December 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

หลังจากที่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ได้รับการจัดอันดับความยั่งยืนดัชนี DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) หรือดัชนีชี้วัดความยั่งยืนของดาวโจนส์ ประจำปี 2566 ให้เป็นที่ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก (DJSI WORLD) และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets) เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นเลิศ ผ่านแนวคิด ESG ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติสังคม (Social) และมิติเศรษฐกิจ (Governance)

ในครึ่งปีแรก BDMS ได้พัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกด้าน ทั้ง มิติสิ่งแวดล้อม (Environment) ที่ดำเนินธุรกิจทางการแพทย์คาร์บอนต่ำอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม BDMS Green Healthcare ส่วนมิติสังคม (Social) ได้มีการส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในสังคม ได้แก่ การจัดอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษา และมิติเศรษฐกิจ (Governance) ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ (BDMS Innovative Healthcare) ผ่านโครงการอบรมเทคนิคนวัตกรรมการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ด้วยเทคนิคใหม่ที่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ และการบริการแพทย์ทางไกล เพื่อสุขภาพใจ (BeDee Tele Mental Health) โดยร่วมกับ มูลนิธิเวชดุสิต ฯ ขยายโอกาสในการดูแลสุขภาพ

BDMS ตั้งเป้าครึ่งปีหลัง ในการมุ่งพัฒนาสู่ความยั่งยืนทางการแพทย์ต่อเนื่อง โดยยึด 6 กลยุทธ์หลัก เพื่อส่งมอบการบริการด้านสุขภาพที่ดีต่อประเทศ สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเดินหน้าสู่การเป็น Healthcare Sustainability ได้แก่ การมุ่งสู่การบริการที่เป็นเลิศ ยกระดับนวัตกรรมทางการแพทย์ มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Net Zero) คืนคุณค่าสู่สังคม ส่งเสริมและสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษาทุกระดับชั้น และดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล

แพทย์หญิง ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหารอาวุโส บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) เปิดเผยถึงกลยุทธ์ทั้ง 6 ด้าน และเป้าหมายสู่การพัฒนาทางการแพทย์อย่างยั่งยืนว่า ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของโลก

ที่ผ่านมาเราได้พิสูจน์แล้วว่า BDMS สามารถขับเคลื่อนองค์กรได้ตามกลยุทธ์แห่งความยั่งยืนที่ได้วางไว้ร่วมกันเป็นพันธกิจขององค์กร ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เราก็เดินหน้าธุรกิจอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล และสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีเป้าหมายลดปริมาณคาร์บอนลงมากกว่า 1,800 ตัน ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้ครอบคลุม 50% ในปี 2024 และ 100% ในปี 2027 ลดปริมาณของเสียลง 25% อบรมการกู้ชีพขั้นพื้นฐานให้มากกว่า 66,000 ราย ส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน BeDee สร้างนวัตกรรมใหม่ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพในเครือข่าย โดยมีโครงการนวัตกรรมมากกว่า 400 โครงการ และพัฒนาเครือข่ายโรงพยาบาลสู่ความเป็น Smart Hospital เป็นต้น” พญ. ปรมาภรณ์ กล่าว

ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 50 ของโรงพยาบาล และธุรกิจในเครือ BDMS สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มากกว่า 10,000 ตันต่อปี ด้วยการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และการลดปริมาณของเสีย เช่น Upcycling ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว โครงการอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐานที่บรรลุไปแล้ว 931 คอร์ส มีผู้เข้าร่วมกว่า 61,172 ราย และยังมีการมอบการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพในด้านต่าง ๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้วกว่า 180 ราย ใน 170 โรงพยาบาล

กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลในเครือบีดีเอ็มเอส และเอสซีจี

เดินหน้า “โครงการวัคซีนเคลื่อนที่คุมความเย็น มั่นใจถึงแขนน้อง”

สร้างความอุ่นใจปลอดภัยจากโควิดให้แก่นักเรียนกว่า 5,000 คน ที่ปทุมธานี

สธ. จับมือ รพ.ในเครือบีดีเอ็มเอส และเอสซีจี เดินหน้าสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีนไฟเซอร์เชิงรุกใน “โครงการวัคซีนเคลื่อนที่คุมความเย็น มั่นใจถึงแขนน้อง” ด้วยระบบการขนส่งที่มีเทคโนโลยี และระบบติดตามการควบคุมอุณหภูมิ 2-8 องศา ตลอดเส้นทาง ช่วยรักษาคุณภาพของวัคซีนไฟเซอร์ พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์จิตอาสาให้บริการถึงโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับการฉีดที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางมาฉีดในเมือง สร้างความอุ่นใจ ปลอดภัยจากโควิดให้กับน้องๆ เยาวชน ก่อนเปิดเทอม โดยนำร่องฉีดนักเรียนกว่า 5,000 คน ใน5 โรงเรียน อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

นายแพทย์ ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี นายแพทย์ เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี นายแพทย์ นิวัติ อินทรวิเชียร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ และนายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ร่วมเยี่ยมชมความพร้อมและให้กำลังใจบุคลากรการแพทย์ใน “โครงการวัคซีนเคลื่อนที่คุมความเย็น มั่นใจถึงแขนน้อง” ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนในพื้นที่นำร่องจังหวัดปทุมธานี

นายแพทย์ เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี กล่าวว่า “กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งการกระจายวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 ให้เข้าถึงประชาชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยการฉีดวัคซีนครั้งนี้ เป็นการจัดฉีดวัคซีนถึงในโรงเรียน นักเรียนไม่ต้องเดินทางไปฉีดในเมือง หรือไปฉีดที่โรงพยาบาลลำลูกกา ซึ่งมีพื้นที่จำกัด โดยได้จัดให้บริการแก่นักเรียนกว่า 5,000 คน ใน 5 โรงเรียนขนาดใหญ่ของจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา และวิทยาลัยเทคโนโลยีช่างฝีมือปัญจวิทยา ซึ่งเริ่มทยอยฉีดตั้งแต่วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม เป็นต้นมา ต้องขอขอบคุณภาคเอกชน ทั้งโรงพยาบาลในเครือบีดีเอ็มเอส และเอสซีจี รวมถึงทีมงานสนับสนุนทุกฝ่าย ที่ร่วมกันจัดการฉีดวัคซีนครั้งนี้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมไม้ ร่วมมือ ความเสียสละ และความเชี่ยวชาญ ของทีมแพทย์พยาบาล รวมถึงต้องมีเทคโนโลยีการขนส่ง และการจัดเก็บที่สามารถควบคุมคุณภาพของวัคซีน เพื่อให้เด็กได้รับการฉีดอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

 

นายแพทย์ นิวัติ อินทรวิเชียร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า “โรงพยาบาลในเครือบีดีเอ็มเอส มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมเป็นทีมจิตอาสาในการจัดทีมฉีดวัคซีนมาสนับสนุนทีมหลักของ สธ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในเขตพื้นที่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น โดยจัดทีมทั้งพยาบาลและเภสัชกรเข้าร่วมสนับสนุนการฉีดวีคซีนในโครงการนี้”

นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า กล่าวว่า “เอสซีจี เห็นถึงความสำคัญของเร่งกระจายการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไป เพื่อช่วยลดความกังวล สร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครองและครู ก่อนเปิดภาคเรียน และสามารถใช้ชีวิตอยู่กับโควิดได้อย่างปลอดภัย เอสซีจีจึงได้สนับสนุนรถขนส่งวัคซีนของบริษัทเอสซีจีโลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งการขนส่งวัคซีนไฟเซอร์นั้น ต้องอาศัยรถที่มีระบบควบคุมความเย็นให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถยังคงประสิทธิภาพของวัคซีนให้คงที่ และสามารถจัดเก็บได้นานถึง 1 เดือน ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและสามารถกระจายส่งวัคซีนไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ช่วยสร้างความอุ่นใจ ปลอดภัยให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ในการที่ไม่ต้องเดินทางเข้ามาฉีดในเมือง”

รถขนส่งของบริษัทเอสซีจี โลจิสติกส์ มีระบบเทคโนโลยีควบคุมอุณหภูมิ (Real time Temperature traceability System) ที่ติดตั้งไว้บนตัวรถ หากอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง หรือสูงกว่าที่กำหนด ข้อมูลแจ้งเตือนทันทีที่ศูนย์ Command Center สำหรับการขนส่งวัคซีนครั้งนี้ จะควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 2 – 8 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาการขนส่ง และได้รับมาตรฐานสากลความสะอาด ปลอดการปนเปื้อน สำหรับสินค้าด้านอาหารและยารักษาโรคจาก GMP GHP และ BRC นอกจากการขนส่งจะช่วยยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว ยังสามารถจัดส่งวัคซีนได้ทั่วประเทศ รวมถึงในพื้นที่ห่างไกลและเข้าถึงได้ยากได้อีกด้วย โดยสามารถเลือกขนาดรถทั้งเล็กและใหญ่ได้ตามเหมาะสม

 

ภาคธุรกิจออกมาตรการสู้วิกฤตโควิด-19 ลดเสี่ยงเกิดคัสเตอร์ สร้างความเสียหายทางธุรกิจ ด้าน พีรพัฒน์ เทคโนโลยี ทุ่มงบเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่พนักงานทุกคน

นายอภิรักษ์ จิตรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเทคโนโลยีและปฎิบัติการ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ลูกค้าที่เป็นผู้ป่วยไม่สะดวกในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บริษัทฯจึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำ จำนวน 55 แห่งทั่วประเทศ ในการเพิ่มบริการ Telemedicine  สำหรับลูกค้าเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต โดยเป็นผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากการเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง โรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องติดตามการรักษา และจะต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง  เช่น โรคเบาหวาน   โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ  โรคมะเร็ง  โรคทางสมอง หรือโรคไทรอยด์  เป็นต้นทั้งนี้ผู้ป่วยรายนั้นจะต้องมีเอกสารการนัดติดตามการรักษาจากแพทย์และเคยได้รับการอนุมัติสินไหมค่ารักษาพยาบาลของโรคดังกล่าวจากบริษัทมาก่อนแล้ว

สำหรับการให้บริการ Telemedicine นี้ เป็นการบริการให้คำปรึกษาจากแพทย์ทางออนไลน์ และการจัดส่งยาถึงบ้านลูกค้า โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก(OPD)ของลูกค้า ได้แก่ ค่ายาและเวชภัณฑ์(ตามเงื่อนไขกรมธรรม์) ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เฉพาะการตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาล การทำงานของไต, ตับ, ตับอ่อน และหัวใจ ค่าแพทย์ รวมทั้งค่าจัดส่งยาถึงบ้าน

ทั้งนี้โรงพยาบาลที่ให้บริการ Telemedicine แก่ลูกค้าเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต เป็นโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ เช่น เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เครือโรงพยาบาลพญาไท เครือโรงพยาบาลสมิติเวช เครือโรงพยาบาลบางปะกอก เครือโรงพยาบาลเปาโล  เครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ เครือโรงพยาบาลมหาชัย โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ โรงพยาบาลศรีสวรรค์ เป็นต้น โดยให้บริการ Telemedicine ตั้งแต่วันที่  1 พฤษภาคม -  30 มิถุนายน 2563 นี้ 

นายอภิรักษ์ กล่าววว่า "บริษัทฯตระหนักถึงความปลอดภัยของลูกค้าเป็นหลัก เราจึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศในการเพิ่มบริการ Telemedicine เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าของเรา ว่าเขาจะได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้เราจะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้"

ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจเนื้อหอมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และมีกลุ่มทุนหลายกลุ่มมองว่ายังมีโอกาสในอุตสาหกรรมนี้ เตรียมตัวกระโดดเข้ามาเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในวงการ แต่การจะทำธุรกิจสุขภาพให้ประสบความสำเร็จได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติถึงคุณภาพการรักษาพยาบาลและการบริการ เป็นจุดหมายของผู้ที่แสวงหาทางเลือกในการรักษาจากทั่วโลก ในด้าน Medical Tourism บำรุงราษฎร์จัดได้ว่าอยู่ในอันดับต้นๆ ของวงการ ความสำเร็จที่ผ่านมาและทิศทางที่จะเดินต่อไปข้างหน้าทางด้านการตลาดของบำรุงราษฎร์ จะเป็นอย่างไร MBA มีโอกาสพูดคุยกับ นภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นักการตลาดที่ผ่านงานมาแล้วหลากหลายอุตสาหกรรม เกี่ยวกับเรื่องนี้

นภัสเริ่มด้วยภาพกว้างของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ Medical Tourisms ว่า ปัจจุบันความหมายของ Medical Tourisms ขยายความจากการไปตรวจสุขภาพ ทำศัลยกรรม หรือทำกิจกรรมเชิงสปา โดยมีแนวโน้มที่ผู้ป่วยมองหาทางเลือกในการรักษาโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยนานาชาติในการเข้ามาใช้บริการด้านสาธารณสุขหรือการแพทย์ โดยประเทศหลักๆ ประกอบด้วยไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอาจจะรวมอินเดียเพิ่มเข้าไปได้อีกประเทศหนึ่ง โดยมาจาก
“1. ผู้ป่วยมาจากประเทศที่อาจจะมีการพัฒนาทางสาธารณสุขที่สมบูรณ์แบบแล้ว แต่อยากมาใช้บริการในแถวนี้เพราะต้นทุนที่ต่ำกว่า บริการที่อบอุ่น ไม่ต้องรอคิวนานในโรคที่ซับซ้อน
2. ประเทศที่มีกลุ่มคนที่เราเรียกว่า Mass Affluent กลุ่มคนที่มีกำลังจะจ่ายได้แต่ในระบบสาธารณสุขประเทศเขาอาจจะตอบสนองความต้องการได้ไม่ครบถ้วน เช่น บังกลาเทศ มองโกเลีย เมียนมาร์ กัมพูชา รวมถึงเวียดนาม และกลุ่มตะวันออกกลาง ยูเออี การ์ตาร์ โอมาน บาห์เรน ที่เข้ามารับการบริบาลทางสาธารณสุขในแถบนี้นานแล้ว”

โดยผู้ที่เข้ามารับการบริบาลบางส่วนก็เข้ามาเพื่อตรวจสุขภาพ บางส่วนเข้ามาเพราะมีอาการที่ซับซ้อนอยากมั่นใจว่าได้แพทย์ที่มีคุณภาพ บุคลากรมีคุณภาพได้รับการยอมรับ ซึ่งบำรุงราษฎร์ก็เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่สั่งสมชื่อเสียงมายาวนาน จากมาตรฐานระดับสากลที่ได้รับจากองค์กรระดับโลก ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการเข้ารับการรักษา

7 เคล็ดลับบำรุงราษฎร์

นภัส เปิดเผยปัจจัยที่ทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ของผู้ป่วยต่างชาติว่าประกอบด้วย

หนึ่ง การส่งมอบ Value Added Services ที่เอื้ออำนวยต่อผู้ป่วยต่างชาติ เช่น การมีล่ามภาษาต่างประเทศ รองรับ 14 กลุ่มภาษาหลัก อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี รวมถึงภาษาเอธิโอเปีย เขมร พม่า อาราบิก เป็นต้น
ทั้งหมดเป็นพนักงานของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ผ่านการฝึกอบรมในการแปลคำศัพท์ด้านการแพทย์โดยเฉพาะ
มีความเข้าใจในกระบวนการรักษาอย่างดี
นอกจากนี้ ยังเตรียมห้องละหมาดและอาหารฮาลาลให้กับผู้ป่วยมุสลิม และยังมีบริการอื่นๆ เช่นการประสานงานด้านการออกวีซ่า ตลอดจนถึงการประสานงานกับโรงพยาบาลต้นสังกัดในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและส่งตัวกลับ

สอง มาตรฐานการให้บริบาล เรื่องความปลอดภัย โดยนภัสย้อนถึงปี 2015 ที่ MERS ระบาด และถูกตรวจพบที่บำรุงราษฎร์ถึง 2 ครั้ง เป็นบทพิสูจน์ว่าที่นี่มีขั้นตอนการคัดกรองที่ครบถ้วน และมีมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลกเช่น JCI (Joint Commission International), DNV-GL (MIR) DNV-GL’s MANAGING INFECTION RISK (MIR) STANDARD และ GHA (Global Healthcare Accreditation) ที่ช่วยให้ทุกคนมั่นใจ

สาม บุคลากรที่ทำงานอย่างสอดประสานกับในการส่งมอบการรักษา ทั้งทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมเทคนิคการแพทย์ ทีมแล็บ เพื่อส่งมอบการรักษาที่ผู้ป่วยปรารถนาได้

สี่ การบอกต่อ Word of Mouth จากคนไข้ต่อปี 1.1 ล้านคน เป็นคนไข้ต่างชาติประมาณ 520,000 คน จากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก ที่เมื่อเข้ามารับการบริบาลของบำรุงราษฎร์แล้วกลับไปเล่าเรื่องราวประสบการณ์การรักษาที่ได้ไปบอกต่อ ช่วยสร้างแบรนด์บำรุงราษฎร์ให้อยู่ในใจของผู้ป่วยนานาชาติ ในประเทศต่างๆ

ห้า วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร นภัสยกตัวอย่างเรื่องการเปิดศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ หรือศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย (Vitallife Wellness Center) เมื่อ 17 ปีที่แล้ว ทำให้เห็นว่าผู้บริหารของโรงพยาบาลแห่งนี้มีวิสัยทัศน์มองเห็นแนวโน้มการแพทย์เชิงป้องกัน และจัดตั้งหน่วยงานนี้ขึ้น ปัจจุบันถือว่าเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างในธุรกิจสุขภาพ ที่การแพทย์เชิงป้องกันและการแพทย์ในการรักษา มีการทำงานแบบสอดประสานกันอย่างไร้รอยต่อ ระหว่าง ไวทัลไลฟ์และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับดูแลตั้งแต่การป้องกัน ชะลอช่วงเวลาที่จะเกิดโรค และหากเกิดเจ็บป่วยก็สามารถส่งต่อไปรักษาที่
โรงพยาบาล และกลับไปฟื้นฟูสุขภาพที่ ไวทัลไลฟ์ได้อย่างลงตัว

หก สถานที่ ทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาลอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ช่วยให้ผู้ที่มารับการบริบาลตลอดจนครอบครัวที่เดินทางมาด้วย สามารถพักในโรงแรมในบริเวณใกล้เคียง
อีกทั้งยังเดินทางไปท่องเที่ยวหรือช้อปปิ้งตามที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

เจ็ด นวัตกรรม ที่นี่มีการพัฒนาและนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้อย่างสม่ำเสมอ เพราะนวัตกรรมการรักษาไม่เพียงดึงดูดคนไข้ให้เข้ามาเท่านั้น แต่ยังช่วยดึงดูดแพทย์ที่มีความสามารถให้อยากทำงานที่นี่ เพราะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ครบครัน มีความสะดวกสบาย มีความทันสมัย ยกตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยีและศาตร์การแพทย์สมัยใหม่มาใช้ อาทิ Precision Medicine, IBM Watson, Spine Robotic, CardioInsight ฯลฯ Compassionate Caring Marketing


นภัสเล่ากลยุทธ์การตลาดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้มาอย่างต่อเนื่อง คือการสื่อสารแบบถึงตัวคนไข้มากกว่าจะสื่อสารวงกว้าง ซึ่งวิธีที่จะสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นได้ เธออธิบายว่า

“เราต้องทำพื้นฐานของเราให้ดีก่อน ที่พูดไป 7 ข้อ เมื่อดีแล้ว ประสบการณ์ของคนไข้ก็ตามมา เกิดประสบการณ์ที่ดี แล้วคนเหล่านี้ก็เอากลับไปเล่า ทำให้ Word of Mouth กระจายไป และเราก็ต้องสื่อสาร เช่น เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสถานทูตของประเทศที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยของเราในประเทศไทย อัปเดตกับสถานทูตตลอดเวลาว่าขณะนี้มีหมอใหม่มา หรือขณะนี้มีศูนย์การรักษาใหม่เปิดขึ้น คนไข้เวลามาได้รับความสะดวกไหม มีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายหรือไม่ เราต้องรักษาความสัมพันธ์กับสถานทูตของประเทศนั้นๆ รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของเรา ต้องรักษาความสัมพันธ์ ดูแลและเอาใจใส่”

เช่นเดียวกันกับลูกค้าชาวไทย ที่บำรุงราษฎร์ต้องสื่อสารด้วย โดยมีการสื่อสารทั้งภาพกว้างและภาพแคบ โดยภาพกว้างอธิบายถึงคุณลักษณะของแบรนด์ ในส่วนของภาพแคบจะทำในด้านการให้ความรู้ต่อสาธารณะ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่างๆ ผ่านเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่างๆ ของโรงพยาบาล
โดยคนไข้ไทยเมื่อเข้ามารับการบริบาลก็จะได้รับประสบการณ์การรักษาที่ดีเช่นเดียวกับที่กลุ่มคนไข้ต่างประเทศได้รับ ขณะเดียวกันนภัสบอกว่า การสื่อสารบางเรื่องที่ทำมาโดยตลอด โดยไม่ได้มุ่งหวังว่ากลุ่มคนเหล่านั้นจะเข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาล แต่เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลมีความตั้งใจและเป็นพันธกิจที่ต้องการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนโดยทั่วไป เช่นการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านโรคภัยต่างๆ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ในฐานะสถาบันการแพทย์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ให้บริการแก่ประชาชนชาวไทย เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง มีความเข้าใจเรื่องโรคภัยต่างๆ ผ่านข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้

อีกกิจกรรมที่ทำมาอย่างต่อเนื่องคือกิจกรรม CSR ที่บำรุงราษฎร์ เราเชื่อว่าการใช้ความเชี่ยวชาญของเราในการช่วยเหลือและดูแลสังคมจะทำให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งในกรุงเทพมหานครหรือต่างจังหวัด โครงการ ผ่าตัดเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ด้อยโอกาส
ซึ่งร่วมกับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ซึ่งทำมาตั้งแต่ปี 2546 โดยถึงปัจจุบันมีการผ่าตัดช่วยเหลือไปแล้วกว่า 767 ราย และยังขยายความช่วยเหลือนี้ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น เวียดนามและเมียนมาร์รวมถึงกัมพูชาอีกด้วย

นภัสเล่าว่า กิจกรรมเหล่านี้สร้างให้บำรุงราษฎร์เป็น Feel Good Brand ผ่าน กลยุทธ์ Compassionate Caring Marketing เธอบอกว่า “การทำธุรกิจโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน เราต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชน ไม่ว่าเขาจะเป็นคนไข้ของเราหรือไม่ และใครจะการันตีเราได้ว่าคนเหล่านั้นจะไม่มาเป็นคนไข้ของเราในวันที่เขาพร้อม”

การทำการตลาดของบำรุงราษฎร์นอกจากการสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ แล้ว ยังมีการพัฒนาสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างภาคีต่างๆ ในการส่งต่อผู้ป่วย โดยมีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ผนึกกำลังกับโรงพยาบาลพันธมิตรรวม 51 โรงพยาบาลทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งรวมทั้งโรงพยาบาลภาครัฐ โรงพยาบาลเอกชน รวมถึงโรงเรียนแพทย์ ที่ให้ความไว้วางใจเข้าร่วมเซ็น MOU จนกลายเป็นเครือข่ายการรับย้ายผู้ป่วยภายในประเทศที่สำคัญในปัจจุบันนภัสอธิบายเรื่องนี้ว่า

“ในกรณีที่โรงพยาบาลพันธมิตรของเราเจอเคสบางเคสที่เขาอาจจะยังไม่พร้อมในการรักษา ทางรพ.นั้นสามารถส่งตัวผู้ป่วยเข้ามาให้บำรุงราษฎร์ดูแลให้ได้ คือปกติเวลาคนเรารักษาแล้วเปลี่ยนโรงพยาบาลจะวุ่นวายมาก จะต้องมาเริ่มประวัติใหม่
ซักอาการใหม่ แต่ด้วยการสร้างเครือข่ายพันธมิตรนี้จะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ป่วยได้รับการบริการแบบไร้รอยต่อ พอรักษาโรคซับซ้อนหายแล้วก็ส่งกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลต้นสังกัดเดิม นับเป็น Win-Win คนไข้ก็ยังอยู่กับเขาอยู่ เราก็รักษาโรคซับซ้อนให้กับคนไข้”

เมื่อถามว่าความท้าทายในการทำการตลาดของบำรุงราษฎร์ ณ ปัจจุบันคืออะไร นภัสตอบว่า ความท้าทายในปัจจุบันคือ
การที่มีข่าวว่ามีกลุ่มทุนหลายกลุ่มสนใจจะลงทุนในธุรกิจเฮลท์แคร์ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้บำรุงราษฎร์ต้องเตรียมตัวให้พร้อมโดยการรักษาคุณภาพการให้การรักษาและบริบาลต่อไป โดยยังมี VitalLife เป็นจุดขายที่แข็งแกร่งที่ผู้มาใหม่คงไม่สามารถเร่งสร้างได้ในเร็ววัน

ปัจจุบัน โรงพยาบาลฯ อยู่ระหว่างการเปลี่ยนถ่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีความก้าวหน้าของศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ อาทิ Precision Medicine ศาสตร์การแพทย์สำหรับรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งช่วยทำให้ผู้แพทย์เชี่ยวชาญสามารถตัดสินใจกำหนดแผนและวิธีการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยพิจารณาความจำเป็นและสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายเป็นหลัก CardioInsight เทคโนโลยีใหม่ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และการนำ GE 3 Tesla MRI เครื่องสร้างภาพที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรครุ่นล่าสุดที่ให้ภาพที่ละเอียดขึ้นและทำงานได้เงียบขึ้นด้วย

นภัสสรุปว่า “เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ ถ้าเราไม่พัฒนาตัวเอง สักวันหนึ่งคนจะก็ตามเราทัน”

แผนปี 2561

Chief Marketing Officer บำรุงราษฎร์ เล่าถึงแผนการตลาดในปี 2561 ว่า จะเน้นการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับผู้เข้ามาใช้บริการ และการทำการตลาดเชิงความรู้ต่อไป พร้อมกับการมุ่งมั่นให้ได้รับการรับรอง (Accreditation) ด้านคุณภาพและมาตรฐานจากสถาบันที่ได้มาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ เพราะถือว่าเป็นการตรวจสอบคุณภาพในการให้การรักษาที่ดีที่สุด นอกจากนี้การได้รับรางวัลจากองค์กรต่างๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์บำรุงราษฎร์ได้เป็นอย่างดี

ในด้านการตลาดต่างประเทศยังคงมุ่งเน้นการออกไปโรดโชว์ การร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐบาลต่างๆ โดยการเผยแพร่เรื่องราวของบำรุงราษฎร์ โดยมองหาประเทศที่มีศักยภาพเพิ่มเติม และรักษาฐานตลาดเดิมที่มีอยู่ไว้ให้ได้

นภัสเปิดเผยว่า “เราต้องการเป็น First Destination ของผู้ป่วยต่างชาติ แต่เราไม่ได้เฉพาะเจาะจงไปว่าจะไปประเทศไหน เพียงแต่เราต้องการรักษาสัดส่วนให้สมดุล ไม่ว่า แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป ตะวันออกกลาง ให้มีสัดส่วนที่สมดุล มีการติดต่อสื่อสารกับเขาอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปมุ่งหนักที่ใดที่หนึ่ง เพราะเราต้องการเป็น Asia Medical Destination”

แม้การสื่อสารกับผู้บริโภคในตลาดเฮลท์แคร์มีข้อจำกัดกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สามารถสื่อสารได้อย่างเปิดกว้าง แต่การทำการตลาดในรูปแบบของบำรุงราษฎร์ ผ่านจุดเด่น 7 ประการ เพื่อให้การบริบาลที่มีคุณภาพกับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า การสื่อสารที่ดีครบถ้วนเมื่อรวมกับคุณภาพของสินค้าและบริการ สามารถสร้างการตลาดที่น่าสนใจให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์
ได้เสมอ

X

Right Click

No right click