November 23, 2024

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” หนุนอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นำร่องการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จับมือกับภาคเอกชน ผลิตแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่ผลิตจากวัสดุคอมโพสิต หรือขยะพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเร่งวิจัย และเตรียมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะสามารถลดความเสียหายจากเหตุอุทกภัยได้กว่า 3.1 พันล้านบาท

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสภาวะโลกร้อนที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นจนเป็นสภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ส่งผลให้ภูมิอากาศทั่วโลกแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากภัยน้ำท่วมอย่างรุนแรง และต่อเนื่องในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินกว่า 3.1 พันล้านบาท ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม ในการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นำร่องการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าไปส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถผลิตอุปกรณ์รองรับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะอุปกรณ์ในด้านการป้องกันภัยจากน้ำท่วม ที่เป็นปัญหาสำคัญของไทย และเกิดขึ้นได้เกือบทุกปี ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุอุทกภัย โดยสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ ลดการนำเข้าเนื่องจากสินค้ามีราคาสูง รวมทั้งยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ วัสดุที่นำมาใช้มีทั้งที่เป็นนวัตกรรมจากวัสดุคอมโพสิต และวัสดุเหลือใช้ตามแนวคิด BCG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้าน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาวัสดุ รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานภาคเอกชนในการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติ เพื่อพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม โดยพัฒนาวัสดุกำแพงป้องกันน้ำท่วมผลิตจากนวัตกรรมวัสดุคอมโพสิต หรือเศษขยะพลาสติกเหลือทิ้งนำมาบดขึ้นรูปใหม่ (upcycling Recycle) ตามแนวคิด BCG โดยมีวัสดุทางเลือกจากการวิจัยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องความแข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักเบา และมีราคาถูกกว่าการนำเข้า รวมทั้งยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบ KNOCK DOWN ที่สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว แม่นยํา และปลอดภัย เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณประตูทางเข้าออกของโครงการ หรืออาคาร ทางลงชั้นจอดรถใต้ดิน หน้าบันไดเลื่อน หน้าลิฟต์ และล้อมเครื่องจักรมูลค่ำสูง เป็นต้น อีกทั้ง จะสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกกำลัง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมติดปีกอุตสาหกรรมอนาคต ด้วยเศรษฐกิจอวกาศ ผ่านเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM CONNECTION) ด้วยการเพิ่มโอกาสให้กับภาคอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ยกระดับมาตรฐานด้านการทดสอบและวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบวัสดุ ชิ้นส่วนด้านอากาศยาน และอวกาศ เพื่อเป็นฐานการประกอบธุรกิจด้านการบินและอวกาศ โดยการเพิ่มการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ตลอดจนการนำทรัพยากรมาใช้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่โลกอนาคต

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามนโยบาย IGNITE THAILAND ของรัฐบาลที่มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ซึ่งอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก และยังเป็น S-Curve ใหม่ ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการต่อยอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในอนาคต รวมทั้งเศรษฐกิจอวกาศยังเอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีอวกาศ จึงช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทยให้ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำของโลก และก้าวนำประเทศคู่แข่งที่อยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ามาสร้างโอกาสการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจอวกาศให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยจะพัฒนาเพื่อให้เกิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ และขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาเติมเต็มการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศอย่างยั่งยืนในอนาคต

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า หนึ่งในการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คือการมุ่งเน้นด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ ตรงกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคส่วนเศรษฐกิจกระแสหลักของประเทศ โดย อว. ตั้งเป้าขยายผลการใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาต่อยอดการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม จึงให้ความสำคัญในการส่งเสริม การสร้างและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเยาวชน Startup SMEs และบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้นความร่วมมือระหว่างสองกระทรวงในครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อก้าวสู่ภารกิจด้านกิจการอวกาศของไทย โดยได้มอบหมายให้ GISTDA เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนองค์ความรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมจากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และเพื่อขยายระบบโครงสร้างอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ โดยหน่วยงานรัฐและเอกชนทุกภาคส่วนจะมีโอกาสเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งจะผลักดันให้ไทยเข้าสู่ Global Value Chain ด้านอวกาศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ขานรับข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” ด้วยการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM CONNECTION) ผ่านลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมติดปีกอุตสาหกรรมอนาคต ด้วยเศรษฐกิจอวกาศ กับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศ โดยใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มาต่อยอดในการดำเนินธุรกิจในมิติต่าง ๆ เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคตโดยการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมเศรษฐกิจอวกาศ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าในระดับโลก พร้อมยกระดับมาตรฐานด้านการทดสอบและวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในการทดสอบวัสดุและชิ้นส่วนด้านอากาศยานและอวกาศ สนับสนุนการเป็นฐานการประกอบธุรกิจด้านการบินและอวกาศ รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อเพิ่มการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ตลอดจนการนำทรัพยากรของประเทศมาใช้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาผู้ประกอบการร่วมกันแล้ว ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านองค์ความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ กลไกต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต่อไปอีกด้วย

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า GISTDA มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศ ด้วยการสนับสนุนข้อมูลจากดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งปัจจุบันได้นำมาประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรม ดังนั้น การลงนามครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่ GISTDA จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาและผลักดันการใช้ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน GISTDA ได้ตระหนักถึงความสำคัญและแนวโน้มของเศรษฐกิจอวกาศใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นเศรษฐกิจยุคใหม่ที่มีเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยตัวเลขพบว่าทั่วโลกมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 8.1 มูลค่าสูงราว 415 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นครั้งแรกที่มีมูลค่าสูงกว่า 400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากการศึกษาวิเคราะห์ของ GISTDA พบว่า ประเทศไทยมีธุรกิจที่ต่อยอดจากการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีอวกาศ มากกว่า 35,600 กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 56,000 ล้านบาทต่อปี จึงสะท้อนได้ว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทยได้อีกมากในอนาคต ดังนั้น GISTDA จึงได้เตรียมความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ บุคลากร ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ที่จะสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอวกาศสู่ภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใต้การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างสรรค์ธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศใหม่ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศต่อไป ดร.ปกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

นำร่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 7.2 ล้านตันต่อปี

นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (คนกลาง) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย ร่วมด้วย Mrs. Luciana Pellegrino President of World Packaging Organization (WPO) (คนแรกซ้าย) Mr. Ali Badarneh Division Chief (Food Systems) United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) (ที่สองจากซ้าย) Ma. Cristina A. Roque, Undersecretary, Micro, Small and Medium Enterprise Development Group the Department of Trade and Industry, Philippines (คนแรกขวา) และนายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่สองจากขวา) ผู้จัดงานโปรแพ็ค เอเชีย 2024 (ProPak Asia 2024) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เมื่อเร็วๆ นี้

กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึก ซีพี ออลล์ ผ่านเซเว่นฯ สนับสนุน SMEs ไทยให้เติบโต พร้อมเปิดโอกาสทางการตลาดส่งสินค้า SMEs สู่มือผู้บริโภค พร้อมยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ผ่านโครงการและกิจกรรมเด่น  ตั้งเป้ายกระดับสินค้า นวัตกรรม สู่มาตรฐานสากล

นายณัฐพล รังสิต ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันและสร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการและการจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการ (Kick-off) ร่วมกับ นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ โดยระบุว่า การลงนาม MOU ในวันนี้ (5 เม.ย.67) ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสนับสนุน SMEs เพื่อเริ่มต้นทำกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการร่วมกัน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ในประเทศไทยมีส่วนสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจของไทยอย่างยิ่ง ทั้งก่อให้เกิดการจ้างงาน แหล่งอาชีพ แหล่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ของ SMEs สร้างงาน อาชีพ กระจายรายได้ และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริม SMEs ของนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน โดยกระทรวงฯดำเนินการสนับสนุนผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยหวังว่าจะช่วยสร้างโอกาสให้กับ SMEs ให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และเมื่อผู้ประกอบการผลิตสินค้าแล้วจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับผู้ซื้อ ซึ่งเซเว่น อีเลฟเว่นเป็นร้านสะดวกซื้อที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมีสาขามากกว่า 10,000 สาขาทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงคนไทยทุกกลุ่ม จึงมั่นใจว่าการลงนาม MOU ครั้งนี้ จะเป็นโอกาสของสินค้าจากผู้ประกอบการ SMEs ในการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

“กระทรวงอุตสาหกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล มีนโยบายมุ่งมั่นส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ใน 4 มิติ ก็คือ รายได้ การอยู่ร่วมกันกับชุมชน การลงตัวสอดคล้องกับกติกาสากล และการกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งหนึ่งในวัตถุประสงค์ของนโยบายดังกล่าวเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นที่รักของชุมชน ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการรายย่อยให้มีโอกาสร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยความร่วมมือครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันระหว่างองค์กรขนาดใหญ่และผู้ประกอบการรายย่อย SMEs รวมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งช่วยผลักดันให้สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมมีโอกาสร่วมกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของประเทศส่งผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง สร้างรายได้ สร้างโอกาส ให้แก่ผู้ประกอบการได้เติบโตและดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะการแข่งขันของตลาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น พร้อมทั้งขยายไปยังหน่วยอื่น ๆ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตควบคู่กับการกินดีอยู่ดีของผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยในรอบนี้มีผู้ประกอบการที่ผ่านโครงการของ อก. ที่ได้รับโอกาสในการเชื่อมโยงกับเซเว่น อีเลฟเว่น กว่า 50 ราย คาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี” นายณัฐพล กล่าว

ด้าน นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า เซเว่น อีเลฟเว่น ในฐานะหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม SMEs มาโดยตลอด ตามนโยบาย SMEs โตไกลไปด้วยกัน” ผ่านกลยุทธ์ 3 ให้ ประกอบด้วย 1.ให้ช่องทางขาย 2.ให้ความรู้ และ 3.ให้การเชื่อมโยงเครือข่าย จึงได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ SMEs มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือครั้งสำคัญกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการ พร้อมสร้างโอกาสการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับ SMEs ในอนาคต

“การลงนามความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นภาคเอกชนกับ กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะภาครัฐ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเดินหน้าสนับสนุน ส่งเสริม SME อย่างจริงจังในทุกรูปแบบและทุกช่องทาง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การเติบโตของทั้ง 2 หน่วยงานคือ ต้องการสร้างการเติบโตแบบองค์รวมทั้งในภาคของเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนให้กับ SMEs และระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศในอนาคตให้พร้อมแข่งขันในระดับสากล” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

สำหรับบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน พัฒนา เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร เพื่อยกระดับสินค้าและบริการให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในการปฏิบัติทางการค้าที่ดี (Code of Conduct) นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายและพันธกิจในการสร้างอุตสาหกรรมที่อยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมของทั้งสองฝ่ายได้เป็นอย่างดี เพิ่มศักยภาพและพัฒนาบุคลากรผ่านการดำเนินโครงการ หรือ กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดสัมมนา การฝึกอบรม การให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับสถานประกอบการและประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และร่วมมือกันดำเนินงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา (Feedback) ให้ความรู้เชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และสร้างโอกาสทางการตลาดการประชาสัมพันธ์ผ่านการจัดกิจกรรมการทดสอบตลาด ตลอดจนกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้แก่บุคคลทั่วไปในชุมชนและสังคม

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click