ปรับปรุงเงื่อนไขการชำระเงินให้แก่ผู้พัฒนาและผู้รับเหมาโครงการ พร้อมเชื่อมต่อกับผู้จัดหาอุปกรณ์โซลาร์ชั้นนำ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ UOB Car2Cash

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงานวิจัยล่าสุดวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) สามารถเติบโตถึงร้อยละ 3.7 ในปีนี้

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research ของธนาคารยูโอบี เผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่กลับเข้ามาอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และส่งผลดีให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดีจากภาคธุรกิจบริการที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส โดยยูโอบีประเมินว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.7 และอัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวที่เป็นแรงสนันสนุนหลักทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มีความสดใส"

นอกจากนี้ ผลพวงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางกลับมาเข้าอีกครั้ง หลังจากนโยบายการเปิดพรมแดน จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทอาจได้รับผลกระทบจากความท้ายทายของเศรษฐกิจโลกในระดับมหาภาค ทำให้เคลื่อนไหวอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะกลับมาแข็งแกร่งและไต่ระดับไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง

โดยรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่างๆโดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจหลักในประเทศ”สถานการณ์เศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟิ้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ทำให้ในปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 3-4 เห็นได้จากจีดีพีของปี 2565 กลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากมูลค่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มูลค่าการอุบโภคบริโภคระดับครัวเรือนมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และค่าใช้จ่ายในภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.8 จากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นในภาคธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว สันทนาการ และวัฒนธรรม ดังนั้นยูโอบีจึงเชื่อมั่นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับภาคส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น

อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลงตั้งแต่ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้ขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดก่อนจะทยอยปรับระดับลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และ กระจายสินค้าของรายการอาหารบางชนิดที่ช่วยลดแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง สำหรับปี 2566 ยูโอบีประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะลอยตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) จะขึ้นไปแตะที่ร้อยละ 3.9 ในช่วงครึ่งปีแรก และจะคงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.5 ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะระบบห่วงโซ่อุปทานโลกปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พลังงานและราคาสินค้าทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัว (moderate) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินอยู่ที่ร้อยละ 2-3  ค่าเงินบาททีมนักวิเคราะห์ของยูโอบีประเมินว่าในปีนี้ ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย และกับดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยต่างๆเช่น การใช้นโยบายการเงินอย่างผ่อนปรนและยืดหยุ่นของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และการเปิดพรมแดนของจีนจะช่วยบรรเทาความท้าทายเหล่านี้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยูโอบีประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ค่าเงินบาทซึ่งอ่อนตัวและเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงครึ่งปีแรก จะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสุดท้าย

รายงาน Quarterly Global Outlook ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ของธนาคารยูโอบี เผย 10 ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศในอาเซียนสามารถรับมือความผันผวนของตลาดในอนาคต

ปี 2565 ถูกรุมเร้าด้วยผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19 ความขัดแย้งทางทหารระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน การหยุดชะงักของอุปทานในกลุ่มพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบหลายทศวรรษทั่วโลก การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฟดและธนาคารกลางอื่นๆ และการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565ไว้ได้

รายงานของยูโอบี ได้สรุป 10 ปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความยืดหยุ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับความผันผวนของตลาดตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการรับมือกับความผันผวนของตลาดในอนาคตด้วยเช่นกัน

1. เศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2-3 ของปี 2565 จากการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมาเลเซียมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนในไตรมาส 3 ปี 2565

2. ผลผลิตของประเทศในอาเซียน (ยกเว้นประเทศไทย) กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิดแล้ว จากอุปสงค์การส่งออกและการเปิดเศรษฐกิจใหม่ที่กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ

3. การค้าในอาเซียนยังแข็งแกร่ง โดยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ผู้ส่งออกและภาคการผลิตในอาเซียนเป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก แต่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปสงค์ทั่วโลกคาดว่าจะอ่อนตัวลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและกิจกรรมทางธุรกิจ

4. การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การยกเลิกข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และการเปิดเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ในอาเซียนอีกครั้งตั้งแต่กลางปี 2565 ทำให้อาเซียนฟื้นตัวเร็วขึ้นจากกระแสนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและตลาดภาคบริการที่ดีดตัวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะเป็นเสาหลักสำหรับเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2566 และเมื่อจีนผ่อนคลายนโยบายปลอดโควิดและเปิดพรมแดนอีกครั้งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนให้การท่องเที่ยวในอาเซียนฟื้นตัว

5. อัตราเงินเฟ้อในอาเซียนโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วในปี 2565 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

6. การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน สัดส่วนการนำเข้าของสหรัฐฯ จากอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามเพิ่มขึ้น ในขณะที่การนำเข้าของสหรัฐฯ จากจีนลดลงหลังจากปี 2559 ซึ่งโดยรวมจะส่งผลดีต่ออาเซียนในฐานะศูนย์กลางการผลิตและการส่งออก

7. จากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียนเพิ่มขึ้น 44% ในปี 2564 ทำสถิติสูงสุดที่ 175.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอาเซียนมี FDI ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน

8. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่สะสมเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ทำให้มีเกราะป้องกันมากขึ้นจากความผันผวนของตลาดการเงิน

9. ความสามารถในการชำระค่านำเข้าเป็นอีกปัจจัยที่สะท้อนความแข็งแกร่ง โดยประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับการชำระค่านำเข้า 3 เดือน

10. ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเงินสำรอง

เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตช้าลงในปี 2566

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ เผยว่า “แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นช่วยให้ตลาดอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565 ได้ แต่คาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ท้าทายและมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ภาวะการเงินที่ตึงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ตึงเครียดมากขึ้น และความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงปัจจัยเสริมอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจของอาเซียนมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลักตลอดจนเป็นแหล่งรองรับเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เราจึงไม่สามารถเพิกเฉยต่อปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้”

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้อาจถูกลดทอนลงบ้างจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมภายในประเทศ การผ่อนคลายข้อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปิดการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง ที่พัก และอื่นๆ ภายในประเทศ และเมื่อจีนเปิดพรมแดนอีกครั้งจะช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

“โดยรวมแล้วเราคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกจะลดลงในปี 2566 โดยตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และอังกฤษ มีอัตราการเติบโตที่ลดลงทั้งปี ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจหลักในอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม) คาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงต่ำกว่า 5% ในปี 2566 จากที่สูงกว่า 6% ในปี 2565” นายเอ็นริโก้ กล่าวปิดท้าย

 

ยูโอบี ประเทศไทย และโครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมสร้างอนาคตเด็กไทยด้วยทักษะการเงิน ผ่านหลักสูตรการเงินออนไลน์ UOB Money 101 Teen Edition วัยรุ่นเก่งการเงิน

Page 6 of 9
X

Right Click

No right click