January 22, 2025

หัวเว่ย เดินหน้าพันธกิจยุค 5.5G – เปิดตัวสายผลิตภัณฑ์สำหรับเครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์แบบครบชุดในปี 2567

July 06, 2023 451

หัวเว่ย ประกาศแผนการเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เพื่อการพาณิชย์แบบครบชุดในปี พ.ศ. 2567

ในงานสัมมนา ‘5G Advanced Forum’ ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน MWC Shanghai ประจำปี พ.ศ. 2566 โดย หยาง เฉาปิน ผู้อำนวยการและประธานฝ่ายโซลูชันและผลิตภัณฑ์ไอซีทีของหัวเว่ย ได้นำเสนอแผนดังกล่าวและย้ำว่า หัวเว่ยตั้งเป้าให้การเปิดตัวครั้งนี้เป็นสัญญาณแห่งการเริ่มต้นยุค 5.5G สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที

หยาง เฉาปิน กล่าวถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม 5G ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีเครือข่าย 5G ให้บริการในเชิงพาณิชย์มากกว่า 260 เครือข่าย รองรับผู้ใช้งานมากกว่า 1,200 ล้านคน รวมไปถึงผู้ใช้งาน F5G ระดับกิกะบิตถึง 115 ล้านคน การพัฒนาของแอปพลิเคชัน 5G ที่ล้ำสมัย เช่น อุปกรณ์แสดงภาพ 3 มิติแบบไม่ต้องสวมแว่นตา จะเข้ามาปฏิวัติวีถีชีวิตของผู้คน จากการมอบประสบการณ์ที่เสมือนจริงมากยิ่งขึ้นให้แก่ผู้ใช้งาน

อย่างไรก็ตาม บริการรูปแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ จะต้องอาศัยขีดความสามารถที่แข็งแกร่งมากขึ้นของเครือข่าย 5G การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงต่าง ๆ (XR) รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ดิจิทัลจำเป็นต้องใช้ความเร็วดาวน์ลิงก์​ (downlink) ระดับ 10 กิกะบิต และอัพลิงค์ (uplink) ระดับ 1 กิกะบิต นั่นหมายว่ายังมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างขีดความสามารถของเทคโนโลยี 5G ในปัจจุบัน กับความจำเป็นที่จะต้องก้าวข้ามไปสู่ 5.5G ทั้งนี้เทคโนโลยี 5.5G ไม่เพียงยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภค บรอดแบรนด์สำหรับใช้ในภาคครัวเรือนและสำนักงานต่าง ๆ จากความเร็วระดับ 1 กิกะบิตไปสู่ 10 กิกะบิตเท่านั้น แต่ยังจะเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายขึ้นอีก 10 เท่า นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับผู้ให้การเครือข่ายในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม

หัวเว่ย นำเสนอแนวคิด “5.5G Era” ซึ่งประกอบด้วยโซลูชันแบบครบชุด อันเกิดจากการบูรณาการเทคโนโลยีแบบครบสูตร ประกอบด้วยเทคโนโฃยี 5.5G, F5.5G, และ Net5.5G โดยเครือข่าย 5.5G จะรองรับความเร็วดาวน์ลิงก์ระดับสูงสุดที่ 10 กิกะบิต และอัพลิงค์ระดับสูงสุดที่ 1 กิกะบิต รองรับการเชื่อมต่อ 1 แสนล้านครั้ง ขณะเดียวกันเครือข่ายยังมีความอัจฉริยะที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรม 5G และผู้ประกอบการเครือข่ายขึ้นสู่ระดับใหม่ ทั้งนี้ ด้วยอัตราความหน่วงในการรับส่งข้อมูลต่ำ (low latency) ประกอบกับความเร็วดาวน์ลิงก์ 10 กิกะบิต และอัปลิงก์ 1 กิกะบิต ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่สมจริงมากยิ่งขึ้นจากบริการ เช่น XR Pro การแสดงผลแบบโฮโลแกรม และวีดีโอภาพ 3 มิติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี 50G PON ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีหลัก ที่สามารถรองรับความเร็วระดับ 10 กิกะบิตสำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ F5.5G และคาดว่าจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายตามบ้าน สำนักงาน และภาคการผลิตต่าง ๆ นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีหลัก สำหรับเครือข่ายแบบไร้สายและออปติคอลสำหรับ 5.5G แล้ว หยาง เปิดเผยว่า Net5.5G จะถูกวางสถานะให้เป็นเครือข่ายพื้นฐานรุ่นใหม่สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ    

สำหรับในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี 5.5G จะช่วยเสริมศักยภาพของคลื่นประเภท URLLC ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านคลื่นที่มีความเสถียรสูงและมีค่าความหน่วงต่ำ ซึ่งจะยิ่งรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์มือถือบนคลื่นความถี่ต่ำได้มากขึ้นและมีสเถียรภาพยิ่งกว่าเดิม โดยการต่อยอดการใช้งานเทคโนโลยี 5G จากการใช้เป็นเพียงส่วนเสริมมาเป็นส่วนหลักในกระบวนการผลิต จะช่วยรองรับบริการประเภทการควบคุมในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเทคโนโลยี 5.5G จะช่วยเพิ่มความแม่นยำจากระดับเมตรไปเป็นระดับเซนติเมตร และจะช่วยรองรับการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทระบบขนส่งอัตโนมัติ (AGV)      

หยาง อธิบายเพิ่มเติมว่า “ด้วยกรอบระยะเวลาของการจัดทำมาตรฐานที่กำหนดไว้ชัดเจน ขณะนี้ ‘5.5G Era’ ของหัวเว่ยพร้อมแล้วสำหรับการตรวจสอบมาตรฐานทั้งในเชิงเทคโนโลยีและในเชิงพาณิชย์ ภายในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยจะเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์แบบครบชุด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำมาติดตั้งใช้งานเครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ ซึ่งเราหวังที่จะได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิดเพื่อเดินทางเข้าสู่ยุค 5.5G ไปด้วยกัน”

ยุคปฏิวัติ 5G ผ่านขั้นตอนการพัฒนาสำคัญต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านการวิจัยทางเทคโนโลยีและการจัดทำมาตรฐานภายในอุตสาหกรรม หัวเว่ย ได้เสนอแนวคิด 5.5G และกลุ่มพันธมิตร 3GPP ได้นำเสนอ 5G-Advanced ซึ่งกำลังอยู่ในวาระสำคัญของการจัดทำมาตรฐาน อุตสาหกรรมได้บรรลุความเห็นร่วมกันในการกำหนดสถานการณ์การใช้งานในรูปแบบต่างๆ สิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถ และเทคโนโลยีหลักที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา 5G-Advanced

หัวเว่ยนำเสนอวิสัยทัศน์ ‘5.5G’ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 และได้อธิบายสถานการณ์การใช้งานใหม่ โดยจัดทำเป็นแผนผังแสดงจำนวนสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้นจากสามเหลี่ยมขยายเป็นหกเหลี่ยม และด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรในอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น ผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ผลิตชิป หน่วยงานภาครัฐ และสมาคมในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้หัวเว่ยสามารถบรรลุข้อคิดเห็นร่วมกันถึงความจำเป็นในการพัฒนา 5G การพัฒนาสถานการณ์การใช้งานในแบบต่าง ๆ สิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถ และเทคโนโลยีหลักที่จำเป็นเพื่อเร่งการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรม

ขณะที่แนวคิดในการพัฒนาไปสู่ 6G ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยที่การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักยังอยู่ในขั้นริเริ่มเท่านั้น เทคโนโลยี 5.5G ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาแห่งอนาคต ขีดความสามารถของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในยุค 5.5G จะเข้ามาปลดล็อคผลิตผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมจำนวนมาก

หยาง เฉาปิน ผู้อำนวยการและประธานฝ่ายโซลูชันและผลิตภัณฑ์ไอซีทีของหัวเว่ย ได้กล่าวย้ำว่า “หัวเว่ยมีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตร เติมเต็มจุดแข็งของกันละกัน ส่งเสริมให้พันธมิตรสนับสนุนลูกค้าอย่างเต็มที่ และร่วมกันสนองตอบความต้องการของลูกค้า”

ในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงลงทุนและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยจะทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรระดับโลกเพื่อบูรณาการเทคโนโลยีไอซีที เร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล สนับสนุนการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีความเป็นอัจฉริยะอย่างแท้จริง เพื่อที่จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับอุตสาหกรรมในที่สุด

X

Right Click

No right click