November 25, 2024

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ดำเนินการจัดทำหลักสูตร Smart Supervisor 4.0

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิสิทธิ์ แก้วฉา หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ คณะการบริหารและจัดการ (Faculty Administration and Management : FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงหลักสูตรบริหารธุรกิจที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรีของเราแบ่งย่อยออกเป็น 4 แขนง คือ บริหารธุรกิจเกษตรบริหารจัดการเทคโนโลยี บริหารจัดการอุตสาหกรรม และบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ หลักสูตรบริหารของเราเริ่มต้นจากภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้คณะเทคโนโลยีการเกษตร ก่อนจะปรับเป็นวิทยาลัยการบริหารและจัดการ จนกระทั่งกลายมาเป็นคณะการบริหารและจัดการอย่างเต็มรูปแบบในปัจจุบันตามแนวทางของสถาบันฯ ตามที่ท่านคณบดีกล่าวว่า เรามีพื้นฐานมาจากทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เวลาเราเปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจก็คงจะไม่ใช่ทางด้านบริหารธุรกิจแบบสังคมศาสตร์ทั่วๆ ไป นักศึกษาที่มาเรียนด้านนี้ก็จะมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการบริหารและการจัดการ บางคนสนใจเรื่องเทคโนโลยีมากๆ ก็สามารถพัฒนาตัวเองไปเป็นโปรแกรมเมอร์ได้โดยมีฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการควบคู่กันไป

ในระดับปริญญาโท ภาควิชาบริหารและการจัดการ มี 2 หลักสูตร คือ บริหารธุรกิจทั่วไป เป็นหลักสูตรที่รองรับความต้องการของตลาดแรงงาน จุดเด่นที่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ เรามีเรียนเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเรียนแบบปกติ เป็นโอกาสดีของคนทำงานวันธรรมดาและไม่สะดวกเดินทางมาเรียนระหว่างสัปดาห์ กลุ่มที่มาเรียนโดยมากจะเป็นพนักงานจากนิคมอุตสาหกรรมบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ซึ่งเกินกว่าครึ่งของนักศึกษาที่มาเรียน เป็นนักศึกษาที่มีพื้นฐานในระดับปริญญาตรีมาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เด็กที่จบมาแล้วทำงานเป็นวิศวกรเขาสามารถขึ้นไปเป็นผู้บริหารได้ แต่ความรู้ทางหลักการบริหารที่เขานำมาใช้จะเน้นจากการอ่านหนังสือเอาเอง เขาจึงอยากได้ความรู้วิชาการที่เป็นทฤษฎีจริงๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้เร็วกว่าที่จะไปศึกษาด้วยตนเอง และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการทำงานกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มาจากหน่วยงาน / บริษัทต่างๆ นักศึกษาเหล่านี้สามารถที่จะก้าวขึ้นไปเป็นบอร์ดบริหารในองค์กรได้ อีกหลักสูตรหนึ่งเป็นบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทด้านการจัดการกีฬาและสื่อบันเทิง ตอนที่จัดตั้งหลักสูตรนี้ขึ้นมาเรามีความร่วมมือกับไทยไฟท์และสถานีโทรทัศน์ จึงถือเป็นหลักสูตรที่เราออกแบบมาเพื่อตอบสนองธุรกิจกีฬาและสื่อบันเทิงโดยเฉพาะ

สำหรับปริญญาเอกจะเป็นหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม เนื่องจากเรารับเด็กเข้ามาเรียนค่อนข้างเป็นจำนวนมากจึงต้องเร่งผลักดันให้เด็ก 30 กว่าคนจบให้หมด ช่วงนี้จึงมีการชะลอตัวการเปิดรับ”

แนวทางการจัดหลักสูตรของ FAM จะเน้นความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศซึ่งมีเรื่องของการนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภาพรวม อีกทั้งยังระดมอาจารย์ในหลายสาขาวิชาจากคณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไอที วิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาสอน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ครอบคลุมและทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่สุด หลักสูตรที่เกิดขึ้นจึงไม่ล้าสมัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิสิทธิ์ แก้วฉา อธิบายถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ FAM ว่า

“โดยทั่วไปรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลายๆ วิชาจะใช้ Case Study มา Discussion กัน เครื่องมือ Facility ที่นำมาใช้ก็ค่อนข้างครบครัน มีการทำ Field Trips ไปตามองค์กรต่างๆ มีการใช้สื่อและการสื่อสารแบบออนไลน์มากขึ้น สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีปีที่ 3 ที่มีความสนใจจะไปฝึกงานที่ต่างประเทศทางคณะฯ ก็มี Connection กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อย่าง Central Luzon State University ที่ฟิลิปปินส์ Meiji University และ University of Toyama ในญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในไต้หวัน อเมริกา ฝรั่งเศส ส่วนระดับปริญญาโทและเอกก็มีการพาไปดูงานต่างประเทศเป็นปกติ โดยเฉพาะปริญญาเอกที่จะต้องมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับและมีคุณภาพซึ่งถือเป็นเงื่อนไขของการศึกษาอยู่แล้ว

ส่วนการปรับหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหากเทียบปัจจุบันกับอดีตค่อนข้างต่างกันพอสมควร อย่างไรก็ตาม เราจะยึดแกนหลักเป็นด้านบริหารธุรกิจ ในแต่ละปีถ้าเห็นว่ามีอะไรเหมาะสมก็จะพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและเกี่ยวข้องกับทั้ง 4 แขนงของเรา อย่างช่วงหลายปีให้หลังมานี้ด้านการค้าระหว่างประเทศหรือไอทีค่อนข้างได้รับความนิยม เป็นเทรนด์ที่ต่างไปจากในเมื่อก่อน และเร็วๆ นี้ตามนโยบายของคณะผู้บริหาร เรากำลังอยู่ในกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหลักสูตร 4+1 ปริญญาตรีควบโทใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 5 ปี ทำความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร วิศวกรรมศาสตร์และไอที โดยจะมีการประชุมทำการยกร่างรายวิชา ระดับปริญญาโทนักศึกษาจะได้เรียนหลักทางด้านบริหาร แต่จะมีรายวิชาเลือกที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละประเภทและสอดคล้องกับวิชาชีพของเขา

ต่อมาสิ่งที่เราจะทำคือ หลักสูตรออนไลน์บางรายวิชาและเครดิตแบงกิ้ง เก็บเป็นรายวิชาสะสมไว้แล้วก็สามารถ Transfer หน่วยกิตได้ และตอนนี้ก็จะมีหลักสูตรร่วมกับบริษัทเอกชน อย่างเช่น ไทวัสดุหรือบริษัทเครือเซ็นทรัล ซึ่งจะจัดหลักสูตรร่วม รูปแบบจะเป็นการเรียนกับคณะของเราและฝึกงานเพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้ประสบการณ์จากการทำงานจริงในบริษัทเมื่อเด็กจบไปก็ทำงานกับองค์กรได้เลย ตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการการพูดคุยเบื้องต้นแต่แนวโน้มค่อนข้างเป็นไปได้สูงว่าจะมีความร่วมมือในปีการศึกษา 2562

นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมบริการวิชาของการคณะ โดยให้บริการไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่จะมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วม อย่างเร็วๆ นี้จะมีโครงการพัฒนาอาชีพของชุมชนสู่ ASEAN ภายใต้หัวข้อ “การสำรวจข้อมูลสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” มีวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ เป็นการอบรมเพื่อเปิดช่องทางการขายสินค้าท้องถิ่นแบบออนไลน์ให้คนในชุมชนบริเวณลาดกระบังที่ต้องการพัฒนาอาชีพไปสู่ระดับสากล”


เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

งานบริการวิชาการเป็นงานที่นำเอาองค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้กับสังคมภายนอกเครือข่ายต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างตรงจุด

หลักสูตร “Made to Order” ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สจล. เน้นการเรียน การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ ให้นักศึกษาเก่ง ทั้งวิชาการและการใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์รวมถึงการสร้างความพร้อมในการทำงาน ทั้งเรื่องวิชาการและความแข็งแรงในวิชาชีวิต เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมธุรกิจและการแข่งขันในโลกการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

ผศ. ดร. โอปอล์ สุวรรณเมฆ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร MBA ถึง หลักสูตรการเรียนการสอนของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ของสจล. ที่รองรับกับยุค Disruptive Education ว่า จากจุดเด่นของการแบ่งวิชา

เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชา คือ

  1. เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
  2. เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
  3. เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและอาหาร

ซึ่งมีข้อดีที่ว่า นักศึกษาสามารถเลือกวิชาที่สนใจได้ตามที่ต้องการ เพราะไม่ได้กำหนดวิชาเป็นเมเจอร์ ซึ่งจะเป็นการจำกัดกรอบจนเกินไป และเห็นว่าการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสวงหาความรู้อื่น ๆ มาเสริมได้ รวมไปถึงการเพิ่มพูนความรู้จากคอร์สอบรมอื่น ๆ นั้น จะช่วยเพิ่มศักยภาพในเส้นทางการเดินไปในอนาคตของนักศึกษาได้อย่างดี

ในปัจจุบันเรามีการออกแบบหลักสูตร โดยทำงานกับภาคธุรกิจที่ร่วมกันคิดโจทย์ออกมาเป็นหลักสูตร “Made to Order” ซึ่งจะทำให้นักศึกษาที่จบออกมามีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการที่มีเหตุผล นอกจากนี้ยังมีการไป Plug in กับประชาคมภายนอกทั้งวิสาหกิจชุมชน ภาคเอกชนต่าง ๆ และยังขยายวงกว้างไปถึงความร่วมมือกับต่างประเทศ

ผศ. ดร. โอปอล์ ย้ำถึงอีกจุดเด่นที่สำคัญมากของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คือ การเรียนที่ไม่เน้นแต่เพียงทฤษฎีเหมือนที่อื่น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์ที่อาศัยเครื่องมือมาใช้ในการบริหารจัดการ ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไป และยังสามารถนำมาประยุกต์เป็นหลักการทำงาน เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมมหภาค หรือแม้แต่การแข่งขันภายนอกที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

เพราะการเป็นนักเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการนั้น ในฐานะของคนที่สนับสนุนนโยบายหรือกลยุทธ์ขององค์การธุรกิจ จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างเหมาะสม สามารถแนะนำธุรกิจให้ปรับตัวได้ ซึ่งการปรับตัวที่ว่านั้นจะรู้ได้จากสัญญาณที่มาการตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ จะเป็นส่วนสนับสนุนให้ได้คำตอบที่ชัดเจน สามารถวัดผลได้ ทำให้เตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัวทางธุรกิจที่จำเป็นได้

สำหรับการบ่มเพาะความรู้ความสามารถของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สจล.นั้น ที่นี่จะสร้างความพร้อมในการทำงาน ทั้งเรื่องวิชาการ รวมถึงการดึงศักยภาพเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่แล้วมาใช้ เช่น การดูอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) การพยากรณ์ (Forecasting) โดยใช้ตัวเลขทางเศรษฐกิจมหภาคมาใช้ หรือการประยุกต์คณิตศาสตร์เข้ามาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจข้อมูลต่าง ๆ นอกเหนือจากการสร้างความแข็งแรงในวิชาชีวิต และยังด้านความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี ตัวเลข และสถิติต่าง ๆ ซึ่งเมื่อมีโจทย์หรือปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้นมา นักศึกษาจะรู้ถึงวิธีการจัดการอย่างไรกับตนเอง และกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะวางแผนกำหนดทิศทางในการรับมืออย่างไรต่อไป

เมื่อนำมาผสานกับจุดแข็งของสจล. ในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็ง ในสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความร่วมมือจากรุ่นพี่ในภาคอุตสาหกรรมมาช่วยรุ่นน้อง และยังมีกลุ่มความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งมีที่มาจากการแนะนำในเครือข่ายของคณาจารย์ จากการประชุมวิชาการ เป็นต้น

ในด้านการตั้งเป้าหมายของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ ซึ่งในวาระที่ ผศ.ดร.โอปอล์ เข้ามารับตำแหน่งใหม่นั้น จะมุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนาและการเติบโต ที่เป็นไปตามนโยบายหลักของ ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและจัดการ ที่ต้องการไปให้ถึงเป้าหมายใหม่ ๆ เช่น การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาความร่วมมือกันเพื่อก้าวไปสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ จะปฏิบัติเพื่อตอบสนองนโยบาย ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นหลักการที่ทำอยู่ เช่น การปรับหลักสูตร การทำหลักสูตรเป็น Module การทำสหกิจศึกษาร่วมกับเครือข่ายภายนอกในกลุ่มต่าง ๆ โดยนำโจทย์จากภาคธุรกิจมาช่วยแก้ปัญหา ร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และพี่เลี้ยง นอกจากนี้การสนับสนุนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย และมีการพึ่งพากันที่แข็งแรงต่อไป

แรงบันดาลใจในการทำงานด้านวิชาการ

ผศ. ดร. โอปอล์ บอกว่า ในชีวิตของอาจารย์ ไม่ได้มีแต่เฉพาะงานวิชาการเท่านั้น เราต้องเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาและลูกศิษย์อีกหลายคนที่จะเติบโต เราจึงต้องมีทางเลือกให้เขามาก ๆ ภาควิชาเองก็ควรมีทางเลือกให้มากกว่าการเรียนแต่ในห้องเรียน คนที่อยากท้าทายตัวเอง ไปรับโจทย์จากภาคอุตสาหกรรมมา หรือจะไปหาประสบการณ์ในต่างประเทศ นี่เป็นตัวอย่างในการเพิ่มช่องทาง ทางเลือกที่จะสนับสนุนให้นักศึกษาเพิ่มพูนความรู้ ในขณะเดียวกันก็สร้างให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และมีความพร้อมในการอยู่กับสังคมที่เป็นดิจิทัลในทุกวันนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีทั้ง 2 Skills คือ วิชาชีพ และวิชาชีวิตที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย

ดังนั้นการเป็นอาจารย์ จึงไม่ใช่แค่งานวิชาการ การเรียนการสอน งานวิจัยของอาจารย์เท่านั้น แต่เราเป็นสัญลักษณ์ของการเรียนรู้ของเด็กทั้งหมด สิ่งที่อยากฝากก็คือ น้อง ๆ นักศึกษาไม่ได้มาแค่เรื่องของวิชาการ แต่น้อง ๆ ต้องเข้ามาฝึกทักษะการมีชีวิตของตนเอง และทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นด้วย ซึ่งเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นคณะหรือภาควิชาใดของสถาบัน เรามีจุดร่วมกัน คือปั้น “คนดี คนเก่ง” สู่สังคม นอกจากนั้นอยากให้สนใจเศรษฐศาสตร์ประยุกต์มากขึ้น เพราะเป็นศาสตร์ที่มีอยู่รอบตัวเรา แล้วจะเห็นความสนุกของเศรษฐศาสตร์ที่มี รวมทั้งยังมีโอกาสในการทำงานและการเรียนต่อที่กว้างขวางขึ้นด้วย


เรื่อง : ชนิตา งามเหมือน    

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

แม้โลกปัจจุบันหลายภาคส่วนจะมีการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆเพื่อตอบสนองการใช้งานและมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคแต่ศาสตร์ในด้านการบริหารจัดการยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click