตัวมันเอง ก็ไม่เหมาะที่จะใช้วิธีดังกล่าว การบรรยายมีประสิทธิผลมากในการนำเสนอข้อมูลและทฤษฎีใหม่ แต่ก็ไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าผู้เรียนจะสามารถนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ ส่วนการเรียนรู้จากการลงมือแก้ปัญหาเป็นทีมก็ทำให้เกิดทักษะการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ อีกทั้งพัฒนาภาวะผู้นำในตัวผู้เรียนได้ แต่โอกาสที่ผู้เรียนอาจจะไม่ได้พบเจอปัญหาเดิมอีกครั้งในชีวิต จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการถอดความรู้ (Reflection) ที่มีประสิทธิผลซึ่งต้องการครูที่ได้รับการอบรมมาเป็นพิเศษเพื่อมาอำนวยการสอนในลักษณะนี้ หรือการจัดหลักสูตรที่มีสหกิจศึกษาตามนโยบายของรัฐ แม้จะเป็นความพยายามตอบสนองข้อเรียกร้องของนายจ้างโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต แต่ส่วนมากล้มเหลว เพราะไม่ได้เตรียมความพร้อมในด้านการปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ การบ่มเพาะทัศนคติแห่งวิชาชีพของผู้เรียนก่อนเข้าสู่ช่วงเวลาสหกิจศึกษา หลายหลักสูตรสอนด้วยการบรรยาย (Lecture) เกือบตลอดเวลาแล้วก็ส่งผ่านนักศึกษาเข้าสู่สหกิจศึกษาเลย โดยไปฝากความหวังไว้ว่าสหกิจศึกษาจะทำให้บัณฑิตครบเครื่องไปเอง เป็นต้น

ดังนั้น การจัดการศึกษาที่ดีจึงควรมีการออกแบบกลยุทธ์การสอนแบบ ผสมผสาน โดยยึดเอาจุดเด่น คุณลักษณะ คุณสมบัติ ความรู้และทักษะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเป็นที่ตั้ง

เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Platform) คืออะไร
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเอาจุดเด่นของกลยุทธ์การสอนทั้งหมดดังกล่าว มาจัดกระบวนการเรียนรู้เสียใหม่ เพื่อทำให้แน่ใจว่าการจัดการศึกษาจะสามารถลงลึกได้ถึงการสร้างรากฐานอันมั่นคงและปีกอันแกร่งกล้าในตัวผู้เรียน โดยเรียกการศึกษาแบบนี้ว่า เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Platform) แทนการเรียกว่าหลักสูตร (Program หรือ Curriculum)

คำว่า Platform หมายถึง การจัดการระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นพอที่จะรองรับกลยุทธ์การจัดการการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยที่ไม่ได้ตั้งหลักว่านักศึกษาต้องผ่านการเรียนวิชาอะไรบ้างจึงจะครบหลักสูตร แต่ตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนควรมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Skills) และความรู้กับทักษะเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกลยุทธ์การสอนแบบใด ถึงจุดนี้ หลายคนโดยเฉพาะนักการศึกษาอาจตั้งคำถามว่า ทุกหลักสูตรก็มีการตั้งเป้าหมายเพื่อศตวรรษที่ 21 กันทั้งสิ้น แล้วเวทีเพื่อการเรียนรู้ที่ว่านี้มีอะไรที่แตกต่าง? ตอบอย่างสั้นที่สุดคือ Platform เป็นการประมวลกลยุทธ์การสอนที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความสามารถส่วนตัวของผู้สอนแบบในระบบหลักสูตร แต่เป็นการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับไปสู่กลยุทธ์การสอนใหม่ใดๆ ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่มากขึ้นตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในตัวผู้เรียน ส่วนคำตอบอย่างละเอียด เป็นดังที่จะได้กล่าวต่อไป

ตัวอย่างเวทีเพื่อการเรียนรู้
ประสบการณ์อันยาวนานที่ใช้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นพบว่าปัจจัยความสำเร็จประการหนึ่งของการใช้กลยุทธ์เหล่านั้นอยู่ที่ผู้เรียนต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Learning Capability) ไม่ใช่รอการป้อนความรู้จากผู้สอนแบบที่ตนเองอาจคุ้นเคยมาก่อน (โปรดดูภาพโครงสร้าง Learning Platform)

ดังนั้น ขั้นตอนแรกของเวทีเพื่อการเรียนรู้ คณะฯ จึงทุ่มไปที่การใช้กลยุทธ์การสอนที่จะทำให้ผู้เรียนกระหายใคร่รู้อีกทั้งยังถูกฝึกให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา คณะฯ เลือกใช้การทำ Flipped Classroom กล่าวคือกิจกรรมการเรียนความรู้พื้นฐานถูกนำไปไว้นอกห้องเรียนด้วยการจัดทำบทเรียนความรู้พื้นฐานให้มีลักษณะที่นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตนเองนอกห้องเรียน จากสื่อการสอนที่จัดเตรียมไว้ให้และที่ต้องค้นคว้าตามความสงสัยใคร่รู้ของผู้เรียนเอง โดยอาจารย์มีหน้าที่ติดตามว่าผู้เรียนมีวินัยในการเรียนหรือไม่ มีปัญหาในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้อะไร เรียนได้เร็วหรือช้ากว่ากลุ่มอย่างไร หากมีใครที่เรียนช้าหรือมีปัญหาอาจารย์จะคอยจัดให้เกิดพื้นที่สำหรับเพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการสอนผู้อื่น นอกจากนี้ ผู้เรียนยังจะได้รู้จักการมีน้ำใจช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของส่วนที่สองของเวทีการเรียนรู้ในขั้นแรกนี้ กล่าวคือ การสร้างคุณลักษณะ (Character Building) ซึ่งคือสิ่งที่ถูกนำมาไว้ในห้องเรียนแทนการฟังบรรยายความรู้พื้นฐานเช่นที่เกิดขึ้นในระบบหลักสูตรทั่วไป คุณลักษณะที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาในขั้นนี้ ได้แก่ การคิดดีพูดดีมีวินัย การค้นพบเป้าหมายชีวิตและอาชีพในฝันของตนเอง การรู้จักแข่งขันกับตนเอง การทำตนให้ผู้อื่นรัก และการรักผู้อื่นให้เป็น นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาทักษะที่จะแสดงคุณลักษณะของตนเองอย่างสร้างสรรค์ เช่น ทักษะการสื่อสารอย่างมืออาชีพ ความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี ภาวะผู้นำ เป็นต้น กลยุทธ์การสอนพัฒนาคุณลักษณะ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแสดงบทบาท การจำลองสถานการณ์ การฝึกใช้เทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการ การนำเสนอและถกแถลง ฯลฯ บทบาทของอาจารย์ในเวทีส่วนนี้คือการเป็นครูฝึก (Coaching) การประเมินผลสำหรับด่านแรกของเวทีเพื่อการเรียนรู้ขั้นนี้ ได้แก่ การสอบวัดความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการวัดสมรรถภาพทักษะต่างๆ ข้างต้น ส่วนคุณลักษณะนั้นไม่เพียงแต่จะมีการประเมินผลจากการสะท้อนบทเรียน (Reflection) แล้ว ยังมีการติดตามผลทาง Line การทำ Focus Group และการสัมภาษณ์รายบุคคลหลังจากที่ผู้เรียนได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจนผ่านการสอบวัดความรู้พื้นฐาน พร้อมกับได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะอันมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว  เขาก็พร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สองของเวทีเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ การพัฒนาความกว้างของฐานความรู้จากสหสาขาวิชา (Breadth of Interdisciplinary) ตลอดจนการเรียนรู้เชิงลึกในวิชาชีพของตน (Depth of Core Discipline) ในขั้นนี้ บทบาทของอาจารย์ส่วนใหญ่จะใช้กลยุทธ์การสอน ด้วยการบรรยาย การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้าแบบอิสระ และการเรียนแบบ Problem-Based เป็นต้น

ในขั้นตอนที่สาม ผู้เรียนก็พร้อมที่จะเรียนรู้แบบ Action Learning ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านโครงการซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาจริงที่สามารถทำสำเร็จได้ภายใน 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน จากประสบการณ์ของคณะฯ สามารถแบ่งโครงการ (Projects) ที่ผู้เรียนต้องผ่านการฝึกฝนออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

• โครงการเพื่อการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม (Team Effectiveness Project) โครงการประเภทนี้จะมีความท้าทายสูง ผู้ร่วมทีมจะมีปัญหาความขัดแย้ง (Conflict) เพราะความยากและแรงกดดันของเวลา แต่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เห็นว่า ความขัดแย้งเป็นบ่อเกิดแห่งการพัฒนา ที่ใดไม่มีความขัดแย้งสิ่งต่างๆ มักจะกลายเป็นวงจรประจำ (Routine) จนยากจะยกระดับได้ ผู้เรียนต้องพยายามทำงานให้ลุล่วงตามกรอบเวลา ก้าวข้ามความขัดแย้งเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมของทีม

• โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ (Analytical Skill Project) เป็นโครงการที่ผู้เรียนถูกกำหนดให้ใช้กรอบแนวคิดเหมือนกันทั้งหมดทุกกลุ่มเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์กร เช่น โครงการประยุกต์ใช้ QCC เพื่อพัฒนาคุณภาพการดำเนินการในจุดต่างๆ ขององค์กรจริง เป็นต้น โครงการประเภทนี้มุ่งเป้าหมายที่การพัฒนาทักษะการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ

• โครงการเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation Project) โครงการประเภทนี้อาศัยจุดแข็งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เป็นจำนวนมาก ผู้เรียนจะต้องนำเทคโนโลยีมาพัฒนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในรูปของแผนธุรกิจที่ตอบโจทย์ทั้งมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ เป็นมิตรต่อสิ่ง-แวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม (Triple Bottom Line) เรียกได้ว่าตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อสังคมไทย 5.0 กล่าวคือเป็นสังคมที่สามารถจัดหาสินค้าและบริการให้กับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่สมเหตุผลภายในเวลาที่เหมาะสม (Provide goods and services to the people in need at the appropriate amount within a reasonable time.)

• โครงการเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Project) ภายใต้โครงการประเภทนี้ ผู้เรียนต้องประกอบธุรกิจจริงและบรรลุเป้าหมายทางการตลาดและการเงินภายในเวลาที่กำหนด โครงการนี้ทำให้ผู้เรียนเห็นกระบวนการพัฒนาธุรกิจจากจุดเริ่มต้นการคิดจนถึงการทำกำไร/ขาดทุนอย่างครบวงจร

บทบาทของอาจารย์ผู้สอนในขั้นที่ 3 ของเวทีเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ เป็นผู้อำนวยการส่งเสริมการเรียนรู้ (Facilitator) ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดขอบเขตของโครงการร่วมกับผู้บริหารองค์กรเจ้าภาพที่เป็นผู้มอบโจทย์สำหรับทำโครงการ กำหนดตัวบุคลากรขององค์กรเจ้าภาพที่จะร่วมกระบวนเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาพร้อมกับทีมนักศึกษา จัดหาที่ปรึกษาเพิ่มเติมในกรณีที่โครงการเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อน เป็นต้น นอกจากนี้ อาจารย์ยังต้องเป็นที่ปรึกษาโครงการ (Project Advisor) ให้กับผู้เรียนตลอดโครงการ ซึ่งต้องทำหน้าที่ตั้งแต่การร่วมกับผู้เรียนในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ กรอบทฤษฎีที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของโครงการ ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการเรียนรู้เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนการแก้ปัญหาสำเร็จหรือไม่เป็นปัจจัยรอง เพราะแม้อาจแก้ปัญหาในกรอบเวลาไม่สำเร็จก็มิได้หมายความว่าการเรียนรู้ล้มเหลว ดังนั้นการวัดผลของขั้นนี้ ได้แก่การถอดบทเรียนผ่านกระบวนการสะท้อนความคิด (Reflection) 4 ด้าน ดังนี้

• การสะท้อนบทเรียนด้านทฤษฎี (Reflection on Theory vs. Practice) ได้แก่ การถอดบทเรียนว่ากรอบแนวคิด ทฤษฎีที่วางแผนไว้ก่อนลงมือทำสามารถใช้ได้ในการทำงานจริงๆ หรือไม่ เพราะเหตุใด บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการนำทฤษฎีเชิงวิชาการหนึ่งๆ ไปใช้คืออะไร เหตุใดโลกของทฤษฎีกับโลกของความเป็นจริงจึงอาจต่างกัน

• การสะท้อนบทเรียนด้านการแก้ปัญหา (Reflection on Problem Solving) ได้แก่ การถอดบทเรียนว่าผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด การตั้งโจทย์/ คำถามมีผลต่อการแสวงหาคำตอบอย่างไร

• การสะท้อนบทเรียนด้านการทำงานเป็นทีม (Reflection on Team Process) ได้แก่ การถอดบทเรียนเกี่ยวกับที่มาของประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีม (Team Effectiveness) การสะท้อนบทเรียนด้านนี้อาจไม่ต้องรอให้จบสิ้นโครงการ แต่สามารถทำได้ทันทีเมื่อทีมประสบปัญหาความขัดแย้ง เพื่อการเรียนรู้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การลดความขัดแย้ง ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งเพื่อการพัฒนา เป็นต้น

• การสะท้อนบทเรียนด้านกระบวนการเรียนรู้ (Reflection on Learning Process) ได้แก่ การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ (Learning about Learning) ได้แก่การสะท้อนความคิดเห็นจากคำถามที่ว่า หากต้องทำโครงการนี้ใหม่อีกครั้ง มีสิ่งใดจะยังคงทำเหมือนเดิม มีสิ่งใดจะทำ
แตกต่าง เพราะเหตุใด 

เมื่อผู้เรียนผ่านเวทีเพื่อการเรียนรู้ทั้งสามขั้นตอนมาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายได้แก่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานจริง ได้แก่ การทำสหกิจศึกษา หรือแม้แต่การเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง (Startup) คณาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองอีกครั้งมาเป็นผู้นิเทศงาน และผู้ให้คำปรึกษาหารือ (Counselling) การวัดผลมุ่งที่ความพร้อมในการประกอบวิชาชีพอย่างมืออาชีพ (Professionalism) และความสมดุลที่จะประสบความสำเร็จในการงานและชีวิตส่วนตัว (Work Life Balance)

ปัจฉิมบทสู่การนำแนวคิดเวทีเพื่อการเรียนรู้ไปใช้
สถาบันการศึกษาใดที่เห็นประโยชน์ของการสร้าง Learning Platform ดังที่ยกตัวอย่างของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาข้างต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องลอกเลียนแบบรูปแบบและขั้นตอนที่กล่าวไปเสียทั้งหมด   แต่ควรที่จะออกแบบเวทีสั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้ที่สามารถตอบเป้าหมายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสถาบัน โดยหัวใจของความสำเร็จอยู่ที่ความสมดุลของพื้นที่ที่เป็นเวทีของการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน เวทีของการสั่งสมความรู้เชิงวิชาการ กับเวทีของการลงมือปฏิบัติ กระบวนการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ไม่ใช่เพียงการสอบ และการนำผลลัพธ์มาปรับปรุงกลยุทธ์การสอน อย่างต่อเนื่อง โดยในที่สุดสถาบันอาจจะเรียกเวทีเพื่อการเรียนรู้ของท่านว่า “หลักสูตร” เหมือนเดิมก็ได้ ตราบที่ท่านทำให้แน่ใจได้ว่า ผลสัมฤทธิ์แห่งการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้จริงจากการออกแบบไม่ใช่เพราะความบังเอิญ (By Design Not By Chance)

 

เรื่อง : รศ.ดร.สิริวุฒ  บูรณพิร

          คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

X

Right Click

No right click