โชว์ศักยภาพฐานการผลิต 3 ประเทศในอาเซียน พร้อมเดินหน้านวัตกรรมเคมีภัณฑ์ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก

บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (มหาชนจำกัด หรือดีแทค ได้ลงนามสัญญาสินเชื่อระยะยาวอายุ 5 ปี ที่เชื่อมโยงกับ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance) เป็นครั้งแรก โดยมีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนระยะข้ามคืนระหว่างธนาคาร THOR (Thai Overnight Repurchase Rate) กับ ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด

เงินกู้ระยะยาวที่เชื่อมโยงกับ ESG โดยมีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR มูลค่า 6 พันล้านบาทนี้ มีการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อมโยงกับคะแนน ESG ของดีแทค ซึ่งเงินกู้นี้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตลาดการเงินทั้งในแง่การส่งเสริมการใช้อัตราอ้างอิง THOR ใหม่และเครื่องมือทางการเงินที่เชื่อมโยงกับ ESG ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น

ธุรกรรมที่ไม่เหมือนใครนี้แสดงถึงหมุดหมายใหม่ในการร่วมส่งเสริมแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการใช้ THOR เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพของตลาดการเงินควบคู่ไปกับการรับรู้ถึงความสำคัญของด้าน ESG ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นายนกุล เซห์กัล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการเงิน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมลงนามสัญญาณสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล กับธนาคารมิซูโฮ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจการเงินชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น นี่เป็นโอกาสอันดีสำหรับดีแทคในการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม เราจะยังคงเดินหน้าบูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนหรือ ESG ในการดำเนินงานของเราในมิติต่างๆ เนื่องจากเราเชื่อว่านี่เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้างในสังคมไทย และในการสร้างอนาคตที่แข็งแกร่งยั่งยืน อีกทั้งเรามีความยินดีที่ได้ร่วมส่งเสริมอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ THOR ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และถือเป็นหมุดหมายสำคัญของพัฒนาการตลาดการเงินไทย”

นาย เคอิ ชิโรตะ ผู้จัดการทั่วไปของ ธนาคาร มิซูโอ จำกัด สาขากรุงเทพ กล่าวว่า “มิซูโฮขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จครั้งแรกของ DTN สำหรับสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับ ESG ที่ใช้ THOR เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และเราภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้

เราประทับใจในนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของดีแทค ตลอดจนความพยายามที่จะนำอัตราอ้างอิง THOR ที่เพิ่งเปิดตัวไปใช้ในธุรกรรมทางการเงินของบริษัท ซึ่งจะกระตุ้นการพัฒนาตลาดการเงินของประเทศไทยในอนาคตให้สอดคล้องกับแนวโน้มของโลก

นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่า “ธุรกรรมสินเชื่ออ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR และเชื่อมโยงกับคะแนน ESG ที่ ธนาคาร มิซูโฮ จำกัด สาขากรุงเทพ ได้ทำสัญญาร่วมกับ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ของทั้ง 2 หน่วยงานที่มุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมถึงความพร้อมของธนาคารในการทำธุรกรรมอ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR ขณะเดียวกันยังเอื้อให้ภาคธุรกิจมีแหล่งเงินทุนเพื่อขับเคลื่อนให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยต้นทุนที่ลดลง ธปท. จึงขอขอบคุณในความร่วมมือที่ได้ส่งเสริมให้มีเครื่องมือระดมทุนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในระยะยาวทั้งในด้านการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR และการร่วมสร้างสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม”

การปรับตัวผลิกฟื้นสถานการณ์องค์กร เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ทุกองค์กร ต่างก็พุ่งเป้าไปสู่ความสำเร็จ  “เพื่อความยั่งยืน”

และจะไปถึงเป้าหมายความสำเร็จนั้น   “ด้วยความยั่งยืน” 

Sustainability หรือความยั่งยืนไม่ใช่แค่ไอเดียหรือหลักการของแคมเปญด้าน CSR อีกต่อไป เมื่อองค์กรธุรกิจทั่วโลกตื่นตัวมากขึ้นกับการนำธุรกิจ สินค้าและบริการของตนเข้าไปเชื่อมต่อกับคุณค่าด้านนี้ บางองค์กรยกให้ความยั่งยืนเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจของตนต่อไปอีกหลายสิบปีจากนี้ อย่างเช่น เอปสัน ผู้ผลิตเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์และโปรเจคเตอร์อันดับหนึ่งของโลกจากประเทศญี่ปุ่น

นายซิ่ว จิน เกียด ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาค เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนหันมานิยมบริโภคสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตที่ยึดถือหลักความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่หลายบริษัทในระดับโลกต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับความยั่งยืนจึงกลายเป็นจุดเด่นหนึ่งขององค์กรธุรกิจที่ได้รับการยอมรับนับถือในระดับโลก”

ในขณะที่ผู้บริโภคก็เต็มใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนกลุ่ม Millennial และ GenZ ที่ไม่ได้มองราคาเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการมีส่วนในการตอบแทนสังคม การที่ผู้ผลิตสามารถแสดงออกถึงบทบาทของบริษัทในการรักษาสิ่งแวดล้อมถือเป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่จะรักษาพนักงานไว้กับองค์กร แต่ยังช่วยปกป้องบริษัทจากประเด็นสังคมต่างๆ เพิ่มความน่าเชื่อถือในสังคม ทั้งยังทำให้ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าและบริการของบริษัทนั้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 

เอปสัน เริ่มต้นจากการเป็นโรงงานผลิตนาฬิกาข้อมือเมื่อทศวรรษที่ 1940 ก่อนจะขยายธุรกิจไปยังหลากหลายสายเทคโนโลยีและมีสำนักงานสาขากระจายอยู่ทั่วโลกเหมือนทุกวันนี้ ตั้งแต่แรกเริ่ม บริษัทฯ มีเป้าหมายด้านซีเอสอาร์อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากความพยายามรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมรอบทะเลสาบซูวะ ในจังหวัดนากาโน่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทฯ ให้สะอาดและมีนิเวศที่สมบูรณ์ ก่อนจะเติบโตขึ้นและกลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ประกาศว่าจะกำจัดสารซีเอฟซีที่ทำลายชั้นโอโซนออกจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในปี 1993 ก่อนที่ในปี 2004 จะเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และได้ประกาศให้การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ ปัจจุบัน เอปสันยังคงพัฒนานวัตกรรมมากมายที่สามารถเปลี่ยนชีวิตของผู้คนและสร้างโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น 

แม้ว่าในปัจจุบัน มีการรณรงค์ลดการใช้กระดาษเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ความต้องการด้านการพิมพ์ลดน้อยลง และหันไปใช้ไฟล์ดิจิทัลมากขึ้น แต่ในภาคธุรกิจ ความต้องการการพิมพ์และการใช้กระดาษยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง หน่วยงานหรือองค์กรต่างมองหาโซลูชั่นที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว เอปสัน ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก ได้นำหลักความยั่งยืนมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนงานด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ตลอดไปจนถึงขั้นตอนบรรจุห่อและโลจิสติกส์ เพื่อรับประกันว่านวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นจะมีส่วนส่งเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น ในฐานะผลผลิตที่สะท้อนถึงการนำหลักความยั่งยืนมาใช้

ล่าสุด เอปสัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเปิดตัวแคมเปญ “Be Cool” เพื่อสื่อสารถึงการตอบโจทย์ความต้องการงานพิมพ์ที่ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอโซลูชั่นเพื่อการพิมพ์งานภายในองค์กรผ่านเทคโนโลยี Heat-Free ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ไม่ใช้ความร้อนในกระบวนการพิมพ์ ช่วยให้ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วไปถึง 85% นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 85% และเนื่องจากไม่มีการใช้ความร้อน ทำให้มีชิ้นส่วนหรืออะไหล่ภายในตัวเครื่องที่น้อยกว่า ช่วยลดการใช้ชิ้นส่วนได้มากถึง 59% เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่มีเทคโนโลยี Heat-Free จากเอปสัน ครอบคลุมความต้องการใช้งานทางธุรกิจที่หลากหลาย ผ่านกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์กลุ่ม EcoTank ที่มาพร้อมกับแท็งค์หมึกความจุสูง รองรับการพิมพ์ในปริมาณมาก ไม่ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหมือนการใช้ตลับหมึกหรือโทนเนอร์ ทำให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก และมีต้นทุนการพิมพ์ที่แสนประหยัด แต่ประสิทธิภาพการทำงานสูง สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เอปสันยังมีเครื่องพิมพ์กลุ่ม WorkForce Pro และ WorkForce Enterprise ที่ให้ความเร็วการพิมพ์สูงสุดถึง 100 หน้าต่อนาที อีกทั้งยังมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยในการจัดชุดกระดาษและเย็บเล่ม เพื่อเพิ่มความสะดวกและตอบโจทย์การพิมพ์ปริมาณมากได้อย่างลงตัว

นอกจากนี้ เอปสันยังมีแผนพัฒนาและนำเสนอระบบรีไซเคิลกระดาษแบบแห้ง หรือที่เรียกว่า Epson PaperLab ให้กับทุกสำนักงาน ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีที่สามารถนำกระดาษที่ใช้แล้วนำมาย่อยสลายและขึ้นรูปให้กลับมาเป็นกระดาษใหม่ได้ ตอบโจทย์การพิมพ์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบวงจร

นอกเหนือจากเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ เอปสันยังได้แสดงออกถึงจุดยืนในการสนับสนุนความยั่งยืน ผ่านกิจกรรม ซีเอสอาร์ตาม Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติมาโดยตลอด โดยที่สำนักงานสาขาของเอปสันทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แสดงความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สิทธิมนุษยชน การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของบุคลากรในที่ทำงาน การใช้ทรัพยากรที่คำนึงถึงความยั่งยืนในกระบวนการซัพพลายเชน ตัวอย่างในประเทศไทย ที่ล่าสุดเอปสันได้ขยายขอบเขตงานซีเอสอาร์มาให้ความสำคัญกับเรื่องของ “Life on Land” โดยได้ร่วมกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดกิจกรรม “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่าขึ้น โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องพิมพ์ Heat-Free ของเอปสัน เพื่อใช้ในการพิมพ์ประกาศนียบัตรจากทางมูลนิธิฯ โดยเอปสันจะร่วมสมทบทุน 30 บาท ต่อทุก 1 ใบประกาศนียบัตรที่ถูกพิมพ์ออกมา มอบให้กับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ในการรณรงค์ป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์และพรรณพืชหายากในประเทศไทยต่อไป

และในปี 2020 ที่ผ่านมา EcoVadis บริษัทจัดอันดับองค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในแบบองค์รวม ได้ประเมินองค์กรธุรกิจมากกว่า 75,000 บริษัท จาก 200 อุตสาหกรรม ใน 160 ประเทศทั่วโลก และได้มอบเหรียญแพลตทินัมด้านความยั่งยืนให้แก่ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น เพื่อเป็นการยกย่องความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนาโครงการซีเอสอาร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเอปสันถูกจัดอยู่ในกลุ่มองค์กรที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งมีเพียง 1% ในอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

“ภารกิจของเอปสันคือการสร้างความไว้วางใจให้กับทุกภาคส่วน ด้วยการเติบโตของธุรกิจ ความสำเร็จในการดำเนินงาน และพันธกิจเพื่อการสร้างโลกที่ดีขึ้น วิสัยทัศน์สู่ความยั่งยืนในอนาคตของเรา ทำให้เรามุ่งมั่นที่จะลดการก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอน โดยมุ่งให้ความรู้กับสาธารณชน พร้อมทำงานร่วมกับเยาวชน เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนต่อไป” นายซิ่ว จิน เกียด กล่าว

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (DIP) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับบริษัท วู้ดดี้เวิลด์ จำกัด

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click