December 23, 2024

เอฟดับบลิวดี จับมือโรงพยาบาล 55 แห่ง ให้บริการ Telemedicine สำหรับลูกค้าป่วยด้วยโรคเรื้อรัง

May 21, 2020 2552

นายอภิรักษ์ จิตรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเทคโนโลยีและปฎิบัติการ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ลูกค้าที่เป็นผู้ป่วยไม่สะดวกในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บริษัทฯจึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำ จำนวน 55 แห่งทั่วประเทศ ในการเพิ่มบริการ Telemedicine  สำหรับลูกค้าเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต โดยเป็นผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากการเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง โรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องติดตามการรักษา และจะต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง  เช่น โรคเบาหวาน   โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ  โรคมะเร็ง  โรคทางสมอง หรือโรคไทรอยด์  เป็นต้นทั้งนี้ผู้ป่วยรายนั้นจะต้องมีเอกสารการนัดติดตามการรักษาจากแพทย์และเคยได้รับการอนุมัติสินไหมค่ารักษาพยาบาลของโรคดังกล่าวจากบริษัทมาก่อนแล้ว

สำหรับการให้บริการ Telemedicine นี้ เป็นการบริการให้คำปรึกษาจากแพทย์ทางออนไลน์ และการจัดส่งยาถึงบ้านลูกค้า โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก(OPD)ของลูกค้า ได้แก่ ค่ายาและเวชภัณฑ์(ตามเงื่อนไขกรมธรรม์) ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เฉพาะการตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาล การทำงานของไต, ตับ, ตับอ่อน และหัวใจ ค่าแพทย์ รวมทั้งค่าจัดส่งยาถึงบ้าน

ทั้งนี้โรงพยาบาลที่ให้บริการ Telemedicine แก่ลูกค้าเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต เป็นโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ เช่น เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เครือโรงพยาบาลพญาไท เครือโรงพยาบาลสมิติเวช เครือโรงพยาบาลบางปะกอก เครือโรงพยาบาลเปาโล  เครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ เครือโรงพยาบาลมหาชัย โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ โรงพยาบาลศรีสวรรค์ เป็นต้น โดยให้บริการ Telemedicine ตั้งแต่วันที่  1 พฤษภาคม -  30 มิถุนายน 2563 นี้ 

นายอภิรักษ์ กล่าววว่า "บริษัทฯตระหนักถึงความปลอดภัยของลูกค้าเป็นหลัก เราจึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศในการเพิ่มบริการ Telemedicine เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเรา ว่าเขาจะได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้เราจะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้"

X

Right Click

No right click