ครั้งแรกของการรวม 6 แบรนด์ความงามระดับโลกในอีเว้นท์ยิ่งใหญ่แห่งปี

ลอรีอัล ประเทศไทย เดินหน้าสนับสนุนสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์

ลอรีอัล กรุ๊ป รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ปี 2565 โดยมีผลการดำเนินงานอยู่เหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยยอดขาย มูลค่า 2.794 หมื่นล้านยูโร เติบโต 12.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว หรือเติบโตขึ้น 20.5% ตามตัวเลขที่ได้มีการรายงานด้วยปัจจัยบวกที่มีนัยสำคัญจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นการเติบโตอย่างสมดุลทั้งในระดับแผนกธุรกิจและภูมิภาค และมีผลการดำเนินงานเติบโตสูงกว่าตลาดความงามโลกอย่างมีนัยสำคัญ

นายนิโคลา ฮิโรนิมุส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวว่า “ในสถานการณ์ที่มีความผันผวนจากมาตรการควบคุมด้านสาธารณสุขของจีนและเงินเฟ้อในโลกตะวันตกนั้น ลอรีอัลยังคงมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งเป็นอย่างมากในไตรมาสสาม โดยลอรีอัลเติบโตอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปี 2562 ด้วยแผนกลยุทธ์ในการปรับและสร้างสมดุล โดยเฉพาะในส่วนของการทำธุรกิจในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้ลอรีอัล กรุ๊ป รายงานยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งด้วยยอดขายที่เพิ่มขึ้น 12.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ด้วยรูปแบบธุรกิจที่แข็งแกร่ง ผนวกกับความคล่องตัว และความมุ่งมั่นของทีมงานทั่วโลก ทำให้ลอรีอัลมีผลการดำเนินงานที่เหนือกว่าตลาดอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้ง และยังตอกย้ำถึงสถานะบริษัทด้านความงามอันดับหนึ่งของโลกด้วยเช่นกัน

ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจในภูมิภาคต่างๆ ของลอรีอัล กรุ๊ป มีการปรับสร้างสมดุลได้ โดยทุกภูมิภาคมีความก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงในเอเชียเหนือ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในประเทศจีนก็ตาม ส่วนภูมิภาคอื่น ๆ อัตราการเติบโตก็ขยายตัวในระดับตัวเลขสองหลัก โดยมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างชัดเจนในตลาดเกิดใหม่ (ภูมิภาค SAPMENA-SSA2, ละตินอเมริกา) ส่วนในยุโรปเองก็มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ในขณะที่การขยายตัวล้วนเกิดขึ้นในสัดส่วนเท่าๆ กันในแผนกต่างๆ ซึ่งแต่ละแผนกต่างก็มีผลการดำเนินงานที่สูงกว่าตลาด แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ยังคงขยายตัวในระดับที่รวดเร็วขึ้นนับตั้งแต่ช่วงต้นปี และแผนกผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มทั้ง 3 แผนกของลอรีอัลก็สามารถเติบโตในอัตราตัวเลขสองหลักในช่วง 9 เดือนแรก

ลอรีอัลภูมิใจที่ได้รับรางวัลระดับแพลทินัมจากอีโควาดิส (EcoVadis) ซึ่งจัดอันดับให้ลอรีอัลติดอันดับบริษัทที่ยอดเยี่ยมที่สุด 1% ของโลกในแง่ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่น 2 ประการของลอรีอัล อันได้แก่ ความเป็นเลิศทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ความพยายามของลอรีอัลยังได้รับการยอมรับจากรีฟินิทีฟ (Refinitiv) โดยลอรีอัลติดอันดับในเรื่องความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง 100 อันดับแรกของโลกอีกครั้ง แม้ว่าจะเผชิญกับสถาณการณ์ความไม่แน่นอนในขณะนี้ แต่ลอรีอัลยังคงมีความมั่นใจในภาพรวมของตลาดความงามทั่วโลก ซึ่งสามารถยืนยันได้จากความยืดหยุ่นของตลาด และความมั่นใจในอำนาจการคิดค้นนวัตกรรมของบริษัท รวมทั้งความเชื่อมั่นในความสามารถของบริษัทที่จะเติบโตในอัตราที่สูงกว่าตลาด รวมทั้งมียอดขายและผลกำไรที่สูงขึ้นอีกในปี 2565 สรุปตามรายแผนกเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว

แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ เติบโต 10.9% แผนกธุรกิจนี้เติบโตในทุกๆ ภูมิภาค ซึ่งตอกย้ำถึงความเป็นผู้นำในตลาดความงามช่างผมมืออาชีพ โดยสร้างผลงานในส่วนของช่องการทางจัดจำหน่ายทุกช่องทางทั้งที่ซาลอน เครือข่ายซาลอนเซ็นทริกในสหรัฐ และอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นการยืนยันความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ช่องทางจำหน่ายที่หลากหลายของบริษัทอีกครั้ง สำหรับตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่คึกคักนั้น การเติบโตของแผนกได้แรงขับเคลื่อนส่วนใหญ่จากผลการดำเนินงานของเคราสตาส (Keratase) และการเติบโตที่ต่อเนื่องของซีรี เอ็กซ์เพิร์ท (Serie Expert) โดยลอรีอัล โปรเฟสชั่นแนล (L’Oreal Professionnel) แผนกธุรกิจนี้ยังมีการเติบโตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมด้วยไลน์สินค้าระดับไอคอน

ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค เติบโต 8.7% แผนกลยุทธ์การปรับภาพลักษณ์ให้มีความพรีเมียม และการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของแผนกมีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตที่เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ขณะที่ผลประกอบการโดยรวมได้แรงหนุนจากภูมิภาค SAPMENA-SSA และละตินอเมริกา แบรนด์ชั้นนำทุกแบรนด์มีส่วนช่วยสนับสนุนผลประกอบการอันน่าประทับใจนี้ ซึ่งเป็นผลจากการใช้นวัตกรรมที่ล้ำยุคในทุกๆ ผลิตภัณฑ์หลักๆ โดยกลุ่มเมคอัพยังคงเป็นผลิตภัณฑ์หัวหอกที่นำความสำเร็จมาสู่แผนกนี้ ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างทรงพลัง เช่น ลิปสติกรุ่นซูเปอร์สเตย์ ไวนิล อิงค์ (Superstay Vinyl Ink) โดยเมย์เบลลีน นิวยอร์ก (Maybelline New York) ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมเองก็ขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วขึ้น ส่วนผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับแรงขับเคลื่อนจากความสำเร็จของการ์นิเยร์ (Garnier) โดยเฉพาะวิตามิน ซี ไบรเทนนิ่ง เซรั่ม (Vitamin C Brightening Serum) ตัวใหม่

แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง เติบโต 12.2% ในไตรมาส 3 แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งในจีน การย้ายที่ตั้งของหน่วยธุรกิจค้าปลีกสำหรับนักท่องเที่ยวในเอเชีย รวมทั้งความยากลำบากในการจัดหาวัตถุดิบ (โดยเฉพาะขวดน้ำหอม) แม้ว่าจะเผชิญกับความผันผวนเหล่านี้ แต่แผนกธุรกิจนี้ก็ยังสามารถเติบโตและก้าวหน้าได้ในจีน โดยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้สูงเป็นประวัติการณ์

แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงมีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง และยังคงคิดค้นนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภท ในตลาดน้ำหอมที่กำลังขยายตัวอย่างคึกคักนั้น ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงสามารถตอกย้ำได้ถึงความเป็นผู้นำระดับโลกอันเป็นผลมาจากน้ำหอมยอดนิยม เช่น ลิเบรอ (Libre) ของอีฟส์ แซงต์ โลรองต์ (Yves Saint Laurent) และลาวี เอ แบลล์ (La Vie est Belle) ของลังโคม (Lancome) สำหรับสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณนั้น ได้ใช้ประโยชน์จากการคิดค้นนวัตกรรมที่แข็งแกร่ง เช่น ลังโคม รีเนอร์จี ทริปเปิล เซรั่ม (Lancome Renergie Triple Serum) และกลุ่มเครื่องสำอาง อย่าง อีฟ แซง โลรองต์ (Yves Saint Laurent), ลังโคม (Lancome) และชู อูเอมูระ (Shu Uemura) ต่างก็รายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่ง

แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เติบโต 22.6% ด้วยการกระชับความร่วมมือกับบุคลากรทางการแพทย์ แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบการดำเนินการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำแนะนำ และยังขยายตัวได้เร็วกว่าตลาดเวชสำอางสำหรับผิวพรรณอย่างมาก แผนกธุรกิจนี้เติบโตเป็นตัวเลขสองหลักในทุกภูมิภาค โดยมีผลประกอบการที่โดดเด่นในอเมริกาเหนือ, ยุโรป และ SAPMENA–SSA. โดยลาโรช-โพเซย์ (La Roche-Posay) ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีส่วนสนับสนุนการเติบโต เพราะได้แรงขับเคลื่อนจากผลิตภัณฑ์หลักๆ ได้แก่ซิคาพลาสท์ (Cicaplast) และเอฟฟาแคลร์ (Effaclar), ครีมกันแดดยูวีมูน 400 (UVMune 400) และการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จของเซรั่มเพียว นิอาซินาไมด์ 10 (Pure Niacinamide 10) ขณะที่เซราวี (CeraVe) ยังคงเป็นแบรนด์ที่เติบโตเร็วที่สุดของแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ขณะที่วิชี่ (Vichy) เติบโตเป็นเลขสองหลัก

ในเดือนตุลาคม แผนกธุรกิจผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้ซื้อธุรกิจสกินเบทเทอร์ ไซเอนซ์ (Skinbetter Science) ซึ่งเป็นแบรนด์สกินแคร์ที่จ่ายสินค้าโดยเภสัชกรในสหรัฐและได้ปัจจัยสนับสนุนจากการวิจัยด้านเวชสำอางที่ทันสมัย

สรุปตามภูมิภาคเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว

SAPMENA–SSA เติบโต 25.4% (SAPMENA เอเชียแปซิฟิกใต้ ตะวันออกกลาง แอฟฟริกาเหนือ – SSA แอฟริกาใต้ซาฮารา) ลอรีอัลยังคงขยายตัวในภูมิภาค SAPMENA โดยมีผลประกอบการที่ดีกว่าตลาดอย่างเห็นได้ชัด แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค และแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงเป็นแผนกที่สำคัญที่สนับสนุนการเติบโต ในออสเตรเลียมีการขยายตัวที่รวดเร็วขึ้น แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคสามารถรับมือกับแรงกดดันด้านการจัดหาในกลุ่มเครื่องสำอางได้ ขณะที่ยอดขายในช่องทางออฟไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ และยอดขายในอินเดียยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของแผนกช่างผมมืออาชีพ และแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภค

ยุโรป เติบโต 13.0%

อเมริกาเหนือ เติบโต 10.8%

เอเชียเหนือ เติบโต 7.4%

ละตินอเมริกา เติบโต 20.0%

กระจายโอกาสสู่ SME มุ่งช่วยสร้างงานและรายได้เพื่อส่งเสริมการเติบโตของชุมชนอย่างยั่งยืน

บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด แต่งตั้ง แพทริค จีโร ขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO ลอรีอัล ประเทศไทย มีหน้าที่ดูแลธุรกิจในประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา โดยแพทริคจะเข้ามาสานต่อภารกิจจาก อินเนส คาลไดรา ซึ่งย้ายไปบริหารงานที่ลอรีอัล กรุ๊ป ประเทศฝรั่งเศส

ภายใต้การดำรงตำแหน่งใหม่นี้ แพทริคจะมุ่งเดินหน้ากลยุทธ์ทางธุรกิจโดยยึดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ขยายช่องทางการขายให้ครอบคลุม พัฒนาบุคลากร ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และสานต่อการขับเคลื่อนให้ ลอรีอัล ประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน BeautyTech ในประเทศไทยผ่านประสบการณ์ที่ช่ำชองในตลาดประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการแบรนด์ต่าง ๆ ในหลากหลายประเภทผลิตภัณฑ์ โดยแพทริคได้เริ่มต้นเส้นทางการทำงานกับลอรีอัลเมื่อปี พ.ศ. 2541 และมีส่วนสำคัญในการขยายพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างการเติบโตให้กับหลากลายประเทศ โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย

ก่อนหน้าที่จะมารับตำแหน่งที่ลอรีอัล ประเทศไทย แพทริคดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการทั่วไประดับโลก ลอรีอัล ปารีส ที่เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามอันดับหนึ่งของโลกเป็นระยะเวลา 3 ปี ประจำที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเขามีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของแบรนด์ในกว่า 50 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศจีน และประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่มากมาย นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไประดับภูมิภาค ให้กับแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคในทวีปเอเชียเหนือ ระหว่างนั้นแพทริคได้สร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับประเทศต่าง ๆ มากมาย รวมถึงขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคให้กับแบรนด์ลอรีอัล ปารีส พลิกโฉมแบรนด์เมย์เบลลีนในประเทศจีน และมีบทบาทสำคัญในการซื้อเข้าซื้อกิจการแบรนด์เครื่องสำอางสัญชาติเกาหลีอย่าง 3CE Stylenanda อีกด้วย

นายแพทริค จีโร กรรมการผู้จัดการลอรีอัล ประเทศไทย พม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวว่า “ผมรู้สึกดีใจและตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญนี้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่ใหญ่ที่สุดตลาดหนึ่งของภูมิภาค ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความต้องการด้านความงามที่หลากหลาย และมีการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมความงามที่น่าตื่นเต้น อีกทั้งยังมีแนวทางปฏิบัติที่ยอดเยี่ยมให้เรียนรู้มากมาย ผมจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับเพื่อนพนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยเป็นผู้บริโภคกลุ่มแรก ๆ ของภูมิภาคที่ได้สัมผัสกับนวัตกรรม BeautyTech และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์จากทั้ง 15 แบรนด์ในเครือลอรีอัล กรุ๊ป”

ด้วยประสบการณ์ทำงานในลอรีอัล กรุ๊ปมานานกว่า 24 ปี ทั้งในประเทศญี่ปุ่น กรีซ และบราซิล แพทริคจะมุ่งสานต่อภารกิจจาก อินเนส คาลไดรา ในการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้บริโภคและอุตสาหกรรมความงามในประเทศไทยและผลักดันความสำเร็จให้ ลอรีอัล ประเทศไทยต่อไปอีกขั้น

X

Right Click

No right click