ทีเอ็มบีธนชาต โดย นางประภาศิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล (ซ้ายสุด) ร่วมมอบรางวัลและแสดงความยินดีแก่ผู้โชคดีจากการซื้อสลากบำรุงสภากาชาดไทย ประจำปี 2566 รายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือสังคมและสาธารณกุศลต่อไป ซึ่งผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่ รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ รุ่น C 220 d Av ได้แก่ นางสาวอโนชา เสนาะ (ที่ 2 จากซ้าย) และผู้ที่ได้รับรางวัลทองคำแท่งหนัก 10 บาท จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ นายสมภพ อินทรประสงค์, นายกิตติ จรัสรัตน์วัฒนา, นางสาวนพมาศ วัฒนเลี้ยงใจ และนายศรัณย์ ศิริภัทรประวัติ (ตามลำดับที่ 3 จากซ้าย) นอกจากนี้ ธนาคารยังได้มอบของรางวัลให้กับผู้โชคดีท่านอื่น ๆ ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “การให้” ผ่านสาขาธนาคารทั่วประเทศ ได้แก่ สร้อยคอทองคำหนัก 0.25 บาท จำนวน 50  รางวัล  และทองแท่งน้ำหนัก 0.125 บาท จำนวน 660 รางวัล รวม 716 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ณ ทีทีบี สำนักงานใหญ่

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ส่ง ttb spark academy ร่วมขับเคลื่อน Tech & Data Ecosystem ปูโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับประเทศ มุ่งพัฒนาคนรุ่นใหม่ตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล เปิดกว้างให้นิสิต นักศึกษาที่สนใจด้าน Tech & Data และสาขาอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพให้แข็งแกร่ง ผ่านจุดแข็งที่แตกต่างจากองค์กรอื่น ด้วยการลงมือทำจริงและนำผลงานสู่ลูกค้าได้จริงจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ / บริการ และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละคนตลอดทุกช่วงชีวิต พร้อมเสริมมายเซ็ท (Mindset) เด็กรุ่นใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงของธุรกิจและอุตสาหกรรม

นายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งนำองค์ความรู้และประสบการณ์ส่งต่อให้สังคมเพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่มาตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล ผ่านการสร้างพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ โดย ttb spark academy ได้จัดทำโครงการ Tech & Data Internship Program พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ รวมถึงน้อง ๆ จากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยีและฐานข้อมูล (Tech & Data) ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากพี่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยพัฒนาและต่อยอดความรู้ ความสามารถของเด็กรุ่นใหม่ (Tech & Data Talent) ให้แข็งแกร่ง พร้อมโอกาสเติบโตในสายงานในอนาคต โดยในช่วงที่ผ่านมาได้คัดเลือกนิสิต นักศึกษามาฝึกงานในสายงาน Tech & Data นำเสนอความคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ จำนวน 69 คน จากผู้สมัครเกือบ 1,700 คน ผ่านการลงมือทำจริงและนำผลงานสู่ลูกค้าทีทีบีได้จริง

“การสร้าง Tech & Data Ecosystem ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับประเทศ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้าง คนเข้ามาขับเคลื่อน ซึ่งบุคลากรด้าน Tech & Data มีความสำคัญกับประเทศอย่างมาก ไม่ใช่แค่ภาคการเงิน โดยสะท้อนได้จากความต้องการที่เพิ่มสูงต่อเนื่อง และเกิดการแย่งชิงบุคลากรในสาขานี้ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะ Tech & Data Talent เหล่านี้ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนยุคต่อไปของประเทศ แต่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (Digital Transformation) จะทำให้องค์ความรู้เปลี่ยนไปเร็วมาก บางครั้งสิ่งที่เรียนมาอาจจะไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ ttb spark academy ทำ คือ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้พัฒนาศักยภาพทางด้าน Tech & Data ซึ่งเป็นศาสตร์สำคัญที่จำเป็นต่อโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต”

โดย ttb spark academy ประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ภายใต้ 3 เรื่อง คือ 1. Build ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ด้าน Tech & Data เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พร้อมสนับสนุนและพัฒนานิสิต นักศึกษาที่สนใจด้านเทคโนโลยีและ Data Scientist รวมไปถึงด้านการเงิน การธนาคาร การตลาด เพื่อกระตุ้นให้ตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของ Tech & Data และสามารถนำความรู้มาใช้ประโยชน์ ผ่าน knowledge sharing session รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับโลกการทำงานจริงและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาในภาคอุตสาหกรรมได้ โดยมีผู้สนใจสมัครร่วมโครงการจำนวนกว่า 2,000 คน 2. Groom ให้นิสิต นักศึกษามีโอกาสได้ค้นพบและทดลองสิ่งที่ตัวเองชอบผ่านการฝึกงานและการทำเวิร์คชอปในสาย Tech & Data จำนวน 69 คน จากผู้สมัครเกือบ 1,700 คน และ 3. Growth ต่อยอดให้นิสิต นักศึกษาที่ฝึกงานได้ทำงานจริงและนำมาต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นผ่านการสร้างดิจิทัลโซลูชันด้วยแนวคิด Humanized Digital Banking หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตร รู้จัก และรู้ใจ พร้อมให้ความสำคัญกับการมี Mindset ที่สอดคล้องไปกับโลกความจริงของธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ ttb spark academy มีจุดแข็งที่ทำให้ทีทีบีแตกต่างจากองค์กรอื่น ๆ

และล่าสุดทีทีบีร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านพัฒนาการศึกษายุคใหม่สู่การปฏิบัติจริงในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านดิจิทัลและดาต้า รวมถึงด้านอื่น ๆ ที่สามารถประยุกต์เข้ากันได้ เพื่อตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ทั้งในภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่มีความจำเป็นต่อภาคธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งเน้นสนับสนุนและพัฒนากำลังคนด้าน Data Science ที่สนใจในธุรกิจการเงิน การธนาคาร และการตลาด โดยทีทีบีเปิดพื้นที่สร้างประสบการณ์การทำงานจริงในช่วงการฝึกงานให้นิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการ "Stat Chula Project-Based Summer Internship Program" ที่เป็นความร่วมมือต่อเนื่องมาแล้วถึง 3 ปี

“ประเทศของเราต้องการพัฒนา Digital Transformation ที่มากกว่านี้ บุคลากรต้องสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ttb spark academy จึงไม่เพียงเปิดประตูวิสัยทัศน์ของการธนาคารดิจิทัลที่มุ่งเน้นความเป็นมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเตรียมพร้อมและปั้น Young Tech และ Data Talent เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงิน โดยในการฝึกงาน เรามองนักศึกษาเป็นเหมือนพนักงานคนหนึ่งและมีพี่เลี้ยง (Mentor) ประกบแบบ 1 ต่อ 1 พร้อมวางเป้าหมายของการฝึกงาน นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้นิสิต นักศึกษาที่เรียนด้านเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ บัญชี และอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการ เพราะคนทำงาน Tech & Data ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ไปพร้อมกัน คือ นอกจากเข้าใจในหลักการแล้ว ต้องเข้าใจลูกค้าได้อย่างแท้จริง เพื่อนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละคนตลอดทุกช่วงชีวิต ตอกย้ำการเป็นธนาคารผู้นำด้านการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย นายนริศ กล่าวสรุป


ข้อมูลเพิ่มเติม Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล คือ กระบวนการนำข้อมูลมาสร้างมูลค่า ผ่านการวิเคราะห์ วิจัย เพื่อทำความเข้าใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะสามารถช่วยธุรกิจในแง่มุมไหนได้บ้าง จากนั้นจะเป็นการนำข้อมูลมาต่อยอดเพื่อสร้างผลประโยชน์ ซึ่งมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะองค์กรที่ทำงานแบบ Data Driven เพราะจะช่วยให้กระบวนการการทำงานของธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ช่วยลดงาน ลดความเสี่ยง ความผิดพลาด รวมถึงช่วยวัดผลได้อย่างถูกต้องและตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 2567 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตามโครงสร้างอายุและรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน

 ในปี 2566 ที่ผ่านมานับเป็นความสำเร็จของการท่องเที่ยวไทยทั้งในมิติของนักท่องเที่ยวในประเทศที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ตัวเลข 254.4 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้กว่า 8 แสนล้านบาท รวมถึงในฝั่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ตามเป้าที่ทาง ttb analytics ประมาณการไว้ที่ 28 ล้านคน สร้างเม็ดเงินราว 1.4 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมประเทศไทยสร้างเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้กว่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 73% เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดเดิมที่ 3 ล้านล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินดังกล่าวหลุดเป้าไปราว 2 แสนล้านบาทจากที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าไว้ที่ 2.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้การประมาณรายได้จากนักท่องเที่ยวที่พลาดเป้าในปีที่ผ่านมา ในปี 2567 นี้ ก็ยังเห็นมุมมองของภาครัฐที่ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งในมิติของจำนวนที่คาดว่าจะสูงถึง 40 ล้านคนสร้างรายได้กว่า 2.5 ล้านล้านบาท เมื่อรวมกับรายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศ จะสามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงถึง 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นกว่า 60% ทั้งที่รายได้จากปีก่อนก็ยังหลุดเป้าไปราว 10% โดยในมุมมองของ ttb analytics มีความเห็นว่าในปี 2567 นี้ ศักยภาพรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 2.75 ล้านล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทย ttb analytics ประเมินปี 2567 การท่องเที่ยวในประเทศยังสามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปี 2566 ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะสูงถึง 292.1 ล้านคน-ครั้ง บนพฤติกรรมการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปลดลงจากภาวะค่าครองชีพและภาระทางการเงินที่สูงขึ้นลดทอนรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง แต่จากการชดเชยของมิติเชิงจำนวนสามารถดันให้รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศคาดแตะระดับ 1 ล้านล้านบาท ได้อีกครั้งหนึ่ง บนรูปแบบของการท่องเที่ยวจากคนไทยดังนี้ 1) เทรนด์การเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ (One-Day Trip) โดยไม่พักแรมเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวในภาคกลาง และภาคตะวันตก ฟื้นตัวเทียบช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ที่ 136% และ 146% แต่รายได้กลับฟื้นตัวเพียง 103% และ 119% ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวคนไทยมีแนวโน้มเที่ยวเมืองรองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมืองหลักเพิ่มขึ้น เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ ในพื้นที่ภาคเหนือมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และจังหวัดสตูล และนราธิวาส ในพื้นที่ภาคใต้มีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30-40% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 3) การปรับลดคืนค้างแรมลงโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดห่างไกล ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงต่อทริป

โดยเฉพาะในกลุ่มภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนผ่านเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเทียบก่อนสถานการณ์โควิด-19 กลับมาที่ 58% และ 72% ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวในอัตราที่สูงกว่าที่ 100% และ 92% ตามลำดับ

2) ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2567 คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 33.1 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 1.75 ล้านล้านบาท จากค่าเฉลี่ยในการใช้จ่ายต่อทริปที่คาดสูงขึ้นจากราคาที่พักที่ปรับตัวรับอุปสงค์ และแนวโน้มวันท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยในรายละเอียดพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวไม่นับรวมชาวจีน (Non-Chinese Travelers) คาดกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 แต่ปัจจัยที่น่าจับตา คือการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน (Chinese Travelers) ที่คาดยังไม่ฟื้นตัวสมบูรณ์ด้วยอัตราการกลับมาที่ราว 5.7 ล้านคน คิดเป็น 52% เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 เนื่องจากแรงกดดันดังต่อไปนี้

2.1) แรงกดดันจากเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน เช่น ปัญหาการว่างงานในคนอายุ 16-24 ปี ที่สูงเกินกว่า 20% ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางออกนอกประเทศที่ลดลง ซึ่งตามสถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกกว่า 63% มีอายุต่ำกว่า 35 ปี รวมถึงความมั่งคั่งสุทธิที่ลดลงจากปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงินที่ยังน่ากังวล ที่ส่งผลให้สินทรัพย์หรือรายได้ของชาวจีนบางกลุ่มลดลงจนอาจกระทบต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ

2.2) จำนวนนักท่องเที่ยวที่ส่งสัญญาณเติบโตชะลอตั้งแต่ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2560-2562 นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้าไทยเพิ่มขึ้นที่ 6.5% ต่อปี ในขณะที่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ยังรักษาอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวจีนได้สูงถึง 14% และ 20% ต่อปีตามลำดับ กอปรกับในปี 2566 พบนักท่องเที่ยวชาวจีนขาออกนอกประเทศภาพรวมฟื้นตัวกว่า 60%-65% ในขณะที่การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนในไทยกลับฟื้นตัวเพียง 32% ของภาวะปกติ

2.3) ความดึงดูดในเรื่องของอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวไทยเป็นตลาดที่เข้าถึงง่ายจากค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ไม่สูง ส่งผลให้ตลาดไทยอยู่ในฐานะจุดหมายแรกของการเริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ (Entry Level) ที่อาจได้ประโยชน์ในระยะแรกแต่อาจเริ่มถูกตั้งคำถามถึงอัตราการท่องเที่ยวซ้ำ (Revisit Intention) เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาอาจมีทางเลือกในการเดินทางไปยังประเทศอื่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านสัดส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวจีนในปี 2562 มีสัดส่วนที่เท่ากันที่ 28% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวจีนในฝรั่งเศสที่มีสัดส่วนเพียง 3% แต่สามารถสร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 7%

 โดยสรุป ttb analytics คาดว่าปี 2567 มูลค่าการท่องเที่ยวไทยจะมีมูลค่า 2.75 ล้านล้านบาทต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐได้วางไว้ที่ 3.5 ล้านล้านบาทหรือห่างจากเป้าหมายเกือบ 8 แสนล้านบาท แต่มองว่ายังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในเชิงคุณภาพ หากมีการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ให้ตรงตามกลุ่มให้ชัดเจน เช่น นักท่องเที่ยวจากเอเชียที่ไทยได้ประโยชน์จากการเดินทางที่สะดวกและค่าใช้จ่ายต่อทริปที่ต่ำ ภาครัฐควรตั้งเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวซ้ำ เช่น สิทธิประโยชน์ที่อาจมอบให้เมื่อมีการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้สะดวก ปลอดภัย ที่สามารถเชื่อมกับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวซ้ำในภูมิภาคอื่น ๆ และในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ที่มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวที่อยู่อาศัยระยะยาวสูงโดยเปรียบเทียบอาจให้เป็นในรูปแบบสิทธิประโยชน์เรื่องการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ จัดหาบริการระบบประกันสุขภาพที่

ครอบคลุม รวมถึงในภาพรวมควรจัดตั้งหน่วยงานสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนที่สามารถแก้ปัญหานักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปอีกระดับเพื่อสามารถส่งต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตร เพิ่มโอกาสการกลับมาเที่ยวซ้ำสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุน้อย และโน้มน้าวให้นักท่องเที่ยวมีความประสงค์ที่จะอยู่อาศัยระยะยาว เพื่อโอกาสในการยกระดับให้การท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาว

ตอกย้ำความเป็นพันธมิตร สนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมฉลองการเปิดตัวของ The EM District อย่างเต็มรูปแบบ ด้วย 2 แคมเปญที่มอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb เมื่อจับจ่ายที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 21 มกราคม 2567 ดังนี้ 

แคมเปญ 7 Days Countdown : เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 19,000 บาทขึ้นไปในหมวดช้อปปิ้ง และรวม ยอดใช้จ่ายสะสมครบ 1,000 บาทขึ้นไปในหมวดร้านอาหาร ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2566  – 31 ธันวาคม 2566 รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 4,800 บาท รับสิทธิ์ด้วยการนำบัตรประชาชนและบัตรเครดิตที่มีชื่อสกุลตรงกัน ณ EM Privilege Counter ชั้น M ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์  จำกัด 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตรตลอดรายการ และจำกัดรวม 50 สิทธิ์ตลอดรายการ

แคมเปญ Mission Possible : เมื่อใช้จ่ายที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ ระหว่างวันที่ 11 มกราคม 2567 - 21 มกราคม 2567 ช้อปครบตามเงื่อนไข

  • มียอดใช้จ่ายตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 1,000 บาท
  • มียอดใช้จ่ายตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 5,000 บาท

จำกัด 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตร / วัน และจำกัดรับบัตรกำนัล สูงสุด 6,000 บาท จำกัดรวม 50 สิทธิ์ตลอดรายการรับบัตรกำนัลโดยนำเซลล์สลิปพร้อมบัตรเครดิต ลงทะเบียน ณ EM Privilege Counter ชั้น M ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์

X

Right Click

No right click