นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึง แนวโน้มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลกปี 2567 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องคาดว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 1.14 ล้านล้านดอลลาร์ และจะเพิ่มเป็น 1.38 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2572 จากความต้องการและการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ที่เริ่มมีการเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่น การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยปีที่ผ่านมา (2566) มีมูลค่ากว่า 3.5 แสนล้านบาท ส่วนปี 2567 คาดว่าจะเติบโตเพิ่มกว่า 10% หรือประมาณ 3.85 แสนล้านบาท จากปัจจัยบวกด้านยุทธศาสตร์รัฐที่ต้องการยกระดับการผลิตอาหารของไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารโลก รวมถึงการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ฟื้นตัวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะเพิ่มการบริโภคภายในประเทศและมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบต้องเตรียมพร้อมและพัฒนาการผลิตให้ดีขึ้น ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ในวันนี้มีหลายมิติ ทั้งคุณสมบัติในการสร้างความปลอดภัยและยืดอายุให้สินค้า ส่งเสริมการขายและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าด้วยการออกแบบและความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งการพัฒนาการผลิตต้องเริ่มตั้งแต่เลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ (recycled materials) หรือวัสดุที่มีความสามารถในการย่อยสลาย (biodegradable materials) พร้อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้ AI หุ่นยนต์และระบบการผลิตอัตโนมัติ (Automation) มาช่วยคำนวณการใช้ทรัพยากร พลังงานและการลดต้นทุน ฯลฯ ให้ดียิ่งขึ้น
งาน ProPak Asia เป็นงานแสดงเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บและการขนส่งตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำในระดับเอเชีย ที่มีส่วนสนับสนุนและร่วมพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์ของไทยให้มีความสามารถมากขึ้น โดยงาน ProPak Asia 2024 ปีนี้ ได้ยกโซน PackagingTech Asia เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์และกระบวนการบรรจุภัณฑ์ DrinkTech Asia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม PharmaTech Asia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยา Packaging Solution Asia เทคโนโลยีเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป Coding, Marking & Labelling Asia เทคโนโลยีเพื่อการเขียนรหัส ติดป้ายและปักหมายเลขบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมถึง Lab&Test Asia เทคโนโลยีการตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานของอาหารและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนกิจกรรมในโซนนี้ให้เป็นหนึ่งในไฮไลท์ของการจัดงานฯ โดยกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย
· I-Stage เวทีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการลงทุนสำหรับโซลูชั่นทางธุรกิจในห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ธุรกิจ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) สินค้าอุปโภค บริโภค
· Packaging Design Clinic โซนให้คำปรึกษาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ เพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุน เสริมศักยภาพการผลิต โดยร่วมกับสมาคมออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย (Thai PDA)
· Design Box การนำเสนอผลงานการออกแบบ โดยคุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์รางวัลระดับโลกจาก Prompt Design
· ThaiStar, AsiaStar, WorldStar Display พื้นที่จัดแสดงตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลชนะการประกวดออกแบบระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยความร่วมมือจาก Thai-IDC, DIPROM (รางวัล ThaiStar) และ Asian Packaging Federation (รางวัล AsiaStar) และ The World Packaging Organisation (WPO) (รางวัล WorldStar)
นายโวล์ฟกัง คอนราด รองประธานฝ่ายการตลาดและสื่อสาร ไอดับเบิลยูเค แฟร์แพคคุงเทคนิก เจเอ็มเบอฮ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์จากประเทศเยอรมนี ซึ่งดำเนินงานในประเทศไทยภายใต้ชื่อ บริษัท ไอดับเบิลยูเค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานต้องปลอดภัย ถูกสุขอนามัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นวัสดุรีไซเคิลและย่อยสลายได้ ใช้ทรัพยากรน้อยลงในการผลิต มีการออกแบบอย่างสร้างสรรค์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรงงานของเรามีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและผลิตบรรจุภัณฑ์ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ เวชภัณฑ์ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอาง อาหาร ฯลฯ ส่วนคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทยในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาตินั้น ต้องเพิ่มขีดความสามารถ ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ซึ่งไอดับเบิลยูเค พร้อมให้คำแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้และอัพเดทเทรนด์ใหม่ๆ กับผู้ประกอบการไทยตลอดเวลา
สำหรับการร่วมจัดงานกับ ProPak Asia นั้น นับว่าประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านเป็นอย่างมาก เพราะเป็นงานแสดงสินค้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดในเอเชีย ทำให้ผู้ร่วมงานได้รับประสบการณ์ที่ดี โดยงาน ProPak Asia 2024 ครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้เตรียมเปิดตัว CABLIblue 870 ซึ่งเป็นระบบผลิตบรรจุภัณฑ์แบบ “Blister on Carton” ที่ใช้กระดาษแข็ง 100% นวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ตอบสนองต่อกระแสความยั่งยืน โดยระบบนี้จะช่วยให้สินค้าลดการใช้พลาสติกจากบรรจุภัณฑ์แบบ Blister Pack ลงได้ และอีกหนึ่งไฮไลท์ คือ ระบบบรรจุกล่องรุ่น CH4 ที่ประหยัดพลังงานได้มากกว่า 20% รวมถึงเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และบริการของ ไอดับเบิลยูเค อีกมากมาย
นายลำพูล อุ่นเรือน ประธาน บริษัท เซนต้า แพ็ค แมชชีนเนอรี่ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกทั้งอาหารคนและอาหารสัตว์ ได้ให้ความเห็นถึงโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยว่า มีโอกาสเติบโตอีกมากเพราะไทยเป็นฐานการผลิตอาหารสำคัญของโลก สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องติดตาม คือ แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ที่ต้องรักษ์โลกมากขึ้น ผู้ผลิตบางรายมีการปรับมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจากวัสดุเพียงชนิดเดียว (Mono Material) ที่สามารถระบุชนิดของวัสดุที่สอดคล้องกับกระบวนการรีไซเคิลได้ เพื่อเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าและกฎระเบียบทางการค้าของแต่ละประเทศ พร้อมรักษาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้ทันสมัย โดยในส่วนของบริษัทฯ นั้น ได้มีการพัฒนาเทคโลยีการบรรจุสินค้าแบบใช้ความร้อนและความดันสูงเพื่อฆ่าเชื่อ (Retort) ให้รองรับกับบรรจุ
ภัณฑ์ของลูกค้า เช่น การใช้ Ultrasonic Sealing Method สำหรับบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ต้องการความแม่นยำในการซีลสูงและสามารถใช้กับสินค้ากลุ่ม Mono Material ได้
การร่วมจัดแสดงงานกับ ProPak Asia นั้น เป็นโอกาสที่ดีที่ได้นำเสนอเทคโนโลยีเครื่องจักรใหม่ๆ ได้สร้างความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงมุมมองต่างๆ กับลูกค้าเก่าและได้พบลูกค้าใหม่ในทุกครั้งของการจัดงาน ส่วนไฮไลท์ที่จะนำมาร่วมจัดแสดงในปีนี้ คือ เครื่อง Vacuum Rotary ในกลุ่มสินค้า Curry paste และมีการจัดแสดงโซลูชั่นในการบรรจุแบบอัตโนมัติที่จะช่วยผู้ประกอบการที่มีปัญหาการเพิ่มกำลังการผลิตแต่ขาดแคลนแรงงานอีกด้วย
งาน ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานฯ สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com