×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

มีคนขับแท็กซี่นับหลายหมื่นรายที่หันมาใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อรับผู้โดยสารในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นถึงประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในนั้นคือ จิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายชมรมผู้ขับแท็กซี่ 4.0 และ กมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา

1. เพิ่มช่องทางในการหารายได้

  

นายจิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายชมรมผู้ขับแท็กซี่ 4.0 กล่าวว่า “แต่ก่อนเราต้องขับรถไปเรื่อย ๆ รอให้ผู้โดยสารเรียก ทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนค่าแก๊ส ค่าน้ำ

มัน รายได้ในแต่ละวันก็ไม่แน่นอน แต่ปัจจุบันพอมีเทคโนโลยีเข้ามา การใช้แอปเรียกรถทำให้คนขับแท็กซี่อย่างเรามีช่องทางในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น สามารถเลือกไปในพื้นที่ที่มีลูกค้าอยู่หนาแน่นได้ เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะกดเรียก จากที่สอบถามเพื่อน ๆ สมาชิกในเครือข่ายที่ใช้แอปเรียกรถ 

 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

บริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีหรือผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต่างให้ความสำคัญกับการลงทุนและการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัย ซึ่งไม่เพียงจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ แต่ยังทำให้คนขับทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) มาช่วยจับคู่ตำแหน่งของคนขับกับจุดหมายปลายทางของผู้โดยสาร ทำให้คนขับแท็กซี่ทราบจุดรับ-ส่งล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดปัญหาการโบกแล้วไม่จอดรับหรือการปฏิเสธผู้โดยสารอย่างเป็นรูปธรรม หรือการนำระบบจีพีเอส (GPS) มาใช้ ซึ่งช่วยแนะนำเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดให้กับคนขับ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด 

 

3. เพิ่มความอุ่นใจด้านความปลอดภัย

  

ไม่ใช่แค่ผู้โดยสารเท่านั้นที่ต้องการความปลอดภัยในการเดินทาง คนขับแท็กซี่เองก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ต้องขับรถไปส่งผู้โดยสารในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย สถานที่เปลี่ยว หรือในเวลาค่ำคืน ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลในด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยหรือการก่ออาชญากรรม แต่ประเด็นเหล่านี้หมดไปเมื่อมีแอปเรียกรถซึ่งมีเทคโนโลยีและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับคนขับ เนื่องจากผู้ให้บริการแอปพลิเคชันมีเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน (Biometric Authentication) ของทั้งคนขับและผู้โดยสาร จึงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีหากเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ 

ในกรณีที่มีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ คนขับยังสามารถติดต่อ Call Center ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือในกรณีฉุกเฉินก็มีปุ่ม SOS ให้สามารถติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทันที นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แอปเรียกรถอย่างแกร็บยังได้ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

4. เพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน

         

ประโยชน์อีกประการที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน คือ แอปเรียกรถช่วยให้คนขับแท็กซี่ ซึ่งเป็นกลุ่ม Unbanked หรือผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินพื้นฐานจากสถาบันการเงินในระบบ อย่างบริการโอนเงิน ชำระเงิน ฝากเงิน และกู้เงิน มีโอกาสเข้าถึงบริการดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากคนขับจะได้รับเอกสารรับรองทางการเงิน จากบริษัทผู้ให้บริการแอป ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงิน ทำให้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการสมัครบริการสินเชื่อเงินสด (Digital lending) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้นอกระบบถึง 30 เท่า 

กมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา กล่าวเสริมว่า "นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากทั้งค่าโดยสาร โบนัส เงินจูงใจและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แล้ว การใช้แอปเรียกรถทำให้เรามี statement ที่ช่วยรับรองรายได้ของคนขับแท็กซี่ ซึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ เชื่อถือและให้การยอมรับ ทำให้คนขับหลายคนที่เคยเช่ารถและอยากมีรถเป็นของตัวเองสามารถกู้เงินเพื่อซื้อรถเป็นของตัวเองได้”

 

5. เพิ่มศักยภาพและมาตรฐานการให้บริการ

   

การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ อย่างแอปเรียกรถทำให้คนขับแท็กซี่ต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาความเข้าใจและศักยภาพเพื่อให้สามารถก้าวทันยุคดิจิทัลและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาตนเอง โดยแอปเรียกรถอย่างแกร็บยังมีการจัดอบรมต่าง ๆ ให้กับคนขับอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคการให้บริการ การขับขี่ปลอดภัย การดูแลสภาพรถยนต์ หรือแม้แต่คอร์สภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณของคนขับ รวมทั้งมีระบบควบคุมคุณภาพการให้บริการของคนขับแบบเรียลไทม์

มร. เคน หู รองประธานบริหาร หัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวถึง สถานะปัจจุบันของการพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก ในงาน Global Mobile Broadband Forum ครั้งที่ 10 ซึ่งเปิดฉากขึ้น ณ เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวานนี้ (15 ตุลาคม 2562) นอกจากการเน้นย้ำถึงประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่มีต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่ได้ริเริ่มการใช้โครงข่าย 5G กันแล้ว มร. เคน หู ยังกล่าวถึงความสำคัญของนโยบายและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเอื้อต่อการเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ในขั้นต่อไป

“เราได้ขับเคลื่อนจนเกิดความก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก 5G ได้สูงสุด เราต้องร่วมมือกันเพื่อพิชิตความท้าทายต่างๆ ที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ แหล่งทรัพยากรต่างๆ รวมถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เร็วกว่า 4G แต่จะมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของเราที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ในฐานะผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เราจำเป็นต้องมีวิธีคิดที่สดใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต” มร. เคน หู กล่าว

ทั่วโลกเดินหน้า 5G เต็มกำลัง

เพียงเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมาอย่างชัดเจน ได้เกิดการใช้งานเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G อย่างมาก ผู้ให้บริการเครือข่ายในกว่า 20 ประเทศ ได้เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รวมกว่า 40 เครือข่าย ภายในปลายปีนี้ คาดว่าจะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 60 ราย

5G เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสความเร็วสูงสุด โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่เปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ และตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 3.5 ล้านรายสมัครใช้งานเครือข่าย 5G กับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศ ภายในช่วงเวลาเพียงไม่ถึงหกเดือน อัตราการเติบโตดังกล่าวมีผลมาจากบริการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น AR/VR ที่ใช้เทคโนโลยี 5G และการถ่ายทอดสดกีฬาด้วยภาพคมชัดระดับเอชดีแบบ 360º บริการทั้ง 3 รูปแบบนี้ทำให้ผู้ใช้งาน 5G กลุ่มแรกเริ่มใช้ปริมาณดาต้าเพิ่มขึ้นถึง 1.3 กิ๊กกะไบท์ต่อเดือน

 

นอกจากปริมาณการใช้ดาต้าที่เติบโตเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่างๆ ยังมีช่องทางรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น LG U+ ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ได้เปิดตัวบริการด้าน VR/AR ซึ่งรวมอยู่ในแพ็กเกจดาต้า 5Gแบบพรีเมียม และในช่วงเวลาเพียงสามเดือนหลังการเปิดให้บริการ 5G สัดส่วนผู้ใช้งานแพ็กเกจดาต้าแบบพรีเมียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 3.1% เป็น 5.3%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอื่นๆ ยังสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ๆ จากการเริ่มใช้งาน 5G ในระดับอุตสาหกรรม โดย มร. เคน หู กล่าวว่า “แอพพลิเคชั่น 5G เพื่อช่วยยกระดับทั้งด้านการสื่อสารความเร็วสูงบนโทรศัพท์มือถือ ด้านบันเทิง และด้านการผลิต ซึ่งได้เริ่มใช้งานกันไปบ้างแล้ว แม้เรายังบอกไม่ได้ว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นไปในรูปแบบใด ในอนาคต แต่ขณะนี้เราได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าทุกอุตสาหกรรมต่างได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G”

 นโยบายที่เอื้อต่อการพัฒนาคลื่นความถี่และไซท์กระจายสัญญาณ

มร. เคน หู ให้ข้อสังเกตว่า แหล่งจ่ายและต้นทุนของคลื่นความถี่เป็นสองความท้าทายหลักที่เรากำลังเผชิญ “เราหวังว่าภาครัฐจะสามารถจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ให้มากขึ้นและพิจารณารูปแบบการตั้งราคาที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม เพราะจะช่วยลดภาระรายจ่ายลงทุนเบื้องต้นให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายได้”

นอกจากนี้ มร. เคน หู ยังเสนอแนะให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มวางแผนที่จะตอบรับความต้องการในคลื่นความถี่ใหม่ให้ครอบคลุมภายใน 5-10 ปีข้างหน้านี้ พร้อมชี้ว่า คลื่นความถี่ในช่วง 6GHz เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

“อุตสาหกรรมของเราต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรของไซท์สัญญาณเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบัน ต้นทุนยังสูงอยู่มาก ในขณะที่ไซท์สัญญาณไม่เพียงพอกับความต้องการเสมอ หน่วยงานกำกับดูแลควรริเริ่มและส่งเสริมให้มีการเปิดให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะในรูปแบบของการแบ่งปัน รวมถึงออกแนวทางสำหรับการก่อสร้างไซท์สัญญาณ” มร. เคน หู กล่าวต่อ

 มหานครเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองตัวอย่างที่รัฐบาลได้สร้างเสาไฟฟ้าอเนกประสงค์มาตรฐานใหม่ ภายในปี 2020 เซี่ยงไฮ้จะติดตั้งเสาไฟฟ้ารูปแบบใหม่นี้ตลอดระยะทาง 500 กิโลเมตรของถนนสาธารณะ เพื่อเพิ่มแหล่งจ่ายสัญญาณ 5G อีก 30,000 แห่ง คิดเป็น 75% ของสถานีกระจายสัญญาณไร้สายทั่วเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนในยุโรป กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโดยตรง เพื่อกำหนดความต้องการและระบุข้อบังคับในการใช้แหล่งจ่าย 5G และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะร่วมกัน (เช่น ไฟจราจร ป้ายจราจร และป้ายรถเมล์) เพื่อลดต้นทุนให้ทุกภาคส่วนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้ร่วมกันได้

ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

มร. เคน หู กล่าวปิดท้ายด้วยการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เรายังมีความท้าทายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองก์ความรู้ของภาคอุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง กรณีศึกษาตัวอย่าง และการพัฒนาให้สามารถทำเป็นธุรกิจได้ เราจึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมแรงกัน ด้วยการเปิดใจ ทำงานร่วมกันกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อหาปัญหาที่แท้จริงและค้นหาว่าอะไรที่ได้ผลหรือไม่ได้ผล ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถใช้ศักยภาพของ 5G ได้สูงสุด”

ในการส่งเสริมนวัตกรรมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนและความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่กว้างขวางขึ้น หัวเว่ยได้เปิดศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือ 5G สำหรับยุโรปเป็นแห่งแรกในเมืองซูริค ศูนย์นี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและซันไรส์ ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่ช่วยให้ทั้งสองบริษัทสามารถทำงานร่วมกันและพัฒนาโซลูชั่น 5G เฉพาะทางสำหรับภาคอุตสาหกรรม

“เห็นได้ชัดว่าแต่ละประเทศมีจุดแข็งทางเศรษฐกิจของตัวเอง ซึ่งเป็นขอบเขตที่เราสามารถนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปเสริมโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการต่อยอดความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นๆ ” มร. เคน หู กล่าวสรุป

สำหรับงาน Global Mobile Broadband Forum ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน จากผู้ให้บริการเครือข่าย อุตสาหกรรมแบบเดียวกันในแนวดิ่ง บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ หน่วยงานวิเคราะห์การตลาด และสื่อมวลชน โดยมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G โซลูชั่นเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้ 5G ในระดับผู้บริโภค ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมบริการคลาวด์ AR/VR ผ่าน 5G การถ่ายทอดสัญญาณภาพบนความละเอียด 8K การเล่นเกมผ่านคลาวด์ แมชชีนวิชั่น และโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อการควบคุมทางไกล

เมอร์ค บริษัทชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี จัดฉลองครบรอบ 350 ปีทั่วโลก พร้อมประกาศเดินหน้านำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่อนาคต ภายใต้ธีมหลัก “Always Curious”

นายคริส ซิสเนรอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์ค จำกัด (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า “ปี 2561 เป็นปีที่เมอร์คมีอายุครบรอบ 350 ปี นับเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากที่ “เมอร์ค” กลายเป็นบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสัญชาติเยอรมันที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จากการวางรากฐานด้านวิทยาศาสตร์ของนายเฟรดริก จาคอบ เมอร์ค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ​2211 และได้พัฒนาผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากมายจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้ เมอร์คมีสำนักงานตั้งอยู่ใน 66 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งสาขาในประเทศไทย โดยมีธุรกิจหลักเกี่ยวกับยาและสุขภาพ วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งมีชีวิต และวัสดุและเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพ โดยเมอร์คมียอดขายเติบโตในไตรมาสแรกของปี 2561 จำนวน 3.7 พันล้านยูโร โดยกลุ่มธุรกิจด้านยาและสุขภาพ และวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งมีชีวิต มีอัตราเติบโตขึ้น 3.5% ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย จึงนับได้ว่า เป็นบริษัทด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีเรื่องราวความสำเร็จที่น่าทึ่ง และยังเป็นการเติบโตที่มั่นคง แข็งแกร่ง มาอย่างยาวนานอีกด้วย”

สำหรับประเทศไทย เมอร์ค ได้เข้ามาร่วมลงทุนในไทยยาวนานถึง 27 ปี ในฐานะกิจการร่วมการค้าระหว่างบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ และบริษัท บี กริม (ประเทศไทย) จำกัด โดยดำเนินธุรกิจแบบ B2B ดังเช่นเมอร์คทั่วโลก โดยธุรกิจหลักของประเทศไทยที่มีอัตราเติบโตสูง ได้แก่ กลุ่มยาและสุขภาพ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางสำหรับผลิตภัณฑ์ด้านชีวเวชภัณฑ์สำหรับการแพทย์ที่ครอบคลุมการรักษาตั้งแต่โรคที่มาจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื้องอกหรือมะเร็ง ภาวะมีบุตรยาก โรคหัวใจและหลอดเลือด และยาทั่วไปที่จ่ายโดยแพทย์เท่านั้น รวมไปถึงกลุ่มเวชภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ยาของเมอร์คได้จากร้านขายยาที่มีเภสัชกรเป็นผู้ให้การแนะนำ เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจที่ได้รับการตอบรับดีจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งเมอร์คมีความเชี่ยวชาญ และความพร้อมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมทั้งวงการแพทย์ อาหารและยา วิทยาศาสตร์ และวิจัยพัฒนา ได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ในการร่วมฉลองครบรอบ 350 ปีของเมอร์คนั้น “เมอร์ค ประเทศไทย” ได้ร่วมดำเนินงาน และเข้าร่วมกิจกรรมตาม proof print ของเมอร์คภายใต้ธีมเดียวกันทั่วโลก "Always Curious” ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อก้าวเข้าสู่อนาคตดิจิทัลต่างๆ มากมาย อาทิ การจัดงาน “Curious2018 – Future Insight” ที่เมืองดาร์มสตัดท์ ประเทศเยอรมนี ที่รวบรวมนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกกว่า 35 คน มาร่วมอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการจัดกิจกรรม “Technology Days” ในงานฉลอง 350 ปีในโซนเอเชีย ที่ประเทศจีน เพื่อยกระดับโครงการนวัตกรรมและการวิจัยของเมอร์ค รวมถึงการประกาศจับมือกับอาลีบาบา เฮลท์ (Alibaba Health) เพื่อให้ผู้ป่วยชาวจีนและครอบครัวได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้นผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ เป็นต้น

“ผมมองว่า เมอร์คมีความตั้งใจหลายอย่างที่จะมอบให้กับโลกนี้ด้วย Proof Point ที่ทำให้เรามายืนได้ในจุดนี้ เรามีการปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้โฟกัสในธุรกิจยาที่สั่งโดยแพทย์มากขึ้น รวมถึงการจัดโครงการ 350 Good Deeds ที่รวบรวมกิจกรรม CSR จากเมอร์คทั่วโลกให้ครบ 350 โครงการตลอดทั้งปีนี้ ตลอดจนการรีแบรนด์ดิ้งเมอร์คทั่วโลกให้มีรูปลักษณ์ทันสมัย สนุกสนาน และมีชีวิตชีวา มาตั้งแต่ปลายปี 2558 ซึ่งทำให้วิทยาศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงยาก และน่าเบื่ออีกต่อไป แต่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สนุกและน่าเรียนรู้ ท้าทายความสงสัยใคร่รู้ ที่ทำให้เมอร์ค ช่วยพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์มาได้ยาวนานถึง 350 ปี และความอยากรู้อยากเห็นนี้เองที่เป็นแรงผลักดันและกระตุ้นให้องค์กร และบุคลากรของเมอร์คได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเราเพื่อช่วยพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า และอำนวยความสะดวกให้สังคมโลกในด้านต่างๆ ได้ต่อไปในอนาคต" นายคริส กล่าวทิ้งท้าย

โลกยุคดิจิทัลผันเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยี ระเบียบการค้าและตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แม้ประเทศไทยจะมีจุดได้เปรียบด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จากการเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีผลิตผลการเกษตรหลากหลายตลอดปีแต่โรงงานอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปส่วนใหญ่ ยังประสบกับปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจและการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนายกระดับและสร้างนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ EHEDG และ บ.เอ็นเดรส แอนด์ เฮาเซอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดงาน"Technology Sharing Day for Food & Beverage" โดยมี รศ. ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา วันเทคโนโลยีอาหารและเครื่องดื่ม "Technology Sharing Day for Food & Beverage" รศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค ประธาน พร้อมด้วยรศ.ดร.ทวีพล ซื่อสัตย์ ประธานร่วม EHEDG Thailand และ คุณคาติกเคยัน เชอลาพัน (Kartikeyan Chellappen) จาก บ.เอ็นเดรส แอนด์ เฮาเซอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีเครื่องมือด้านการวัดที่ใช้อุตสาหกรรม มากว่า 20 ปี ร่วมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเครื่องดื่มและอาหารแก่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มไทย ณ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและบริการวิศวกรรม (EIDTs) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การสร้างความเข้มแข็งในอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปอาหาร-เครื่องดื่ม จะช่วยยกระดับคุณภาพ สุขอนามัย คุณค่าทางโภชนาการและภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ การสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ในเรื่องของการออกแบบโครงสร้างการผลิต อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักร รวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตถภัณฑ์อาหาร ซึ่งโรงงานส่วนมากมักพบกับปัญหาที่ต้องตามแก้ไขทั้งด้านสถานที่ตั้งเครื่องมือ เครื่องจักรที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ต้องเสียเวลาและงบประมาณจำนวนมากในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผ่านการรับรองระบบมาตรฐานต่างๆ

รศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค ประธาน EHEDG THAILAND กล่าวว่า ภายในงานสัมมนา "Technology Sharing Day for Food & Beverage" ได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและการติดตั้งเครื่องจักรที่ถูกสุขลักษณะและการติดตั้งระบบเซนเซอร์ กล่าวคือ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรที่ถูกสุขลักษณะต้องไม่ทำจากวัสดุที่มีปฏิกิริยากับอาหารและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่ก่อให้เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล ในส่วนการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและถูกสุขลักษณะ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ ชนิด ปริมาณ การรับวัตถุดิบและสารเคมีที่ใช้ในการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตได้ การจัดเก็บ การเตรียมการผลิต การบำบัดด้วยความร้อน การทำความสะอาด การบำรุงรักษา การทำความสะอาดและกำจัดกากของเสีย อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรเป็นประจำ การใช้สารเคมีที่ทำความสะอาด ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ปลอดภัยต่อการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นที่ไว้วางใจของคู่ค้าและผู้บริโภคโดยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและตลาดโลก

สำหรับ EHEDG (European Hygienic Engineering and Design Group) ประจำประเทศไทย หรือ EHEDG Thailand เป็นเครือข่ายของ องค์กรสากล EHEDG ซึ่งเป็นองค์กรด้านสุขอนามัยและวิศวกรรมอาหาร ในสหภาพยุโรปที่ก่อตั้งขึ้น โดย EHEDG เป็นศูนย์รวมเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญการผลิตอาหาร การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ รวมทั้งองค์กรเพื่อสุขภาพ EHEDG มีบทบาทเป็นผู้กำหนดแนวปฏิบัติ (EHEDG guidelines) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีแนวทางที่ถูกต้องและสามารถปฏิบัติตามกฎหมายของยุโรปได้ ทั้งเน้นการส่งเสริมให้ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก นอกจากนี้ EHEDG ยังกำหนดแนวปฏิบัติและให้การรับรองอุปกรณ์วิศวกรรม เครื่องมือเครื่องจักรในกระบวนการผลิตอาหารอย่างมีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานISO 14159 และ EN 1672-2 โดย EHEDG Thailand ได้จัดทำ คู่มือ EHEDG Guidelines Vol.2 เกี่ยวกับเกณฑ์การออกแบบอุปกรณ์และเครื่องมือตามหลักสุขลักษณะ ประกอบด้วยแนวปฏิบัติด้านการออกแบบอุปกรณ์แปรรูปอาหารเหลวในระบบปิดตามหลักสุขลักษณะ เช่น ปั๊ม ถังผสม ถังเก็บ ระบบเดินท่อ, ข้อกำหนดทางด้านสุขอนามัยของวาล์วสำหรับกระบวนการแปรรูปอาหาร, การต่อท่อแบบคัปปลิงตามหลักสุขลักษณะ และการออกแบบปั๊มโฮโมจิไนเซอร์และอุปกรณ์แดมพ์เพนนิ่งตามหลักสุขอนามัย 
ปัจจุบันองค์กรสากล EHEDG มีสำนักงานในภูมิภาคต่างๆเช่น เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ กลุ่มประเทศนอร์ดิค โปแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และกำลังขยายไปยังประเทศในเอเซียและยุโรปตะวันออก
สำหรับ EHEDG ประเทศไทยนั้น สจล.เป็นตัวแทนในภูมิภาคขององค์กรสากลนี้

ประกันภัยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากกระแสดิจิทัล โลกเริ่มเห็นความเคลื่อนไหว Insure Tech ตีคู่มากับ Fin Tech ที่เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค

Page 6 of 7
X

Right Click

No right click