บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาชั้นนำผู้ให้บริการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน แบบครบวงจร เปิดเทรนด์และมุมมองเชิงลึกด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2566 ชี้องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญความท้าทายจาก 3 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มาแรงสูงสุด

ได้แก่ Ransomware-as-a-service จะมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การโจมตีซัพพลายเชนจะเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่เคย และการโจรกรรมข้อมูลจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อองค์กร ด้วยเหตุนี้ภาคธุรกิจจึงควรเร่งปิดความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการปรับใช้แนวคิด ‘Cyber Resilience’ ซึ่งประกอบด้วย 5 แนวทางที่จะทำให้องค์กรสามารถตั้งรับและตอบสนองต่อการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างดี รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการกู้คืนธุรกิจให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันถือเป็นเรื่องสำคัญของภาคธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี อาทิ ระบบคลาวด์ (Cloud Computing) บล็อกเชน (Blockchain) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) และ Internet of Things (IoT) สามารถสร้างข้อได้เปรียบและโอกาสการเติบโตทางธุรกิจได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความซับซ้อนในระบบนิเวศของธุรกิจ จนเกิดช่องโหว่หรือจุดอ่อนให้อาชญากรทางไซเบอร์เข้ามาหาประโยชน์ได้ ยิ่งความต้องการใช้เทคโนโลยีมีมากเท่าไร ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ไซเบอร์ซิเคียวริตี้กลายเป็นความกังวลอันดับต้นๆ ของผู้นำองค์กรทั่วโลก

แนวโน้มความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 World Economic Forum คาดการณ์มูลค่าความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ทั่วโลกจะแตะ 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15% (YoY) เป็นไปในทิศทางเดียวกับการใช้จ่ายด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ที่จะเพิ่มขึ้น 12% (YoY) เป็น 194,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแนวโน้มของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวลนี้เป็นสัญญาณเตือนให้องค์กรต้องเร่งยกระดับความมั่นคงปลอดภัยทาง ไซเบอร์ของตนเอง

บลูบิค เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีสูงสุด ได้แก่ ผู้ให้บริการวิชาชีพต่างๆ ธุรกิจการเงิน สุขภาพ โรงพยาบาล ค้าปลีก และโรงแรม ตามลำดับ ซึ่ง 3 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ระดับตัวท็อป คือ

1) มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและมากขึ้นเพราะ Ransomware-as-a-service : โดยจะมีการปล่อยไวรัสมัลแวร์เข้าสู่ระบบเพื่อเจาะเข้าสู่ระบบสำคัญ แล้วทำการเรียกค่าไถ่

ปัจจุบันแฮกเกอร์มีการพัฒนา Ransomware-as-a-service ที่จะมาพลิกโฉมการเรียกค่าไถ่แบบเดิมๆ ด้วยการขายมัลแวร์ที่ฝังตัวอยู่ในระบบของเป้าหมายในตลาดมืด และตกลงซื้อขายภายใต้เงื่อนไขการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันหากผู้ซื้อสามารถเรียกค่าไถ่ได้สำเร็จ ทำให้นับจากนี้การใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่จะทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูงอีกต่อไป ขอเพียงแค่เข้าถึงตลาดมืดหรือชุมชนออนไลน์ที่เหล่าแฮกเกอร์ใช้งานอยู่ก็พอ

รายงานของหน่วยงาน Cybersecurity ของประเทศในทวีปอเมริกา เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 ปีนี้ ค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินค่าไถ่ทางไซเบอร์อยู่ที่ราว 250,000 เหรียญสหรัฐ และพบว่ามีองค์กรกว่า 58% ต้องตกเป็นเหยื่อมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ขณะที่ 14% ขององค์กรเหล่านี้ต้องจ่ายค่าไถ่มากกว่า 1 ครั้ง โดยมีองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อมากกว่าครึ่งที่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น

2) การโจมตีในซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain / 3rd Parties Attack) จะเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่เคย : การโจมตีระบบขององค์กรเป้าหมายอาจจะทำได้ยากขึ้นในปัจจุบัน เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะองค์กรต่างๆ มีการยกระดับการป้องกันที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นแฮกเกอร์จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบการโจมตี โดยมุ่งเป้าไปเป็นการเจาะระบบของ ผู้ให้บริการภายนอก (Vendor) ที่มีการให้บริการกับหลายๆ องค์กร และมีช่องทางการเข้าสู่ระบบหลังบ้านขององค์กรลูกค้าต่างๆ อยู่แล้ว แฮกเกอร์จึงเจาะระบบของผู้ให้บริการภายนอก เพื่อใช้เป็นช่องทางที่จะเข้าไปสู่ระบบขององค์กรเป้าหมาย โดย บลูบิค ไททันส์ มองว่าการโจมตีผ่านระบบของซัพพลายเชนจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จากผลสำรวจของ Ponemon Institute พบว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีองค์กรกว่า 54% ถูกโจมตีทางไซเบอร์ผ่านซัพพลายเชนหรือผู้ให้บริการภายนอก โดยมีเพียง 34% ที่มีความมั่นใจว่าตนเองจะได้รับการแจ้งเตือนจากบริษัท ผู้ให้บริการ หากเกิดเหตุการณ์โจมตีทางไซเบอร์ขึ้นกับระบบของผู้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม มีองค์กรมากถึง 60% ที่มีความกังวลว่าการโจมตีทางไซเบอร์ผ่านห่วงโซ่อุปทานจะเพิ่มมากขึ้น

3) การโจรกรรมข้อมูล (Data Breach) บทเรียนสำคัญที่อาจนำมาซึ่งความสูญเสียชื่อเสียง ความเชื่อมั่น และทรัพย์สินเกินคาดการณ์ : การโจรกรรมข้อมูลเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยในโลกไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายหลักเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน และพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลสำคัญ ความลับทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา หรือข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เพื่อนำไปเรียกค่าไถ่หรือขายต่อในตลาดมืด โดยความเสียหายจากเหตุการณ์โจรกรรมข้อมูลมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาทต่อ 1 รายการข้อมูล และก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรหลายด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายจากการแก้ไขปัญหา ตลอดจนผลกระทบจากธุรกิจหยุดชะงัก และที่เลวร้ายที่สุดคือการสูญเสียความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อองค์กร

รายงานของ IBM ประเมินว่า ในปี 2022 ความเสียหายจากการโจรกรรมทางข้อมูลขององค์กรในภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึง 2.87 ล้านเหรียญสหรัฐต่อครั้ง และมีองค์กรกว่า 83% ตกเป็นเหยื่อมากกว่า 1 ครั้ง โดย 45% เป็นการโจรกรรมข้อมูลบนระบบคลาวด์ซึ่งองค์กรมีการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อาจจะยังขาดมาตรการป้องกันที่เหมาะสม

นายพลสุธี ธเนศนิรัตศัย ผู้อำนวยการ บริษัท บลูบิค ไททันส์ จำกัด กล่าวว่า การเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องเร่งทำ เพราะการโจมตีทางไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและสร้างความเสียหายมหาศาลทั้งด้านการเงินและความน่าเชื่อถือองค์กร ซึ่งการสร้างภูมิต้านทานภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้องค์กรสามารถทำได้ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด ‘Cyber Resilience’ ที่ประกอบด้วย 5 แนวทาง ดังนี้

1) พิจารณาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Manage Cybersecurity as an Enterprise Risk) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ควรอยู่ภายใต้กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับองค์กร กล่าวคือ การพิจารณาประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้สะท้อนออกมาในรูปแบบของความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงผลกระทบในมุมมองต่างๆ เช่น ความเสียหายทางการเงิน การละเมิดกฎหมาย ความเชื่อมั่นจากลูกค้าและคู่ค้า เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้ผู้บริหารองค์กรมีกรอบในการตัดสินใจ และเลือกมาตรการควบคุมที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งองค์กรสามารถนำมาตรฐานของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือมาประยุกต์ใช้หรือนำมาเปรียบเทียบกับการดำเนินการขององค์กรในปัจจุบัน เพื่อวางแผนการยกระดับต่อไป

2) ผู้บริหารระดับสูงควรสนับสนุนให้มีการกำกับดูแลความเสี่ยงทางไซเบอร์ และส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภัย (Executive Play a Key Role in Governance and Fostering a Culture of Cybersecurity Vigilance) การบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในการกำกับดูแลนโยบาย แผนกลยุทธ์ การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ รวมถึงการเน้นย้ำถึงความสำคัญและส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการดำเนินการควรประกอบด้วยโปรแกรมที่สำคัญ ดังนี้ 1) แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ 2) แผนกู้คืนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แผนบริหารจัดการวิกฤตจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมทั้งวิธีการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องและการเลือกใช้ผู้เชี่ยวชาญ และ 4) การสร้างความตระหนักในภัยคุกคามทางไซเบอร์และการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย รวมถึงการซักซ้อมกระบวนการรับมือเหตุการณ์ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนมากยิ่งขึ้น

3) ผู้บริหารระดับสูงควรกำกับดูแลสถานะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างใกล้ชิด (Executive Oversee Cybersecurity Posture) ผู้บริหารระดับสูงควรเข้ามากำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างใกล้ชิด โดยการสอบทานรายงานการปฏิบัติ ซึ่งอาจครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น ความเสี่ยงที่สำคัญและแนวทางการบริหารจัดการ ภาพรวมของสถานะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และแผนกลยุทธ์เพื่อการยกระดับมาตรฐาน เป็นต้น

4) กำกับดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Maintain Compliance with Cybersecurity Laws and Regulations) องค์กรควรมีการกำกับดูแลและปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงติดตามการออกกฎหมายลูกฉบับใหม่ๆ อย่างใกล้ชิด โดยองค์กรสามารถนำกฎหมายและข้อบังคับเหล่านี้มาใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต้นในการปรับปรุงมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของตนเองได้

5) ให้ความสำคัญกับเรื่องพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญ (Implement Essential Cybersecurity Hygiene) การยกระดับองค์กรให้มีขีดความสามารถในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ดีนั้นต้องการทรัพยากรและความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการเวลาสำหรับบางองค์กร ในขณะที่ความเสี่ยงทางไซเบอร์อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจ อย่างน้อยองค์กรควรให้ความสำคัญกับเรื่องสำคัญพื้นฐาน เช่น การจัดการทะเบียนสินทรัพย์สารสนเทศที่ถูกต้องและครบถ้วน การพิสูจน์ตัวตนแบบหลายชั้น ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล การอัปเดตระบบเพื่อปิดช่องโหว่ การจัดการข้อมูลบันทึกระบบ แผนการรับมือเหตุละเมิด การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากผู้ให้บริการ เป็นต้น

การบริหารจัดการไซเบอร์ซิเคียวริตี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากหากมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์บริหารจัดการ และสามารถร้อยเรียงความเสี่ยงเข้ากับแผนงานและกลยุทธ์ขององค์กร ทำให้การยกระดับระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นไปอย่างเหมาะสม ส่งผลให้หน่วยงานภายในองค์กรสามารถดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้อย่างมั่นใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร” นายพลสุธี กล่าวปิดท้าย

cr: Bluebik Group

 

‘การได้ใจผู้บริโภค’ เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุคที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากผลพวงการระบาดของโรคโควิด-19 และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงเทคโนโลยีด้าน Data ที่ก้าวหน้าและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักการตลาดต้องวิเคราะห์และถอดรหัสข้อมูลผู้บริโภคที่มีอยู่มากมายมหาศาลให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการตลาดต่างๆ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Marketing Analytics’ เพื่อทำความเข้าใจและเข้าถึงลูกค้า รวมถึงวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างถูกต้อง

ปัจจุบันพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่เป็นตัวกำหนดรูปแบบการทำการตลาดว่า เมื่อไร (When) ที่ไหน (Where) และการสื่อสารอย่างไร (How) จึงจะเหมาะสมถูกใจ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในยุคที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่ คือ หมดเวลาแล้วสำหรับการลองผิดลองถูกของแบรนด์ เพราะการสื่อสารหรือทำการตลาดแบบผิดที่ผิดเวลาหรือไม่ถูกใจแค่เพียงครั้งเดียวอาจสร้างความเสียหายจนยากที่จะกู้คืน ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้เป็นความท้าทายใหม่ที่      ภาคธุรกิจต้องรับมือ

ด้วยเหตุนี้ ‘สโรจ เลาหศิริ Head of Marketing Transformation and Marketing Strategy บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK’ จึงได้นำเสนอมุมมองใหม่สำหรับทำการตลาดที่ใช้ Marketing Analytics’ และ Marketing Analytics Architecture’ เพื่อค้นหา Insights ของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ และ       ปูพื้นฐานสู่การเป็น Data-driven Organization ที่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน  

Marketing Analytics คืออะไร?

Marketing Analytics คือ กระบวนการตั้งคำถาม รวบรวม ปรับปรุง จัดการ และวิเคราะห์อย่างเข้มข้น เพื่อให้ได้ Insights ของลูกค้าและธุรกิจ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดและก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ ให้ภาคธุรกิจ ดังต่อไปนี้ 

1) ค้นพบแง่มุมการทำตลาดใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึง การนำศาสตร์แห่งข้อมูลมาใช้ ทำให้เกิดคำถามทางธุรกิจ และแนวคิดใหม่ๆ จากข้อมูล ทำให้นักการตลาดค้นพบมุมมองและเป้าหมายใหม่ได้ตลอดเวลา

2) รู้จักลูกค้ารอบด้าน ทำให้เห็นข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าแบบ 360 องศา ช่วยให้การทำ Segmentation มีความแม่นยำและสามารถตอบโจทย์ความต้องการรายบุคคล (Personalization) รวมถึงการใช้ข้อมูลในอดีต เพื่อคาดเดา (Prediction) พฤติกรรมความชอบในอนาคตของลูกค้า

3) จัดสรรงบการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกิจกรรมการตลาด เพื่อจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรให้กับกิจกรรมนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

4) ออกแบบส่วนผสมทางการตลาดอย่างถูกต้อง ด้วยการใช้ข้อมูลทางการตลาด คาดการณ์ถึงพฤติกรรม และความชอบในอนาคต เพื่อออกแบบแคมเปญได้อย่างแม่นยำ โดยที่งบประมาณไม่บานปลาย 

5) วัดผลและปรับปรุงได้แม่นยำ การทำ Analytics จะช่วยให้นักการตลาดสามารถวัดผล และตัดสินใจ       บนพื้นฐานของข้อมูล ยิ่งนำมาผนวกกับประสบการณ์ทางธุรกิจ จะช่วยให้การทำตลาดและการตัดสินใจนั้นถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของการทำ Marketing Analytics ให้ประสบความสำเร็จ สามารถทำผ่าน 3 แกนหลักของ ‘Marketing Analytics Architecture’ เพื่อหา Customer Insights ผ่านกระบวนการต่างๆ และนำไปใช้ในการทำ Use Case Analytics ได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพได้ ดังต่อไปนี้

1) Customer Truth การนำ Analytics ไปใช้เพื่อทำความเข้าใจลูกค้าในทุกมิติ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 แง่มุมหลัก ได้แก่ 

- Customer 360: รู้จักทุกแง่มุมของลูกค้า 

- Segmentation: รู้ว่ามีลูกค้ากี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีขนาดเท่าไร และกลุ่มไหนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ

- Insight: รู้ว่าลูกค้ามองหา Value อะไรจากสินค้าของบริษัท สินค้าและบริการแบบไหนที่ลูกค้าต้องการ ลูกค้ามี Pain Point หรือ เกณฑ์ในการตัดสินใจซื้ออย่างไร 

2) Marketing Funnel นำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมและ Customer Journey ว่าการซื้อหรือใช้บริการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายช่วยให้บริษัทเติบโตได้แค่ไหน รวมถึงการทำความเข้าใจว่าลูกค้ากลุ่มไหนที่มีศักยภาพในการซื้อ   รู้ถึงปริมาณในการซื้อ และจะกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 แง่มุมหลัก ได้แก่

- Acquisition: การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและ Convert กลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นกลับมาเป็นลูกค้าได้แค่ไหน

- Consumption: ปริมาณการซื้อ และความถี่ในการซื้อหรือใช้บริการ

- Loyalty: ลูกค้ามี Engagement กับสินค้าของบริษัทในช่องทางต่างๆ มากแค่ไหน และมีการกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่ เพราะอะไร

3) 7Ps Brand Levers การทำความเข้าใจส่วนผสมทางการตลาดทั้ง 7Ps ของลูกค้า ที่ประกอบไปด้วย Promotion, Place, Product, Price, Process, People และ Physical ซึ่งการทำความเข้าใจแต่ละ P นั้นจะผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก Customer Truth และ Marketing Funnel ซึ่งจะทำให้บริษัทเข้าใจว่า P ตัวไหนเป็นกลไกหลักสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร หรือ P ตัวไหนที่บริษัทต้องปรับปรุง เพื่อสร้าง Customer Journey ที่ดีให้กับลูกค้า รวมถึงการค้นพบโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถสร้างการเติบโตให้กับบริษัทได้

การทำการตลาดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น นักการตลาดต้องรู้เท่าทันและก้าวให้เร็วกว่าผู้บริโภคให้ได้อย่างน้อยหนึ่งก้าว เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ นอกจากการใช้ ‘Marketing Analytics’ เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจและคาดการณ์ความต้องการลูกค้าแล้ว การมีที่ปรึกษาทางการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์จากมุมมองภายนอกนั้น จะช่วยให้ภาคธุรกิจเห็นมุมมองใหม่ๆ ในการทำการตลาด ที่ช่วยแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องที่มีอยู่ และสามารถสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้อีกด้วย 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทฯ สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Website: www.bluebik.com หรือ ติดตามข่าวสารผ่านทางโซเชียลมีเดียได้ที่ Facebook Page: Bluebik Group และ LinkedIn: Bluebik Group

บลูบิค กรุ๊ป” ที่ปรึกษาชั้นนำด้านกลยุทธ์และการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี รุกลงทุนใน KEEPS สตาร์ทอัพดาวรุ่งแห่งวงการสายแฟชั่น ช่วยเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกและสรรหานวัตกรรมใหม่ช่วยต่อยอดธุรกิจที่ปรึกษาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมอื่น เผย KEEPS มีจุดเด่นเป็นแบรนด์ "ชุดทำงานที่ต้องเป็นมากกว่าชุดทำงาน" ขวัญใจสาวออฟฟิศทั้งในและต่างประเทศ ล่าสุดได้รับคัดเลือกให้เป็น ใน แบรนด์ไทย เปิดตัวสินค้าในงาน SS2020 Wave Showroom Shanghai Fashion Week ณ ประเทศจีน วางแผนรุกตลาดต่างประเทศเต็มสูบ เน้นสร้างประสบการณ์ผ่าน Omni-channel และนำเทคโนโลยีมาใช้ส่งเสริมการขาย สู่เป้าหมายสตาร์ทอัพผู้นำด้าน Tech-Fashion ในประเทศไทย

 

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี เปิดเผยว่า บลูบิค กรุ๊ป ได้เข้าไปลงทุนใน KEEPS ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพกลุ่มแฟชั่น ที่มีความมุ่งมั่นในการทำแบรนด์ออกมาให้แตกต่าง ด้วยการฉีกกฎชุดทำงานให้เป็นมากกว่าชุดทำงาน จับกลุ่มลูกค้าผู้หญิงโดยเฉพาะ นับเป็นสตาร์ทอัพที่มีความโดดเด่นชัดเจนทั้งทางธุรกิจและตัวสินค้า โดยเน้นทำธุรกิจผ่านช่องทาง Omni-channel ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ตรง เร็ว และมัดใจได้ในทันที  

ทั้งนี้ การเข้าไปลงทุน KEEPS ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของ บลูบิค กรุ๊ป เพื่อสร้างจุดแข็งและความแตกต่างในธุรกิจบริษัทที่ปรึกษาซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ ด้วยการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรม อันจะนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับธุรกิจของลูกค้าให้แข่งขันในโลกดิจิทัลได้ ซึ่งการร่วมลงทุนใน KEEPS ครั้งนี้จ ะช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้กับบริษัทใน ด้านหลัก ๆ ได้แก่

 

1. การเพิ่มองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมแฟชั่นให้กับบลูบิค กรุ๊ป ซึ่งการเข้าไปลงทุนใน KEEPS จะเป็นการเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่พนักงานของบลูบิค กรุ๊ป ใน ด้านใหญ่ ด้านแรก เรียนรู้ความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคด้านแฟชั่นในเชิงลึก เพิ่มอินไซด์ในการทำธุรกิจให้เหนือคู่แข่ง ด้านที่สอง เรียนรู้การออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมอื่น ๆ

 

2. การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ จากการนำคนของทั้งสองบริษัทมาร่วมกันทำงาน ซึ่งบลูบิค กรุ๊ปมองถึงการนำนวัตกรรมที่ใช้ใน KEEPS เช่น การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสไตล์และสรีระของผู้ซื้อแต่ละคนไปต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เนื่องจากเทคนิคในการเลือกสรรสิ่งต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ไม่จำกัดแค่การเลือกเสื้อผ้า แต่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เช่น ในอุตสาหกรรมอาหาร อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ เป็นต้น

 

3. ผลตอบแทนที่สดใสและคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยและกลุ่มประเทศ AEC ที่นิยมบริโภคสินค้าแฟชั่นจากประเทศไทย ประกอบกับในแง่บิสิเนสโมเดลของ KEEPS เอื้อต่อการใช้ช่องทางออนไลน์ผสานกับการมีหน้าร้าน หรือ Omni-Channel ที่เข้ามาเติมเต็มและเสริมความแข็งแกร่งในด้านการขาย จะช่วยให้ KEEPS สามารถเติบโตในแง่ยอดขายได้เป็นอย่างดี

 

นางสาวณัชชา รชตวรภรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ KEEPS เปิดเผยว่าแบรนด์ KEEPS กำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 จากความต้องการล้างภาพจำของชุดทำงานแบบเดิม ๆ ของผู้หญิง และทำแบรนด์ออกมาให้แตกต่างด้วยการทำธุรกิจแฟชั่นในมุมมองนักธุรกิจและนักการตลาด บนความเชื่อว่า ชุดทำงาน จะต้องเป็นมากกว่าชุดทำงาน หรือ KEEPS "Formal doesn't have to be boring"  ซึ่งเป็นแนวคิดในการออกแบบเสื้อผ้าของ KEEPS สำหรับสาววัยทำงานที่ดูจริงจัง แต่ไม่น่าเบื่อ ใส่แล้วรู้สึกมั่นใจ เปี่ยมไปด้วยพลังและแรงบันดาลใจในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา KEEPS ได้รับเลือกให้เป็น ใน แบรนด์ไทย และ ใน 25 แบรนด์จากทั่วโลก ไปเปิดตัวสินค้า Collection SS2020 ที่ Wave Showroom Shanghai Fashion Week ณ ประเทศจีน ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพแบรนด์ไทยสู่สากล อีกทั้งยังนับเป็นครั้งแรกของการขยายธุรกิจไปต่างประเทศอย่างเป็นทางการ

ด้านนางสาวคัชรียา รชตวรภรณ์ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ KEEPS กล่าวว่า ภายหลังจาก บลูบิค กรุ๊ป เข้ามาร่วมลงทุนใน KEEPS บลูบิค กรุ๊ป ได้เข้ามาช่วยพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้า (Branding) การส่งเสริมทางการตลาด รวมไปถึงการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการ (Operation) ทำให้ KEEPS สามารถเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า เท่า อีกทั้งยังมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อเดือนมากถึง 50% ในช่วง เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งมีฐาน Followers จากช่องทางโซเชียลมีเดียที่เติบโตมากขึ้นถึง 3 เท่า จาก 6,000 Followers เป็น 17,800 Followers สำหรับแผนธุรกิจของ KEEPS ประกอบไปด้วย

1ปูพื้นฐานการทำงานด้านการปฏิบัติการ (Operation) ให้แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ

2. แผนที่จะเปิดหน้าร้าน (Offline Store) ราวไตรมาส 2 ของปี พ.ศ.2563 ในพื้นที่ย่านธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์สาวออฟฟิศ และขยายสาขาผ่านร้าน Multi-Brand Store ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึง พร้อมเน้นสร้างประสบการณ์ Omni-channel ให้กับลูกค้า สามารถลองสินค้าได้ที่หน้าร้าน ขณะเดียวกันก็สามารถซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ เฟซบุ๊ก อินสตราแกรม รวมทั้ง Ecommerce Platform อื่น ๆ

3. โปรเจคพิเศษร่วมกับ Celebrity คนดังทั้งในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สินค้าใหม่หรือที่เรียกว่า ‘Collaboration’ กับเหล่า Influencer เพื่อขยายการรับรู้แบรนด์ผ่านกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ในวงกว้างมากขึ้น  

4. เปิดตัวเว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าแบบออนไลน์ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีแนวคิดให้เป็น All-in-one website  ให้ผู้บริโภคเข้ามาเลือกช้อปปิ้งออนไลน์โดยไม่มีขีดจำกัดไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก มีการรวบรวมบทความต่าง ๆ ที่ช่วยผลักดันและเพิ่มแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงวัยทำงานยุคใหม่ รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับแบรนด์อย่างครบถ้วนจากทุก ๆ ช่องทางมาไว้ด้วยกันในเว็บไซต์ www.keeps-design.com ด้วยความพิถีพิถันในการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้สวยงาม จุดนี้จะทำให้เว็บไซต์ของ KEEPS โดดเด่นและแตกต่างจากแบรนด์อื่น

5. นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสงเสริมการขาย เพื่อเป็นสตาร์ทอัพผู้นำด้าน Tech-Fashion ในประเทศไทยอย่างแท้จริง เช่น นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เสมือนเป็นผู้ช่วยประจำตัวหรือ Personal stylist ให้คำแนะนำต่าง ๆ อาทิ รูปแบบ สไตล์ ไซส์ สัดส่วน ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ Personalization รวมทั้งการนำเทคโนโลยีเข้ามาส่งเสริมบริการด้าน Customization เพื่อรองรับรสนิยมและความเหมาะสมในสรีระของแต่ละบุคคลให้เป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

-----------------------------------------------

 

 Press Release

 

Bluebik Group proactively invests in “KEEPS”, a raising-star fashion startup, seeking to advance its consulting business and pushing the brand to become a top tech-fashion startup in Thailand.

 

 “Bluebik Group”, a leading consultant specializing in strategy development and technology and innovation management, moved aggressively to invest in KEEPS, a raising-star startup in the fashion industry. The investment helps gain deeper insights into consumers’ behaviors and novel innovations for further advancing the consulting business towards creating new products and services for customers in other industries. One of the key strengths of the KEEPS brand is its concept of “Beyond the traditional workwear”. The brand has gained popularity among female office workers in Thailand and overseas. Recently, KEEPS was selected as 1 of the 3 Thai brands to join in the SS2020 Wave Showroom Shanghai Fashion Week event in China. With the plan to expand its footprint in overseas markets full-scale, the focus on the enhanced customer experiences through the omni-channel approach, and the adoption of technologies to promote sales, KEEPS is aimed at becoming a leading tech-fashion startup in Thailand.   

 

Mr. Pochara Arayakarnkul, Chief Executive Officer (CEO) of Bluebik Group Co., Ltd., a leading consultant specializing in strategy development and technology and innovation management, revealed that Bluebik Group has invested in KEEPS, a fashion startup firm. With its commitment to differentiate its brand from others, KEEPS focuses on creating work outfits that go beyond typical office dresses and its target customers are female. It has been a very outstanding startup in terms of its business and products. The firm mainly conducts business through the omni-channel approach so as to gain broad-based, direct and quick access to consumers and win their hearts instantly.    

 

Investing in KEEPS is one of the strategies employed by Bluebik Group in order to strengthen and differentiate Bluebik Group’s core consulting business. Bluebik Group is looking to equip itself with new facets of knowledge from different industries so as to come up with new innovations and technologies to elevate customer businesses to be able to compete in the digital world. This investment in KEEPS will help enhance the business of Bluebik Group in the following 3 main aspects: 

1. To obtain new areas of knowledge about the fashion industry for Bluebik Group. Investing in KEEPS will help provide Bluebik Group’s employees with new knowledge in the 2 main areas: 1) In-depth insights into consumer desires and behaviors related to fashion, which will help the company earn competitive advantages, and 2) Designs, innovations and technologies for use as business tools in the fashion industry, prompting new opportunities for applying the knowledge gained to customers in other industries.

2. To create new products and services through the collaboration of people from the two companies. Bluebik Group viewed that the innovations applied by KEEPS such as choosing clothes to suit the style and shape of each individual buyer can be used to further develop products for entrepreneurs in other industries because the techniques to choose things that meet user needs are not only confined to the clothing selection but also can be adapted to all industries related to consumption such as food, real estate and automobile. 

3. To give a sound return on the investment. Thanks to the fast-growing fashion industry, especially in the developing countries such as Thailand and the AEC members that appreciate fashion products from Thailand, plus KEEPS’ business model that supports the combined use of online channels and brick-and-mortar branches or the so-called “Omni-Channel” approach which helps fill the gap in and strengthen sales operations; KEEPS will be able to achieve sales growth satisfactorily.   

 

Ms. Nutchar Rachataworaphon, a co-founder of the KEEPS brand, shared that the KEEPS brand was originated in 2017 with the desire to clear up the old fashion look of office wear for ladies and create the brand that differentiates itself by doing the fashion business through the perspectives of businesspersons and marketers based on the belief that “Formal doesn’t have to be boring”. This is the concept behind KEEPS’ clothes design for working women with a serious but not boring look. The persons wearing the brand’s clothes will feel confident, full of energy and inspired to work, which will help improve their work efficiency. Recentlyin OctoberKEEPS was selected to be 1 of the 3 Thai brands and 1 of the 25 worldwide brands to showcase its new collection at the Wave Showroom Shanghai Fashion Week event in China. This proves the Thai brand’s ability to go global. Also, it is the first time for the brand to expand its business presence overseas officially.

Ms. Cutchareeya Rachataworaphon, another co-founder of the KEEPS brand, stated that after the joint investment of Bluebik group in KEEPS, Bluebik Group has brought in many improvements to the brand including the building of branding, marketing campaigns, and operation guideline development. Thus, the brand was able to achieve over 5 times growth with the average monthly growth rate of up to 50% over the past 5 months. The brand also saw its follower base through social media channels growing up to 3 times, from 6,000 followers to 17,800 followers.  Regarding the business plan of KEEPS, the details are as follows: 

1. To lay down a strong foundation for operations to be ready for the business expansion both in domestic and overseas markets.

2. To schedule to launch offline stores in around the 2nd quarter of 2020 in main business areas to respond to the needs of female office workers and to expand its branches through multi-brand stores to gain access to customers comprehensively. Focus will also be made on the creation of omni-channel experiences for customers where customers can try clothes at the offline stores and make purchases through online channels such as Facebook, Instagram and other e-commerce platforms.   

3. To conduct special projects with Thai and foreign celebrities to jointly create new products or through the so-called “Collaboration” with influencers. This is to help expand the brand recognition among new groups of customers at a wider scale.

4. To open a website for customers to choose products through an online platform at a full-scale level. The concept is the all-in-one website which allows consumers to shop around online without limits from any corner of the world. Motivational and inspirational articles for modern working women as well as information relating to the brand from all channels will be collected and stored at www.keeps-design.com with a detailed and intricately designed look. This will help make the KEEPS’ website outstanding and different from others.

5. To use technologies to promote sales with a view to becoming a top tech-fashion startup in Thailand, for example, through the application of “Personal Stylist” that can provide suggestions in terms of pattern, style, size, body shape, etc. to fit each individual customer to cater to the personalization trend. Technologies to support customization services to accommodate personal tastes and physical appearances would also be adopted to ensure simple and convenient operations.

X

Right Click

No right click