นักลงทุนรุ่นใหม่ มองการที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ขาลง คือจุดเปลี่ยนของราคาสินทรัพย์การลงทุนที่มีโอกาสฟื้นตัวได้ ระยะสั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสแรลลี่ได้จนถึงปลายปี เช่นเดียวกับสินทรัพย์ประเภทอื่นอย่าง ทองคำ และบิทคอยน์ ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อน ตลาดสินทรัพย์ทั่วโลกกลับมาคึกคัก แต่อย่างไรก็ตาม ระยะยาวยังต้องจับตามองเรื่องเศรษฐกิจถดถอย

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า การประกาศอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนตุลาคมออกมาที่ 7.7% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะออกมาที่ 8% เป็นจุดเปลี่ยนของตลาดการเงินทั่วโลก หลังจากตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาสินทรัพย์ อย่างเช่นตลาดหุ้น ทองคำ บิทคอยน์ ถูกเทขายลงมาอย่างหนักจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีก็ถูกแรงเทขายจากความไม่เชื่อมั่นของกระดานเทรด FTX ที่มีปัญหาการขาดสภาพคล่องจนราคาสินทรัพย์ดิจิทัลทุกตัวราคาปรับลงอย่างหนัก ก่อนการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ซึ่งเรียกว่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนรุนแรง

หากติดตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ Dollar Index จะเห็นสัญญาณของการปรับตัวลงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว เพราะเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง พอมีการประกาศตัวเลขเดือนตุลาคมออกมาทำให้ตลาดเกิดความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อเริ่มมีทิศทางเป็นขาลงและธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยแรงหลังจากที่ปรับขึ้นมาในอัตรา 0.75% ถึงสี่ครั้งติดต่อกัน ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์” นายณพวีร์ กล่าว

โดยหลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทั้งสามตลาดต่างปรับตัวขึ้นแรงทั้งหมด โดยเฉพาะตลาด NASDAQ บวกขึ้นถึง 7.35% บ่งบอกว่าตลาดมีความเชื่อมั่นว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งสุดท้ายในเดือนธันวาคม ของปีนี้ อาจจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยลง โดยอาจจะปรับลดเหลือ 0.5%

ขณะที่ดัชนี Dollar Index อ่อนค่าลงจนกลายเป็นทิศทางขาลงในระยะสั้นแล้ว จึงน่าจะเป็นผลบวกต่อสินทรัพย์อื่น ๆ ประกอบกับการเปิดประเทศของหลายประเทศหลังโควิดและในช่วงสิ้นปีที่ผู้คนทั่วโลกออกเดินทาง และมีการจับจ่ายใช้สอยช่วงเทศกาลมากเป็นพิเศษ จึงคาดการณ์ได้ว่าจากนี้จนถึงสิ้นปี ตลาดการลงทุนจะกลับมาคึกคักสร้างผลตอบแทนเป็นบวกจากกิจกรรมเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น

ขณะที่สินทรัพย์ อย่าง ทองคำ ถือเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ ปัจจุบันราคาทองคำฟื้นตัวขึ้น หลังจากผ่านแนวต้านสำคัญที่ 1,723 ดอลลาร์มาได้ และกำลังขึ้นไปทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันที่ ระดับ 1,800 ดอลลาร์ หากผ่านตรงนี้ไปได้ มีความชัดเจนว่าแนวโน้มราคาทองคำจะดีดกลับเป็นขาขึ้น

ส่วนตลาดคริปโตเคอเรนซี่ ภาพรวมยังเจอแรงกดดันจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของ FTX ซึ่งเป็น Exchange อันดับ 2 ของโลก และส่อเค้าจะล้มละลาย ทำให้ตลาดมีความผันผวนสูง โดยล่าสุดราคาบิทคอยน์ร่วงหลุดจุดต่ำสุดเดิมของปีนี้ที่ 17,500 ดอลลาร์ แต่ในระยะสั้น บิทคอยน์ มีโอกาสปรับตัวดีดขึ้น เพราะได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นจังหวะทยอยขายทำกำไรในระยะสั้น

อย่างไรก็ดี หากใช้สถิติเดิมจากรอบขาลงครั้งก่อน ราคาบิทคอยน์ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดกว่า 80% ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าราคาอาจปรับตัวลงมาได้ถึงระดับ 13,500 ดอลลาร์ แต่มองว่าราคาใกล้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว นักลงทุนที่มองการลงทุนระยะยาวสามารถทะยอยสะสมได้

ในระยะยาวปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งยังเป็นปัจจัยสำคัญกดดันตลาดหุ้นในระยะยาว โดยสัญญาณของ Recession จะชัดเจนขึ้นหลังจากบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกประกาศผลประกอบการในไตรมาสสาม ดังนั้น นักลงทุนยังต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุนเช่นเดิม” นายณพวีร์ กล่าว

ส่วนตลาดหุ้นที่น่าสนใจ คือตลาดหุ้นจีน รวมถึงฮ่องกง เพราะหากพิจารณาในแง่ของ Valuation ค่าเฉลี่ย P/E ของตลาดหุ้นจีนลดลงต่ำกว่าระดับ 10 เท่า ซึ่งเป็นระดับ Valuation ที่ต่ำ เพราะที่ผ่านมาตลาดหุ้นจีนอยู่ในระดับค่า P/E ที่สูงมาตลอดแม้จะได้รับแรงกดดันจากนโยบาย Zero Covid รวมถึงการกีดกันทางด้านเทคโนโลยีจากนโยบายรัฐบาลจีน ดังนั้นมูลค่าของตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันที่ลงมาจนอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงเป็นโอกาสเข้าลงทุนได้ในระยะยาว

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม จากต้นปีถึงตอนนี้ปรับตัวลงมาแล้วถึง 40% เหตุผลที่ปรับตัวลงมาจากปัจจัยลบภายในประเทศเวียดนามเอง ถึงแม้ว่าขณะนี้ยังไม่ใช่จังหวะที่จะเข้าไปทะยอยสะสม แต่หากพิจารณาในแง่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ ตลาดหุ้นเวียดนามน่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาวเช่นกัน

บทความ : ณพวีร์  พุกกะมาน  

รายงาน Trends Demand Gold ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ในไตรมาส 3 ของปี 2565 แตะ 1,181 ตัน เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี และด้วยความต้องการที่สูงขึ้นจึงทำให้ยอดสะสมตั้งแต่ต้นปีกลับไปเกือบเท่าช่วงก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ยิ่งไปกว่านั้น ความต้องการทองคำยังได้รับแรงหนุนจากผู้บริโภคและธนาคารกลาง แม้ว่าจะมีการหดตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในส่วนของการซื้อเพื่อการลงทุน

ความต้องการทองคำของผู้บริโภคในไทยในไตรมาส 3/2565 เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบเป็นรายปี กล่าวคือ จาก 8.6 ตัน ในไตรมาส 3/2564 ไปเป็น 12.1 ตัน ในไตรมาส 3/2565 ด้วยแรงหนุนจากความต้องการอัญมณีที่สูงขึ้น 35% เมื่อเทียบเป็นรายปี จาก 1.9 ตัน ในไตรมาส 3/2564 เป็น 2.5 ตัน ในไตรมาส 3/2565 และความต้องการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำพุ่งขึ้น 42% เมื่อเทียบเป็นรายปี จาก 6.7 ตัน ในไตรมาส 3/2564 เป็น 9.6 ตัน ในไตรมาส 3/2565

Mr. Andrew Naylor ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาค APAC (ไม่รวมประเทศจีน) ของสภาทองคำโลก กล่าวว่า "ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันที่เราได้เห็นความต้องการอัญมณีในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการฟื้นตัวของภาคส่วนการท่องเที่ยวและราคาทองคำที่ลดลง อันเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ค้าปลีกทองคำเร่งเติมคลังโดยคาดว่าความต้องการจะยังคงแข็งแกร่งต่อไปในไตรมาสที่สี่ เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้คนนิยมแต่งงานและมีการเฉลิมฉลองส่งท้ายปี”

การลงทุนทั่วโลกดิ่งลง 47% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากนักลงทุน ETF ไม่สู้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งตัว โดยมีการไหลออกที่ 277 ตัน ซึ่งเหล่านี้ ผนวกรวมกับความต้องการการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลง และทัศนคติเชิงลบในตลาดซื้อขายล่วงหน้านับเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของราคาทองคำส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลง 8% ในไตรมาส 3/2565

อย่างไรก็ตาม แม้จะเกิดปัญหาข้างต้น แต่ทองคำก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักลงทุนรายย่อยที่ตอบสนองต่อสัญญาณของตลาดต่าง ๆ และหันไปลงทุนในทองคำ เนื่องจากยังสามารถตรึงราคาไว้ได้ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยนักลงทุนจะเลี่ยงผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อด้วยการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำ ทำให้ความต้องการในส่วนค้าปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากการซื้ออย่างมีนัยสำคัญในประเทศตุรกี (มากกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา) และในประเทศเยอรมนี (เพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่ 42 ตัน) พร้อมอานิสงค์ที่เด่นชัดจากตลาดหลักทั่วโลก

การซื้ออัญมณียังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและได้กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ 523 ตัน โดยนับว่าเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 การเติบโตส่วนใหญ่นี้มีสาเหตุมาจากผู้บริโภคในตัวเมืองของประเทศอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อความต้องการให้เพิ่มขึ้น 17% เป็น 146 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นอกจากประเทศอินเดียแล้วยังมีการเติบโตที่น่าประทับใจในหลายพื้นทั่วตะวันออกกลาง โดยประเทศซาอุดิอาระเบียเลือกซื้อเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่ไตรมาส 3/2564 และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มขึ้น 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ความต้องการของเครื่องประดับในจีนยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่มากขึ้น และราคาทองคำในประเทศที่ลดลงในเดือนกรกฎาคม รวมถึงการผลิตตามความต้องการที่เคยถูกชะลอไว้บางส่วน

ควบคู่ไปกับความต้องการในทองคำของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง การซื้อของธนาคารกลาง1ดีดตัวขึ้นอย่างมาก โดยมียอดซื้อสูงเป็นประวัติการณ์เกือบ 400 ตัน ในไตรมาส 3 สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงจากข้อมูลสำรวจเชิงลึกที่เราได้จากธนาคารกลางเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ว่า 25% ของผู้ตอบแบบสอบถามประสงค์ที่จะสำรองทองคำเพิ่มในอีก 12 เดือนข้างหน้า2

เมื่อมองไปในส่วนของอุปทานการทำเหมืองทอง (การลดความเสี่ยงสุทธิ) เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2564 โดยการทำเหมืองทองคำได้เติบโตติดต่อกันถึงไตรมาสที่หก ในทางกลับกัน การรีไซเคิลลดลง 6% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากผู้บริโภคไม่ตัดสินใจขายทองคำในภาวะที่เงินเฟ้อสูงขึ้นและมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

Ms. Louise Street นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโส ของสภาทองคำโลก ให้ความเห็นว่า

“แม้สภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาคจะไม่ทรงตัว แต่ความต้องการในปีนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงสถานะของทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าทองคำยังทำกำไรได้ดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในปี 2565

“ในอนาคต เราคาดว่าการซื้อของธนาคารกลางและการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยจะยังคงมีความแข็งแกร่งต่อไป ทำให้สามารถชดเชยการลงทุนใน OTC (Over-The-Counter) และ ETF (Exchange Traded Fund) ที่อาจลดลงในกรณี

ที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังคาดว่าความต้องการในเครื่องประดับจะยังคงแข็งแกร่งในบางภูมิภาค อาทิ อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ภาคเทคโนโลยีจะมีแนวโน้มลดลงอีกเมื่อเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ”

สามารถอ่านรายงาน Gold Demand Trends ฉบับครอบคลุมข้อมูลสำหรับไตรมาส 3/2565 ของทาง Metals Focus ได้ที่นี่: https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q3- 2022

 

การที่กองกำลังทหารรัสเซียรุกคืบเข้าสู่ยูเครน ได้ส่งผลกระทบสำคัญหลายประการ

ความต้องการทองคำในไทย* ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 อยู่ที่ 9 ตัน สวนทางกับยอดขายทองคำสุทธิ ในช่วงเดียวกันของปี 2020 ซึ่งอยู่ที่ 44 ตัน

ทั้งนี้ ดีมานด์โดยรวมได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัย อาทิ ความต้องการซื้อเครื่องประดับทองของผู้บริโภค ในประเทศ ซึ่งอยู่ที่ 2 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 39%** นอกจากนี้ ทองคำแท่งและเหรียญ ทองคำซึ่งเป็นสินค้าประเภททองคำอีกรูปแบบหนึ่งยังได้แรงช้อนซื้อจากนักลงทุนรายย่อย*** อย่างท่วมท้นถึง 7 ตันด้วยเช่นกัน

Mr. Andrew Naylor ซีอีโอประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมจีน) ของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ประเทศไทยเผชิญกับความผันผวนอย่างมากจากการลดการลงทุนครั้งใหญ่ในปีที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุน หันไปถือครองทองคำเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างความ ได้เปรียบจากราคาทองคำที่สูงขึ้น” ตรงข้ามกับปีนี้ที่นักลงทุนไทยซื้อทองคำสุทธิ โดยได้แรงหนุนให้เข้าซื้อ ในช่วงที่ราคาทองคำอ่อนตัว รวมถึงความต้องการทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่พิทักษ์ความมั่งคั่งและสินทรัพย์ ปลอดภัย”

ในไตรมาสที่สามของปี 2021 ความต้องการทองคำ* ลดลง 7% เมื่อเทียบเป็นรายปีและ 13% เมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสมาอยู่ที่ 831 ตัน สาเหตุหลักมาจากการไหลออกของกองทุน ETF ทองคำที่หนุนด้วยทองคำตามรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำล่าสุดของสภาทองคำ

การขาย ETF ทองคำสุทธิค่อนข้างน้อย (27 ตัน) แต่เมื่อเทียบกับการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดใหญ่ในปีก่อนหน้า ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ความต้องการทองคำโดยรวมลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปี แม้ว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในภาคอื่นๆ ทั้งหมด

การซื้อเครื่องประดับทองของผู้บริโภค** เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบปีต่อปีเป็น 443 ตัน ในขณะเดียวกัน แท่งและเหรียญ – หมวดหมู่ของผลิตภัณฑ์ทองคำที่จับต้องได้จริงที่นักลงทุนรายย่อยซื้ออย่างท่วมท้น *** –เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ห้าติดต่อกันเมื่อเทียบปีต่อปี โดยมีการซื้อในไตรมาสที่ 3 262ตัน ทองคำที่ใช้ในเทคโนโลยีเติบโต 9% เมื่อเทียบปีต่อปี และธนาคารกลางเพิ่มทองคำสำรอง 69 ตัน

ราคาทองคำเฉลี่ยอยู่ที่ 1,790 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ตลอดทั้งไตรมาส - ลดลงจากระดับสูงสุดตลอดกาลของไตรมาสที่ 3 ปี 2020 แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี

Louise Street นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของสภาทองคำโลกกล่าวว่า

 "การไหลออกที่ค่อนข้างเจียมเนื้อเจียมตัวจาก ETF ทองคำได้ส่งผลกระทบอย่างไม่สมส่วนต่อตัวเลข

ของปีนี้ซึ่งมีมากกว่าผลบวกในเกือบทุกที่ทั่วกระดาน

 “การไหลออกเองเป็นส่วนหนึ่งของภาพที่ใหญ่ขึ้นเมื่อหนึ่งปีที่แล้วนักลงทุนแห่ซื้อทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรค

ระบาด และ ETF ทองคำเป็นผู้รับผลประโยชน์โดยเฉพาะจากกระแสเหล่านี้โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,000 ตัน ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2020 ดังนั้นในขณะที่มีการขายโดยนักลงทุน ETF ทองคำในปีนี้การไหลออกมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกัน

“ตลาดทองคำที่เหลือกำลังเห็นข่าวดีไม่น้อยไปกว่าการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของความต้องการอัญมณีและเทคโนโลยีที่ น่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งเพราะอย่างน้อยก็เป็นผลพวงมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยรวมบางส่วนธนาคารกลางยังคงเป็นผู้ซื้อสุทธิและการลงทุนด้านทองคำแท่งและเหรียญก็เติบโตขึ้นเช่นกัน

“มองไปข้างหน้าเราคาดว่าภาพทั้งปีสำหรับอุปสงค์ทองคำจะดูคล้ายกันมาก:ผู้บริโภคที่แข็งแกร่งและธนาคารกลางจะบรรเทาความสูญเสียจาก ETF ความต้องการอัญมณีจะยังคงเกินระดับของปีที่แล้วแต่ความต้องการการลงทุนโดยรวมจะลดลงในปี 2021 แม้ว่าความต้องการทองคำแท่งและเหรียญจะดีก็ตาม”

ผลการวิจัยที่สำคัญที่รวมอยู่ในรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำล่าสุดสำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ได้แก่:

 · ความต้องการโดยรวม (ไม่รวม OTC) ในไตรมาสที่ 3 ลดลง 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี และ 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเป็น 831 ตัน

 · ETFs สังเกตการไหลออกเล็กน้อย รวม -27t ในขณะที่การถือครองโดยรวมยังคงสูง (3,592 ตัน)

 · ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญอยู่ที่ 262 ตัน เพิ่มขึ้น 18% เทียบกับปีก่อนและ 8% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส

 · ราคาทองคำดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,789.5 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง 6% จากไตรมาสที่ 3 ปี 2020 (ซึ่งมีราคาสูงเป็นประวัติการณ์) และต่ำกว่าไตรมาสก่อน 1%

 · ความต้องการเครื่องประดับทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็น 443 ตันเพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบเป็นรายปี จีน อินเดีย และตะวันออกกลางผลักดันการเติบโตนี้แม้ว่าตลาดตะวันตกก็เริ่มฟื้นตัวเช่นกัน

 · ธนาคารกลางเป็นผู้ซื้อสุทธิ 69 ตัน โดยซื้อ YTD เกือบ 400 ตัน และหมายความว่าความต้องการโดยรวมในปี 2021 มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในภูมิภาคของค่าเฉลี่ยห้าปี บราซิล อุซเบกิสถาน และอินเดียเป็นผู้เล่นหลักในตลาด

 · ความต้องการในภาคเทคโนโลยีฟื้นคืนสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด และเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบปีต่อปีที่ 84 ตัน และเพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

 · อุปทานรวมลดลง 3% เมื่อเทียบปีต่อปีที่ 1,239 ตัน แม้ว่าการผลิตเหมืองจะเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาส

สูงสุดเป็นประวัติการณ์การลดลงของปีต่อปีเกิดจากการรีไซเคิลที่ลดลงอย่างมากเพื่อตอบสนองต่อราคา

ทองคำที่ลดลง

 

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click