December 04, 2024

Element Payment Solutions เปิดสำนักงานใหม่ในจาการ์ตา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโซลูชันการชำระเงินในเอเชียแปซิฟิก

Element Payment Solutions (EPS) ได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางสำหรับการนำเสนอโซลูชันการชำระเงินที่ทันสมัยและสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงินท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดดิจิทัล

สำนักงานใหม่ของ EPS ตั้งอยู่ที่ The Plaza Office Tower ใจกลางกรุงจาการ์ตา ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางสำคัญในการขับเคลื่อนการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซีย คุณเซยิดราฮัท อาห์มัด กรรมการผู้จัดการ EPS กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในการขยายธุรกิจในตลาดที่มีศักยภาพสูงอย่างอินโดนีเซีย พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการเติบโตของการชำระเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีการเงิน (FinTech) ในภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ EPS ยังได้บริจาคเงินจำนวน 15,000,000 รูเปียห์ให้กับมูลนิธิ Yayasan Panti Asuhan Thariiqul Jannah ซึ่งดูแลเด็กกำพร้าและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนชุมชนที่ EPS ดำเนินธุรกิจอยู่

คุณเซยิดราฮัทยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "แนวโน้มการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและเอเชียแปซิฟิกเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet), ธนาคารดิจิทัล และการชำระเงินผ่านแอปได้รับความนิยมสูงขึ้น การสนับสนุนจากเทคโนโลยีและนโยบายรัฐบาลยิ่งทำให้ภูมิภาคนี้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำด้านการชำระเงินดิจิทัล"

การเปิดสำนักงานในอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การขยายตัวของ EPS โดยบริษัทได้ตั้งสำนักงานใน 7 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึง มาเลเซีย ปากีสถาน ลาว เมียนมา กัมพูชา และสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย ทำให้ EPS ยิ่งแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการชำระเงินดิจิทัลทั่วภูมิภาค.

กรุงเทพฯ, 19 เมษายน 2567 – ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 โดยธนาคารมีกำไรสุทธิ 5,334 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 4,295 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2566 ปัจจัยหนุนมาจากกลยุทธ์การปรับโครงสร้างสินเชื่อและการบริหารเงินฝาก เพื่อให้ผลตอบแทนและต้นทุนทางการเงินมีความสอดคล้องกัน และการมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย ในด้านคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารสามารถลดอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลงมาได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังคงอัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพและฐานเงินกองทุนยังคงในระดับสูง สะท้อนสถานะทางการเงินที่มั่นคงแข็งแกร่ง

 

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีถือว่าเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างพอร์ตสินเชื่อและการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเพื่อหนุนรายได้ การมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน และการดูแลคุณภาพสินทรัพย์

หนึ่งในจุดเด่นของผลการดำเนินงานในไตรมาสนี้ ได้แก่ ด้านสินเชื่อ ซึ่งธนาคารยังคงเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ เน้นกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารมีความชำนาญ เข้าใจทั้งความต้องการและความเสี่ยงเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนมีรถ กลุ่มคนมีบ้าน และพนักงานเงินเดือน ภายใต้แนวคิด Ecosystem play หนุนให้ธนาคารสามารถเติบโตสินเชื่อกลุ่มเป้าหมายได้ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อรถแลกเงิน (+4%) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (+3%) และสินเชื่อบุคคล (+4%)

ในประการสำคัญ ธนาคารยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ และการรวบหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยและช่วยให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการสภาพคล่องได้ในระยะยาว โดยปัจจุบันธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านการปรับโครงสร้างหนี้คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อประมาณ 11% ของพอร์ตสินเชื่อรวม ขณะที่จำนวนลูกค้าภายใต้โครงการรวบหนี้ เพิ่มขึ้นจากประมาณ 17,000 ราย ณ สิ้นปีที่แล้ว สู่ระดับ 21,000 ราย โดยธนาคารสามารถช่วยให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวประหยัดดอกเบี้ยไปได้กว่า 1,400 ล้านบาท

นอกจากนั้นแล้ว ธนาคารยังได้เปิดตัวแคมเปญ “พิชิตหนี้” ซึ่งมุ่งช่วยพนักงานเงินเดือนลดภาระหนี้และปลอดหนี้ให้เร็วขึ้นอย่างยั่งยืน โดยได้ตั้งเป้าหมายช่วยเหลือคนไทยให้ได้ 200,000 ราย ภายใน 3 ปี เป็นไปตามพันธกิจของธนาคาร และสอดรับกับหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

จากการเติบโตสินเชื่ออย่างรอบคอบ การดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด และการบริหารจัดการหนี้เสียในเชิงรุก ส่งผลให้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมาย สามารถลดอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลงมาได้อย่างต่อเนื่องจาก 2.62% ณ สิ้นปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.56% ณ สิ้นไตรมาส 1 พร้อมยังคงอัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในระดับสูงที่ 155%

 นี้ ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ธนาคารจะยังคงดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและบริหารจัดการทุกองค์ประกอบของงบดุลให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรามุ่งเน้นมาโดยตลอดและให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของธนาคารในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเห็นได้ว่าตั้งแต่การรวมกิจการและหลังจากช่วงวิกฤตโควิด-19 ผลการดำเนินงานของธนาคารมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านคุณภาพสินทรัพย์ก็มีเสถียรภาพ และสถานะทางการเงินก็แข็งแกร่งขึ้นโดยตลอด

สำหรับผลการดำเนินงานรายการหลัก ๆ ในไตรมาส 1 ปี 2567 มีดังนี้

สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 1,315 พันล้านบาท ชะลอลง 1.0% จากไตรมาสที่แล้ว เป็นไปตามแนวทางการเติบโตสินเชื่ออย่างรอบคอบ รวมทั้งการชำระคืนหนี้ของลูกค้า ทั้งนี้ สินเชื่อกลุ่มเป้าหมาย นำโดยสินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และสินเชื่อบุคคล ยังคงรักษาโมเมนตัมการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ด้านเงินฝาก อยู่ที่ 1,373 พันล้านบาท ลดลง 1.0% จากไตรมาสที่แล้ว สอดคล้องกับการเติบโตด้านสินเชื่อและเป็นไปตามแผนบริหารสภาพคล่องหลังจากที่ก่อนหน้านี้ในไตรมาส 4 ปี 2566 ธนาคารได้ขยายฐานเงินฝากไปแล้วกว่า 4.3% เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ปี 2567 โดยเงินฝากที่ลดลงเป็นผลจากเงินฝากกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ขณะที่เงินฝากรายย่อยกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเงินฝากประจำยังคงขยายตัวได้ตามแผน ทั้งนี้ ด้วยสภาพคล่องที่ยังคงอยู่ในระดับสูงก็จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กับการบริหารต้นทุนทางการเงินในระยะถัดไป

 

ด้านรายได้ยังคงได้รับแรงหนุนจากการปรับโครงสร้างสินเชื่อไปยังสินเชื่อกลุ่มลูกค้ารายย่อยและการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน ช่วยชดเชยผลกระทบจากรายได้ค่าธรรมเนียมซึ่งยังคงมีความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวม โดยในไตรมาส 1 ปี 2567 รายได้จากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 17,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7% จากไตรมาส 1 ปี 2566 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 7,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ธนาคารยังคงบริหารจัดการต้นทุนให้สอดคล้องกับด้านรายได้ได้เป็นอย่างดี สะท้อนได้จากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ซึ่งอยู่ที่ 43% เป็นไปตามเป้าหมายแม้ว่าธนาคารยังคงเดินหน้าตามแผนการลงทุนด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่องก็ตาม

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ยังคงบริหารจัดการได้ตามเป้าหมายเช่นกัน โดยสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงมาอยู่ที่ 39,759 ล้านบาท ลดลง 3.0% จากสิ้นปีที่แล้ว หรือคิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ที่ระดับ 2.56%

เทียบกับ 2.62% ณ สิ้นปีที่แล้ว นอกจากนี้ ในด้านพอร์ตการลงทุน ธนาคารเน้นการลงทุนในตราสารภาครัฐเป็นหลัก ไม่มีนโยบายแสวงหากำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จึงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีผิดนัดชำระหนี้ในตลาดตราสารหนี้ในช่วงที่ผ่านมา

จากภาพรวมด้านคุณภาพสินทรัพย์ข้างต้น ส่งผลให้การตั้งสำรองฯ ตามการดำเนินงานปกติยังคงเป็นไปตามแผน และเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งด้านการเงิน ธนาคารได้เสริมกันชนรองรับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยธนาคารได้ตั้งสำรองฯ เพิ่มเติมจากระดับปกติ รวมตั้งสำรองฯ ทั้งสิ้นเป็นจำนวน 5,117 ล้านบาท ซึ่งหลังจากหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารรายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2567 ที่ 5,334 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 4,295 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2566

ท้ายสุดด้านฐานะเงินกองทุน ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพ โดยอัตราส่วน CAR และ Tier 1 ณ สิ้นไตรมาส 1 อยู่ที่ 20.8% และ 17.0% โดยระดับดังกล่าวถือว่าสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 12.0% และ 9.5% ตามลำดับ

นายปิติ กล่าวสรุป “นอกเหนือจากการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ทีทีบียังคงเน้นย้ำการดูแลและช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) และการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของภาครัฐ ทั้งนี้ ภายใต้พันธกิจหลัก Financial Well-being ซึ่งเราได้ดำเนินการมาโดยตลอด การสนับสนุนของเราไม่ได้จำกัดเพียงแค่ด้านสินเชื่อเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงปัจจัยพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการออม การลงทุน และการมีประกันที่เพียงพอและเหมาะสมกับลูกค้าในทุก ๆ ช่วงชีวิต โดยเรามุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารที่ LEAD the CHANGE หรือเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงเพื่อให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”

 เอพริล เทย์สัน รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย บริษัท Adjust

พร้อมปั้น “Traderist Academy" ศูนย์พัฒนาศักยภาพนักลงทุนยุคใหม่

เชื่อกันว่าความก้าวหน้าของบล็อกเชน ในปีค.ศ.2019 จะเผยโฉมถึงปรากฏการณ์ของความเปลี่ยนแปลงและ Technology Disruption อย่างประจักษ์ชัดอีกหลายประการ เพราะวันนี้บล็อกเชนได้ก้าวข้ามความเป็นเทคโนโลยีที่รองรับ Bitcoin หรือคริปโตเคอเรนซี่ เข้าสู่มิติของการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมจริง หรือ Real Sector จากกรณีตัวอย่างของการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมภาคต่างๆ อย่างหลากหลาย คือมุมเปิดความคิดเห็นของนักพัฒนาและโปรแกรมเมอร์รุ่นเก๋ากว่า 20 ปีในวงการไอที โดม เจริญยศ ซีอีโอ บริษัท โดมคลาวด์ จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท สยามไอซีโอ จำกัด และอีกหลายองค์กรที่ โดม เจริญยศมีส่วนร่วมก่อตั้งเพื่อหวังพัฒนาระบบนิเวศน์ของเทคโนโลยีรอบใหม่

“สถานการณ์บล็อกเชนในวันนี้ เป็นเรื่องที่รับรู้และเข้าใจกันอยู่ในคนสายเทคและกลุ่มฮาร์ดคอร์ ในส่วนภาคอุตสาหกรรมหรือองค์กร ธนาคารและกลุ่มสถาบันการเงินเริ่มมีการใช้บล็อกเชนมาสักระยะหนึ่งแล้ว เช่น นำมาใช้ในการออกหนังสือสัญญาค้ำประกัน (Bank Guarantee) ที่เป็นลักษณะออนไลน์อยู่บนบล็อกเชน ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็เริ่มศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้บล็อกเชน สำหรับในบ้านเราก็เรียกว่าอยู่ในขั้นของการเรียนรู้ ส่วนในกลุ่ม End User และการรับรู้บล็อกเชนในวงกว้าง คนทั่วไปส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยรับรู้ว่า ระบบการทำธุรกรรมการเงินที่ใช้อยู่บางธุรกรรมเป็นบล็อกเชนแล้ว เช่น กฎหมายด้านดิจิทัลและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เริ่มประกาศใช้สำหรับการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารและสถาบันการเงิน ที่อยู่ในขั้นตอน KYC (Know Your Customer) ที่มีการส่งข้อมูลส่วนตัวเพื่อยืนยันตัวตนที่เรียกว่า Digital ID ตรงนี้ เป็นการใช้บล็อกเชน ซึ่งคนทั่วไปยังไม่รู้ตัวว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนได้เริ่มแทรกเข้ามาอยู่ในธุรกิจและชีวิตประจำวันแล้ว การส่งเสริมความเข้าใจและการรับรู้เรื่องของบล็อกเชนเพื่อเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เป็นอนาคตใหม่จึงเป็นสิ่งพึงควรและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง” คือความคิดเห็นของ โดม

อัปเดตการระดมทุน บนถนนเทคโนโลยี

โดม บอกเล่าถึงช่วงที่ผ่านมามีกระแสการระดมทุนที่เรียกว่า IEO หรือ Initial Exchange Offering ซึ่งมีโมเดลที่น่าตกใจ ชื่อ IEO ฟังคล้ายกับ ICO (Initial Coin Offering) ซึ่งได้รับความสนใจและมีอัตราเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในหลายประเทศทั่วโลก เกิด Token หรือ Coin ที่ออกมาระดมทุนเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจากหลักร้อยเป็นหลักพันเหรียญในเวลาอันรวดเร็ว อย่างไรก็ดี โมเดล ICO ยังมีข้อจำกัด และยังรอการผ่านกระบวนการกำหนดกฎเกณฑ์และพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมาย การเงินและการลงทุนอย่างถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับ IEO ไม่ต้องผูกพันกัน ไม่ต้องการ Smart Contract เป็นการออกเหรียญมาแล้วเทรดใน Exchange เลย ราคาขึ้น-ลง ขึ้นอยู่กับ Market Maker และไม่สามารถย้ายไปเหรียญที่ Exchange อื่น แต่ก็ปรากฏว่ามีคนแห่แหนเข้ามาระดมทุนและลงทุนกันอยู่ไม่น้อย

ลักษณะนี้คือ อวตาร เพราะเจ๊งแน่ๆ ไม่มีทางที่จะขึ้นมาได้อย่างแน่นอน เมื่อลงมีคนเสีย เมื่อขึ้นมีคนได้ มีอยู่เท่านั้นเอง แต่แน่นอนว่าไม่ส่งผลกระทบถึงคนข้างนอก เพราะเมื่อซื้อก็เทรดที่ Exchange นั้น และในเมืองไทยไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีทางผ่านหลักเกณฑ์ก.ล.ต.ไปได้

สำหรับกระแสการระดมทุน ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย คือ STO หรือ Security Token Offering เพราะเป็นการนำหลักทรัพย์มาแปลงเป็นรูปแบบดิจิทัล ขณะเดียวกันการระดมทุนด้วยเหรียญ Crypto บนบล็อกเชนในรูปแบบ ICO จะลดลง เพราะว่าการระดมทุน STO มีความปลอดภัยและแน่นอน เมื่อมีความเป็นเหตุเป็นผลก็จะเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยทุกคนนำเงินไปลงทุนมีกำไรและนำมาคืนแบบ Smart Contract ซึ่งก็คือ หุ้นกู้แบบไร้ใบเท่านั้นเอง ทุกคนต้องเจอกันและตลาดมีอยู่ทั่วโลก

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับบล็อกเชน

โดมย้ำว่า สิ่งสำคัญของการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ Database ของบล็อกเชนเป็นสิ่งที่แก้ยาก เพราะในกระบวนการทำธุรกรรมบนบล็อกเชนทั้งหมดนั้นทำนอกเชน เช่น เมื่อมีการทำธุรกรรมโอนเงิน จะมีการเข้ารหัส หลังจากนั้นจึงจะโยนเข้าไปในเชน ดังนั้นเชนไม่รู้จักรหัสผ่าน ไม่มีการเก็บรหัสใดๆ ไว้

นี่คือความยิ่งใหญ่ของบล็อกเชน มีความเก่ง คือ Secure แต่มีข้อเสียคือ ช้า และจะไม่เร็วขึ้น จะเร็วแค่ถึงจุดหนึ่งเท่าที่จะรับได้เท่านั้น เพราะจะทำให้สูญเสียความ Secure ไป ยกตัวอย่าง Crypto Wallet นั้น จะมีคีย์ 2 ตัว คือ User และ Password ดังนั้นเหตุการณ์ลักลอบทำธุรกรรมการโอนเงินของเรานั้น ไม่มีทางทำได้เลย เพราะคีย์ทั้ง User และ Password อยู่กับเรา ไม่มีในเชน และหากว่าเราลืมก็คือหาย ซึ่งมีวิธีเก็บหลายแบบ เช่น เก็บเป็นตัวหนังสือจึงต้องแลกกัน นี่คือสิ่งที่เป็นข้อดีของบล็อกเชนที่ท้าทายและเราต้องแลก แต่ถ้าเป็นในระบบเดิม เช่น ธนาคาร Email ที่ไม่ใช่บล็อกเชน ระบบเป็นผู้ที่เก็บ User และ Password ไว้ เพราะฉะนั้นระบบจึงสามารถเปลี่ยนให้เราได้

โดมยังอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลก จากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาแอปพลายในการทำธุรกรรมในหลายธุรกิจ เรียกได้ว่า ไม่ต้องมีการล็อกอินในระบบเลย ยกตัวอย่าง การเปลี่ยนระบบการโอนเงินของธนาคาร จากเดิมที่อยู่ในรูปแบบ Centralize ทั้ง User และ Password เก็บรักษาไว้กับธนาคาร และพนักงานสามารถโอนเงินได้ อนาคตต่อไปจะปรับเปลี่ยนเข้ามาสู่รูปแบบบล็อกเชน ที่เจ้าของบัญชีเป็นผู้เก็บ User และ Passwordไว้เอง ต่อให้ซีอีโอหรือพนักงาน ก็ไม่สามารถโอนเงินให้เราได้ จนกว่าเราจะให้คีย์ไปรับที่เคาน์เตอร์หรือออนไลน์

สำหรับประโยชน์ที่คนจะได้เมื่อบล็อกเชนเข้ามานั้น โดม อธิบายว่า การนำบล็อกเชนเข้ามาใช้ประโยชน์มี 2 มุม เริ่มจาก Private Blockchain ถือเป็นการทำดาต้าเบส ที่มีความโปร่งใสและ Private ภายในองค์กร เช่น บริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านลิสซิ่งหรือเกี่ยวกับการเงิน หรือนำมาใช้ในระบบจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท ซึ่งที่ผ่านมาใช้การทำงานระบบเดิม จะไม่รู้เลยว่าข้อมูลที่อยู่ในดาต้าเบสจริงหรือไม่

ส่วนอีกรูปแบบที่น่าสนใจมาก คือ Public Blockchain คือบล็อกเชนที่มีลักษณะเปิดกว้าง สร้างเหรียญขึ้นมา แล้วนำเหรียญมาเทรดแทนเงิน ตัวอย่างเหรียญยอดนิยม อย่างบิทคอยน์และอีเธอเรียมเป็นบล็อกเชนที่ใครอยากเป็นเจ้าของ หาซื้อแล้วเปิด Wallet ได้เลย

มูลนิธิ ‘ไทยเชน’ และการพัฒนาความพร้อมของไทย

ซีดีโอของโดมคลาวน์ เล่าว่า มี Public Blockchain มากมายในโลก อย่างโซนใกล้ๆ เช่นที่ประเทศเวียดนามก็มีซึ่งเราใช้ Resource ไม่ได้มาก ทำให้มีความคิดว่าน่าจะพัฒนาและตั้งของเราขึ้นมาเองจะดีกว่า ต้นปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา โดมและ พันธมิตรได้รวมตัวกันก่อตั้ง “มูลนิธิไทยเชน” ด้วยเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ไม่หวังกำไรแต่ต้องการให้เกิด Public Blockchainแห่งแรกของประเทศขึ้น และหลังจากนั้นพัฒนาการของเราก็เริ่มจะเริ่ม Kick off

หลังจากเปิดตัวที่มหาวิทยาลัยบูรพา ให้นักศึกษาคิดโปรเจ็กต์แอปสำหรับการประมูลรถยนต์ หรือแอปขายของบนบล็อกเชน โดยที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์รองรับเลยนั้น พบว่าสามารถดำเนินการได้เลย แต่ต้องหาเหรียญที่จะมาเป็นต้นทุน ซึ่งมูลนิธิสามารถซัพพอร์ตได้ โดยเปิดขายเหรียญให้คนทั่วไปเข้ามาสปอนเซอร์ให้โปรเจ็กต์สามารถดำเนินการไปได้ เหรียญ 50% เราโอนให้นักศึกษา เพราะจัดคอนเทสต์แต่ละครั้ง สามารถแจกเหรียญได้ จะมีการโอนให้นักศึกษาเจ้าของโปรเจ็กต์ได้เลยแต่ละครั้งสามารถให้นักศึกษามีเหรียญอยู่ในมือ โดยการปรับให้เป็นแอปพลิเคชันในรูปแบบต่างๆ ตั้งเป้าไว้ว่าหลังจากจัดกิจกรรม 3 เดือน จะมีแอปเกิดขึ้นประมาณ 20 - 30 แอป

“ความคิดของเด็กมหาวิทยาลัย เมื่อรู้เรื่องบล็อกเชน ก็สามารถคิดทิศทางของแอปได้โดยที่เราคาดไม่ถึง” โดมเล่าอย่างตื่นเต้น

สำหรับเป้าหมายไทยเชนนั้น อยากให้เป็น Public Blockchain ของประเทศไทย ที่ดำเนินการภายใต้มูลนิธิ เพื่อที่จะให้ทุกคนสามารถเข้ามาดูแลได้ในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยระยะแรกเน้นการเปิดโหนดเป็นหลัก ซึ่งเรียกว่า ไทยเชน ไม่มีต้นทุนค่าใช้จ่าย เพราะมี 6 โหนดที่มาร่วมทำระบบกับเรา และต่อไปจะมีประมาณ 21 โหนดภายในเดือนมิถุนายน 2562 ซึ่งข้อดีของการมีโหนดจำนวนมากขึ้นนั้น คือ ช่วยกันจำ ทำให้มีความรวดเร็วมากขึ้น และทำให้ปลอดภัยขึ้น ไม่มีใครโกงใครได้

มุมมองของโอกาสและความท้าทายสำหรับมนุษย์สายเทคฯ

โดม บอกว่า คนในสายเทคโนโลยีมีความคุ้นเคยกับบล็อกเชน แต่ก็มีอีกหลายคนโดน Disrupt ล้มหายตายจากไป เช่นเดียวกัน ในฐานะที่อยู่ในวงการมานานกว่า 20 ปี จะปรับตัวให้ทันได้อย่างไรนั้น

ผมว่ามันเป็นเรื่องที่สนุก สนุกกับการตามมัน ผมทำชีวิตแบบนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ตอนนี้ 2562 ยังทำเหมือนเดิม ทั้งการตามเทคโนโลยีและการโค้ช ผมยังสนุกกับมัน มองเหมือนนักดนตรี เล่นดนตรี บังเอิญเครื่องดนตรีหายไป แต่ผมโชคดีที่ผมอยู่กับเทคโนโลยีแล้วมันได้เงินมากขึ้นเรื่อยๆ และแพงขึ้นเรื่อยๆ และคิดว่าวันหนึ่งมันตอบชีวิตผมได้ คือ ได้เงินเยอะ และข้อที่ 2 ยังสนุกกับมัน ผมว่าวิธีคิดแบบนี้สำคัญที่สุด

อนาคตของบล็อกเชนแพลตฟอร์ม

เชื่อว่า แพลตฟอร์มเดิมไม่หายไปไหน ขณะเดียวกัน บล็อกเชนจะเข้ามาช่วยในเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ เช่น บริษัทที่ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนต์ อาจใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมาเก็บข้อมูลในระบบเรื่องการเงิน แต่การเพย์เมนต์ทุกอย่างเหมือนเดิม

“บล็อกเชน จะเข้าช่วยแก้ปัญหาด้านต้นทุนที่ถูกและปลอดภัยกว่า ยูสเซอร์อาจไม่รู้ตัว หรือแม้กระทั่งระบบประกาศขายบ้านที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อนำมาบล็อกเชนเข้ามา ยูสเซอร์จะสามารถกดไปดูโฉนดได้ รูปแบบนี้จะค่อยๆ เข้ามา เหมือนอินเตอร์เน็ทที่อยู่ในชีวิตประจำวันทุกที่ เราจึงคิดว่าบล็อกเชน คือ อินเทอร์เน็ตยุคใหม่ ที่ใครจะเขียนอะไรออกมาก็ได้ บนอินฟราสตรัคเจอร์” โดมกล่าว


เรื่อง : กองบรรณาธิการ    

ภาพ : ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click