FWD ประกันชีวิต เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุด “CI Modular Series” ดูแล...แคร์ไม่หยุด เพราะ FWD ประกันชีวิตไม่เคยหยุดดูแล สื่อสายใยถึงคุณค่าของความรัก ความผูกพัน การดูแลกันและกันที่ไม่สิ้นสุด สร้างการรับรู้ถึงการเตรียมพร้อมรับมือโรคร้ายแรงผ่านเรื่องราวสายสัมพันธ์ของผู้หญิง เพื่อร่วมฉลองเดือนสตรีสากล พร้อมรับชมได้บนทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
นางสาวปวริศา ชุมวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต กล่าวว่า “จากการทำงานต่อเนื่องในการให้ความสำคัญเกี่ยวกับโรคร้ายแรง FWD ประกันชีวิต พบว่าในสถานการณ์ของลูกค้าเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ค่าใช้จ่ายตามความคุ้มครองที่มีอยู่ในปัจจุบันครอบคลุมเพียงแค่ความคุ้มครองในส่วนของโรคร้ายแรงเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเพียงแค่ด่านแรกที่ต้องเตรียมรับมือ แต่อาจจะมีผลข้างเคียงหรือการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ตามมา โดยเฉพาะโรคร้ายแรงอย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable diseases) เช่น โรคหัวใจ-หลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน เป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้คนมากถึง 41 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของอัตราการตายทั่วโลก จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก หรือ WHO* และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต** อีกทั้งยังเป็นโรคที่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวได้อีกด้วย นอกจากนี้ จากการศึกษาผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ*** ที่ได้ทำการสำรวจสถานการณ์สุขภาพปี 2566 ยังพบว่า เพศหญิง มีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 21.3 และ 15.5 ตามลำดับ) อีกทั้งยังพบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีอาการเจ็บป่วยด้วย โรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ร้อยละ 56.3 และสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ
เพื่อเป็นการร่วมฉลองวันสตรีสากล ในเดือนมีนาคม FWD ประกันชีวิต องค์กรที่สนับสนุนความหลากหลาย ความเท่าเทียม และเคารพทุกความแตกต่าง อย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิด Diversity, Equity และ Inclusion (DEI) จึงได้จัดทำภาพยนตร์โฆษณาที่เชิดชูความรัก การดูแลของผู้หญิงในหลายแง่มุม เพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์ในชุด “CI Modular Series” จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ CI Med-ALL และ CI Cash A Day ที่บอกเล่าเรื่องราวความรัก ความผูกพัน และความห่วงใยของผู้หญิง ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Never Ending Care” หรือ “ดูแล แคร์ไม่หยุด” เพราะ FWD ประกันชีวิต ไม่เคยหยุดดูแล เริ่มตั้งแต่วันที่ตรวจเจอ เพื่อให้ผู้หญิงทุกคนเห็นถึงคุณค่าของสายใยแห่งความรัก ความผูกพัน และการดูแลซึ่งกันและกันที่ไม่สิ้นสุด ในการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคร้ายแรงที่มีผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิดหรือการเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงอื่นๆ ที่อาจตามมา โดยมี FWD ประกันชีวิต ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคอยดูแล
ภาพยนตร์เรื่อง CI Med-ALL ดูแล...แคร์ไม่หยุด ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากความรักระหว่างแม่และลูกสาว สร้างสรรค์ออกมาเป็นเรื่องราวการเดินทางในชีวิตของแม่และลูก ที่แม้ว่าลูกจะต้องเผชิญกับอาการป่วยหนัก แต่ก็ยังได้รับกำลังใจจากแม่และต่างคนก็คอยช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน เป็นการดูแลที่ไม่สิ้นสุดของแม่ที่มีให้แก่ลูก ไม่ว่าลูกจะมีอายุเท่าไหร่ ซึ่งตรงกับผลิตภัณฑ์ CI Med-ALL ของ FWD ประกันชีวิต ที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เพราะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ที่อาจจะตามมาในระหว่างหรือหลังจากที่เป็นโรคร้ายแรง
ภาพยนตร์เรื่อง CI Cash A Day ดูแล...รายได้ไม่สะดุด เรื่องราวความผูกพันและการดูแลซึ่งกันและกันของเพื่อนสนิทที่คอยดูแลกันมาในทุกช่วงเวลาแม้ในระหว่างการเจ็บป่วย แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และการสนับสนุนอย่างเสมอมาในเวลาที่เพื่อนต้องการการดูแล เช่นเดียวกับ CI Cash A Day โดย FWD ประกันชีวิต ที่ยังคงให้การดูแลแม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากด้วยการเพิ่มค่าชดเชยรายได้เมื่อเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เพิ่มความอุ่นใจในทุกช่วงเวลาของชีวิต
“FWD ประกันชีวิต เราสนับสนุนวัฒนธรรมแห่งการสร้างสายใยแห่งสัมพันธภาพที่ดีร่วมกัน โดยยึดมั่นในหลัก Diversity, Equity และ Inclusion (DEI) และพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคอยดูแล เพราะการดูแลไม่มีวันหมดอายุ โดยทุกท่านสามารถรับชมภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์ชุด “CI Modular Series” ได้ในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ และโซเชียลมีเดียของ FWD ประกันชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” นางสาวปวริศา กล่าวทิ้งท้าย
นอกจากนี้ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ภายใต้ “CI Modular Series” ซึ่งประกอบด้วย “CI Med-ALL” และ “CI Cash A Day” สามารถติดต่อตัวแทน FWD ประกันชีวิต พร้อมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FWD Customer Center 1351 หรือช่องทางเว็บไซต์
https://www.fwd.co.th/
ข้อมูลอ้างอิง
* โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable diseases)
**สถิติโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากองค์การอนามัยโลก (WHO)
**ผลสำรวจสถานการณ์ด้านสุขภาพ ปี 2566 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ