ปัญหาอมตะในธุรกิจครอบครัวเรื่องหนึ่ง คือ

การที่ทายาทคิดว่า ผู้ใหญ่ไม่รับฟังความเห็นต่างของตนเอง

เรื่องนี้เป็นปัญหาที่พบกันบ่อย และวิธีแก้ไขก็ต่างกันไป

เพราะแต่ละบ้านก็มีปัจจัยในการเกิดสถานการณ์นี้ที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้ก่อตั้ง FAMZ  บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว ให้ความเห็นว่า กับปัญหานี้ผมคิดว่า ข้อคิดจากบทความเรื่อง “เทคนิคการแสดงความไม่เห็นด้วยกับคนที่มีอำนาจเหนือกว่าเรา” เขียนโดย Amy Gallo และเผยแพร่ใน Harvard Business Review  ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่ทำได้ง่าย และเหมาะกับปัญหานี้ นั่นคือ

ประการแรก ยอมรับความเสี่ยงว่า พูดไปแล้วอาจจะไม่เข้าหูผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเงียบ แต่ถ้าเรื่องที่ต้องการพูดนั้นเป็นประโยชน์และเป็นข้อเท็จจริง แล้วเราไม่กล้าพูด

ครอบครัวหรือธุรกิจของเราก็จะมีความเสี่ยงอีกด้านหนึ่งที่เรียกว่า  “ความเสี่ยงของการไม่พูด” ทั้งนี้ จากประสบการณ์ทำงานให้ธุรกิจครอบครัวมานาน ผมพบว่า มีคนที่เสียใจกับเรื่องที่เคยพูดไปโดยไม่คิดบ้าง แต่คนส่วนใหญ่กลับเสียใจในเรื่องที่สมควรพูดแล้วไม่ได้พูดออกไปมากกว่า

ประการต่อมา คือ ก่อนแสดงความเห็นขัดแย้งให้สร้าง “ความรู้สึกที่ปลอดภัยและ (ผู้ฟัง) สามารถควบคุมได้” (Psychological Safety and Control) ให้กับพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ก่อน เพราะคนที่มีอำนาจเหนือกว่า ปกติไม่ชอบการถูกท้าทาย โดยเฉพาะการท้าทายในที่สาธารณะ และจากคนที่เป็นทายาท ซึ่งเด็กๆ หรือทายาทเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยมองตนเองเป็น “ฮีโร่” ดังนั้น หากเลือกได้ควรเลือกพูดกันเป็นการส่วนตัว

ส่วนการเริ่มต้นสร้างความรู้สึกปลอดภัยและควบคุมได้ให้กับผู้ใหญ่ เทคนิคคือทำการขออนุญาตก่อน เช่น เราอยากแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับที่พ่อพูด อาจจะเริ่มต้นด้วยการพูดว่า “พ่อครับ ผมอยากขออนุญาตแสดงความเห็นในเรื่องนี้ได้มั้ยครับ”  แล้วรอการตอบรับ

ทั้งนี้ การได้รับคำขออนุญาตจากเด็กหรือทายาทจะเป็นการสร้างความรู้สึกปลอดภัยและควบคุมได้ให้กับผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยลดความรู้สึกเสมือนการถูกท้าทาย ซึ่งจะส่งผลให้ปฏิกิริยาการต่อต้านลดลงไปด้วย

ส่วนความเห็นของพวกเราที่เป็นทายาทจะถูกต้อง มีเหตุมีผลเหมาะสมหรือไม่ก็ต้องเปิดใจกว้างยอมรับเช่นกัน สุดท้ายให้ระวังทั้งภาษาพูดและภาษากาย เพราะผู้ใหญ่ที่กำลังฟังเราอยู่มักจะเลือกฟังอย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อมูลเพิ่มเติม www.famz.co.th 

FAMZ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทยแนะกลยุทธ์ 3Ps “Purpose – Principle – Planning” สร้าง “ดาวเหนือ” ของตนเอง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจครอบครัว

รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้ก่อตั้ง FAMZ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ได้แนะแนวทางกับธุรกิจครอบครัว เพื่อสร้าง “ดาวเหนือ” ว่า  การเดินหน้าเพื่อมุ่งสู่ “ดาวเหนือ” หรือ “เป้าหมายสูงสุด” ของธุรกิจครอบครัวนั้นสามารถปลดล็อกได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ  เพื่อสร้าง “ธรรมนูญครอบครัว” หรือ “เข็มทิศ” ต่อไปในอนาคตได้ ด้วยกลยุทธ์ 3Ps ซึ่งประกอบด้วย Purpose – Principle – Planning  (เจตนารมณ์ – หลักการ – การวางแผน)

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์  ดร.เอกชัย ได้กล่าวถึง “เข็มทิศกลยุทธ์ 3Ps”  เพิ่มเติมว่า

P ที่ 1 : Purpose ถือเป็นการประกาศ “เจตนารมณ์” ร่วมกันของธุรกิจครอบครัวนั้นๆ แม้การประกาศ“เจตนารมณ์” จะสกัดออกมาเหลือเพียง 2-3 บรรทัด เช่น ตัวอย่าง Purpose ของ “ตระกูลจิราธิวัฒน์” ซึ่งจะเรียกส่วนนี้ว่า “ปณิธานของคุณเตียง และคุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์” ที่ต้องการสร้างธุรกิจครอบครัวให้เติบโตขึ้น เพื่อส่งต่อให้ทายาทรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตได้

Purpose นี้มีส่วนที่เหนือกว่านั้น คือ การร่วมประชุมเช่นนี้ได้กลายเป็น “เวทีสำคัญ”ที่ทำให้สมาชิกครอบครัวได้พูดถึงความต้องการของตนเองออกมา เช่น

  • สมาชิกครอบครัวบางคนที่มีลูกก็อยากที่จะส่งต่อ “ความสำเร็จ” ของตนเองให้กับลูกๆ ฉะนั้น จึงต้องการทำธุรกิจให้มีความยั่งยืน
  • สมาชิกครอบครัวบางคนเน้นการทำงานให้มีความสุข และทั้งครอบครัว พนักงาน ตลอดจนซัพพลายเออร์ได้พัฒนาความสามารถและเติบโตไปพร้อมๆ กัน

P ที่ 2 : Principle เมื่อได้ “เจตนารมณ์” แล้วก็นำ “เจตนารมณ์” มาแตกเป็นหมวด เพื่อวาง “หลักการ” เป็นข้อๆ เช่น

  • เรื่องนี้ทำได้
  • เรื่องนี้อยากทำ
  • เรื่องนี้ยังต้องพัฒนา

#FAMZ

#ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัว #ธุรกิจครอบครัว #กงสี

#ธรรมนูญครอบคร้ว

P ที่ 3 : Planning “การวางแผน” ที่จะทำให้การเดินหน้าสู่ “ดาวเหนือ” มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และถือเป็นขั้นตอนที่จะช่วยกำกับมิให้ออกนอกลู่นอกทาง หรือละเลย เนื่องจากมัวยุ่งกับภารกิจในชีวิตประจำวัน หรือโลกธุรกิจจนไม่มีเวลา ด้วยการวางแผนเป็นรายปีว่า ธุรกิจครอบครัวต้องการดำเนินการอะไรบ้าง  เช่น

  • ต้องการดำเนินกลยุทธ์ 1,2,3 …. ในขวบปีนั้นๆ
  • การเตรียมตัวเพื่อเดินหน้าสู่กระบวนการสืบทอดทายาททางธุรกิจ

ที่สำคัญ เมื่อดำเนินการมาถึงขั้นตอนที่ 3 แล้ว สำหรับการประชุมของสมาชิกครอบครัวทุกครั้งก็จะต้องนำแผนรายปีดังกล่าวเข้าที่ประชุมด้วยทุกครั้ง

รองศาสตราจารย์  ดร.เอกชัย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “หากธุรกิจครอบครัวมีอาวุธ 3Ps ที่ว่าด้วย Purpose – Principle – Planning  (เจตนารมณ์ – หลักการ – การวางแผน) อย่างน้อยก็จะเสมือนมี “เข็มทิศ” ที่จะทำให้การสร้างธรรมนูญครอบครัวของตนเองสำเร็จได้ง่ายกว่าเดิม และไม่คิดท้อถอยจนไปไม่ถึง “ดาวเหนือ” ไปเสียก่อน”

  • เรียนรู้ความสำคัญของ Family Business Management เพื่อสานต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ ที่ดีต่อทุกฝ่าย
  • แนะวิธีรับช่วงต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ และแก้ Pain Point ด้วยวิชา Family Business Management

การบริหาร ‘ธุรกิจครอบครัว’ หรือที่คนไทยพูดกันติดปากว่า ‘ธุรกิจกงสี’ มักมีประเด็นปัญหาภายในที่คนในครอบครัวถกเถียงกันแล้วไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร หนำซ้ำบางเรื่องหาทางออกไม่ได้ บางเรื่องมีความขัดแย้งจนบานปลาย ส่วนหนึ่งนั่นเป็นเพราะขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรม รวมถึงจริยธรรม

สำหรับประเด็นที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ (Extension School) ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเป็น ผู้ก่อตั้ง บริษัท แฟมซ์ จำกัด (FAMZ Co., Ltd.) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 7 ของการดำเนินธุรกิจได้แบ่งปันมุมมอง พร้อมสะท้อนแง่มุมปัญหาและแนวทางแก้ไขของธุรกิจครอบครัวกับกองบรรณาธิการ MBA อย่างน่าสนใจ

ความสำคัญของศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจครอบครัว

เนื่องจากการบริหารธุรกิจของแต่ละครอบครัวมีอัตลักษณ์แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงซ้อน เช่น ความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ สิทธิประโยชน์ อำนาจการบริหาร ความสนใจส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งยากจะบริหารให้บรรลุผลและลงตัว อีกทั้งไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เนื่องจากแต่ละครอบครัวก็มีมิติปัญหาที่แตกต่างกัน

ที่สำคัญ การบริหารธุรกิจ ก็มีความแตกต่างกับ การบริหารธุรกิจครอบครัวด้วย

จากผลการสำรวจภาพรวมของธุรกิจครอบครัวโดย FAMZ พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 80% เป็นธุรกิจครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น ซีพี ไทยเบฟ กลุ่มเซ็นทรัล แต่หากสำรวจเฉพาะบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะพบว่า มีธุรกิจครอบครัวอยู่ราว 70% ซึ่งมีผลประกอบการค่อนข้างดี

“สำหรับธุรกิจครอบครัวนั้นถ้าหากสามารถบริหารจัดการได้ดีก็จะเป็นผลดีหลายประการ ทั้งชื่อเสียง ความมั่งคั่ง และภายในครอบครัวเองก็มีความเข้มแข็ง ถ้าหากสามารถบริหารความขัดแย้ง และไม่ทะเลาะกัน”

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยกล่าว และยกตัวอย่างหลายกรณีที่เป็นประเด็นปัญหาความละเอียดอ่อนต่างๆ อาทิ

กรณีแรก: หากผู้บริหารต้องการนำรายได้จากธุรกิจครอบครัวไปจับจ่ายใช้สอยส่วนตัว เช่น หากต้องการซื้อรถให้หลาน สามารถทำได้หรือไม่

เรื่องการใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของต่างๆ ให้สมาชิกในครอบครัว หากต้องการบริหารเพื่อความมั่งคั่ง รศ.ดร.เอกชัยระบุว่า ต้องจัดการหรือแก้ไขด้วยระบบ เพื่อเป็นการสร้างสภาพคล่อง โดยให้กลับไปกำหนดหลักการ หรือทบทวนหลักการก่อน อาทิ คนทำงานในตำแหน่งใดจะได้ใช้รถอะไร คนที่ไม่มีตำแหน่งงานสามารถใช้รถอะไรได้ และจะนำเงินจากส่วนไหนไปซื้อ จะจัดสรรผลประโยชน์อย่างไร ฯลฯ

กรณีที่สอง: ผู้บริหารหญิงที่รับหน้าที่แบกรับภาระ และ ทำงานเต็มที่อยู่คนเดียว แต่เมื่อมีลูกแล้วต้องการเปลี่ยนโหมด ขอทำงานน้อยลง เนื่องจากต้องการเวลาไปดูแลลูก แล้วธุรกิจครอบครัวควรจะทำอย่างไร

การให้ทายาท (Successor) เพียงคนเดียวบริหารงานของธุรกิจครอบครัวถือเป็นความเสี่ยงของบริษัท เพราะหากผู้ที่ทำหน้าที่หลักไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ก็จะส่งผลให้คนอื่นๆ จะไม่สามารถทำอะไรต่อได้ หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกพักใหญ่ สำหรับการมอบหมายความรับผิดชอบให้กับสมาชิกที่เป็นหญิงแบกรับภาระเพียงผู้เดียว แล้วเมื่อมีการสมรส มีบุตรในภายหลังก็อาจทำให้ความทุ่มเทที่มีต่อธุรกิจครอบครัวเป็นไปอย่างไม่เต็มที่นัก ดังนั้น “ความเป็นผู้หญิง” จึงทำให้ถูกมองได้ว่า ทำให้การบริหารภายในธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

จากกรณีดังกล่าวจึงเกิดวัฒนธรรมและแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ชายมาบริหารธุรกิจครอบครัวก่อนหากว่าสามารถเลือกได้ โดยต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างทายาทธุรกิจหลายคน เช่น มีทายาทอันดับ 1, 2, 3 เพราะเมื่อใดที่สมาชิกครอบครัวที่เป็นหญิงแต่งงานไปก็มักจะไปช่วยกิจการของครอบครัวคู่สมรส แต่อย่างไรก็ตาม หากว่า บ้านใดเตรียมตัวก่อน หรือมีการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกันก่อน ปัญหาในธุรกิจครอบครัวก็จะน้อยลง

กรณีที่สาม: หากทายาทไม่มีต้องการสืบทอดหรือทำธุรกิจครอบครัวต่อ แบรนด์ธุรกิจครอบครัวที่มีอายุยาวนานก็จะต้องปิดตัวลงหรือไม่

โดยทั่วไป สมาชิกในครอบครัวก็ย่อมอยากจะให้คนในครอบครัว หรือเครือญาติเข้ามาบริหาร หรือสืบทอดกิจการ เนื่องจากมีความเชื่อถือและไว้วางใจกับสมาชิกในครอบครัว และสมาชิกร่วมสายโลหิตว่าเป็นคนบ้านเดียวกันเติบโตมาด้วยกัน เป็นคนกลุ่มเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในโลกความจริงก็ไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว โดยเฉพาะธุรกิจครอบครัวที่มีขอบเขตธุรกิจมากมายที่ต้องบริหารอยู่แล้วก็อาจจำเป็นต้องเลือกว่า ธุรกิจใดหรือช่วงเวลาใดควรจะให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินการ หรือบริหาร หรือควรที่จะจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว

รศ.ดร.เอกชัยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "การวางตัวผู้บริหารธุรกิจต่อไปนั้นจะเป็นใครก็ได้ เพียงแต่คนที่เป็นเจ้าของต้องมีความเข้าใจก่อนและวางระบบบริหารธุรกิจครอบครัวของตนเอง เพื่อทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยส่วนตัว ผมอยากให้มี One Family, One Wisdom หรือ หนึ่งครอบครัว หนึ่งภูมิปัญญา” เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวส่งต่อองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะจากรุ่นสู่รุ่น เติบโตไปกับ Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายของภาครัฐ และจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวอยู่ต่ออย่างยั่งยืนได้"

แน่นอนว่า การให้สมาชิกครอบครัวบริหารธุรกิจของครอบครัวย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน เช่น ความรู้ด้านการตลาด ด้านการเงิน ฯลฯ รวมทั้งการดูแลใส่ใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

ทว่า หลังจากที่ธุรกิจเติบโต มีมาตรฐานมากขึ้น งานซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่หากทายาทไม่สนใจรับช่วงต่อ เพราะไม่มีการพูดคุยกันให้ชัดเจน ไม่มีการเตรียมแผนการสืบทอดกิจการ การคัดเลือกทายาททางธุรกิจ ฯลฯ ดังนั้น ผู้นำธุรกิจครอบครัวก็อาจเลือกใช้วิธีจ้างมืออาชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาบริหารงานแบบเต็มตัว ขณะเดียวกัน เจ้าของกิจการก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปเป็น ‘ผู้ลงทุน’ คล้ายกับองค์กรที่มีบริษัทแม่คุมและถือหุ้นบริษัทลูกก็ได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ยกมาเล่าสู่กันฟังนี้ ไม่สามารถใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาหรือยึดคำแนะนำดังกล่าวเป็นสูตรสำเร็จได้ เนื่องจากบริบทของแต่ละธุรกิจครอบครัวนั้นแตกต่างกัน ที่สำคัญ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมตามสภาพความเป็นจริงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมด้วย

เปลี่ยนผ่านธุรกิจครอบครัว ด้วยชุดวิชาบริหารจัดการที่เป็นรากฐานความเข้าใจ

ในการสร้างรากฐานความเข้าใจ และเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนนั้น จากคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวมาอย่างยาวนานของ ศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ บริษัท แฟมซ์ จำกัด ซึ่งมีความเข้าใจกับปัญหาของการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างหลากหลายแง่มุม อีกทั้งมีมุมมองปัญหาด้วยทัศนคติที่ดี มีหลักการเชิงวิชาการ พร้อมทั้งมีการศึกษา ตลอดจนงานวิจัยที่ FAMZ ศึกษามาอย่างยาวนาน เพื่อใช้ในการวางแผนและการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดำเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เพื่อตอบโจทย์สังคมในยุคที่มีคนต่างเจเนอเรชันก้าวขึ้นมาสืบทอดหรือบริหารกิจการ ซึ่งมี Pain Point ที่คล้ายคลึงและต่างกันไป กอปรกับต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัล

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ว่า

กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัว (Concentration in Family Business Management) ซึ่งพัฒนาโดย คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในรูปแบบออนไลน์ 100% นั้นสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจครอบครัวยุคใหม่ เหมาะกับสมาชิกในครอบครัวรุ่นถัดไป ผู้สืบทอดกิจการ หรือผู้ประกอบการที่มุ่งรักษาและบริหารความมั่งคั่งให้กิจการของครอบครัวตัวเอง โดยผู้เรียนจะได้เรียนกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัวที่มีคณาจารย์ออกแบบและใช้สอนมานานกว่า 15 ปี ทั้งยังเป็นผู้ให้คำปรึกษามาแล้วกว่า 500 ธุรกิจ อาทิ การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกิจครอบครัว, การบริหารความขัดแย้ง, การบริหารนวัตกรรมในธุรกิจครอบครัว, กฎหมายและภาษีของธุรกิจครอบครัว, การวางแผนสืบทอดธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านในธุรกิจครอบครัว, การบริหารความมั่งคั่ง ฯลฯ เพื่อใช้ปฏิบัติได้จริง”

ธุรกิจครอบครัว ยั่งยืนด้วย ESG

สำหรับแนวคิดเรื่อง ESG ที่มีพูดถึงกันมากในขณะนี้ รศ.ดร.เอกชัยเผยว่า "ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินการได้ควบคู่กันไประหว่าง “ธุรกิจ” และ ESG ได้ โดยเมื่อธุรกิจสามารถทำกำไรได้แล้วก็สามารถดำเนินการ เพื่อส่งเสริมแนวทางด้าน ESG ไปได้ด้วย โดยเริ่มจาก E (Environment สิ่งแวดล้อม) S (Social สังคม) แล้ว G (Governance ธรรมาภิบาล) ก็จะตามมา และถ้าอยากให้ระบบเป็นไปได้ยาวๆ ธุรกิจครอบครัวก็จำเป็นที่จะต้องมี ‘ระบบธรรมาภิบาลที่ดี’ เพื่อลดปัญหาความอยุติธรรม ความไม่เป็นมืออาชีพ พร้อมกันนี้ ก็ร่วมปลูกฝังให้รุ่นลูกรุ่นหลานเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ และดึงทายาทรุ่นใหม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมและสานต่อธุรกิจกันต่อไป และแนวทางการบริหารธุรกิจครอบครัวกับหลักการความยั่งยืนอย่าง ESG นั้นเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่ก็ล้วนหลีกเลี่ยงไม่ได้"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.famz.co.th 

 

  • เรียนรู้ความสำคัญของ Family Business Management เพื่อสานต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ ที่ดีต่อทุกฝ่าย
  • แนะวิธีรับช่วงต่อ ‘ธุรกิจกงสี’ และแก้ Pain Point ด้วยวิชา Family Business Management

การบริหาร ‘ธุรกิจครอบครัว’ หรือที่คนไทยพูดกันติดปากว่า ‘ธุรกิจกงสี’ มักมีประเด็นปัญหาภายในที่คนในครอบครัวถกเถียงกันแล้วไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไร หนำซ้ำบางเรื่องหาทางออกไม่ได้ บางเรื่องมีความขัดแย้งจนบานปลาย ส่วนหนึ่งนั่นเป็นเพราะขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีความเข้าใจในชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรม รวมถึงจริยธรรม

สำหรับประเด็นที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ (Extension School) ผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเป็น ผู้ก่อตั้ง บริษัท แฟมซ์ จำกัด (FAMZ Co., Ltd.) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ 7 ของการดำเนินธุรกิจได้แบ่งปันมุมมอง พร้อมสะท้อนแง่มุมปัญหาและแนวทางแก้ไขของธุรกิจครอบครัวกับกองบรรณาธิการ MBA อย่างน่าสนใจ

ความสำคัญของศาสตร์ด้านการบริหารธุรกิจครอบครัว

เนื่องจากการบริหารธุรกิจของแต่ละครอบครัวมีอัตลักษณ์แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงซ้อน เช่น ความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ สิทธิประโยชน์ อำนาจการบริหาร ความสนใจส่วนบุคคล ฯลฯ ซึ่งยากจะบริหารให้บรรลุผลและลงตัว อีกทั้งไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เนื่องจากแต่ละครอบครัวก็มีมิติปัญหาที่แตกต่างกัน

ที่สำคัญ การบริหารธุรกิจ ก็มีความแตกต่างกับ การบริหารธุรกิจครอบครัวด้วย

จากผลการสำรวจภาพรวมของธุรกิจครอบครัวโดย FAMZ พบว่า ธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 80% เป็นธุรกิจครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น ซีพี ไทยเบฟ กลุ่มเซ็นทรัล แต่หากสำรวจเฉพาะบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะพบว่า มีธุรกิจครอบครัวอยู่ราว 70% ซึ่งมีผลประกอบการค่อนข้างดี

“สำหรับธุรกิจครอบครัวนั้นถ้าหากสามารถบริหารจัดการได้ดีก็จะเป็นผลดีหลายประการ ทั้งชื่อเสียง ความมั่งคั่ง และภายในครอบครัวเองก็มีความเข้มแข็ง ถ้าหากสามารถบริหารความขัดแย้ง และไม่ทะเลาะกัน”

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยกล่าว และยกตัวอย่างหลายกรณีที่เป็นประเด็นปัญหาความละเอียดอ่อนต่างๆ อาทิ

กรณีแรก: หากผู้บริหารต้องการนำรายได้จากธุรกิจครอบครัวไปจับจ่ายใช้สอยส่วนตัว เช่น หากต้องการซื้อรถให้หลาน สามารถทำได้หรือไม่

เรื่องการใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของต่างๆ ให้สมาชิกในครอบครัว หากต้องการบริหารเพื่อความมั่งคั่ง รศ.ดร.เอกชัยระบุว่า ต้องจัดการหรือแก้ไขด้วยระบบ เพื่อเป็นการสร้างสภาพคล่อง โดยให้กลับไปกำหนดหลักการ หรือทบทวนหลักการก่อน อาทิ คนทำงานในตำแหน่งใดจะได้ใช้รถอะไร คนที่ไม่มีตำแหน่งงานสามารถใช้รถอะไรได้ และจะนำเงินจากส่วนไหนไปซื้อ จะจัดสรรผลประโยชน์อย่างไร ฯลฯ

กรณีที่สอง: ผู้บริหารหญิงที่รับหน้าที่แบกรับภาระ และ ทำงานเต็มที่อยู่คนเดียว แต่เมื่อมีลูกแล้วต้องการเปลี่ยนโหมด ขอทำงานน้อยลง เนื่องจากต้องการเวลาไปดูแลลูก แล้วธุรกิจครอบครัวควรจะทำอย่างไร

การให้ทายาท (Successor) เพียงคนเดียวบริหารงานของธุรกิจครอบครัวถือเป็นความเสี่ยงของบริษัท เพราะหากผู้ที่ทำหน้าที่หลักไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ก็จะส่งผลให้คนอื่นๆ จะไม่สามารถทำอะไรต่อได้ หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้อีกพักใหญ่ สำหรับการมอบหมายความรับผิดชอบให้กับสมาชิกที่เป็นหญิงแบกรับภาระเพียงผู้เดียว แล้วเมื่อมีการสมรส มีบุตรในภายหลังก็อาจทำให้ความทุ่มเทที่มีต่อธุรกิจครอบครัวเป็นไปอย่างไม่เต็มที่นัก ดังนั้น “ความเป็นผู้หญิง” จึงทำให้ถูกมองได้ว่า ทำให้การบริหารภายในธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

 

“จากกรณีดังกล่าวจึงเกิดวัฒนธรรมและแนวคิดที่ต้องการให้ผู้ชายมาบริหารธุรกิจครอบครัวก่อนหากว่าสามารถเลือกได้ โดยต้องสร้างแรงจูงใจ สร้างทายาทธุรกิจหลายคน เช่น มีทายาทอันดับ 1, 2, 3 เพราะเมื่อใดที่สมาชิกครอบครัวที่เป็นหญิงแต่งงานไปก็มักจะไปช่วยกิจการของครอบครัวคู่สมรส แต่อย่างไรก็ตาม หากว่า บ้านใดเตรียมตัวก่อน หรือมีการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงกันก่อน ปัญหาในธุรกิจครอบครัวก็จะน้อยลง”

กรณีที่สาม: หากทายาทไม่มีต้องการสืบทอดหรือทำธุรกิจครอบครัวต่อ แบรนด์ธุรกิจครอบครัวที่มีอายุยาวนานก็จะต้องปิดตัวลงหรือไม่

โดยทั่วไป สมาชิกในครอบครัวก็ย่อมอยากจะให้คนในครอบครัว หรือเครือญาติเข้ามาบริหาร หรือสืบทอดกิจการ เนื่องจากมีความเชื่อถือและไว้วางใจกับสมาชิกในครอบครัว และสมาชิกร่วมสายโลหิตว่าเป็นคนบ้านเดียวกันเติบโตมาด้วยกัน เป็นคนกลุ่มเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในโลกความจริงก็ไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว โดยเฉพาะธุรกิจครอบครัวที่มีขอบเขตธุรกิจมากมายที่ต้องบริหารอยู่แล้วก็อาจจำเป็นต้องเลือกว่า ธุรกิจใดหรือช่วงเวลาใดควรจะให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินการ หรือบริหาร หรือควรที่จะจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหารธุรกิจครอบครัว

รศ.ดร.เอกชัยแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "การวางตัวผู้บริหารธุรกิจต่อไปนั้นจะเป็นใครก็ได้ เพียงแต่คนที่เป็นเจ้าของต้องมีความเข้าใจก่อนและวางระบบบริหารธุรกิจครอบครัวของตนเอง เพื่อทำให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยส่วนตัว ผมอยากให้มี One Family, One Wisdom หรือ หนึ่งครอบครัว หนึ่งภูมิปัญญา” เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวส่งต่อองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะจากรุ่นสู่รุ่น เติบโตไปกับ Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายของภาครัฐ และจะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจครอบครัวอยู่ต่ออย่างยั่งยืนได้"

แน่นอนว่า การให้สมาชิกครอบครัวบริหารธุรกิจของครอบครัวย่อมเป็นทางเลือกที่ดี ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน เช่น ความรู้ด้านการตลาด ด้านการเงิน ฯลฯ รวมทั้งการดูแลใส่ใจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

ทว่า หลังจากที่ธุรกิจเติบโต มีมาตรฐานมากขึ้น งานซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่หากทายาทไม่สนใจรับช่วงต่อ เพราะไม่มีการพูดคุยกันให้ชัดเจน ไม่มีการเตรียมแผนการสืบทอดกิจการ การคัดเลือกทายาททางธุรกิจ ฯลฯ ดังนั้น ผู้นำธุรกิจครอบครัวก็อาจเลือกใช้วิธีจ้างมืออาชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถจากภายนอกเข้ามาบริหารงานแบบเต็มตัว ขณะเดียวกัน เจ้าของกิจการก็สามารถเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปเป็น ‘ผู้ลงทุน’ คล้ายกับองค์กรที่มีบริษัทแม่คุมและถือหุ้นบริษัทลูกก็ได้

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ยกมาเล่าสู่กันฟังนี้ ไม่สามารถใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาหรือยึดคำแนะนำดังกล่าวเป็นสูตรสำเร็จได้ เนื่องจากบริบทของแต่ละธุรกิจครอบครัวนั้นแตกต่างกัน ที่สำคัญ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมตามสภาพความเป็นจริงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมด้วย

เปลี่ยนผ่านธุรกิจครอบครัว ด้วยชุดวิชาบริหารจัดการที่เป็นรากฐานความเข้าใจ

ในการสร้างรากฐานความเข้าใจ และเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนนั้น จากคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวมาอย่างยาวนานของ ศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ บริษัท แฟมซ์ จำกัด ซึ่งมีความเข้าใจกับปัญหาของการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างหลากหลายแง่มุม อีกทั้งมีมุมมองปัญหาด้วยทัศนคติที่ดี มีหลักการเชิงวิชาการ พร้อมทั้งมีการศึกษา ตลอดจนงานวิจัยที่ FAMZ ศึกษามาอย่างยาวนาน เพื่อใช้ในการวางแผนและการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว ขณะเดียวกัน ก็เป็นการดำเนินการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น เพื่อตอบโจทย์สังคมในยุคที่มีคนต่างเจเนอเรชันก้าวขึ้นมาสืบทอดหรือบริหารกิจการ ซึ่งมี Pain Point ที่คล้ายคลึงและต่างกันไป กอปรกับต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจให้เข้ากับโลกดิจิทัล

ทั้งนี้ รศ.ดร.เอกชัยได้เปิดเผยเพิ่มเติมถึงการพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ว่า

กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัว (Concentration in Family Business Management) ซึ่งพัฒนาโดย คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในรูปแบบออนไลน์ 100% นั้นสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจครอบครัวยุคใหม่ เหมาะกับสมาชิกในครอบครัวรุ่นถัดไป ผู้สืบทอดกิจการ หรือผู้ประกอบการที่มุ่งรักษาและบริหารความมั่งคั่งให้กิจการของครอบครัวตัวเอง โดยผู้เรียนจะได้เรียนกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจครอบครัวที่มีคณาจารย์ออกแบบและใช้สอนมานานกว่า 15 ปี ทั้งยังเป็นผู้ให้คำปรึกษามาแล้วกว่า 500 ธุรกิจ อาทิ การบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกิจครอบครัว, การบริหารความขัดแย้ง, การบริหารนวัตกรรมในธุรกิจครอบครัว, กฎหมายและภาษีของธุรกิจครอบครัว, การวางแผนสืบทอดธุรกิจและการเปลี่ยนผ่านในธุรกิจครอบครัว, การบริหารความมั่งคั่ง ฯลฯ เพื่อใช้ปฏิบัติได้จริง”

ธุรกิจครอบครัว ยั่งยืนด้วย ESG

สำหรับแนวคิดเรื่อง ESG ที่มีพูดถึงกันมากในขณะนี้ รศ.ดร.เอกชัยเผยว่า "ผู้บริหารธุรกิจครอบครัวสามารถดำเนินการได้ควบคู่กันไประหว่าง “ธุรกิจ” และ ESG ได้ โดยเมื่อธุรกิจสามารถทำกำไรได้แล้วก็สามารถดำเนินการ เพื่อส่งเสริมแนวทางด้าน ESG ไปได้ด้วย โดยเริ่มจาก E (Environment สิ่งแวดล้อม) S (Social สังคม) แล้ว G (Governance ธรรมาภิบาล) ก็จะตามมา และถ้าอยากให้ระบบเป็นไปได้ยาวๆ ธุรกิจครอบครัวก็จำเป็นที่จะต้องมี ‘ระบบธรรมาภิบาลที่ดี’ เพื่อลดปัญหาความอยุติธรรม ความไม่เป็นมืออาชีพ พร้อมกันนี้ ก็ร่วมปลูกฝังให้รุ่นลูกรุ่นหลานเป็นผู้ให้ ผู้เสียสละ และดึงทายาทรุ่นใหม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมและสานต่อธุรกิจกันต่อไป และแนวทางการบริหารธุรกิจครอบครัวกับหลักการความยั่งยืนอย่าง ESG นั้นเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือใหญ่ก็ล้วนหลีกเลี่ยงไม่ได้"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.famz.co.th 

 

สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จับมือ คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ FAMZ ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย จัดหลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน“ ให้กับสมาชิก โดยเรียนในวันเสาร์ที่ 23, 30 กันยายน 2566 ที่คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ทั้งนี้ คุณชุมพล ปทานุคม นายกสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงการจัดหลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน“ ครั้งนี้ว่า “เนื่องจากสมาคมฯ ​มุ่งทำกิจกรรมในมิติต่างๆ ให้ครอบคลุมอย่างหลากหลาย นอกเหนือจากขอบเขตทางด้านวิศวกรรม อาทิ การทำประโยชน์กับสังคม การให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาตลอดหลักสูตรปริญญาตรี ตลอดจนการให้ความรู้ในวงกว้างทั้งด้านวิศวกรรมและด้านที่นอกเหนือจากวิศวกรรม (Engineering & Non-Engineering) รวมทั้งการจัดอบรมทางด้านธุรกิจครอบครัวในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ที่นอกเหนือจากวิศวกรรม และเป็นประเด็นที่หลายครอบครัวให้ความสำคัญ นับแต่การจัดโครงสร้างธุรกิจครอบครัว จนถึงการวางแผนเพื่อให้ธุรกิจครอบครัวยั่งยืน ซึ่งหากมีการวางรากฐานที่ดีก็จะทำให้การสืบทอดธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น”

ขณะที่ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาธุรกิจครอบครัว และผู้ก่อตั้ง FAMZ Co., Ltd. ที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทยได้กล่าวถึงหลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน” ว่า “รายละเอียดของหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับเจ้าของกิจการที่เตรียมส่งต่อกิจการให้กับลูกหลาน ผู้บริหารธุรกิจกงสี ลูกหลานที่เตรียมสืบทอดกิจการ และผู้สนใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจ การจัดโครงสร้าง การรักษาอำนาจในการบริหาร/ควบคุมธุรกิจครอบครัว ตลอดจนถึงการทำธรรมนูญครอบครัว การสร้างแผนสืบทอดธุรกิจและการส่งต่อความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่น”

นอกจากนี้ หลักสูตร “Family Business the sustainable success บริหารกงสีให้สำเร็จอย่างยั่งยืน“ ยังมีวิทยากรรับเชิญ ซึ่งประกอบด้วย

  • วันที่ 23 กันยายน 2566 : คุณพีระศิลป์ ตั้งกิจงามวงศ์ บริษัท ลายวิจิตร จำกัด เรื่อง How to Build a Family’s Golden Rules กฎเหล็กของบ้าน
  • วันที่ 30 กันยายน 2566 : คุณอังคณา มาศรังสรรค์ โรงเรียนพ่อ – แม่ – ลูก เรื่อง ทัศนคติกับการสื่อสาร เพื่อความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว และคุณสุระ ชัยวณิช Investment Expert เรื่อง Road to Public Company
Page 2 of 2
X

Right Click

No right click