จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย เปิดรับนิสิตชาวไทยและต่างชาติ ด้วยกว่าร้อยหลักสูตรนานาชาติ รองรับทุกสายการเรียน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ไร้พรมแดน เตรียมบัณฑิตสู่ความเป็นพลเมืองโลก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ชาวต่างชาตินิยมมาท่องเที่ยว ด้วยเสน่ห์ของ Soft Power อย่างศิลปะ วัฒนธรรม อาหาร วิถีชีวิต ธรรมชาติ ภูมิอากาศ และค่าครองชีพที่สมเหตุสมผล แต่ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ – ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในจุดหมายของการศึกษาที่นิสิตต่างชาติสนใจมาเรียนและใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน

“ประเทศไทยมีความโดดเด่นทางด้านการศึกษาและเป็นที่สนใจของนิสิตต่างชาติจำนวนมาก เช่นที่จุฬาฯ เราเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่การศึกษามีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีหลักสูตรนานาชาติที่สามารถรองรับนิสิตต่างชาติด้วยการสอนเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า 100 หลักสูตรในทุกระดับปริญญา ในขณะที่ค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนของเราก็ถูกกว่าประเทศอื่น ๆ ที่โดดเด่นด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน” คุณศุกลิน วนาเกษมสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการนานาชาติ สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

ปัจจุบัน จุฬาฯ มีนิสิตต่างชาติประมาณ 2,000 คน จาก 60 ประเทศ ที่มาศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนระดับปริญญาในหลายหลักสูตร

จำนวนของนิสิตต่างชาติดูมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยทิศทางของโลกสมัยใหม่ ที่เปิดให้ผู้คนเดินทางและโยกย้ายถิ่นฐานได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะไปทำงาน ท่องเที่ยว หรือศึกษาเล่าเรียน โดยเฉพาะการเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิต สร้างเสริมความเป็นพลเมืองโลกและทักษะในการอยู่ในโลกสมัยใหม่ ที่ต้องเปิดใจ เข้าใจและยอมรับความแตกต่างหลากหลายและพหุวัฒนธรรม

ทำไม นิสิตต่างชาติจึงเลือกมาเรียนจุฬาฯ

ชื่อเสียงของจุฬาฯ และการยอมรับในระดับนานาชาติเป็นหนึ่งในเหตุผลต้น ๆ ที่นิสิตต่างชาติเลือกมาเรียนที่จุฬาฯ

ในระดับประเทศ จุฬาฯ ครองอันดับ 1 ของประเทศไทยเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จาก THE Impact Rankings 2023 และติดอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 15 ติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2009) ในการจัดอันดับ QS World University Rankings 2024 โดย QS Quacquarelli Symonds  

ส่วนในระดับนานาชาติ จุฬาฯ ครองอันดับ 17 ของโลก จาก THE Impact Rankings 2023 และติดอันดับท็อป 50 ของโลกทางด้านผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน (Employment Outcomes) โดย QS World University Rankings 2024

“จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางการศึกษาในระดับอาเซียนและเอเชีย มีความโดดเด่นด้านวิชาการทั้งในสายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ทุกหลักสูตรเปี่ยมด้วยคุณภาพและส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลกให้นิสิตทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งเมื่อจบการศึกษา บัณฑิตจุฬาฯ จะมีทักษะที่จำเป็นและสามารถทำงานได้ทุกที่ในโลก” คุณศุกลิน กล่าว

นอกจากความโดดเด่นด้านวิชาการแล้ว บรรยากาศการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่จุฬาฯ ยังมีสีสัน ผสานความเก่าแก่และความทันสมัย เปิดโลกการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ไม่มีในตำรา

จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งมาแล้วกว่า 106 ปี ในพื้นที่การศึกษากว่า 1 ตารางกิโลเมตร (637 ไร่) ของจุฬาฯ มีอาคารทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมากมาย อีกทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ขนานไปกับการเติบโตของประเทศไทยยุคใหม่ (modernization) นอกจากนี้ ด้วยความที่ตั้งอยู่ใจกลางมหานคร จุฬาฯ จึงอยู่ในแหล่งความทันสมัยและวัฒนธรรมสมัยใหม่ เช่น สยามสแควร์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ และไม่ไกลจากย่านเมืองเก่า เช่น เยาวราช สามย่าน เจริญกรุง ฯลฯ กล่าวได้ว่านิสิตที่มาเรียนที่จุฬาฯ จะได้ใช้ชีวิตการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อดีต ปัจจุบัน และทิศทางแห่งอนาคตผสานกันอย่างลงตัว

ความร่วมมือระดับนานาชาติ สร้างนิสิตจุฬาฯ สู่ความเป็นพลเมืองโลก

จุฬาฯ ก้าวไปกับทิศทางการศึกษาในโลกสมัยใหม่ ที่เน้นหล่อหลอมบัณฑิตให้มีสำนึกความเป็นพลเมืองโลก สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมถึงมีความเข้าใจความหลากหลายของสังคมและอยู่ได้ในพหุวัฒนธรรม

“ด้วยชื่อเสียงและความพยายามของจุฬาฯ ทำให้เรามี MOU กับมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่งทั่วโลก นิสิตหลักสูตรนานาชาติของจุฬาฯ จะได้เรียนรู้และอยู่ในบรรยากาศแบบนานาชาติ และมีโอกาสได้เจอสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศในวิชาที่ตนสนใจได้แทนที่จะเรียนตลอด 4 ปีที่จุฬาฯ ที่เดียว”

ด้วยเป้าหมายดังกล่าว จุฬาฯ ได้ทำความร่วมมือกับหน่วยงานและมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ เพื่อให้นิสิตสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล รวมถึง โดยความร่วมมือที่จุฬาฯ ทำกับสถาบันต่าง ๆ ได้แก่

ความร่วมมือด้านฐานข้อมูล จุฬาฯ มีห้องสมุดและฐานข้อมูลระดับเวิล์ดคลาส ที่นิสิตจุฬาฯ จะสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ ทั้งหนังสือ วารสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลอ้างอิงจากต่างประเทศได้อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการค้นคว้าของนิสิตได้อย่างเต็มที่

ความร่วมมือด้านหลักสูตร จุฬาฯ มีหลักสูตรนานาชาติแบบหลักสูตรปริญญาร่วมและหลักสูตรสองปริญญา ที่ผู้เรียนจะได้เรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์จากต่างประเทศ เช่น หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา ร่วมกับ University of Queensland ออสเตรเลีย หลักสูตรปริญญาโทการจัดการทางวิศวกรรม ร่วมกับ The University of Warwick สหราชอาณาจักร เป็นต้น

นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังได้ทำ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในโลก เพื่อให้นิสิตจุฬาฯ สามารถไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ เพื่อเรียนในสาขาที่ตนเองสนใจกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญา 1-2 ภาคการศึกษา หรือหากไม่อยากเดินทาง ก็สามารถแลกเปลี่ยนผ่าน APRU Virtual Student Exchange ที่นิสิตสามารถเข้าคลาสเรียนของมหาวิทยาลัยคู่สัญญาจากต่างประเทศได้ผ่านห้องเรียนออนไลน์

(ดูรายชื่อหลักสูตรทั้งหมดที่จุฬาฯ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่นี่)

ชีวิตในรั้วจุฬาฯ สะดวกสบาย สนุก มีสีสัน

มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเรื่องการเรียนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องการใช้ชีวิต คุณศุกลินให้ข้อมูลว่า จุฬาฯ มีความพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จะช่วยให้การมาเรียนและใช้ชีวิตในต่างแดนของนิสิตต่างชาติเป็นประสบการณ์สุดวิเศษครั้งหนึ่งในชีวิต

  • การเดินทางจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใจกลางเมือง มีเส้นทางการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และ MRT ส่วนการเดินทางภายในมหาวิทยาลัย จุฬาฯ ก็มีรถโดยสารภายในจุฬาฯ (Shuttle Bus) เพื่อให้นิสิตสามารถเดินทางไปอาคารเรียน หอพักนิสิต และพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยถึง 6 เส้นทาง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

  • สุขภาพกายจุฬาฯ มีศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ที่ให้บริการทางสุขภาพฟรีแก่นิสิตจุฬาฯ และมีประกันสุขภาพสำหรับนิสิตต่างชาติ ที่นิสิตสามารถไปรับบริการที่โรงพยาบาลทั่วไปได้ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน นิสิตจึงไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายหากเกิดเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างที่เข้ามาศึกษา
  • สุขภาพใจสำหรับนิสิตที่รู้สึกไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน การใช้ชีวิต การปรับตัว หรือเรื่องใดก็ตาม จุฬาฯ มีหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต (Chula Student Wellness) ที่มีนักจิตวิทยาและจิตแพทย์คอยให้คำปรึกษานิสิตที่มีเรื่องกังวลทางใจ อีกทั้งจุฬาฯ ยังมีเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี คอยให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ การทำวีซ่า และการดูแลขณะเกิดเรื่องฉุกเฉิน

 

  • ที่พักสำหรับนิสิตจุฬาฯ มีหอพักเรือนวิรัชมิตร (CU I-House) สำหรับนิสิตต่างชาติโดยเฉพาะ สามารถเดินทางได้สะดวก มีรถรับส่งไปยังมหาวิทยาลัย อยู่ใกล้ร้านอาหารมากมาย และค่าใช้จ่ายถูกกว่าหอพักบริเวณใกล้เคียง
  • กิจกรรมและสันทนาการสำนักบริหารกิจการนิสิต ตั้งชมรม International Student Club เพื่อให้นิสิตต่างชาติและนิสิตไทยได้ทำกิจกรรมด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม หรือหากนิสิตสนใจเล่นกีฬา ดนตรี หรือกิจกรรมด้านอื่น ๆ ก็สามารถสมัครเข้าร่วมชมรมที่สนใจได้ เพื่อหาเพื่อนที่มีความสนใจเหมือนกัน

  • Unibuddyแอปคู่หูการใช้ชีวิตในจุฬาฯ เพื่อนิสิตต่างชาติ คุณศุกลินกล่าวว่าในบางครั้งการดูรีวิวจากอินเทอร์เน็ตก็อาจจะมีข้อมูลที่จริงบ้างไม่จริงบ้าง หรือการสอบถามข้อมูลโดยตรงจากมหาวิทยาลัยก็อาจจะไม่ได้ข้อมูลในมุมมองของผู้เรียน จุฬาฯ จึงเปิด “Unibuddy” เว็บไซต์แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้นิสิตต่างชาติได้รู้เรื่องราว ทั้งเรื่องเรียนและการใช้ชีวิตในมุมมองนิสิตจุฬาฯ โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นนิสิตจุฬาฯ ทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ สามารถเข้าใช้งาน Unibuddy ได้ที่นี่

พูดไทยไม่ได้ จะมาเรียนที่จุฬาฯ ได้ไหม?

ภาษาไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนและใช้ชีวิตที่จุฬาฯ แม้จะไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ นิสิตต่างชาติก็สามารถเรียนและสนุกกับประสบการณ์ชีวิตที่จุฬาฯ ได้

หลักสูตรนานาชาติทุกหลักสูตรจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด นอกจากนี้ นิสิตจุฬาฯ ชาวไทยส่วนมากก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ภายนอกมหาวิทยาลัยอาจจะมีบุคคลที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ แต่สมัยนี้ เราก็มีเครื่องมือและโปรแกรมที่สามารถแปลภาษาเพื่อใช้สื่อสารได้ เช่น ในโรงอาหาร แม้จะไม่มีเมนูภาษาอังกฤษ ก็สามารถถ่ายรูปอาหารบนป้ายที่อยากทานแล้วยื่นให้แม่ค้าดูได้”

สำหรับนิสิตที่สนใจจะเรียนภาษาไทย จุฬาฯ ก็มีหลักสูตรหลากหลายรูปแบบให้นิสิตได้เลือกเรียนตามความสนใจ

  • หลักสูตรออนไลน์เรียนฟรีกับ Chula MOOC เตรียมตัวก่อนมาประเทศไทยด้วยหลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานที่น่าสนใจ ได้แก่ หลักสูตร Survival Thai หลักสูตร Communicative Thai for Foreigners และหลักสูตร Thai on Campus พร้อมรับประกาศนียบัตรจากจุฬาฯ เมื่อเรียนจบหลักสูตร

  • หลักสูตรภาษาไทยแบบลงทะเบียนเรียนนิสิตต่างชาติสามารถลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทยสำหรับนิสิตต่างชาติโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนเรียนเพิ่ม และยังเก็บเป็นวิชาเรียนในใบทรานสคริปต์ได้ด้วย
  • หลักสูตรภาษาไทยแบบเข้มข้นหากการเรียนในห้องเรียนยังไม่เพียงพอ นิสิตก็สามารถสมัครเรียนเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีการเรียนภาษาในห้องเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมเวิร์คช็อปทางวัฒนธรรมไทยอีกด้วย หลักสูตรนี้ชาวต่างชาติที่ไม่ใช่นิสิตจุฬาฯ ก็สามารถสมัครเรียนได้เช่นเดียวกัน

“ในเมื่อมีโอกาสได้มาเป็นนิสิตจุฬาฯ ที่ประเทศไทย นอกจากการเรียนภาษาไทยกับเจ้าของภาษาในห้องเรียนแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการนำความรู้ที่ได้มาใช้กับคนนอกห้องเรียนเพื่อฝึกฝนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางภาษาไทยที่สุด”

สนใจมาเรียนที่จุฬาฯ จะต้องทำอย่างไร

จุฬาฯ มีหลักสูตรนานาชาติ ที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกมากกว่า 100 หลักสูตรจากหลากหลายสาขาวิชา โดยเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ในเดือนสิงหาคม

การรับสมัครในระดับปริญญาตรีจะเปิดรับสมัครรอบที่ 1 ในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม

ส่วนการรับสมัครในระดับบัณฑิตศึกษาจะแบ่งการรับสมัครเป็น 2 ช่วง ได้แก่ รอบรับสมัครเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม เริ่มเรียนในเดือนสิงหาคม และรอบรับสมัครเดือนกันยายน – ตุลาคม เริ่มเรียนในเดือนมกราคม

สำหรับนิสิตที่ต้องการทุน จุฬาฯ ก็มีทุนสนับสนุนสำหรับนิสิตหลายประเภทตามทั้งทุนการศึกษาและทุนทำวิจัย

นอกจากการเรียนในระดับปริญญาแล้ว จุฬาฯ ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนสำหรับนิสิตจากต่างประเทศที่สนใจมาเรียนที่จุฬาฯ ระยะสั้น 1-2 ภาคการศึกษา เพื่อมาเก็บเกี่ยวความรู้ที่จุฬาฯ และหาประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ประเทศไทยในเวลาเดียวกัน

·      Exchange Program นิสิตจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาที่ทำ MOU ร่วมกับจุฬาฯ สามารถมาแลกเปลี่ยนที่จุฬาฯ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนที่จุฬาฯ นอกจากชำระค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยของตน ผู้สนใจสามารถสมัครได้ล่วงหน้า 6 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน* ที่ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยที่ตนเองสังกัด โดยสามารถตรวจสอบมหาวิทยาลัยคู่สัญญาได้ที่นี่

·      Visiting Program สำหรับนิสิตที่มาจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่ไม่ใช่คู่สัญญาของจุฬาฯ ก็สามารถมาศึกษาที่จุฬาฯ 1-2 ภาคการศึกษาได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อกับผู้ดูแลหลักสูตรที่ต้องการสมัครของจุฬาฯ ได้เลย โดยชำระค่าเล่าเรียนที่จุฬาฯ ผู้สนใจจะต้องสมัครล่วงหน้า 6 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน*

*สำหรับ Exchange Program และ Visiting Program หากต้องการจะเริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 1 ในเดือนสิงหาคม สามารถสมัครได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน และหากต้องเริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 2 ในเดือนมกราคม สามารถสมัครได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคมของปีก่อนหน้า

·      APRU Virtual Student Exchange สำหรับนิสิตต่างชาติจากมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่าย  APRU ที่สนใจจะเรียนวิชาของจุฬาฯ แต่ไม่สะดวกที่จะมาเรียนที่ประเทศไทย หรืออยากจะเรียนแค่วิชาเดียว ก็สามารถเข้าร่วมโครงการ APRU Virtual Student Exchange ที่นิสิตจะได้เรียนวิชาที่สนใจบนคลาสออนไลน์กับนิสิตจุฬาฯ โดยที่ชำระค่าเล่าเรียนเฉพาะที่มหาวิทยาลัยของตนเท่านั้น

เตรียมวีซ่าให้พร้อมก่อนมาเรียนที่จุฬาฯ  

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การใช้ชีวิตที่จุฬาฯ ของชาวต่างชาติราบรื่น นั่นก็คือ “วีซ่า” ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาเรียนที่จุฬาฯ ต้องมี Education Visa

หลังจากที่ผู้สมัครผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ทางมหาวิทยาลัยจะออกเอกสารตอบรับเข้าศึกษาเพื่อให้ผู้สมัครไปยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตไทยหรือกงสุลไทย และเมื่อต้องมีการต่อวีซ่า ก็สามารถติดต่อได้ที่ผู้ประสานงานหลักสูตรของตนเองได้เลย

“สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Education Visa คือ วีซ่าประเภทนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเดินทางมาจากประเทศของตนเองเท่านั้น วีซ่านักท่องเที่ยวไม่สามารถเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็นวีซ่านักเรียนที่ประเทศไทยได้ กรณีนี้ นิสิตจะต้องเดินทางกลับประเทศของตนก่อนแล้วบินกลับมาใหม่เท่านั้น”

“สำหรับผู้ที่มีวีซ่าทำงานแล้วมาเรียนนอกเวลาทำงานก็สามารถมาเรียนได้ แม้จะถือวีซ่าทำงาน แต่วีซ่าทำงานไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียนได้ที่ประเทศไทยเช่นเดียวกับวีซ่าท่องเที่ยว ซึ่งเป็นปัญหาที่นิสิตพบบ่อย นี่จึงคือสิ่งที่ควรเตรียมตัวมาให้ดีหากนิสิตไม่อยากเสียเงินและเสียเวลาในการเดินทาง”

เปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หนุนชุมชนยั่งยืน

ภายใต้สถานการณ์ที่สังคมโดยรวมเริ่มขยับเข้าสู่โลกดิจิทัล  บริบทของวิถีชีวิตตลอดจนธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนจากรูปแบบอะนะล็อคมาสู่รูปแบบดิจิทัล และด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและสามารถบรรจุข้อมูลหรือ ดาต้า ของกิจกรรมต่างๆ ไว้อย่างมากมายในหลายปีที่ผ่านมา และนั่นหมายถึง โอกาส ต่อการแก้ไขและพัฒนา เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น 

ในส่วนของภาคเอกชนได้มีการนำข้อมูลที่เรียกว่า บิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย  โดยในขณะที่ภาครัฐในหลายประเทศก็ได้มีการอภิปรายถึงแนวทางการนำ “บิ๊กดาต้า” มาใช้ประโยชน์เพื่อต่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้เผยถึงความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า " ในต่างประเทศเริ่มมีข้อถกเถียงและการอภิปรายถึงประเด็นการใช้ mobility data มาเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย ตัวอย่างเช่นในนอร์เวย์ สวีเดน ฝรั่งเศส สโลวาเกีย ที่มีการนำ mobility data มาวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางของนักท่องเที่ยวเพื่อการออกแบบยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เช่นเดียวกับการดำเนินการวิเคราะห์ mobility data ร่วมกันระหว่างดีแทค คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บในครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอานุภาพของข้อมูล Mobility data ต่อการออกแบบนโยบายสาธารณะที่มีข้อได้เปรียบด้านขนาดข้อมูล ความรวดเร็วในการรวบรวมข้อมูล ต้นทุนที่น้อยกว่าการได้มาซึ่งข้อมูลแบบสำรวจ  หากเราสามารถนำ mobility data มาใช้ในการออกแบบนโยบายได้มากขึ้น จะสร้างพลังขับเคลื่อนอันมหาศาลในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม"

Image preview

mobility data ไม่เพียงแต่จะทำให้ภาครัฐและนักวิจัยเข้าใจสถานการณ์ในสังคมได้ดีละเอียด ชัดเจน และฉับไวมากขึ้น  หากภาคประชาชน ชุมชน และผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จะเป็นการเปิดโอกาสให้สังคมมีทางออกใหม่ให้กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ กล่าว

เวลาตัวแปรสำคัญของการพัฒนา

ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ซีอีโอของ Boonmee Lab เผยว่า บริษัทมีเป้าหมายในการนำความรู้ด้านการออกแบบ ดาต้า และเทคโนโลยีมาทำให้เกิดนวัตกรรมเพื่อสังคม และโปรเจ็คนี้ก็เป็นหนึ่งในโปรเจ็คที่ตื่นเต้นที่สุดด้วยลักษณะของ mobility data ที่มีลักษณะเฉพาะ ประกอบกับการมองเห็นถึงศักยภาพในการออกแบบนโยบายสาธารณะที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ

โปรเจ็คนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำ mobility data มาวิเคราะห์และนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครั้งแรกของไทย และสามารถต่อยอดไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะเพิ่มเติม นำมาพลิกแพลงได้หลายอย่างจนนำไปสู่ข้อสรุปใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม” ฐิติพงษ์กล่าว

ในโลกสมัยใหม่ที่ดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์และองคาพยพของสังคมอย่างสิ้นเชิง การออกแบบนโยบายสาธารณะก็ควรมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นของสังคม ควรนำแนวคิดการทำงานแบบ agile มาใช้ เพราะหากรัฐยังมีมุมมองต่อนโยบายสาธารณะแบบเดิม ในห้วงระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ ประเทศไทยจะตามหลังนานาอารยะประเทศอย่างมาก

“ในยุคที่เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่า ภาครัฐจำเป็นต้องนำเครื่องมือและรูปแบบการทำงานสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างเช่นโปรเจ็คนี้ที่คาดหวังว่าจะเป็น use case ของการนำ mobility data มาเป็นฐานเพื่อหนดนโยบายอื่นๆ ต่อไป” ฐิติพงษ์กล่าวเน้นย้ำพร้อมยกตัวอย่างกรณีการกำหนดเส้นทางเดินสายรถเมล์ที่อาจใช้ mobility data ร่วมกับข้อมูล CCTV ทำให้ระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพฯ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Image preview

พันธกิจแรกเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ

ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบายว่า นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของรัฐบาลสะท้อนให้แห็นถึงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ต่อการพัฒนาสู่ Digital Nation โดยให้ความสำคัญที่ “ข้อมูล” มากกว่า “ระบบไอที”

ปัจจุบัน สดช. ได้กำหนดทิศทางด้านข้อมูลโดยผลักดันให้ฐานข้อมูลที่เป็นบิ๊กดาต้าเป็นแหล่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเองยังเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะระบบการได้มาและการจัดเก็บข้อมูลนั้นมีความแตกต่าง ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีการจัดเก็บข้อมูลของตัวเอง โดยทั้งหมดต้องคำนึงถึงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การออกแบบนโยบายจำต้องให้ทันสถานการณ์ ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่ทันการณ์จึงความสำคัญมาก

“ในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักสถิติแห่งชาติ ผมตระหนักดีถึงบทบาทและความสำคัญของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากข้อมูลมีการบูรณาการจากหลายแหล่ง วิเคราะห์ได้ถูกจุด ก็จะทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีพลังอย่างมาก” เลขาธิการ สดช. กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา แม้การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐยังเผชิญกับความล่าช้าอันเนื่องมาจากการปรับปรุงกฎหมาย แต่ขณะเดียวกัน รัฐเองก็มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปฏิรูปข้อมูล ทั้งการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัลบนระบบคลาวด์ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชนเป็นเจ้าภาพ หรือการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.ซึ่งเป็นหน่วยงานเต็มไปด้วยบุคลากรด้าน data scientist เพื่ออำนวยความสะดวกวิเคราะห์ข้อมูลตามโจทย์ที่หน่วยงานรัฐต่างๆ ต้องการ

“ข้อมูลที่เรียลไทม์จะทำให้ภาครัฐสามารถบริหารจัดการปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การบริหารจัดการน้ำ การรับมือกับภัยพิบัติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญในระยะอันใกล้นี้คือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นแหล่งเดียวกัน ซึ่งเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก” ภุชพงค์ กล่าว

Image preview

ก้าวสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า จุดยืนของดีแทคต่อการใช้ mobility data คือ การขยายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่อยู่บนสมดุลระหว่างนโยบายความเป็นส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมสังคมเละเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปแบบอย่างแท้จริง แม้โครงการฯ นี้จะใช้เวลายาวนานถึง 2 ปี แต่ทีมงานทั้ง 3 ฝ่ายก็ทำมันสำเร็จ แต่นั่นเป็นก้าวแรกเท่านั้น โดยก้าวต่อไปคือ การได้รับความเห็นชอบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบและนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัยไปปรับใช้ ส่วนปลายทางความสำเร็จคือ การเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงวิธีการใช้ข้อมูลและวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาสังคม เช่นเดียวกับกรณีนี้ ที่มีความคาดหวังให้ mobility data สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการท่องเที่ยว ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมขององค์กรส่วนท้องถิ่น

หลายคนอาจถามว่าเอกชนจะก้าวขามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนโยบายสาธารณะทำไม แต่ดีแทคเราเชื่อว่า สิ่งนี้คือหน้าที่ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมด้วยการใช้ศักยภาพของ mobility data ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาสร้างประโยชน์ต่อประเทศตามแนวคิด Civil society อรอุมา เผย

Image preview

จุฬาลงกรณ์ฯ เผยผลวิจัย “ดัชนีความพร้อมเพื่อการเกษียณ” พบค่าเฉลี่ยคนไทยมีเงินออมหลังเกษียณอยู่ที่ 40%

Education Change

November 06, 2019

ช่วงนี้เป็นยุคเปลี่ยนผ่าน ยุคที่ทุกคนในบ้านเรากำลังเฝ้ารอการเปลี่ยนแปลง ผ่านพ้นวิกฤตเข้าสู่ความหวังที่จะเห็นสิ่งต่างๆ ดีขึ้น ทางด้านการศึกษาเองก็เช่นกัน

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click