November 22, 2024

ประเทศไทยเริ่มใช้ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) เพื่อป้องกันโควิด-19 ในผู้ป่วยกลุ่มแรก 

July 28, 2022 1326

 

แอสตร้าเซนเนก้า ส่งมอบยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) ชุดแรกจำนวนกว่า 7,000 โดส ให้กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ต้นสัปดาห์นี้ เพื่อนำไปจัดสรรและใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มประชาชนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องในประเทศไทย โดยในวันนี้ กรมควบคุมโรคได้เริ่มใช้ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า กับกลุ่มเป้าหมายโดยเริ่มที่ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายเป็นกลุ่มแรก

แอสตร้าเซนเนก้าจะส่งมอบยา AZD7442 จำนวน 257,500 โดส ให้กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตามสัญญาการจัดซื้อที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชากรกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อโควิด-19 โดยเฉพาะ “กลุ่ม 607” ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มี 7 โรคประจำตัว ซึ่งอาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะทางสุขภาพจากโรคประจำตัว การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือไม่สามารถรับวัคซีนได้ โดยประชาชนกลุ่มนี้หากติดเชื้อจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรครุนแรงจากโควิด-19 

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ประชาชนกลุ่มเปราะบางจำนวนมากยังคงวิตกกังวลจากโควิด-19 จึงมีความจำเป็นต้องแยกห่างจากสังคมและคนใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านของโควิด-19 ไปสู่โรคประจำถิ่น (Endemic) ที่มาตรการป้องกันต่างๆ ได้ถูกยกเลิกหรือผ่อนปรนแล้ว เพราะตระหนักว่าร่างกายของตนมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนได้ไม่ดีเท่ากับคนทั่วไป การเริ่มต้นใช้ยาแอนติบอดีในวันนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่จะเอาชนะความกลัวในการใช้ชีวิตท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 และยังเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการร่วมมือกันต้านภัยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย” 

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด1 แอนติบอดีดังกล่าวสามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในประเทศไทย และสายพันธุ์อื่นๆ ที่มี ณ ปัจจุบัน นอกจากนั้นผลการศึกษาระยะที่ 3 พรูฟเวนท์ (PROVENT) ในการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine ยังระบุว่า AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) สามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แบบมีอาการได้ 77% จากการวิเคราะห์เบื้องต้น และ 83% จากการวิเคราะห์มัธยฐานที่ระยะเวลา 6 เดือน2 

AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า) ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหภาพยุโรป และขึ้นทะเบียนตำรับยาแบบมีเงื่อนไขจากหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ของสหราชอาณาจักร เพื่อใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 นอกจากนี้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ถูกส่งมอบให้กับอีกหลายประเทศ โดยขณะนี้ บริษัทกำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนยา AZD7442 ในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อการอนุมัติใช้ทั้งในแง่ของการป้องกัน และการรักษาโควิด-19 

AZD7442 หรือ LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า

AZD7442 (LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้า)  เป็นยาแอนติบอดีแบบผสม ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่ tixagevimab (AZD8895) และ cilgavimab (AZD1061) มาจากบีเซลล์ที่ได้รับการบริจาคจากผู้ที่เคยป่วยจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งถูกค้นพบโดยศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิวท์ และได้อนุญาตให้แอสตร้าเซนเนก้านำมาพัฒนาต่อเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2563 โมโนโคลนอลแอนติบอดีของมนุษย์ 2 ตัวนี้จะมีความจำเพาะที่ต่างกัน เพื่อจับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือ SARS-CoV-2 ในคนละจุด3 และถูกพัฒนาต่อโดยแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต(half-life) เพื่อเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี และปรับให้มีการจับกันของ Fc Receptor และ Complement ชนิด C1q ที่ลดลง4 โดยการขยาย half-life นั้น สามารถเพิ่มความยืนยาวของแอนติบอดี้ได้มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับแอนติบอดี้ทั่วไป5-7 จากข้อมูลของการทดลองในระยะที่ 3 แสดงให้เห็นว่าระดับของแอนติบอดีที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจํานวนของไวรัส (neutralizing antibody) คงอยู่ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน6 และการปรับให้มีการจับของ Fc Receptor ที่ลดลงนั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะ antibody-dependent enhancement (ADE) ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่แอนติบอดี้ของเชื้อไวรัสเข้าไปกระตุ้นแทนที่จะยับยั้งการติดเชื้อในหลายงานวิจัยพบว่า LAAB ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 รวมถึงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.23-7 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดทั่วโลกอยู่ในขณะนี้2

 

References

  1. AstraZeneca news release. Evusheld long-acting antibody combination retains neutralising activity against Omicron variants BA.4 and BA.5, according to new study from University of Oxford. Available at: https://www.astrazeneca.com/media-centre/medical-releases/evusheld-long-acting-antibody-combination-retains-neutralising-activity-omicron-variants-ba4-ba5-according-new-study-university-oxford.html. [Last accessed: June 2022].
  2. AstraZeneca news release. Evusheld significantly protected against symptomatic COVID-19 for at least six months in PROVENT Phase III trial in high-risk populations. Available at: https://www.astrazeneca.com/media-centre/press-releases/2022/evusheld-significantly-protected-against-symptomatic-covid-19-for-at-least-six-months-in-provent-phase-iii-trial-in-high-risk-populations1.html. [Last accessed: June 2022].
  3. Dong J, et al. Genetic and Structural Basis for SARS-CoV-2 Variant Neutralization by a Two-Antibody Cocktail. Nat Microbiol. 2021;6(10):1233-1244. doi:10.1038/s41564-021-00972-2.
  4. Loo YM, et al. AZD7442 Demonstrates Prophylactic and Therapeutic Efficacy in Non-Human Primates and Extended Half-Life in Humans. Sci Transl Med. 2022;14(635):eabl8124.
  5. Robbie GJ, et al. A Novel Investigational Fc-Modified Humanized Monoclonal Antibody, Motavizumab-YTE, Has an Extended Half-Life in Healthy Adults. Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 2013;57(12):6147. doi:10.1128/AAC.01285-13.
  6. Griffin MP, et al. Safety, Tolerability, and Pharmacokinetics of MEDI8897, the Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody with an Extended Half-Life, in Healthy Adults. Antimicrob Agents Chemother. 2017;61(3).
  7. Domachowske JB, et al. Safety, Tolerability and Pharmacokinetics of MEDI8897, an Extended Half-Life Single-Dose Respiratory Syncytial Virus Prefusion F-Targeting Monoclonal Antibody Administered as a Single Dose to Healthy Preterm Infants. Pediatr Infect Dis J. 2018;37(9):886-892.
  8. van Erp EA, et al. Fc-Mediated Antibody Effector Functions During Respiratory Syncytial Virus Infection and Disease. Front Immunol. 2019;10 (MAR).

 

 

X

Right Click

No right click