พร้อมมอบ dtac@Home ใช้งานฟรี Wi-Fi ที่ ร.พ. สนาม รวมทั้งเดินหน้าติดตั้งสถานีฐาน เสริมรถโมบายล์ ปรับพารามิเตอร์ และอุปกรณ์รับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มต่อเนื่องทั่วไทยและปรับปรุงสัญญาณพื้นที่ข้างเคียง อาทิ สนามกีฬาบางกอก อารีน่า หนองจอก หลังปรับปรุงเป็นโรงพยาบาลสนามเอราวัณ 2 รองรับผู้ป่วย 350 เตียง พร้อมมอนิเตอร์การใช้งานเผยยอดใช้ดาต้าพุ่งราว 2 เท่า
ดีแทครายงานสถิติการใช้งานโรงพยาบาลสนามที่สำคัญ ดังนี้
- สถิติการใช้งานดาต้าสูงสุด (Peak hour period) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 18.00-21:00 น
- แอปพลิเคชันใช้งานสูงสุด คือ1. Facebook YouTube 3. TikTok 4. Instagram 5. LINE และ Netflix
- ปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติเฉลี่ยประมาณ2 เท่า(ในพื้นที่โรงพยาบาลสนาม)
- โรงพยาบาลสนาม3 จังหวัดที่มีการใช้งานดาต้าสูงสุด 1.กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ 3 สมุทรสาคร
ดีแทคได้เข้าตรวจสอบสัญญาณโรงพยาบาลสนามทั่วไทย พร้อมนำทีมเพิ่มสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเชื่อมต่อการสื่อสารช่วงวิกฤต ทุกโรงพยาบาลสนามทั่วไทยตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการรองรับผู้ป่วย และพื้นที่ใกล้เคียงที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โรงพยาบาลสนามภายในศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ 7 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลสนามศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จ.ลำปาง โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก โรงพยาบาลสนามสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 10) จ.สมุทรสาคร โรงพยาบาลสนามนนทบุรี ที่โรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัย เป็นต้น
ด้านมุมมองจากโรงพยาบาลสนามโดย พญ.สุภาพร กรลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ตัวแทนสำนักการแพทย์ กล่าวว่า “การติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 นอกจากแพทย์จะต้องทราบรายงานอุณหภูมิการวัดไข้ วัดความดัน และวัดค่าออกซิเจนแล้วเพื่อเฝ้าระวังแล้ว แพทย์จะต้องวินิจฉัยอาการอื่นๆ ในแต่ละวันเพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากต้องมีการรักษาระยะห่าง (social distancing) เพื่อลดการสัมผัสและป้องกันการระบาดเพิ่มจึงไม่สามารถพบผู้ป่วยโดยตรงได้ การติดต่อผู้ป่วยผ่านทางดิจิทัลและจอมอนิเตอร์จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทีมแพทย์โรงพยาบาลสนาม ในส่วนนี้การเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งทำให้ลดช่องว่างในการเข้าถึงผู้ป่วย ทำให้การรักษาและติดตามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกท่าน รวมถึงผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามยังสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัวหรือใช้งานแอปพลิเคชันที่จำเป็นอย่างอื่นได้ด้วย”
นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคจัดทีมงานปฏิบัติภารกิจด่วน เพิ่มสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องในการรักษาและควบคุมโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงรองรับผู้ป่วย เราเร่งติดตั้งสถานีฐานหรือส่งรถโมบายล์ประจำพื้นที่ให้กับโรงพยาบาลสนาม รวมถึงการนำขยายพื้นที่บริการ 4G-TDD และเร่งเพิ่มเทคโนโลยี Massive MIMO ทำให้การใช้งานดีกว่าเดิม 3 เท่า ซึ่งล่าสุดเราได้นำคลื่น 700 MHz หรือคลื่นความถี่ต่ำมาเพิ่มความครอบคลุมสัญญาณทั้งในอาคารและพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งยกระดับคุณภาพใช้งานของเพื่อเชื่อมต่อกับทุกคนในช่วงเวลาสำคัญ”
ดีแทคเปิดให้บริการ Free Wi-Fi ที่โรงพยาบาลสนามผ่าน dtac@Home
ดีแทคเร่งนำ dtac@Home หรือ Fixed Wireless Broadband ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดตั้งง่ายทุกที่ไม่ต้องเดินสาย สำหรับนำไปใช้งานที่โรงพยาบาลสนาม สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องในการรักษาและควบคุมโรคระบาดโควิด-19 รวมถึงรองรับการใช้งานของผู้ป่วย โดยได้เร่งกระจาย dtac@Home ไปที่โรงพยาบาลสนามต่างๆ เรียบร้อย อาทิ
- โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน จ.กรุงเทพฯ
- โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตทวีวัฒนา จ.กรุงเทพฯ
- ศูนย์แพทย์ศาสตร์และการเรียนรู้เพื่อผู้สูงอายุ จ.กรุงเทพฯ
- ศูนย์สนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ณ กรมยุทธบริการทหาร จ.กรุงเทพฯ
- โรงพยาบาลสนามพระพรหม อำเภอพรพรหม จ.นครศรีธรรมราช
นอกจากนั้น ดีแทคยังได้จัดทีมงานในการดูแลโครงข่ายจากห้องปฏิบัติการ (NOC) เพื่อตรวจสอบการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงในการปฏิบัติภารกิจในช่วงสำคัญ โดยพร้อมที่จะให้บริการใช้งานมือถือด้วยประสิทธิภาพสูงสุด