September 19, 2024

หากมองถึงภาพรวมของสื่อและความบันเทิงในประเทศไทย จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่เสนอแหล่งข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการเชื่อมต่อ ข่าวสาร ความบันเทิง และข้อมูล ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความสนใจของผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณา

ผลจากการศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อของคนไทย จำนวน 700 คนทั่วประเทศ จัดทำโดย Marketbuzzz  ได้แสดงให้เห็นการใช้สื่อต่างๆ ท่ามกลางสื่อที่มีความหลากหลายและสภาพแวดล้อมสื่อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผู้เข้าร่วมการสำรวจจะบันทึกข้อมูลการใช้สื่อตลอดหนึ่งสัปดาห์ ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกถึงการใช้สื่อของคนไทยบนแพลตฟอร์มต่างๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละวัน และเปรียบเทียบการใช้สื่อในวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์ 

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้สื่อของคนไทย ทั้งในแง่ของการปรับตัวของธุรกิจ พฤติกรรมประจำวัน และสันทนาการความบันเทิงต่างๆ โดยรวมแล้ว ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีปริมาณการใช้สื่อของคนไทยเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากการที่ผู้คนหันมาใช้สื่อเพื่อติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว หาข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิง และแม้กระทั่งการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น และเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงในปี 2022 ผู้คนก็เริ่มกลับไปใช้ชีวิตวิถี ‘หลังโควิด’ ส่งผลให้จำนวนการใช้สื่อเหล่านี้ก็ค่อยๆ ลดลง

ยุคสื่อดิจิทัลครองเมือง

ผลการศึกษาโดย Marketbuzzz ชี้ให้เห็นว่า ช่องทางสื่อที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ โซเชียลมีเดีย (70%) การท่องอินเทอร์เน็ต (50%) และการรับชมสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทนต์ (47%) อย่างไรก็ตาม วิธีการเข้าถึงและบริโภคสื่อเหล่านี้มีความหลากหลายมากขึ้น ผู้คนต่างแสวงหาช่องทางสื่อที่หลากหลายเพื่อเชื่อมต่อกับสังคม บันเทิง ช้อปปิ้ง และติดตามข่าวสาร สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องพยายามรักษาและดึงดูดผู้เข้าชมให้อยู่กับแบรนด์ให้นานขึ้น

การใช้โซเชียลมีเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้ติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์มากที่สุด คือ Line (78%) และ Facebook (68%) ตามมาด้วย Messenger (34%), TikTok (29%), Instagram (21%) และน้องใหม่มาแรงอย่าง Threads (14%) จากการเปิดตัวของแพลตฟอร์มใหม่อย่าง Threads สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากกำลังมองหาคอนเทนต์ที่เฉพาะเจาะจงและตรงกับความสนใจมากขึ้น การใช้เว็บไซต์ครอบคลุมกิจกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่การค้นหาข้อมูลทั่วไป การอ่านข่าวสาร ไปจนถึงการเข้าเว็บไซต์เพื่อหาความรู้และช้อปปิ้งออนไลน์ ด้านการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น โดย YouTube (62%) ยังคงเป็นผู้นำ แต่ก็ต้องเผชิญกับคู่แข่งจากแพลตฟอร์ม Netflix (35%), TrueID (27%) , AISPlay (20%) และ Disney+ (14%) ซึ่งเป็นตัวเลือกคอนเทนต์วิดีโอที่เพิ่มขึ้น ทำให้การแข่งขันระหว่างแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเหล่านี้ค่อนข้างจะดุเดือด

สำหรับความนิยมในการฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่งก็เช่นเดียวกัน YouTube Music ยังคงครองความเป็นผู้นำที่คนไทยมีการใช้งานถึง 71% ตามมาด้วย JOOX (42%), Spotify และ Apple Music และยังมีแพลตฟอร์มน้องใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการรับฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง

มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มาร์เก็ตบัซซ (Marketbuzzz) กล่าวว่า หากมองภาพรวมของสื่อและความบันเทิง เราจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ แม้จะมีความขัดแย้งกันอยู่ ในขณะที่สื่อมีความหลากหลายมากขึ้น มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ และคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น ขณะที่ด้านหนึ่งก็มีการผสมผสานเกิดขึ้นภายในแพลตฟอร์มเดียวกัน โดยมีผู้เล่นหลายรายพยายามดึงดูดผู้ชมมากขึ้นด้วยการลดเส้นแบ่งระหว่างโซเชียล การช้อปปิ้ง คอนเทนต์ ภาพยนตร์ และเกมส์"

มือถือครองเมือง: คอนเทนต์โดน ใช้งานง่าย เข้าถึงได้ทุกที่

มือถือกลายเป็นอุปกรณ์หลักในการเข้าถึงสื่อสาร ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การสร้างคอนเทนต์และแพลตฟอร์มที่ใช้งานบนมือถือได้อย่างสะดวก (mobile-friendly) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเข้าถึงผู้ใช้งานคนไทย ความคล่องตัวและสะดวกสบาย ทำให้การบริโภคสื่อผ่านมือถือกลายเป็นศูนย์กลาง ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานโซเชียลมีเดียและแชท ฟังเพลง หรือด้านอีคอมเมิร์ซ

สื่อดั้งเดิมยังยืนหยัดในกลุ่มผู้สูงวัย

แม้คนไทยจะมีการใช้งานโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ต วิดีโอสตรีมมิ่ง และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แต่สื่อแบบดั้งเดิมอย่างวิทยุ หนังสือพิมพ์ หนังสือ และนิตยสารกลับมีการใช้งานลดลง อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ยังคงนิยมบริโภคสื่อเหล่านี้มากกว่า ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่ากลยุทธ์การใช้สื่อแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยน เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทยกำลังเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลและเน้นการใช้งานบนมือถือมากขึ้น แบรนด์ต่างๆ ควรปรับกลยุทธ์ให้มีความยืดหยุ่นและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จับจังหวะคนไทยบริโภคสื่อในช่วงเวลาใดนอกจากประเภทของสื่อแล้ว "ช่วงเวลา" ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการบริโภคสื่อของคนไทย โดยไม่น่าแปลกใจที่การใช้สื่อต่างๆ และความถี่ในการใช้จะแตกต่างกันไปในช่วงเช้า บ่าย และเย็น ด้วยกิจวัตรประจำวันส่งผลต่อพฤติกรรมของคนไทย จะเห็นว่าโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชันอื่นๆ มักถูกใช้งานมากขึ้นในช่วงเช้า ขณะที่การรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งและทีวี จะมีแนวโน้มพุ่งสูงในช่วงเย็น ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาว่างหลังเลิกงานหรือเลิกเรียน

  • ช่วงเช้า: การใช้งานวิดีโอสตรีมมิ่งค่อนข้างน้อย เนื่องจากผู้คนมักมีภาระกิจประจำวัน ทั้งการทำงาน การเรียน หรืออื่นๆ ทำให้มีเวลาน้อยในการรับชมสื่ออย่างต่อเนื่อง
  • ช่วงบ่าย: แอปพลิเคชันสั่งอาหารเดลิเวอรี่ จะได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเป็นช่วงเวลาพักกลางวันและสะดวกต่อการใช้งาน แม้จะมีการใช้งานในช่วงเย็นด้วย แต่ปริมาณการใช้งานจะน้อยกว่าช่วงบ่าย
  • ช่วงเย็น: เป็นช่วงเวลาที่การรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งและทีวี มีแนวโน้มสูงสุด เนื่องจากเป็นช่วงเวลาว่างพักผ่อน

มร.แกรนท์ กล่าวเสริมว่า โดยปกติแบรนด์ส่วนใหญ่จะทราบช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายมักจะใช้งานสื่ออยู่แล้ว แต่การนำเสนอสื่อที่หลากหลายควบคู่กับการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้วางแผนการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เทคนิคการกำหนดช่วงเวลาตามประเภทของสื่อ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้การโฆษณาสามารถสร้างมูลค่าได้สูงสุด

ขณะที่ปี 2024 กำลังดำเนินไป ผลกระทบในระยะยาวของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคสื่อของคนไทย เริ่มชัดเจนมากขึ้น ภูมิทัศน์สื่อที่ หลากหลายและมีการแบ่งแยก (fragmentation) เป็นเสมือนเหรียญสองด้าน นำเสนอทั้ง ความท้าทาย และ โอกาส สำหรับแบรนด์และนักการตลาด วิถีชีวิต พฤติกรรม และกิจวัตรประจำวันของผู้คนน่าจะยังคงเปลี่ยนแปลงต่อไป โดยคนไทยจำนวนมากเปิดรับช่องทางสื่อและแพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจ ต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึง มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการตลาด เพื่อให้สามารถ ปรับตัว และสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อความอยู่รอด ในสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ด้วยรูปแบบของการบริโภคสื่อที่หลากหลาย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางกลยุทธ์ที่แปลกใหม่ มีความริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เน้นการใช้งานบนมือถือ และปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลา สิ่งนี้จะช่วยให้สื่อยังคงเข้าถึงได้ง่าย มีความเกี่ยวข้อง และสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคต่อไป

ผลสำรวจจากมาร์เก็ตบัซซ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยให้เห็นว่า ‘สิ่งแวดล้อม-มลภาวะ’ ยังคงเป็นความกังวลอันดับหนึ่งของประชาชน โดยครองแชมป์ปัญหาที่คนไทยกังวลมากที่สุดในปี 2567

การสำรวจนี้จัดทำต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2562 โดยสอบถามประชาชนไทยเกี่ยวกับ "5 อันดับแรกของความกังวลต่อสาธารณะ" โดยผลการสำรวจล่าสุดในปี 2567 มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,000 คน ในเดือนเมษายน 2567 พบว่า สิ่งแวดล้อมยังคงติดอันดับสิ่งที่คนไทยกังวลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้ตอบแบบสอบถาม รองลงมาคือเรื่องของค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 28 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่คนไทยกังวลมากที่สุดจากการสำรวจในปี 2566 เช่นกัน โดยการสำรวจนี้อยู่ในบริบทที่เกี่ยวกับความกังวลหลักๆ ของประชาชนที่มีต่อประเทศ ซึ่งรวมถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นของหน่วยงานรัฐ, งานสาธารณสุข, การจราจร, อาชญากรรมและสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

จากผลสำรวจปี 2567 ชี้ให้เห็นว่าความกังวลของคนไทยด้านสิ่งแวดล้อมยังทวีความรุนแรงขึ้น สูงถึงร้อยละ 74 และรู้สึกว่า สิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62 ในปี 2565 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนร้อยละ 37 ยังมีความกังวลอีกว่า สภาพแวดล้อมจะเลวร้ายลงไปอีกในอีก 5 ปีข้างหน้า

แม้จะมีความกังวล แต่กลับพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ขณะที่พฤติกรรมที่ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่พบมากที่สุด คือ ไม่สนับสนุนการซื้อขาย/บริโภคสินค้าของป่า ของลักลอบหรือผิดกฎหมาย (ร้อยละ 37) รองลงมาคือ การลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ร้อยละ 34) และการใช้ถุงและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (ร้อยละ 33) ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังมีช่องว่างให้รณรงค์และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมาร์เก็ตบัซซ กล่าวว่า ในบรรดาความกังวลของประชาชนนั้น ปัญหาสิ่งแวดล้อม และค่าครองชีพที่สูงขึ้นยังคงเป็นความกังวลหลักของประเทศไทย แม้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมจะครองอันดับหนึ่ง แต่การเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันกลับเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเพื่อให้ประชาชนมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้น 

ผลการสำรวจยังเผยว่า ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับภาคธุรกิจ โดยจะเห็นว่ามีบริษัทหรือองค์กรที่ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมากขึ้น โดยในปีนี้ มีถึง 4 บริษัทที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมในระดับเกินกว่า 40% ได้แก่ ทรู, ปตท, ซัมซุง และเอไอเอส  

มร.แกรนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า คนไทยมีความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประชาชนคาดหวังให้รัฐบาลมีบทบาทสำคัญ แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนเองก็มีความรับผิดชอบร่วมด้วยเช่นกัน โดยคาดหวังให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ชัดเจนคือ คนไทยต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้น"

ผลการสำรวจยังระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยกังวลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาวะโลกร้อน (ร้อยละ 30) มลภาวะทางอากาศ (ร้อยละ 27) และการเปลี่ยนแปลงของอากาศ/อุณหภูมิ (ร้อยละ 22) สำหรับสาเหตุของปัญหามลภาวะทางอากาศ คนไทยมีความเห็นที่หลากหลาย โดยสาเหตุ 5 อันดับแรก ได้แก่ ควันจากท่อไอเสียในการใช้รถยนต์ (ร้อยละ 30) การเผาขยะหรือผลิตผลทางการเกษตร (ร้อยละ 26) การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมหรือพลาสติก (ร้อยละ 23)  สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมถึงฝุ่น ควันต่างๆ (ร้อยละ 22) และการเผาไหม้เชื้อเพลิง จากถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 21)

ผศ.ดร.ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คนไทยตระหนักถึงภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลภาวะต่อชีวิตที่พวกเรากำลังเผชิญมากขึ้น แม้ว่าต้องเผชิญกับความท้าทายอื่นๆ อีกมากมายก็ตาม งานวิจัยส่วนใหญ่ของวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจ ความท้าทายต่างๆ ผ่านสาขาวิชาที่หลากหลายและมุ่งเน้นให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนให้กับนักศึกษา ซึ่งจะเป็นผู้นำในอนาคตของประเทศไทย ให้พวกเขามีส่วนร่วมในการรณรงค์และผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน” 

ผศ.ดร.ประภาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีความตระหนักสูง แต่ยังคงมีช่องว่างระหว่างความตระหนักกับการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องแก้ไข เราควรพิจารณาแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้บุคคลและองค์กรต่างๆ เลือกทางเลือกที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับนโยบายของภาครัฐ ดังนั้น ไม่สายเกินไปที่เราจะมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้ เราทุกคนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ต่างฝ่ายควรทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม"

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้ติดต่อ มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ที่อีเมล์ (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) หรือ มร.นีล เกนส์ คณะวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อีเมล์ (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.). 

พบ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’ กลับมาขึ้นแท่นอันดับ 1 ที่คนไทยกังวลใจสูงสุดถึง 42% แซงเรื่องค่าครองชีพ

X

Right Click

No right click